การเพาะปลากัดไทย
เขียนโดย Anonymous Anonymous user เมื่อ 15 ตุลาคม 2554 (IP: 124.121.74.92)
ผมอยากรู้ว่าถ้าผมมีปลากัดลูกทุ่งภาคกลาง(แก้มแดง)จากแหล่งที่มาที่แตกต่างกันผมจะทำการเพาะเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเช่นจากตราดที่มีลักษณะเพรียวกว่าแหล่งอื่นผสมกับปลาจากเพชรบุรีแล้วปล่อยคืนสู่รรมชาติในแหล่งใดแหล่งหนึ่งที่ยังคงเป็นเขตการกระจายพันธุ์อยากถามว่าจะเกิดผลกระทบอะไรหรือเปล่าต่อลักษณะเฉพาะของปลาในแต่ละแหล่งครับ
อีกคำถามครับศัพย์บางคำผมไม่เข้าใจครับเช่นคำว่า รุ่นf ประมาณนี้เป็นต้น
สุดท้ายต้องขอขอบคุณเป็นอย่างมากครับสำหรับทุกคำตอบ
อีกคำถามครับศัพย์บางคำผมไม่เข้าใจครับเช่นคำว่า รุ่นf ประมาณนี้เป็นต้น
สุดท้ายต้องขอขอบคุณเป็นอย่างมากครับสำหรับทุกคำตอบ
Comments
ความเห็นที่ 1
มารอฟังด้วยคนครับ
ความเห็นที่ 2
- ปลาแต่ละแหล่ง ที่นำมาผสม คิดว่าแท้ 100% ไหมครับ (บางตัวเหมือนแท้แต่ไม่แท้ บางตัวเหมือนไม่แท้แต่แท้ ก็มี ตอบยาก!!)
- ปลาแต่ละแหล่ง มันมีลักษณะเฉพาะแหล่งของมันอยู่แน่นอน ถ้านำไปปล่อยแหล่งอื่น ก็จะทำให้ปลาแหล่งอื่นๆ สูญเสียลักษณะเฉพาะไปได้ Ex, smagdina หางดอก กับ หางปกติ นั่นก็เป็นลักษณะเฉพาะ
ถ้าคิดอนุรักษ์และทำได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องคิดให้มาก ก็คือ เพาะได้ก็แจก/แบ่ง
ให้ผู้ที่สนใจนำไปเพาะเลี้ยงดีกว่าครับ เพราะมีคนต้องการอีกเยอะ
ช่วยลดการการจับปลาในแหล่งธรรมชาติได้อีกด้วย
รุ่น F ก็ตามนี้ครับ เหมือนกัน
http://likebeetle.blogspot.com/2010/10/blog-post_05.html
ความเห็นที่ 2.1
เพาะได้แจกดีกว่า หรือจะขายก็แล้วแต่ ปลาป่าเป็นที่ต้องการมาก ลดการรบกวนธรรมชาติลงได้ครับ ว่าไปก็อายจัง ผมก็ยังรบกวนอยู่บ้าง นาน ๆ ที สำหรับเป็นตัวอย่าง
ปลาแต่ละแหล่ง พันธุกรรมจะแตกต่างกัน มากบ้างน้อยบ้าง ขนาดลุ่มน้ำเดียวกัน แค่คนละฝั่งบางทียังต่างกันเลยครับ
เพาะได้เยอะ ๆ มาแบ่งให้ผมบ้างก็ได้นะ
ความเห็นที่ 3
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้่น ปลาที่เกิดและเติบโตในแหล่งน้ำใดแหล่งน้ำหนึ่ง เราไม่รู้ว่ามันอยู่ในแหล่งน้ำนั้นมานานเท่าใดแล้ว และในแหล่งน้ำแต่ละแหล่งก็มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นลักษณะของคุณภาพน้ำ อาหาร ชนิดพันธุ์พืช ตลอดจนสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่าง ๆ ทีมันอาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยนี้ร่วมกัน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการปรับตัว (adaptation) และท้ายที่สุดก็หากมันอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นนานนับหมื่นนับแสนปี ก็เกิดการวิัวัฒนาการเพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมนั้น
