ข่าวล่า: กรมประมงเตรียมปล่อยปลากินยุง (Gambusia affinis) และ เซลฟิน (Poecilia latipinna) ปลาน้ำจืดต่างถิ่นในพื้นทีน้ำท่วม

ปลาเอเลี่ยนทั้งสองชนิด (จากทวีปอเมริกาเหนือ) ปัจจุบันมีอยู่ในประเทศไทยอยู่แล้ว สร้างความเสียหายให้ระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย ทั้งบ่อปลาบ่อกุ้ง เนื่องจากคอยแย่งกินอาหารสัตว์เศรษฐกิจ และยังแพร่พันธุ์แย่งที่อยู่อาศัยปลาท้องถิ่น

ปลาไทยก็กินยุงเป็น ทำไมต้องปล่อยเอเลี่ยนครับ ไม่เข้าใจ?  สั่งเพาะปลากริม ปลากระดี่จะไม่ว่าเลย  แค่นี้ก็เครียดจะแย่แล้ว อย่าเอานโยบายประหลาดๆมาใส่หัวข้าพเจ้าเพิ่มเลย

***ข่าวล่าสุด 16.02 น. วันที่ 8 พย. 2554: สรุปว่ากรมฯยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกปลาชนิดใดชนิดหนึ่งชัดเจน ขอเชิญพี่น้องทุกท่าน ร่วมกันเสนอชื่อปลาท้องถิ่นที่คิดว่าสามารถช่วยกินลูกน้ำในสภาพน้ำท่วมขังได้ดีกันครับ 

Comments

ความเห็นที่ 1

รูปปลากรอบ

Gambusia affinis  ปลากินยุง

ตัวผู้

ตัวเมีย

Poecilia latipinna ปลาสอด

จาก wikipedia

ความเห็นที่ 2

เฮ้อ! กรมนี้นับวันจะติงต๊องขึ้นทุกวัน

ความเห็นที่ 3

ระวังสั่งเพาะ ซัคเกอร์ กินตะไคร่น้ำตามท้องถนน น๊ะครับ 

ความเห็นที่ 4

ถ้าคิดได้แค่นี้ก็อย่าเป็นเลยกรมประมง  เปลี่ยนชื่อเป็นกรมปลาประหลาดไปเหอะ!!

ความเห็นที่ 5

ผมก็สังเกตมานานแล้วนะครับ ที่เขานิยมใช้ปลาพวกนี้เพราะ...
-แพร่พันธุ์ได้เร็ว มีจำนวนมาก
-เลี้ยงง่าย อาหารกินได้หลายอย่าง
-มีสีสันสวยงาม

ซึ่งผมก็ไม่เห็นด้วยนะ เพราะปลาพวกนี้ ปลาซิว-ปลาเข็มในคลองก็ไม่ค่อยมีแล้ว
มีแต่พวกนี้อะครับ ตามจริงผมว่าปลากัดดีกว่าเยอะเลยครับ ถึงการเพาะจะต้องดูแลหน่อย
แต่ประเทศเราใช้เป็นปลากินยุงพื้นฐานไปแล้วครับ

ความเห็นที่ 6

ความเห็นที่ 7

http://www.gambusia.net/ACmosquito.html

แค่สองอันนี้ แล้วตามไปอ่านเอกสารที่เค้าอ้างอิงไว้ก็จุกแล้วอ่ะ...

ความเห็นที่ 8

ทั้งหมดเป็น หนึ่งใน 100 Global Worst Invasive Alian Species

ความเห็นที่ 9

ข้อจำกัดปลาไทยก็คือ มันไม่ทนน้ำเน่า โตและแพร่พันธุ์ช้า มีความเฉพาะตัวของคุณสมบัติน้ำมากกว่าพวก IAS

ความเห็นที่ 10

เซลฟิน (Poecilia latipinna) กำลังสร้างปัญหาในทะเลสาบสงขลา

ความเห็นที่ 11

ความเห็นที่ 12

ผมขอเสนอแบบคุณนณณ์ กระดี่ กริม ซิว หรืออย่าง ปลานิล หมอเทศนี่ไม่รู้ได้หรือเปล่า

ความเห็นที่ 13

ปลาหมอเทศรู้สึกจะไม่ดีนะครับ เห็นเขาว่ามันกินลูกกบ-ลูกงู-ลูกปลาต่างๆ
แถมกินจุอีก รู้แค่ว่านำเข้าจากแอฟริกา อันนี้ที่ผมรู้มานะ ถ้าผิดพลาดก็ขออภัยด้วยครับ

