[เม้ามอยเปเปอร์] ความหลากหลายของโพรโทซัวในโรงฆ่าสัตว์
เขียนโดย arthsrn Authenticated user เมื่อ 31 ตุลาคม 2554
อ่านเปเปอร์แล้วอยากเม้ามอยครับ คนศึกษาทางด้านสาหร่ายและโพรโทซัวในที่นี้มีน้อยเหลือหลาย ประมาณว่าอยากมีส่วนร่วมบ้าง มาเข้าเรื่องกันดีกว่า
อ้างอิง
Vaerewijck, M.J.M., Sabbe, K., Baré, J., and Houf, K. 2008. Microscopic and molecular studies of the diversity of free-living protozoa in meat-cutting plants. Applied and Environmental Microbiology 74: 5741–5749.
เปเปอร์นี้นักวิจัยเขาก็ได้ศึกษาความหลากหลายของ free-living protozoaคือโพรโทซัวที่ไม่ใช่ปรสิตสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งโพรโทซัวบางชนิดที่เป็น free-living นั้นเนี่ย เขาไม่ได้ทำให้ก่อเกิดโรค แต่เขาเป็นพาหะนำโรคที่ติดมาด้วยต่างหาก อาจจะมีแบคทีเรียบางชนิดเกิดภาวะอยู่ร่วมกันsymbiontก็เป็นได้ นักวิจัยก็ทำการศึกษาด้วยวิธีการทางจุลวิภาคศาสตร์ (ใช้กล้องจุลทรรศน์) กับวิธีการทางชีวโมเลกุล (ขอเรียกสั้นๆว่า โมเลค) จากโรงฆ่าสัตว์ (โรงเชือดนั่นเอง) โดยเขาจะทำการเก็บตัวอย่างมาแล้วก็มาใส่ในอาหารเลี้ยง ทำไมต้องทำแบบนั้นด้วย? คือแบบนี้ครับสมมติว่าเราเก็บตัวอย่างโพรโทซัวมาแต่แรก บางทีเราอาจจะยังไม่ทันได้เห็นตัวที่เราเรียกว่าเป็น hidden-speciesคือเขายังไม่พร้อมจะโตให้เราเห็น เราก็เอามาเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเพื่อที่ว่าจะได้มีตัวที่จริงๆ แล้วมีอยู่แต่เราไม่เห็นในตอนแรกเขาได้รับอาหารแล้วจะเจริญออกมาให้เห็นแล้วจึงมาทำobserveภายใต้กล้องจุลทรรศน์ด้วย แล้วก็เอาไปทำโมเลคด้วย (เหมือนความรักที่เหมือนผี รู้ว่ามีแต่ไม่เคยเจอ ต้องออกตามหาตามล่อให้ออกมา)
อ้างอิง
Vaerewijck, M.J.M., Sabbe, K., Baré, J., and Houf, K. 2008. Microscopic and molecular studies of the diversity of free-living protozoa in meat-cutting plants. Applied and Environmental Microbiology 74: 5741–5749.
เปเปอร์นี้นักวิจัยเขาก็ได้ศึกษาความหลากหลายของ free-living protozoaคือโพรโทซัวที่ไม่ใช่ปรสิตสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งโพรโทซัวบางชนิดที่เป็น free-living นั้นเนี่ย เขาไม่ได้ทำให้ก่อเกิดโรค แต่เขาเป็นพาหะนำโรคที่ติดมาด้วยต่างหาก อาจจะมีแบคทีเรียบางชนิดเกิดภาวะอยู่ร่วมกันsymbiontก็เป็นได้ นักวิจัยก็ทำการศึกษาด้วยวิธีการทางจุลวิภาคศาสตร์ (ใช้กล้องจุลทรรศน์) กับวิธีการทางชีวโมเลกุล (ขอเรียกสั้นๆว่า โมเลค) จากโรงฆ่าสัตว์ (โรงเชือดนั่นเอง) โดยเขาจะทำการเก็บตัวอย่างมาแล้วก็มาใส่ในอาหารเลี้ยง ทำไมต้องทำแบบนั้นด้วย? คือแบบนี้ครับสมมติว่าเราเก็บตัวอย่างโพรโทซัวมาแต่แรก บางทีเราอาจจะยังไม่ทันได้เห็นตัวที่เราเรียกว่าเป็น hidden-speciesคือเขายังไม่พร้อมจะโตให้เราเห็น เราก็เอามาเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเพื่อที่ว่าจะได้มีตัวที่จริงๆ แล้วมีอยู่แต่เราไม่เห็นในตอนแรกเขาได้รับอาหารแล้วจะเจริญออกมาให้เห็นแล้วจึงมาทำobserveภายใต้กล้องจุลทรรศน์ด้วย แล้วก็เอาไปทำโมเลคด้วย (เหมือนความรักที่เหมือนผี รู้ว่ามีแต่ไม่เคยเจอ ต้องออกตามหาตามล่อให้ออกมา)
Comments
ความเห็นที่ 1