ในสภาพธรรมชาติ ปลากัดเป็นปลาที่สามารถอพยพตามการท่วมหลากของน้ำได้ดีมาก ดังนั้นในกลุ่มของแหล่งน้ำที่มีการเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเมื่อถึงน้ำหลาก จึงเป็นเขตแดนในการแพร่กระจายของปลา แต่ว่าในลุ่มน้ำที่ต่างกันและไม่เชื่อมต่อกันเนื่องจากมีสิ่งกีดขวามตามธรรมชาติเช่น ภูเขาหรือทะเล ก็จะทำให้ปลาไม่สามารถติดต่อกันได้ และมีโอกาสในการมาผสมข้ามพันธุ์กันน้อยมาก
ทีนี้มาตูตัวอย่างของคุณ คุณจะเอาปลาจากที่อื่นมาผสมกับปลาจากเพชรบุรี แล้วเอาไปปล่อยในพื้นที่เพชรบุรี อย่างนี้จะเป็นไปได้ ถ้าคุณเอาปลาจากลุ่มน้ำเดียวกันในเพชรบุรีมาผสมกัน แต่ว่ามันจะไม่ได้หากคุณเอาปลาจากแหล่งอื่น (ตัวอย่างที่ยกมาคือตราด)มากผสมกับปลาเพชรบุรี แล้วเอาไปปล่อย เพราะอะไร มันมีงานวิจัยเหตุการณ์จริงมาสนับสนุนมากมาย ว่ามันมีข้อเสียต่อธรรมชาติแต่บางทีมันดีสำหรับคน (ตราดกับเพชรบุรีเคยเป็นแหล่งน้ำจืดเชื่อมกันเมื่อหลายหมื่นปีมาแล้ว แต่ปัจจุบันไม่ได้เชื่อมกันโดยตรงแล้ว)
ในอเมริกา มีการทดลองหาความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาในกลุ่ม darter ชนิดเดียวกันที่มาจากแหล่งต้นน้ำและปลายน้ำ พบว่ามีความแตกต่างของพันธุกรรมเล็กน้อย ถ้าปลาทั้งสองกลุ่มถูกตัดขาดด้วยสิ่งกีดขวางที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่นเขื่อน หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ พบว่าปลาชนิดนี้จะมีความแตกต่างทางพันธุกรรมกันมากขึ้นและ มี score ของความหลากหลายที่ลดลงแสดงให้เห็นว่าปลามีการผสมแบบเลือดชิดมากขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากตามไปด้วย แต่ถ้าประขากรทั้งสองกลุ่มมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและมีจำนวนที่มากพอ สุดท้ายปลาทั้งสองก็จะแยกกันเป็นคนละชนิดโดยเด็ดขาด
ในเมืองไทย ปลากัดนี่แหละ เซียนปลาอยากได้ปลากัดกัดเก่ง กัดทน ก็จะไปเลือกปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติเอาตัวเก่ง ๆ ออกไปกัด บางส่วนตายคาสนามรบ บางส่วนถูกเอาไปผสมกับปลากัดกลุ่มอื่น (กรณีลูกสังกะสี) เมื่อได้ลูกผสมออกมาแล้วก็เอาแต่ตัวเก่ง ๆไปกัดต่อ พวกไม่เก่ง ก็สาดลงแหล่งน้ำ เรียกกันว่าลูกสาด ปรากฏว่าลูกสาดปรับตัวเก่งกว่า หากินเก่งกว่า ปลาป่าเจ้าถิ่นของแท้ดั้ง สุดท้ายแหล่งน้ำนั่นก็เลยมีแต่ลูกสาด เป็นปลาเด่น เราหาปลากัดแท้ในแหล่งเดิมได้ยากมาก