ความเห็นที่ 14

แล้วปลาไทยอะไรที่จะทนพะยะค่ะทุกสภาพน้ำ เพาะพันธุ์ได้ทีละเยอะๆ ราคาถูก บ้างหล่ะเนี่ย

ความเห็นที่ 15

เออ ท่านลูกทุ่งบอกมาผมก็คิดหัวแทบแตกเลยปลาไรหว๊า ปลานิลตัวเล็กถ้าน้ำลดก็เป็นปลาหยื่อไง เอ แล้วถ้าปลานอกอ่ะเป็นปลาเหยื่อยไม่ได้หรือไง เอาแล้วตูคิดจนกระบาลป่วยอีกแล้ว เออปลาไรหว๊าออกลูกเร็ว น้ำเสียตูข้าก็อยู่ได้มีลูกเป็นคอกอีกตั่งหาก เออมีลูกเป็นคอก ปลาช่อนไง ลูกคอก แต่คิดแลดูเหมือนจะโดนฉมวกอ่ะไปน้ำขุ่นๆ โอ้ย กริมเถอะพี่ท่าน กระดี่ก็ได้ เพาะเยอะตายเยอะก็ไม่เป็นไรถ้ารอดก็เป็นอาหารได้ โอ้ยขอตัวไปอัดพาราซะสองเม็ดก่อน เดี๋ยวนึกได้แล้วจะบอกนะ มึนทึบ

ความเห็นที่ 16

ตอนนี้ที่มองไว้มีสองชนิดครับ น่าจะดีกว่าแน่นอน
1. ปลาหมอไทย
2. ปลาสลิด

ทั้งสองชนิดมีข้อดีคือ
1. เป็นปลาท้องถิ่นของไทย
2. อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งที่มีอ๊อกซิเจนน้อยได้ดี
3. ทนน้ำเสียได้ดีเพราะหายใจอากาศได้
4. กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก รวมทั้งลูกน้ำเป็นอาหาร และน่าจะทำหน้าที่ได้ดีกว่า ปลากินยุง เพราะหากินทุกระดับน้ำ ไม่ได้หากินแต่บริเวณผิวน้ำเหมือนปลากินยุง
5. โตแล้วทำเป็นอาหารได้ คนไทยคุ้นเคยดี (ถ้าไม่มีสารพิษนะ)
6. หลุดจากแหล่งน้ำท่วมขังไปก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นปลาท้องถิ่นที่กระจายพันธุ์กว้างอยู่แล้ว
7. กรมประมง หน่วยงานของรัฐ และเอกชน มีความรู้ในการเพาะปลาทั้งสองชนิดให้ได้เป็นจำนวนมากอยู่แล้ว
8. หาพ่อแม่พันธุ์ได้ง่ายทั้งสองชนิด

ปลาสลิด
http://www.siamensis.org/species_index#6543--Species:%20Trichogaster%20p...

trichogaster_pectoralis3.jpg

ความเห็นที่ 16.1

น้ำลายไหล

ความเห็นที่ 16.2

ปลาสลิดถ้าจะยาก ในทางเทคนิค เพราะ:
หาลูกพันธุ์ยาก โตช้า
ไม่ทนน้ำเน่า (อย่างใน กทม สลัม) แต่ทนน้ำที่มี organic อย่างในนาข้าวได้
อาหารหลักคือ microplankton  มากกว่าลูกน้ำ ในตู้ มันกินเพราะไม่มีทางเลือก
ต้องอยู่น้ำลึกกว่า 30 cm ลงไปขณะที่ลูกน้ำอยู่ในที่ตื้นกว่านั้นมาก ปลาหมออาจwork กว่าแต่ก็มีข้อจำกัดที่คุณภาพน้ำ (อยู่ตื้นกว่าได้ ทนกว่าสลิดหน่อยนึง)
แหล่งที่พบลูกน้ำมาก มักคูณภาพเลวเกินกว่าที่เจ้าปลาสองชนิดนี่อยู่ได้ ขณะที่ยุงลายก็อยู่ในน้ำขังวัสดุ (น้ำคุณภาพดี) ที่ไม่อาจไล่ปล่อยปลาใส่ได้ทุกชิ้น

ความเห็นที่ 17

ลูกสลิดแพงนะท่านตัวละเกือบหลึ๋ง(รัดบาน)เขาจะเอาหรือเปล่า หมอไทยนี่ยังไม่มีราคายังหาข้อมูลไม่เจอเพราะคนเพาะเลี้ยงน้อยด้วย

