คุยเรื่อง "กระสอบทราย" กันเถอะ
เขียนโดย GreenEyes Authenticated user เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2554
เนื่องจากพื้นที่ภาคกลางตอนบนๆและส่วนอื่นๆบางที่ น้ำเริ่มลดลงแล้ว
กระสอบทรายที่เคยใช้กันน้ำ ก็เริ่มกลายเป็นขยะในสายตาคน
จากที่เห็นในภาพข่าว บางคนก็โยนๆทิ้งไว้ริมฟุตบาท ริมถนน รั่วไหลลงท่อระบายน้ำ บ้างก็ถีบๆลงคลองไปเฉยๆ
ซึ่งนั่นทำให้เกิดปัญหาท่ออุดตันและทางระบายน้ำตื้นเขินตามมา หรือแม้จะนำไปทิ้งตามหลุมฝังอย่างถูกต้อง ก็ดูจะเป็นการเปลืองพื้นที่จนเกินไป
ทั้งที่มัน ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เก็บไว้ก็ไม่เน่าเสีย และมันก็เป็นทรัพยากรที่มีวันหมด
จึงเกิดความคิดอยากให้มีการนำมันกลับมาใช้ หรือนำไปเก็บไว้ใช้ประโยชน์ เช่นใช้ในการก่อสร้าง ซ่อมแซม หรือแม้แต่เก็บไว้เผื่อต้องเอามากรอกใส่กระสอบใหม่ในน้ำท่วมคราวหน้า
แ่ต่ก็ไม่รู้ว่าจัดการอย่างไร ถ้าอยากทำให้เป็นระบบและทุกคนสามารถทำได้
เลยมาขอไอเดียกันหน่อยครับ เผื่อส่งไปหน่วยงานราชการ หรือสื่อทีวี
กระสอบทรายที่เคยใช้กันน้ำ ก็เริ่มกลายเป็นขยะในสายตาคน
จากที่เห็นในภาพข่าว บางคนก็โยนๆทิ้งไว้ริมฟุตบาท ริมถนน รั่วไหลลงท่อระบายน้ำ บ้างก็ถีบๆลงคลองไปเฉยๆ
ซึ่งนั่นทำให้เกิดปัญหาท่ออุดตันและทางระบายน้ำตื้นเขินตามมา หรือแม้จะนำไปทิ้งตามหลุมฝังอย่างถูกต้อง ก็ดูจะเป็นการเปลืองพื้นที่จนเกินไป
ทั้งที่มัน ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เก็บไว้ก็ไม่เน่าเสีย และมันก็เป็นทรัพยากรที่มีวันหมด
จึงเกิดความคิดอยากให้มีการนำมันกลับมาใช้ หรือนำไปเก็บไว้ใช้ประโยชน์ เช่นใช้ในการก่อสร้าง ซ่อมแซม หรือแม้แต่เก็บไว้เผื่อต้องเอามากรอกใส่กระสอบใหม่ในน้ำท่วมคราวหน้า
แ่ต่ก็ไม่รู้ว่าจัดการอย่างไร ถ้าอยากทำให้เป็นระบบและทุกคนสามารถทำได้
เลยมาขอไอเดียกันหน่อยครับ เผื่อส่งไปหน่วยงานราชการ หรือสื่อทีวี
Comments
ความเห็นที่ 1
เพื่อที่เมื่อจำเป็น จะได้มีทรายไว้ใช้ทันทีเผื่อฉุกเฉิน ไม่้ต้องจัดซื้อกันให้เสียเวลานัก
ความเห็นที่ 2
ทำเป็น กิจกรรมขนทรายเข้าวัด
โดยให้ทางวัดที่พร้อมจะรับทรายพวกนี้ จัดเป็นกิจกรรมแบบงานบุญ ให้มากองไว้คล้ายงานก่อเจดีย์ทราย ทางวัดก็จะมีทรายไว้ใช้ หรือเผื่อต้องใช้กรอกกระสอบทรายกันอีก ก็จะได้มีไว้ให้ประชาชนมากรอกมาขนไปใช้ได้เช่นกัน
แต่นี่หมายความว่าวัดนั้นๆต้องมีที่เก็บทรายมากพอเช่นกัน
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ลป. เป็นมุมมองที่มองโลกในแง่ร้ายพองาม ไม่ได้ร้ายมาก
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 5.1
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 8
จากทรายที่เหลือแล้วยังไม่มีวิธีจัดการ ที่สุดยอด ผมว่าเราลองมาปวดหัวดูกับตัวเลขเม็ดเงินในการใช้ทรายครั้งประวัติศาสตร์ ของประเทศไทยกันเล่นๆไหมครับ ว่าทั้งประชาชนและภาครัฐใช้เงินไปเท่าไหร่ในเหตุการณ์ครั้งนี้ โจทย์มีอยู่ว่า ทรายตอนเริ่มแรกที่น้ำท่วมคิวละประมาณ 500 บาท หลังจากนั้นขยับขึ้นมาเป็น 700 สุดท้าย อาจจะไม่ท้ายสุด ราคาปัจจุบัน 15 พ.ย. คิวละ 1200 บาท (ทรายแม่น้ำ,ทราบบ่อ ราคากันเองแบบสุดๆ ที่ชลบุรี) ถุงปุ๋ย เริ่มแรก ใละ 3 บาท ขยับขึ้น เรื่อยๆ ปัจจุบันที่ชลบุรีอีกเหมือนกัน 11 บาท แล้วลองคำนวนดูครับ ว่าใช้เม็ดเงินไปเท่าไหร่ แต่ยังดีใจที่ทรายยังไม่ได้นำเข้ามาเหมือนของอย่างอื่น เงินยังพอหมุนเวียนอยู่ในบ้านเรา ไม่มีข้อเฉลยนะครับ ให้คิดปวดสมองเล่นๆ ครับ อิอิ ผมว่าถ้ารวมทุกอย่างที่ต้องสูญเสียเม็ดเงิน ผมว่่าครั้งนี้ไม่น่าจะต่ำกว่าล้านๆบาท (เหมือนภูเขาน้ำแข็งครับ มองเห็นข้างบนว่าใหญ่แต่ข้างล่างใหญ่กว่าเยอะ) ยังมีตัวเลขที่มองไม่เห็นอีกมากมายที่ไม่สามารถเอามาคิดคำนวนได้หมด
ความเห็นที่ 8.1
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11
ทรายที่เรามีอยู่มันก็คิดเป็นปริมาณมหาศาล คงจะเกินกำลังภาครัฐที่จะจัดการได้เพียงลำพัง
เพราะภารกิจการฟื้นฟูอื่นๆ ก็ยังรออยู่อีกเพียบ
จะว่าเป็นโอกาสอันดีของผู้รับเหมาถมที่ก็ได้ ที่จะจัดรถออกไปตระเวนเก็บกระสอบทรายตามชุมชน
เป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐในการเก็บกวาดถุงทรายไปอีกทาง
ความเห็นที่ 12