Heteropnesustes evolution

Dear all Siamensis members

       I would like to introduce myself, my name is Mr. Sahat Ratmuangkhwang, a researcher of the Andaman Coastal Research Station for development, Kasetsart University,Thailand.  In the master degree I did a master thesis entitle “ Taxonomic review of the southern Asian air sac catfish, Heteropneustes fossilis”. Based on my morphological taxonomic study I found that there are two distinct species within their distribution range,  H. fossilis and H. kemratensis. The former is distributed mainly in the Indian subcontinent whereas the later species is distributed mainly in southeast Asia but the two species sympatrically occur in the upper Irrawaddy river basin of Myanmar.

       Currently I am working on “ Molecular phylogenetic characterization of the air sac catfish Heteropneustes fossilis species complex ” as my research paper.

       Based on my molecular study I found that the taxonomic status of specimens from Indian subcontinent and South East Asia are mostly concordant with my previous morphological taxonomic study (Southeast Asia specimens= H. kemratenis and Indian subcontinent specimens = H. fossilis), except status of specimens from the upper Irrawaddy basin in Myanmar which all voucher specimens agreed well with diagnosis of H. fossilis but their molecular data (both mitochondrial ND2 and nuclear RAG1 gene sequences) associated with H. kemratensis.

From this result I would like to ask you suggest me clearly for the following questions:

1.       In this case, How to judge the species name of specimens from upper   Irrawaddy population ?

2.       Base on molecular study. I consider H. kemratensis distributed in southeast Asia are derived from or shared the common latest ancestor with H. fossilis in upper Irrawaddy river basin of Myanmar. Is this right ?  How about your opinion ?

3.       If you have academic paper that show the result similar with my result I would like to ask you kindly send it to me. This will be very useful and I would really appreciate in your hospitality. 

 

My English is very very poor, If I do some mistake in using English, I would like to apologized to you. Thank you very much for your kindly helping in advance.

best regards


Sahat Ratmuangkhwang, M.sc
Researcher
Andaman Coastal Research Station for Development
Kasetsart University Research and Development Institute.
81 Moo 2 Phetkasem Rd. Kilometer 702 (Hat Praphat) Kampuan,
Suksamran district,Ranong, Thailand, 85120.
Tel.and Fax. +66 -77-893-119
E-mail : g4662075@yahoo.com,oryzius@hotmail.com,rdishr@ku.ac.th

Comments

ความเห็นที่ 1

เ่อ่อ สาหัส เอ๊ย สหัส มาถามในนี้ อย่างนี้ อาจารย์ของคุณท่านจะไม่ว่าเอาหรือ........

โดยส่วนตัวคิดว่า คำตอบมันก็อยู่ที่ีตัวคุณเองนั้นแหละว่าจะตัดสินใจกับมันอย่างไร จะยกเป็นชนิดใหม่ หรือว่าเลือกชื่อเอาตามลักษณะทางภายวิภาค หรือลักษณะที่เิกิดทางพันธุกรรม ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของหลักฐานที่คุณจะหามาสนับสนุนความคิดของคุณมากกว่า

โดยทั่วไปคำตอบมันเป็นไปได้หลายอย่างมาก คุณในฐานะนักวิจัย ก็ต้องตั้งสมมุติฐานและค่อยๆไขปัญหาด้วยตัวคุณเอง เท่าที่อ่านเอกสารมา ปัญหาแบบนี้มันก็ไม่มีคำตอบตายตัวเสียด้วย บางครั้งมันก็เป็นเพราะเกิดสิ่งที่เรียกว่า sympatric ขึ้นมา หรืออาจจะเนื่องจาก ยีนที่คุณใช้เพื่อยืนยันชนิด เป็นยีนถูกวิวัฒนาการมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมในแบบที่เป็นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ยกตัวอย่างเช่น ปลาไนที่อยู่ในอเมริกา เดิมมันมาจากจีนแต่มันอยู่มานานจนยีนหลายตัวมันถูกปรับให้เข้ากับอเมริกาและค่อนข้างแตกต่างกับปลาที่่เอาไปเลี้ยงในยุโรปอย่างเด่นชัด แม้ว่าัปลาจากแหล่งทั้งสองมันจะมีรูปร่างภายนอกเหมือนกันก็ตาม หรืออาจจะเกิดการผสมข้ามพันธุ์ (hybrid) ในส่วนที่แหล่งที่อยู่อาศัย(habitat)ของปลาทั้งสองชนิดซ้อนทับกันอยู่ และบางครั้งคุณก็ต้องศึกษาว่าประชากรในอิระวดี มันมีที่ไปที่มาอย่างไร ตั้งแต่ยุีคดึกดำบรรพ์

เสียใจด้วยที่ไม่สามารถให้คำตอบแบบฟันธงได้ แต่ขอเป็นกำลังใจให้คุณค้นหาสมมติฐานและวิจัยจนหาคำตอบของเหตุการณ์นี้ได้และตีพิมพ์ผลงานอันน่าตื่นเต้นนี้ออกมาให้พวกเราได้รับรู้กัน

ปล ไม่ต้องถ่อมตัวว่าภาษาอังกฤษของคุณแย่หรอก อย่าไปกังวลกับมันเลยคุณสื่อสารที่คุณต้องการสื่อให้ผู้รับรับรู้ได้ก็โอเคแล้ว และเอกสาีรวิชาการต่าง ๆ ที่คุณถามหานั้นมีเยอะแยะมากมายใน google scholar

ความเห็นที่ 1.1

Dear Dr. Sommai

Thank you very much for your recommendation.

best reagards

ความเห็นที่ 2

How many spec. from upper Irrwdi..?? By biogegraphically it is so contradict, if lower Salween it is more understanable.  Irrwdi was separated from central and south Thailand for many mya!!!??? whereas lower Salween and peninsular Thailand are closer related and classified as same Ecoregion.