ความเห็นที่ 18

ปลาที่เล็งๆไว้ ส่วนใหญ่มีหน่วยเพาะอยู่แล้วครับ หรือไปมั่วนิ่มตักเอามาปล่อยแก้ขัดก่อนก็ยังไหว

ความเห็นที่ 19

สำหรับผม เอาประสบการณ์วัยเด็กที่ได้อยู่กับน้ำท่วมบ้าน เกือบจะเรียกได้ว่าบ่อยครั้งเพราะ บ้านอยู่นอกแนวคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา (บางลำพูล่าง คลองสาน) เจอมาทั้งน้ำท่วมขังจนมีสีดำส่งกลิ่นเหม็น หรือ พวกน้ำท่วมประเภทน้ำขึ้นลงตามอิทธิพลน้ำทะเล ปลาที่เจอบ่อยๆ ที่จับเล่น เสมอๆ ก็ปลาหมอ ปลากระดี่ ปลาสลิดตัวเล็กๆ รวมทั้งปลากั๊ง และ ปลาไหล นี่หล่ะครับ มันจะขึ้นมากับท่อระบายน้ำ หัวตะกั่วหรือซิวข้าวสารไม่ทนทานน้ำเน่าท่วมขังนะครับ เพราะไม่เคยเห็นเจ้าพวกนี้สักทีตอนที่น้ำท่วม นอกจากนี้ตอนเรียนมัธยมใกล้กระทรวงศึกษา คลองผดุงกรุงเกษมนี่น้ำดำและเหมือนแค่ไหน ก็มี เจ้าปลาหมอ ปลากระดี่ ปลาสลิด อยู่ รวมทั้ง Gambusia ด้วยนะครับ

ตั้งแต่รับทราบเรื่องนี้มา ก็นึกถึง ปลาหมอ กับ ปลาสลิด เป็นอันดับแรก เนื่องจากประสบการณ์ข้างต้น เพราะ ปลาเหล่านี้ ยังไรก็ดีเป็นปลาพื้นเมือง หน่อยงานรัฐหรือฟาร์ฺมเอกชน มีศักยภาพในการผลิตได้จำนวนมากๆ ครับ หลังน้ำลดยังเป็นแหล่งอาหารและรายได้ให้กับชาวบ้านได้อีกทอดหนึ่ง

ความเห็นที่ 20

สำหรับปลาหมอ ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์กันอย่างกว้างขวางนะครับ แม้แต่ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพราะเป็นปลาเศรษฐกิจที่ส่งออกไปเอเชียใต้และตะวันออกกลาง

ความเห็นที่ 20.1

ปลาสลิด  1 แสน ราคา 8000 บาท
ปลาหมอไทย 1 แสน ราคา 30000 บาท

ความเห็นที่ 21

เจ้าปลาป่อง (ชื่อที่ผมใช้เรียก Gambusia ในสมัยเด็ก) มันมีข้อเด่นที่เพิ่มจำนวนได้รวดเร็วมากในสภาพน้ำท่วมขัง ซึ่งเป็นข้อเ่ด่นในวิกฤตนี้ แต่ผลกระทบอื่นๆ อยากให้ลองนึกถึงบ่อดินที่เลี้ยงปลา ไม่ว่าปลาที่อยู่ในบ่อเป็นปลาอะไรแม้แต่ปลากินเนื้อถ้ามีเจ้าปลาป่อง เจ้านี่ก็เกิดเต็มบ่อไปหมด แย่งกินอาหารไม่รู้เท่าไหร่ ซึ่งเป็นผลกระทบที่ควรคำนึงครับ

ความเห็นที่ 22

คงไม่ต้องปล่อยล่ะมั้งครับ ตอนนี้ก็เห็นว่ายกันเต็มไปหมดตามที่น้ำท่วม

ความเห็นที่ 23

คงไม่ต้องปล่อยล่ะมั้งครับ ตอนนี้ก็เห็นว่ายกันเต็มไปหมดตามที่น้ำท่วม

ความเห็นที่ 24

นี่แหล่ะครับ คือสิ่งที่อยากอ่าน ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 25