ที่กล่าวมานี้จะชี้ให้เห็นว่า คำถามที่คุณถามว่าเป็นไปได้ไหมกับการอนุรักษ์แบบเพาะปล่อย ผมคิดว่าเป็นไปได้ครับ แต่ว่ามันจะเป็นโทษมากกว่าหากเอาลูกผสมไปปล่อย เอาลูกแท้ไปปล่อยดีกว่า การเอาปลาจากธรรมชาติมาขยายพันธุ์แล้วเอาไปปล่อยในแหล่งเดิม (เรียกว่า อนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิด, ex situ conservation มั้งถ้าจำไม่ผิด) เหมือนจะมีแนวทางให้กระทำการอย่างที่ว่าอยู่ คิดว่าถ้าจะให้ดีก่อนปล่อยเรา น่าจะต้องสอนปลาเราให้หากินตามธรรมชาิติเป็นและกลัวมนุษย์ พร้อมกับการสำรวจว่าแหล่งที่ีเราเอาไปปล่อยมันอยู่ในสภาพดีพอ จนกระทั่้งปลาที่เราปล่อยจะสามารถดำรงชีวิตจนออกลูกออกหลานได้หรือเปล่า
ปล. ดูแผนภาพ F ประกอบนะครับ F เนี่ย สมัยผมเรียนพันธุศาสตร์ อาจารย์สมัยเก่า ท่านจะเรียกว่าว่า ชั่ว (อายุ) ที่ คือถ้าเอาปลาป่ามาจากธรรมชาติ มาเป็นพ่อแม่พันธุ์ (ในแผนภาพคือ WD/FO) ลูกปลาที่ได้เป็นชั่วที่ 1 หรือ F1 เอา F1 ผสมกันเอง ได้ลูกออกมาเป็นชั่วที่ 2 หรือ F2 อย่างนี้ไปเรื่อยๆ กรณีในรูป ถ้าเอาลูกผสม F ต่าง ๆ ไปผสมกับพ่อแม่พันธุ์ดั้งเดิม จะได้ลูกผสม cross back เขาจะย่อยเป็น CB1
ความเห็นที่ 3.1
ขอบคุณครับ
ความเห็นที่ 3.2
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
แต่.....
พวกที่รับของแจกไป ควรศึกษาและพยายามเพาะให้ได้แล้วนำกลับมาแจกคืนบ้างนะครับ
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
อย่าไปคิดมากครับ มันเป็นธรรมชาติ มนุษย์ก็อยู่ในธรรมชาติ ให้เรามีความตั้งใจว่าเราจะอนุรักษ์ก็ดีแล้ว อย่าไปตามฝรั่งมากครับ โดยธรรมชาติมันมักมีการปรับสมดุลย์ให้ตัวเองเสมอครับ การปิดกันอาณาเขตทำให้สัตว์เกิด การผสมเลือดชิด ทำให้นักอนุรักษ์บางกลุ่มต้องการให้มีการผสมข้ามกันบ้าง ยกตัวอย่างช้าง ที่อยู่ในป่าแล้วถูกปิดกันด้วยสิ่งปลูกสร้างของมนุษย์ ทำให้นักอนุรักษ์ต้องขอพื้นที่บางส่วนที่มนุษย์ใช้ประโยชน์มาปลูกเป็นป่าเพื่อนเป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างป่าต่อป่า เพื่อไม่ให้เลือดชิด ผมว่าผู้ที่เอาปลาจากแหล่งอื่นมาผสมแล้วปล่อยก็ไม่น่าจะผิดอะไรนะ เพราะบางครั้งธรรมชาติก็จะมีวิธีปรับสมดุลย์ของธรรมชาติเอง เพื่อไม่ให้เกิดการเสียสมดุลย์ ไม่ต้องอะไรมาก ผมเชื่อว่าตอนนี้มีปลาหลายสายพันธุ์ จากแหล่งน้ำทางภาคเหนือ ตั้งแต่ปิง วัง ยม น่าน มารวมกันที่เจ้าพระยา สุดท้ายไหลลงภาคกลาง ออกทะเล เวลาเกิดน้ำท่วมแต่ละปีจนไปถึงภาคกลาง กรุงเทพ ที่บอกว่าเอาอยู่ ๆ นะ ปลามันผสมกันมั่วไปหมดแล้วครับ ดังนั้นไม่ต้องไปคิดมาก แค่เรามีความตั้งใจอยากจะอนุรักษ์ทำไปเลย ขอเพียงไม่ไปทำลายแหล่งอาศัย และไม่ไปจับมาขายเป็นจำนวนมาก ๆ จนหมดไปจากแหล่งเดิมก็พอ สิ่งนี้ผมว่าสำคัญกว่าที่จะมาเถียงกันว่า ผสมแล้วปล่อย หรือแจกนะครับ ^ ^