บทเรียนจากน้ำท่วม 2554 เอามาแบ่งปัน
What I have learned from flood :)
เพื่อนบอกว่าเราเป็นพวกชอบ “จับผิด”รัฐบาลชุดปัจจุบัน (อยากเรียกว่าท้วงติงอย่างมีสติมากกว่า) เราจึงขอเริ่มทำตัวให้เป็นประโยชน์โดยการสรุปว่า ตัวเราเองเรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้บ้างค่ะ
- รู้จักภูมิศาสตร์ (geography & topography) ของประเทศดีขึ้น วันวันนั่งดูแต่แผนที่
- การจัดการน้ำแบบบูรณาการ (IWRM) เป็นเพียงคำพูดที่สวยหรู
- ประกันภัยธรรมชาติ & วินาศภัย กำลังจะมาแรงแซงโค้งประกันสุขภาพ
- ไอเดียสร้างสรรของคนไทยกระฉูดมาก เช่น ถุงห่อรถ สุขาเก้าอี้ ถุงจัดหนัก อุปกรณ์พยุงตัวทั้งหลาย
- ปรากฏการณ์ความร่วมมือระหว่างสื่อมวลชน นักวิชาการ NGOs ภาคเอกชน และพระสงฆ์
- “รั้วของชาติ” ไม่ใช่แค่ต่อสู้ภัยสงคราม แต่ภัยธรรมชาติเราก็พึ่งพาได้ ขอบคุณทหารหาญ
- ที่ผ่านมา ไม่มีการตรวจสอบ/ควบคุมคุณภาพของพนังกั้นน้ำในพื้นที่เอกชน
- เทคโนโลยีสารสนเทศและแบบจำลองต่างๆ ช่วยให้ความกระจ่างของข้อมูล แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทักษะการแปรผลและสื่อสารข้อมูลของบุคคลเป็นสำคัญ
- การตัดสินใจและการสื่อสารโดยไม่คิดอย่างรอบคอบ & ขาดข้อมูลที่เชื่อถือได้รองรับ อาจเป็นการเพิ่มปัญหามากกว่าแก้ปัญหา
- การแจ้งเตือนล่วงหน้า พร้อมความถูกต้อง&ชัดเจนของข้อมูล ช่วยลดความตื่นตระหนกของประชาชน
- ความตื่นตระหนกทำให้คนกักตุนสินค้าจำเป็น เช่น น้ำดื่มและไข่ไก่ และเมื่อสินค้าขาดตลาดคนก็จะยิ่งแตกตื่นกันขึ้นไปอีก
- มีเงินก็ใช่ว่าจะซื้อทุกอย่างได้ การแบ่งปัน&ความช่วยเหลือคือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ทุกคนอยู่รอด less is more
- การรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย บางครั้งก็ถูกใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจ องค์กร หรือกลุ่มบุคคล (public relations) มากจนเกินไป
- การจัดการน้ำและปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมถูกนำมาเชื่อมโยงกับการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ข้อดีคือประเทศเราจะเริ่มมีพรรคการเมืองแบบ green party ที่ใช้ นโยบายสิ่งแวดล้อมแสดงเจตจำนงทางการเมือง (political will)
- นโยบายผังเมืองถูกผ่อนผันมากเกินไป พื้นที่ลุ่มต่ำใกล้แหล่งน้ำที่เคยใช้ทำเกษตร ถูกเอาไปสร้างนิคมอุตฯ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กิจกรรมเหล่านี้ได้รับผลกระทบรุนแรง น่าคิดต่อไปว่าที่ผ่านมารายงาน EIA ถูกจัดทำขึ้นอย่างรัดกุมหรือไม่ ทั้งการประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ และมาตรการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
- พื้นที่เกษตรถูกย้ายออกไปให้ไกลโพ้นจากแหล่งน้ำ (บ้างก็ไปบุกรุกป่าคุ้มครอง พอมันเจริญขึ้นก็ขายสปก.ให้รีสอร์ท อุ๊บส์...โทษทีนอกเรื่อง) ต้องหันไปพึ่งพาการส่งน้ำจากเขื่อนเก็บน้ำขนาดใหญ่ --> ปีนี้เลยเก็บน้ำกันซะล้นเลย
- แรงงานอุตฯ พากันอพยพกลับบ้านเกิดไปทำนาทำไร่ จะอย่างไรแผ่นดินไทยก็มีเกษตรกรรมเป็นรากฐาน ดีใจจัง