จากคำถาม นนณ์ใน FB

1. ปลากินยุง กินลูกน้ำได้ดีกว่าปลาท้องถิ่นจริงหรือเปล่า? ใช่เ พราะมันเป็น specialist กินลูกน้ำ
2. ปลากินยุง ทนน้ำเน่าได้ดีกว่าปลาท้องถิ่นหรือเปล่า? ก็จริงอีก แต่ในระดับน้ำดีถึงเลวปานกลางและทนน้อยกว่า guppy: เลว (ปลาไทยได้ระดับ ดี-เริ่มเสีย; ปลาเข็ม หมอ ช่อน กระดี่ เอาระดับ longterm/breedable ไม่ใช่ทนอยู่ได้ ไม่ตาย)
3. ปลากินยุง ขยายพันธุ์ได้เร็วกว่าปลาท้องถิ่นหรือเปล่า? แน่นอน มันเล่นกิน-ปี้ ทั้งช่วงกลางวัน  แต่ปลาหางนกยูงก็มีคูณสมบัติเหมือนกันและใช้ประโยชน์เป็นปลาเหยื่อได้  ที่บอกมาไม่ใช่สนับสนุน alien แต่เพื่อให้เปรียบข้อจำกัดปลาไทยกัยน้ำเน่า โดยทั่วไปที่ที่มีน้ำพอไปได้มักไม่มีลูกน้ำ ขณะที่น้ำเลวมากๆ ที่ปลาไทยอยู่ไม่ได้ (ปัจจุบันแม้ปลาหางนกยูงก็ไม่ไหว) มักเป็นแหล่งเพาะยุงรำคาญ ส่วนยุงลายชอบน้ำขังตามวัสดุ (ขยะ) ที่รับน้ำฝน ปลาจึงไม่ค่อยมีบทบาทกำจัดนัก

ความเห็นที่ 26

1. ). Gambusia does not specialize in mosquito larvae and pupae

(Harrington and Harrington 1961; Myers 1965; Washino and Hokama 1967, Meisch 1985)

Harrington, R. W. and E. S. Harrington. 1961. Food selection among fishes invading a high subtropical salt marsh: From onset of flooding through the progress of a mosquito brood. Ecology 42:646-666.

Washino, R. K. And Y. Hokama. 1967. Preliminary report of the feeding pattern of two species of fish in a rice field habitat. Proc. & Papers Cal.Mosq. Cont. Assoc. 35:84-87.

Meisch, M. V. 1985. Gambusia affinis affinis. In H. C. Chapman, ed., Biological control of mosquitoes.

Myers, G. S. 1965: Gambusia: the fish destroyer. Tropical Fish Hobbyist: 31-54.

ความเห็นที่ 27

  • Mosquito larvae are not the natural food of mosquito fish, which if fed solely upon mosquito larvae, show signs of delayed maturity and heavy mortalities. It has been shown that native fish actually eat more mosquito larvae than mosquito fish (Lloyd, 1987).
Lloyd L. 1987. Biological Control of Insects With Fish. A paper presented at the workshop "Mosquito Vector Control in Australia: Current Status and Future Prospects". Commonwealth Department of Health, Canberra.

ความเห็นที่ 28

จากการสังเกตไม่ใช่การทดลอง ผมปล่อยปลาป่อง ลงในอ่างขนาด 2 เมตร X 50 cm. กับเจ้าลูกปลาหมอ เจ้าปลาหมอ กินลูกน้ำหมดอย่างรวดเร็วกว่าปลาป่องมากนักครับ

น้ำเน่าเสียในกรุงเทพ ผมก็เห็นปลาหมอกับปลากระดี่สามารถอยู่ได้ในระดับน้ำที่มีมลภาวะ เท่าๆ กันนะครับ (ในร่องน้ำในมหาวิทยาลัยเกษตรและบรรดาคลองที่มีน้ำดำๆ ในกรุงเทพฯ)

สำหรับการเจริญพันธุ์เจ้าปลาป่องคงจะมีความสามารถเช่นนั้นจริง ทั้งในช่วงน้ำท่วมหรือหลังจากนั้น แต่มันก็เหมือนดาบสองคมนะครับ

ที่สำคัญคนไทยเรามักรู้จักปลาไทยจากหนังสือและตำรามากกว่าที่จะลองศึกษาและเรียนรู้จากพวกมันอย่างแท้จริง

ความเห็นที่ 29

บทความครับ
http://www.siamensis.org/article/34645

ความเห็นที่ 30

ผมว่าเราลองกลับไปมองที่ทรายอะเบทดีกว่าไหมครับ แล้วบอกหรือแจ้งใ้ห้เจ้าของความคิดที่จะปล่อยปลาไปกินลูกน้ำว่ามันไม่ใช้ไม่ได้อ่ะ ทรายอะเบทดีกว่าไหม ใช้ได้ง่ายกว่า น้ำไหลแรงยุงมันก็อยู่ไม่ได้เหมือนกัน น้ำนิ่งก็ทรายอะเบท น้ำไหลก็ปล่อยให้มันไปก่อน น้ำเน่าก็ทนๆกันหน่อยละกันหรือปั๊มอากาศให้มากหน่อย (วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำก็นองทั่วประเทศ) เฮฮาไว้ แม้ทั้งน้ำตาก็เหอะ ช่วยๆกันแล้วมันก็จะผ่านไปได้ด้วยดี ผมเข้าใจเรื่องกลิ่นของน้ำเน่าว่ามันบั่นทอนสุขภาพกาย สุขภาพจิต แต่ที่ถกกันมายกตัวอย่างมา มันน่าจะต้องทำใจแหละครับ