ขั้นแรกเลยนักวิจัยก็เริ่มทำการเก็บตัวอย่างจากโรงฆ่าสัตว์ทั้ง 5แห่งได้แก่โรงA B C D E ครับ โดย A เป็นโรคเชือดน้องวัว B และ Cเป็นโรคเชือดน้องหมู ส่วน D กับ E เป็นโรคเชือดน้องวัว น้องหมูและน้องเป็ดน้องไก่ครับ ซึ่งจะเห็นว่าเนื้อสัตว์เพื่อการบริโภคทั้งสิ้น โดยการเก็บตัวอย่างแต่ละโรงเชือดนั้นจะเลือกเก็บจากบริเวณต่างๆ ของโรงเชือด โดยแบ่งออกเป็น 3ส่วนคือส่วนที่มีการสัมผัสกับเนื้อสัตว์โดยตรง เช่น สายพานลำเลียงและโต๊ะเชือด และส่วนที่ไม่ได้สัมผัสกับเนื้อสัตว์โดยตรง เช่น เพดาน เครื่องทำความเย็น ท่อระบายน้ำ ประตูและส่วนอื่นๆ เช่น เศษเนื้อ ระบบลำเลียงน้ำ ซึ่งอุปกรณ์การเก็บตัวอย่างนั้นก็แตกต่างกันออกไปกับบริเวณที่เก็บมีตั้งแต่ตัวอย่างที่ใช้คัดตอนบัด (cotton wool) ป้ายเก็บขึ้นมา ตัวอย่างที่เป็นของเหลว เศษเนื้อ รวมไปถึงน้ำประปาที่ใช้ เป็นต้น หลังจากที่ได้ตัวอย่างแล้ว นักวิจัยเขาก็เอาตัวอย่างที่ได้มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยง ซึ่งอาหารเลี้ยงที่ใช้คือ Page’s amoeba saline solutionผสมกับเมล็ดข้าวใน petri dish (จานแก้ว) แล้วนำไปเพาะฟักในเครื่อง incubator ที่อุณหภูมิประมาณ5องศาเซลเซียสเป็นเวลา 7 วัน ก่อนทำการส่องใต้กล้องจุลทรรศน์ (แต่จริงๆ แล้วระหว่าง7 วันนี้นักวิจัยเองก็ส่องทุกวันเหมือนกัน) โดยทำการส่องจากจากแก้วนั้นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิด inverted light microscope (คืออย่างนี้ครับ invertedจะมีข้อดีคือไม่ต้องมาหยดลงบนสไลด์ก็จะเห็นได้เลยว่าเจอตัวอะไรบ้าง เห็นพื้นที่กว้างกว่า)
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
จาก310แบนพบว่าเป็นแบนของโพรโทซัว 107แบน พวกเชื้อรา(fungi) 102แบน และMetazoa17แบน (อาจจะเป็นพวกหนอนตัวกลมหนอนตัวแบน)
#ภาพ A และภาพ B (ที่มา จากเปเปอร์เลยครับ)
ความเห็นที่ 5
#การเพาะเลี้ยงก่อนทำการศึกษา – พบชนิดที่เพิ่มขึ้น แล้วถามว่าทำไมต้องทำตั้งแต่วันที่1 ที่ทำการเก็บตัวอย่างทันทีเลย แล้วทำไมต้องทำตั้งแต่วันที่1- 7 เพราะว่าโพรโทซัวบางชนิดเราก็เอามาเลี้ยงให้ได้ไม่รอดครับ ทำตั้งแต่วันที่ 1 – 7 จะเห็นว่ามีชนิดของโพรโทซัวที่แตกต่างกัน (รายงานว่าทำแค่ 7 วัน แต่ในความเป็นจริงน่าจะมากกว่านั้นแต่วันต่อๆ ไปไม่พบอะไรแถมที่เพาะไว้ตายหมดอีก –ประสบการณ์ตรงจากผมเอง)
#การใช้primer2ชนิด คือทำให้ primer สามารถเข้าจับได้ดีมากขึ้น ให้ผลที่มีประสิทธิภาพครับ
การใช้DGGEในการรันเจล ให้ผลที่อาจจะ overestimateมากไปเสียหน่อยเพราะอะไร ไว้จะอธิบายทีหลังนะครับค่อนข้างยาวอยู่
เปเปอร์ประมาณนี้น่ามีการทำในไทยบ้าง... แต่ถ้าทำไปจะโดนสั่งเก็บไหมนะ... เพราะอาจจะกระทบต่ออุตสาหกรรมในไทยเราเองด้วย~
เปเปอร์นี้สอนให้รู้ว่า
#ในอาหารมีสิ่งมีชีวิตที่เราอาจจะไม่ต้องการติดมาด้วยเสมอ เพราะฉะนั้นปรุงอาหารให้สุกก่อนรับประทานนะครับ
#การทำวิจัยให้ได้มีประสิทธิภาพด้านอนุกรมวิธาน บางทีการใช้โมเลคมาเป็นtoolอาจจะช่วยให้ได้ผลการศึกษาที่กระจ่างชัดมากขึ้น แต่โมเลคก็ไม่ใช่ทุกอย่าง :)
ผมเห็นว่าเปเปอร์นี้อาจจะมีประโยชน์ อาจจะเห็นว่าอาจจะเป็นในทาง molecular จ๋าไปสักหน่อย แต่ผมเห็นว่าน่าจะนำมาปรับใช้กับสัตว์หรือพืชชนิดอื่นๆ ที่เราสนใจอยู่ได้ :)
ผมไม่ได้ตั้งกระทู้มาเป็นปี มาทีเดียวก็สาดเสียยาวเลย
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 6.1
ความเห็นที่ 6.2
ความเห็นที่ 7
โมเลกุลา...ช่างน่ากลัวจริงๆ ^^
เดี๋ยวเราจะเอาบ้าง โฮะๆ
ความเห็นที่ 7.1
ความเห็นที่ 7.1.1
ไม่ค่อยเห่อเลยนะ พ่อคู้ณณณณณณ
ความเห็นที่ 7.1.1.1
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
ได้เข้ามาอ่านแล้ว พอเป็นแนวทางคะ
พอดีว่าทำเรื่องเกี่ยวกับโพรโทซัวในดินนะคะ เป็นประโยชน์จริงๆ