NORI changed its genus

เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาสาหร่ายสีแดงในลำดับ Bangiales ได้ทำการสังคายนาการจัดหมวดหมู่ในกลุ่มนี้ใหมโดยใช้หลักฐานทางชีวโมเลกุล ทำให้สาหร่ายจีฉ่าย หรือ โนริที่ใช้ห่อซูชิ ที่เราๆรู้จักกันอยู่ทั่วไปถูกเปลี่ยนจากสกุลเดิม Porphyra ไปเป็น Pyropia เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยังเกิดสกุลใหม่ขึ้นมาอีกราวๆ 6 สกุล การค้นพบครั้งนี้สร้างทั้งความตื่นเต้นและปวดหัวให้กับนักอนุกรมสาหร่ายทะเลได้ดีทีเดียว เห็นที่ประเทศไทยอาจต้องมีการจัดหมวดหมู่ของสาหร่ายทะเลที่พบในไทยอีกสักรอบใหญ่ๆในเร็ววันนี้

Reference: Sutherland et al. 2011. A new look at an ancient order: Generic revision of the Bangiales (Rhodophyta). Journal of Phycology. 47: 1131-1151.

Comments

ความเห็นที่ 1

หากทาง morphology ก้ต่างกันชัดเจนก็คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไรหรอกครับ แต่ถ้าหน้าตาไม่ต่างขาดๆนี่สิ

ความเห็นที่ 2

หากทาง morphology ก้ต่างกันชัดเจนก็คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไรหรอกครับ แต่ถ้าหน้าตาไม่ต่างขาดๆนี่สิ

ความเห็นที่ 2.1

อันนี้ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ บางครั้งข้อมูลทาง morphology กับ molecular data ค่อนข้างที่จะส่วนทางกัน ไม่เฉพาะในกลุ่มสาหร่ายทะเลเท่านั้น ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตอื่นๆก็มีให้เห็นได้ทั่วไป เรื่องราวเหล่านี้เป็นอะไรที่ค่อนข้างจะท้าทายสำหรับนักอนุกรมวิธานอยู่เสมอ บางครั้งทำไปทำมาก็หน้มืดกับข้อมูลได้เหมือนกัน

ความเห็นที่ 3

โดยส่วนตัวผมว่า Porphyra เองหน้าตาก็ต่างกันหลายชนิดอยู่นะครับ เคยคิดเหมือนกันว่าแต่ละตัวก็น่าจะเปลี่ยนๆ ไปหน่อย อย่าง Porphyra ทางยุโรปนี่หน้าแหวกแนวมากเลย

ความเห็นที่ 3.1

ด้วยลักษณะที่แตกต่างกันของภูมิอากาศและภูมิประเทศ ย่อมทำให้ลักษณะทางรูปร่างของมันแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา จาก paper ที่ผมอ้าง ก็มีการเปลี่ยนแปลง สาหรร่ายในสกุล    Porphyra หลายชนิด ไปอยู่ในสกุลใหม่ที่เพิ่งตั้งขึ้น และคิดว่าสาหร่าย Porphyra ในแถบยุโรป ก็น่าจะได้มีโอกาสใช้ชื่อใหม่ให้อินเทรนด์กันบ้าง ไม่มากก็น้อย smiley

ความเห็นที่ 3.1.1

ผมยังไม่เคยเห็น Porphyra ในไทยเลย อยากเห็นตัวเหมือนกัน

ความเห็นที่ 3.1.1.1

มาชมได้ที่เกษตร ถ้าน้ำไม่พัดพา Porphyra ไปซะก่อนนะ 

ความเห็นที่ 4

อ่านเปเปอร์แล้วนะครับ งง มากๆ = = หรือผม concentrate เรื่อง primer gene อะไรที่ใช้มากไปก็ไม่รู้

ความเห็นที่ 4.1

ผมคิดว่า arthsrn มีวิทยายุทธทางด้าน molecular ดีอยู่แล้ว อาจจะไม่ต้องสนใจในส่วนวิธีการที่ได้ของข้อมูลมากนักก็ได้ (ถ้าเคยอ่านงานทางด้าน moleculr systematic มาบ้างแล้ว จะบอกว่ามันค่อนข้างคล้ายๆๆกัน ต่างกันที่ gene ที่ใช้ในการสร้าง Tree เท่านั้น ใน paper นี้ใช้ nrSSU กับ rbcL และใช้ MP, ML & BI ในการสร้าง Tree) แต่ที่คิดว่าไม่เข้าใจอาจจะเป็นเพราะงงกับพวกศัพท์แสงทางด้านอนุกรมวิธานของสาหร่ายรึป่าว ลองหา text book ที่เกี่ยวกับ phycology มาลองอ่านดูแล้วลองกลับไปอ่านใหม่ น่าจะเข้าใจมากขึ้น หรือไม่ก็รอเกษตรน้ำลดแล้วมาเรียน phycology นะจ้า

ปล. อ่านหลายๆรอบจะเข้าใจมากขึ้น สู้ๆนะ