ความเห็นที่ 3

ส่วนตัวเองก็กำลังเจอปัญหาประมาณนี้อยู่ แต่เป็นงู ที่มึนเพราะรับไม่ได้กับผล DNA นี่แหละ จนชักมั่นใจมากขึ้นว่าอย่ามั่นใจในผล DNA มากเกินไป เพราะความต่างที่เห็นอาจไม่มีนัยสำคัญที่จะมาตัดสินชนิดได้เลย ในทางกลับกัน ด้าน morphology เองก็ไม่ใช่ดูต่างแล้วก็ถือว่าต่าง เพราะมันก็มีการปรับตัว(ทางสรีระ)ให้เหมาะกับที่อยู่ปัจจุบันของมันได้พองามเช่นกัน แต่ถ้าทั้งสองแนวทางสอดคล้องกันก็พอจะตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพียงแต่จะตัดสินใจในระดับใดเท่านั้น ถ้าเป็นไปได้ผมเองก็จะไล่เก็บเพิ่มเติมในส่วนที่เป็น gap ระหว่างจุดที่มีปัญหาเพิ่มเติม เผื่อจะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

สำหรับปัญหาเรื่องงูของผมคือมันไม่เหลือ gap ให้เก็บแล้ว และผลออกมาสะเปะสะปะมากระดับที่งูจากที่เดียวกัน หน้าตาเหมือนกัน แต่ DNA แตกเป็นสามทางในระดับที่แยกชนิดได้(หากยึดตามเกณฑ์ที่เขากำหนดกันมา) แล้วยังมีกรณีงูกลุ่มชนิดหนึ่งดันได้ผล DNA ต่างจากกลุ่มและไปพ้องกับอีกชนิดหนึ่งที่หน้าตาต่างกันลิบๆ ผมเลยกำลังแฮงค์อยู่ ณ ตอนนี้

ความเห็นที่ 4

1. จากที่อ่านดู ค่อนข้างจะเเน่นอนว่าสองspecies เกิด hybridization บริเวณupper Irrawaddy river ลองเพิ่มจำนวนตัวอย่างดูครับ จากพื้นที่ใกล้เคียง และเพิ่ม marker มากขึ้น หรือใช้ marker ชนิดอื่นๆเช่น microsatellite, AFLP, SNPs ดูครับ ผมเดาว่าหากมีตัวอย่างมากขึ้นจะพบทั้งสองแบบเลยครับ ทั้งที่DNA กับ สัณฐานตรงกัน และไม่ตรงกัน

หากเกิด hybridization ขึ้นจริง อีกสิ่งที่ต้องระวังคือ gene introgression จากสปีชส์หนึ่งไปอีกสปีชีส์หนึ่ง โดยเฉพาะ mitocondria  ค่อนข้างจะเกิดขึ้นได้ง่าย และ พบบ่อยกว่าที่เราคิด หากหยิบใช้ marker ผิด ก็อาจจะเเปรผลผิดได้ครับ

2. ต้องดู phylogenetic tree ทั้งหมดครับ รวมทั้งต้องเลือก out group ที่ดีด้วย ถึงจะบอกได้ว่าใครแยกจากใคร เเต่ส่วนใหญ่สัตว์จะอพยพลงใต้ครับโดยเฉพาะหลัง Last gracial maximum เเต่ผมไม่แน่ใจในกรณีปลานะครับ

3. ลองหาจาก key words พวกนี้ครับ hybridization, hybrids zone, mito-nuclear discodance, introgressive hybridization, mitochondrial introgression, phylogeography and hybridization

ขออวยพรให้งานวิจัยคุณสำเร็จไปด้วยดีนะครับ และมาช่วยกันไขปริศนาทางธรรมชาติโดยเฉพาะสัตว์ในประเทศไทยกันต่อไป



ความเห็นที่ 4.1

Dear Khun Jojo San

Thank you very much. I have run NUCLEAR RAG1 gene sequences for 43 H. fossilis individuals. The nuclear DNA tree was consistant with the mtDNA tree. This may be not hybridization. Thank you very much and I will do as your recoomendation. 

Thank you very much

Sahat

ความเห็นที่ 4.1.1

Your and Dr.Sommai recommendaions are the most usful for me. Thank you very very much. I got some ideas from them.

best regards

Sahat

ความเห็นที่ 5

This 2 spp. might be allopatric rather than sympatric in Irrawaddi.  Parapatric might occurred in lower Salween or Tennasserim areas???? But this DNA results show some oddity or strange???, recheck or review is needed to confirm!!

ความเห็นที่ 6

ถ้าทาง taxonomic กับ dna ไม่สามารถฟันธงได้ก็ลองดูแนวทาง bio-geography อย่างที่ ดร.หมีน้ำแนะนำ อาจจะได้ข้อมูลมาช่วยตัดสินใจเพิ่มขึ้นครับ