- เกษตรกรต้องการนโยบายประกันราคาข้าวและพืชผลทางการเกษตรที่เป็นธรรม ไม่งั้นก็หนีไม่พ้นปัญหาหนี้นอกระบบ การแก่งแย่งน้ำในหน้าแล้ง หรือเกี่ยงกันเป็นพื้นที่รับน้ำท่วม ในขณะที่เรากำลังจะเจอวิกฤตน้ำท่วม-น้ำแล้งบ่อย&รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากผลพวงของโลกร้อน
- ชุมชนเริ่มเห็นความสำคัญของการสร้างเขื่อนขนาดเล็ก แหล่งเก็บน้ำขนาดย่อย และการดูแลพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำได้เองและลดความเสี่ยงจากน้ำท่วม แต่ท้องถิ่นยังต้องรอการสนับสนุนด้านนโยบายและงบประมาณจากภาครัฐ
- คน 1 ใน 3 ของประเทศอาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองซึ่งเป็นพื้นที่ท้ายน้ำและที่ลุ่มต่ำ กรุงเทพและเมืองอุตฯรอบๆ คือตย.ที่ชัดเจนที่สุด แต่เราไม่ตระหนักถึงการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ท้ายน้ำกับป่าต้นน้ำที่อยู่ตามหุบเขาและที่ราบสูง ทั้งๆ ที่จริงแล้วผืนป่านี้ช่วยเราสำรองน้ำจืดไว้ถึง 60-80% ก่อนจะค่อยๆ ปล่อยลงสู่พื้นที่ท้ายน้ำ เราทำลายป่าและหันไปพึ่งพาการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำ
- อย่ามัวแต่โทษผลกระทบจากการสร้างเขื่อนและความล้มเหลวในการจัดการน้ำ ถ้าตัวเราเองยังไม่เริ่มต้นประหยัดพลังงานไฟฟ้าและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เราทุกคนก็เป็นต้นเหตุของปัญหา
- น้ำท่วมอีก 1 เดือนจากนี้ไป จะช่วยให้เราเข้าใจสมดุลธรรมชาติมากขึ้นโดยอัตโนมัติ เหมือนที่เขาบอกว่า Tell me and I'll forget. Show me and I'll remember. Involve me and I'll understand.~ Chinese proverb
- ที่ผ่านมาเราไม่มีการจัดเก็บและแยกขยะที่ดีพอ พอน้ำท่วมจึงกลายเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค ซ้ำยังกีดขวางทางระบายน้ำอีก
- ควรมีมาตรการควบคุมร้านอาหารชานเมืองที่เลี้ยงจระเข้ ไม่งั้นถึงเวลาน้ำท่วมก็ตัวใครตัวมัน
- คิดต่างก็อยู่ร่วมกันได้บนผืนน้ำเดียวกัน ถ้าเราแสดงความคิดเห็นอย่างมีขอบเขต ประชาธิปไตยจะเบ่งบาน
พยายามแล้วนะคะ แต่...ครึ่งนึงของที่สรุปมา มันก็ยังเป็นการจับผิดอยู่ดี555 แต่เชื่อว่าเมื่อเราเรียนรู้และยอมรับกับเหตุการณ์เฉพาะหน้า และพยายามเข้าใจมันในภาพรวมมากขึ้น เราจะกลัว “น้องน้ำ” น้อยลง (ส่วนไอ้เข้กับงูหนีน้ำยังกลัวมากเหมือนเดิม lol)
ขอบคุณที่อ่านค่ะ
ศุภสุข ประดับศุข WWF Thailand
29 ตค 2554
ปล.มีหนังสือน่าอ่านอยากแนะนำชื่อ Running Pure www.panda.org/downloads/freshwater/runningpurereport.pdf
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
การทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลองเป็นส่วนหนึ่งทำให้ไปอุดตันระบบ ควรหันมาเข้มงวดปรับหนักๆกันอีกสักครั้ง (วันก่อนเห็นตำตา โยนถุงขยะที่มัดแล้วลงคลอง อยากยิงมิสไซต์ไปในบ้านมัน)
พอค้นหาความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำท่วมในอินเตอร์เนท 70% ก็ดันเป็นข้อมูลขยะ บ้างก็เน้นให้ตื่นตูม บ้างก็กุเรื่องกุข่าวหวังผลทางการเมือง เอาสาระอันน้อยนิดมาบิดเบือนอีกหน่อย
ความเห็นที่ 2.1
ความเห็นที่ 2.1.1
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7