กลไกอัศจรรย์ของผลมหัศจรรย์ (miracle fruit)
เขียนโดย Due_n Authenticated user เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2554
ผมเชื่อว่าหลายคนคงรู้จักความมหัศจรรย์ของพืชนี้ดี สิ่งมหัศจรรย์จะเกิดขึ้นเมื่อเรากินผลสีแดงของมัน และตามด้วยของเปรี้ยวๆ ตามไป หลังจากนั้นไม่นานความเปรี้ยวก็เปลี่ยนเป็นความหวานไปในบัดดล! แม้จะมีการศึกษามากมายเกี่ยวกับสารและคุณสมบัติที่ทำให้เกิดความหวานนี้ขึ้น แต่ยังไม่มีนักวิจัยกลุ่มไหนสามารถอธิบายกลไกการเกิดนี้ได้เลย จนกระทั่งเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ ทีมนักวิจัยญี่ปุ่นและฝรั่งเศสสามารถอธิบายกลไกดังกล่าวได้สำเร็จเป็นครั้งแรก!
Comments
ความเห็นที่ 1
ความมหัศจรรย์ในการเปลี่ยนรสเปรี้ยวให้เป็นรสหวานนี้ทำให้มีการศึกษามากมายเกี่ยวกับสารสำคัญและคุณสมบัติของมัน จนในปี พ.ศ. 2511 ทั่วโลกจึงได้รู้ว่าสารที่ทำให้เกิดความหัศจรรย์นี้ก็คือ มิราคูลิน (Miraculin; MCL) โดยการศึกษาของ J.N. Brouwer สารมิราคูมินเป็นไกลโคโปรตีนที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 191ตัวและน้ำตาลโดยมีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบ 13.9%ไม่มีสีและไม่มีรสชาติ และมีการตั้งทฤษฎีกลไกการทำงานของสารนี้ว่า เมื่อเรากินลูกมหัศจรรย์สีแดงสดเข้าไป สารมิราคูลินจะจับกับตัวรับรสหวานตุ่มรับรส (taste bud) และเปลี่ยนโครงสร้างของตัวรับ ทำให้ตัวรับรสหวานตอบสนองกับทั้งรสหวานและรสเปรี้ยว และเมื่อเรากินอาหารที่มีรสเปรี้ยวตามไป ตัวรับรสหวานก็ทำงานและส่งกระแสประสาทไปยังสมองบอกว่าอาหารนั้นมีรสหวานนั่นเองครับ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีนักวิทย์คนใดทำการทดลองเพื่อยืนยันทฤษฎีดังกล่าว
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ โปรตีนโดยทั่วไปจะไม่มีรสหวาน (ลองนึกถึงเนื้อดูครับ) และผลไม้ก็มักเต็มไปด้วยน้ำตาลเพื่อดึงดูดให้สัตว์กินแล้วช่วยในการแพร่กระจายเมล็ดที่อยู่ภายในผลของมัน แต่วิวัฒนาการก็ทำให้พืชบางกลุ่มกลับใช้โปรตีนแสนกลแทนน้ำตาล ซึ่งอาจเป็นเพราะต้นพืชสร้างน้ำตาลได้น้อย พืชจึงสร้างโปรตีนที่ทำให้สัตว์ที่กินผลเข้าไปกลับรับรู้ถึงรสหวานขึ้นมาแทน มิราคูลินและนีโอคูลินเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของโปรตีนที่ให้รสหวานมากมายครับ
ที่มารูป: http://herba.herbal.my/wp-content/uploads/2010/09/lemba.jpg
ความเห็นที่ 4
ที่มารูป: http://www.thinkgeek.com/images/products/zoom/ab3f_miracleberry_fruit_tablets.jpg
ความเห็นที่ 5
Ayako Koizumi, Asami Tsuchiya, Ken-ichiro Nakajima, Keisuke Ito, Tohru Terada, Akiko Shimizu-Ibuka, Loic Briand, Tomiko Asakura, Takuma Misaka, and Keiko Abe. 2011. Human sweet taste receptor mediates acid-induced sweetness of miraculin. Proceedings of the National Academy of Sciences ( สามารถโหลดได้จาก http://www.pnas.org/content/early/2011/09/16/1016644108.full.pdf+html )
ขอขอบคุณ:
พี่ Wipit ที่เอื้อเฟื้อรูปสวยๆ ครับ บัว พริม เจินเจิน และแป้งที่ช่วยให้คำแนะนำดีๆ และขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านครับ
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 7.1
ความเห็นที่ 7.2
ความเห็นที่ 8
พร้าวนกคุ้ม เคยเก็บกิน
ความเห็นที่ 8.1
ขอบคุณครับพี่หนึ่ง อัพเดทข้อมูลเรียบร้อยครับ
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 12
ความเห็นที่ 13
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านคร้าบบ _/|\_
ความเห็นที่ 14
ความเห็นที่ 15
ความเห็นที่ 16
ความเห็นที่ 17
ความเห็นที่ 18
ขอบคุณทุกท่านคร้าบ
เรื่องบทความ...ได้เลยครับ พี่นณณ์