ศ.ดร. เกษม จันทร์แก้ว ตอบคำถาม ทำไมน้ำจึงท่วมประเทศไทย
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 9 ตุลาคม 2554
นิสิตคนหนึ่งถามไว้ในเว็บไซด์ของวิทยาลัยสิ่งแวดล้อม มก. ศ.ดร.เกษม ตอบไว้อย่างละเอียดมาก จึงน้ำมาให้ได้อ่านกันครับ
"เราเป็นนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ต้องเข้าใจแล้วว่า ป่าไม้เป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญคือเป็นที่พึ่งของมุษย์ที่จะได้รับปัจจัยพื้นฐาน รวมถึงเป็นแหล่งพลังงาน เป็นแหล่งปกป้องภัยพิบัติต่อชีวิตและทรัพย์สินและเป็นแหล่งให้ความสะดวกสบาย เหล่านี้ล้วนเป็นfunction(s)ของป่าที่ต้องมีstructureที่ต้องเอื้อต่อfunction(s). คือป่าต้องสมบูรณ์ตามsiteของป่านั้นๆ โดยมีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีปริมาณที่แตกต่างกัน มีสัดส่วนภายในแต่ละชนิด และสัดส่วนระหว่างชนิด สมบัติเช่นนี้ สามารถระบุได้กับชนิดอื่นๆในระบบนิเวศป่าไม้ ได้แก่ สัตว์ป่า หิน-แร่ ดิน(sand, silt, clay) แร่ธาตุอาหารพืช สารเคมี ฯลฯ
ซึ่งระบบนิเวศป่าไม้ในธรรมชาตินั้นจะกระจายตามลักษณะภูมิประเทศ (elevation, slope, aspect, landforms, and land surface characteristics) climate/microclimate/topo-climate ชนิดและ/หรือสมบัติของดิน location(latitude and longitude) รวมๆสิ่งเหล่านี้ที่เรียกว่าsiteหรือforest site อย่างไรก็ตาม ปกติป่าไม้ทุกชนิด/ทุกประเภท หรือ ทุกsiteจะทำหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น อนึ่ง ในทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศป่าไม้เป็นทั้งproduction systems คือให้ผลิตผลต่างๆตามที่กล่าวแล้ว ในขณะเดียวกันก็เป็นrecycle systems คือเป็นระบบที่มีบทบาทหน้าที่แปรสภาพของเสีย/มลพิษ(waste/pollutants) ให้แปรเปลี่ยนเป็นทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
บทบาทสุดท้ายที่สำคัญต่อการเกิดอุทกภัยคือ ระบบนิเวศป่าไม้ทำหน้าที่เป็นtransmation systems คือทำหน้าที่หรือ function แปรสภาพน้ำฝน ซึ่งเป็นinputsของระบบนิเวศป่าไม้ให้แปรสภาพเป็น น้ำท่า น้ำระเหย น้ำบาดาล/น้ำในดิน และอาจมีบางส่วนที่leakageจากลุ่มน้ำหนึ่งไปสู่อีกลุ่มน้ำหนึ่ง ที่ต้องเข้าใจอย่างยิ่งก็คือ การมีป่าไม้ปกคลุมพื้นที่มากกว่าสองในสามก็จะทำให้ระบบนิเวศป่าไม้ให้น้ำท่าปกติ คือมากในฤดูฝนและน้อยในฤดูแล้ง เนื่องจากน้ำฝนที่ตกลงสู่ป่าไม้นั้นถูกเก็บไว้ในดินโดยกระบวนการinfiltrationและpercolationแล้วค่อยปลดปล่อยลงสู่ลำห้วยลำธารและแม่น้ำ กรณีเช่นนี้มักไม่ก่อให้เกิดอุทกภัย(นอกจากฝนตกมากผิดปกติ เช่น ช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม พ.ศ.2554) ถ้าป่าปกคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำน้อยกว่าสองในสามแต่มากกว่าหนึ่งในสาม การเกิดอุทกภัยอาจเกิดได้ถ้าฝนตกหนักหรือการจัดการไม่มีประสิทธิภาพ แต่ถ้ามีป่าปกคลุมน้อยกว่าหนึ่งในสามของพื้นที่ลุ่มน้ำแล้ว โอกาศการเกิดอุทกภัยย่อมเกิดได้ตลอดเวลาเมื่อฝนตกค่อนข้างมาก(มากกว่า 60 มม/วัน)