ความเห็นที่ 31

ที่อมตะนคร เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม สูบเกือบแห้งคลอง ไม่มีน้ำไปเลี้ยงคลอง ตอนนี้เน่าสนิท เหม็นขนาดพนักงานป่วยไปแล้วเป็นสิบราย แจ้งไปก็บอกว่าต้องเตรียมรับสถานะการณ์น้ำท่วม ตอนนี้พนักงานมาทำงานน้อยมาก ไม่กลัวนำ้ท่วมแต่เหม็นทนไม่ไหวเข้า รพ.ไปแล้วหลายคน

ความเห็นที่ 32

ขอแสดงความคิดเห็นมั่งครับ
ที่ที่ปลาอยู่กับที่ที่ลูกยุงอยู่มันคนละแบบ..อย่าฝืนธรรมชาติจะดีกว่า ขืนปล่อยปลา (ทั้งปลาไทยและปลาเทศ) ไปก็ใช่ว่ามันจะกินลูกยุงเพราะน้ำเน่าซะขนาดนั้นคงไม่มีอารมณ์กินอะไรหรอก ยิ่งคาดหวังว่าจะให้มันขยายพันธุ์ก็คงไม่ทัน น้ำคงลดก่อนปลารุ่นหลังโต น่าจะให้มาตรการอื่นจะดีกว่า ทรายอะเบทก็เข้าท่าเหมือนกันนะครับ

บ้านผมก็น้ำท่วมเหมือนกันประมาณเมตรครึ่งเห็นจะได้ ใช้วิธีนี้ครั..เปิดประตูหรือหน้าต่างให้มีทางออกอย่างน้อย 2 แห่ง (มีทางออกที่เดียวน้ำไม่ค่อยไหล) แล้วใช้ปั๊มน้ำให้น้ำที่ขังในบ้านไหลเวียนและถูกระบายออกมาบ้าง เคยมีช่วงแรกที่บ้านถูกตัดไฟก็ใช้กระดานแผ่นๆ ดันน้ำในบ้านให้ไหลออกมา อ่อ..แล้วตอนกลางคืนอย่าลืมปิดประตูป้องกันพี่เข้กับน้องงูเข้าบ้าน น่าจะคงช่วยให้น้ำเน่าน้อยลง

น้ำหมุนเวียนยุงก็มาวางไข่น้อยลง ไอ้ที่เป็นลูกยุงก็ถูกน้ำพัดไปบางส่วน ไอ้ที่ลอกคราบแล้วก็จัดไบก้อนให้ก่อนอาบน้ำแล้วเข้านอน

ปล. ต้องอดทน เดี๋ยวน้ำก็ลดแล้วครับพี่น้อง ^^

ความเห็นที่ 33

ปลากัดป่าสิครับ เอาแบบพันธุ์ภาคกลาง แต่สงสัยจะเพาะยาก ไม่ทันการณ์

ความเห็นที่ 33.1

อย่างที่ผมเคยบอกไปแล้วนั่นแหละครับว่า
ปลาแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน(ถึงเป็นชนิดเดียวกันก็ตาม)อาจทำให้เอกลักษณ์ประจำถิ่นหายไปได้
ปลากัดจึงไม่เหมาะสำหรับเรื่องนี้อย่างยิ่ง!!
 

ความเห็นที่ 34

แถวบ้านผม ในคลองหลังบ้าน(คลองรางจาก) ยังมีปลาสลิดให้เห็นบ้างครับ  การขยายพันธุ์คงไม่ทันใจกรมประมงท่าน แกมบูเซีย ก็ทนทานมากไม่ว่าสภาพน้ำในฤดูไหนๆ มองปลาในคลองบ่อยๆ เห็นปลาสลิดหรือกระดี่ยังดีใจกว่าเห็นแกมบูเซีย
ดังนั้นเสนอมั่ง กระดี่ น่าจะดีครับจำนวนเยอะๆเดี๋ยวก็แปลงเป็นปลาร้าได้ด้วย