จากหลักวิทยาศาสตร์ที่กล่าวข้างบน ทำให้เข้าใจได้ว่าภัยพิบัติธรรมชาติทางด้านอุทกภัยย่อมเกิดได้ตลอดเวลาที่มีฝนตกมากหรือปริมาณฝนที่เคยตกมากกว่าในอดีต คำถามว่าเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากมือมนุษย์ทำลายป่าหรือไม่? ยอมรับกันแล้วว่าการทำลายป่ายังมีตลอดเวลา ไม่เลือกพื้นที่ ไม่เลือกฤดูกาล หรือ ไม่ได้มีจิตสำนึก(ไม่รู้ว่าที่ทำเช่นนั้นแล้วผลพวงที่ตามมาจะเกิดอะไร) จะเห็นได้ว่าระยะประมาณ 20 ปีมานี้ ไม่มีเพียงอุทกภัย แต่มีของแถมเกิดขึ้นที่รุนแรง คือ ดินถล่ม(landslide) ดินโคลนเลื่อนไหล(mudflow) การทับถมของกรวดทรายบนที่นาข้าวและแม่น้ำลำคลอง ดังปรากฏให้เห็นทั่วภูมิภาคของประเทศไทย เป็นเพราะว่าป่าถูกแผ้วถางทำลายโดยเฉพาะป่าต้นน้ำ
พวกเราในฐานะนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ต้องเรียนรู้ให้ทันสภาวะการเปลี่ยนแปลงโลก(global change) อย่างน้อยก็ให้ข้อมูลต่อผู้บริหารและNGO หรือนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เข้าใจหลักการและวิธีการการจัดการระบบนิเวศป่าไม้ให้ถูกต้อง เพื่อให้การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป"
ดีใจและภูมิใจที่ได้เป็นศิษย์อาจารย์ครับ
"เราเป็นนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ต้องเข้าใจแล้วว่า ป่าไม้เป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญคือเป็นที่พึ่งของมุษย์ที่จะได้รับปัจจัยพื้นฐาน รวมถึงเป็นแหล่งพลังงาน เป็นแหล่งปกป้องภัยพิบัติต่อชีวิตและทรัพย์สินและเป็นแหล่งให้ความสะดวกสบาย เหล่านี้ล้วนเป็นfunction(s)ของป่าที่ต้องมีstructureที่ต้องเอื้อต่อfunction(s). คือป่าต้องสมบูรณ์ตามsiteของป่านั้นๆ โดยมีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีปริมาณที่แตกต่างกัน มีสัดส่วนภายในแต่ละชนิด และสัดส่วนระหว่างชนิด สมบัติเช่นนี้ สามารถระบุได้กับชนิดอื่นๆในระบบนิเวศป่าไม้ ได้แก่ สัตว์ป่า หิน-แร่ ดิน(sand, silt, clay) แร่ธาตุอาหารพืช สารเคมี ฯลฯ
ซึ่งระบบนิเวศป่าไม้ในธรรมชาตินั้นจะกระจายตามลักษณะภูมิประเทศ (elevation, slope, aspect, landforms, and land surface characteristics) climate/microclimate/topo-climate ชนิดและ/หรือสมบัติของดิน location(latitude and longitude) รวมๆสิ่งเหล่านี้ที่เรียกว่าsiteหรือforest site อย่างไรก็ตาม ปกติป่าไม้ทุกชนิด/ทุกประเภท หรือ ทุกsiteจะทำหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น อนึ่ง ในทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศป่าไม้เป็นทั้งproduction systems คือให้ผลิตผลต่างๆตามที่กล่าวแล้ว ในขณะเดียวกันก็เป็นrecycle systems คือเป็นระบบที่มีบทบาทหน้าที่แปรสภาพของเสีย/มลพิษ(waste/pollutants) ให้แปรเปลี่ยนเป็นทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
บทบาทสุดท้ายที่สำคัญต่อการเกิดอุทกภัยคือ ระบบนิเวศป่าไม้ทำหน้าที่เป็นtransmation systems คือทำหน้าที่หรือ function แปรสภาพน้ำฝน ซึ่งเป็นinputsของระบบนิเวศป่าไม้ให้แปรสภาพเป็น น้ำท่า น้ำระเหย น้ำบาดาล/น้ำในดิน และอาจมีบางส่วนที่leakageจากลุ่มน้ำหนึ่งไปสู่อีกลุ่มน้ำหนึ่ง ที่ต้องเข้าใจอย่างยิ่งก็คือ การมีป่าไม้ปกคลุมพื้นที่มากกว่าสองในสามก็จะทำให้ระบบนิเวศป่าไม้ให้น้ำท่าปกติ คือมากในฤดูฝนและน้อยในฤดูแล้ง เนื่องจากน้ำฝนที่ตกลงสู่ป่าไม้นั้นถูกเก็บไว้ในดินโดยกระบวนการinfiltrationและpercolationแล้วค่อยปลดปล่อยลงสู่ลำห้วยลำธารและแม่น้ำ กรณีเช่นนี้มักไม่ก่อให้เกิดอุทกภัย(นอกจากฝนตกมากผิดปกติ เช่น ช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม พ.ศ.2554) ถ้าป่าปกคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำน้อยกว่าสองในสามแต่มากกว่าหนึ่งในสาม การเกิดอุทกภัยอาจเกิดได้ถ้าฝนตกหนักหรือการจัดการไม่มีประสิทธิภาพ แต่ถ้ามีป่าปกคลุมน้อยกว่าหนึ่งในสามของพื้นที่ลุ่มน้ำแล้ว โอกาศการเกิดอุทกภัยย่อมเกิดได้ตลอดเวลาเมื่อฝนตกค่อนข้างมาก(มากกว่า 60 มม/วัน)
จากหลักวิทยาศาสตร์ที่กล่าวข้างบน ทำให้เข้าใจได้ว่าภัยพิบัติธรรมชาติทางด้านอุทกภัยย่อมเกิดได้ตลอดเวลาที่มีฝนตกมากหรือปริมาณฝนที่เคยตกมากกว่าในอดีต คำถามว่าเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากมือมนุษย์ทำลายป่าหรือไม่? ยอมรับกันแล้วว่าการทำลายป่ายังมีตลอดเวลา ไม่เลือกพื้นที่ ไม่เลือกฤดูกาล หรือ ไม่ได้มีจิตสำนึก(ไม่รู้ว่าที่ทำเช่นนั้นแล้วผลพวงที่ตามมาจะเกิดอะไร) จะเห็นได้ว่าระยะประมาณ 20 ปีมานี้ ไม่มีเพียงอุทกภัย แต่มีของแถมเกิดขึ้นที่รุนแรง คือ ดินถล่ม(landslide) ดินโคลนเลื่อนไหล(mudflow) การทับถมของกรวดทรายบนที่นาข้าวและแม่น้ำลำคลอง ดังปรากฏให้เห็นทั่วภูมิภาคของประเทศไทย เป็นเพราะว่าป่าถูกแผ้วถางทำลายโดยเฉพาะป่าต้นน้ำ
พวกเราในฐานะนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ต้องเรียนรู้ให้ทันสภาวะการเปลี่ยนแปลงโลก(global change) อย่างน้อยก็ให้ข้อมูลต่อผู้บริหารและNGO หรือนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เข้าใจหลักการและวิธีการการจัดการระบบนิเวศป่าไม้ให้ถูกต้อง เพื่อให้การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป"
ดีใจและภูมิใจที่ได้เป็นศิษย์อาจารย์ครับ
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ผมได้ความรู้เพิ่มเติมเป็นอย่างมากครับ
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ชอบมากมีความในด้านนี้ส่งผลให้เรารู้ทันเหตุการณ์ในอนาคต
ความเห็นที่ 7