เก็บตก งานประชุมวิชาการโลกด้านบรรพชีวินวิทยา ฯ 2011

การประชุมวิชาการโลกด้านบรรพชีวินวิทยาและลำดับชั้นหิน 2011 ว่า มีนักวิจัยทั่วโลกเข้าร่วมประชุมจาก 33 ประเทศ จำนวน 180 คน และนักวิจัยชาวไทยอีก 80 คน เป็นการสร้างเครือข่ายและเป็นเวทีระดับโลกของนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์และธรณีวิทยาจากทวีปต่างๆ ได้มีโอกาสได้นำเสนอผลงานวิจัยการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ๆ และเพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องบรรพชีวินวิทยาสู่นักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ให้มีความเข้าใจและเล็งเห็นคุณค่าของทรัพยากรทางด้านฟอสซิลซากดึกดำบรรพ์มากยิ่งขึ้น      
         "งานประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในระดับอาเซียน โดยจังหวัดนครราชสีมาเป็นสถานที่จัดงาน เพราะเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านทรัพยากรดึกดำบรรพ์ที่โดดเด่นทั้งพืชและสัตว์  สำหรับด้านพืชเป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยไม้กลายเป็นหินจากพื้นที่ที่เคยเป็นลำน้ำโบราณ ทั้งพืชกลุ่มสนในยุคของไดโนเสาร์ พืชมีดอกในยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งมีหลากหลายชนิด" ผศ.ดร.ประเทืองเผย
    ส่วนฟอสซิลสัตว์ นครราชสีมาเป็นแหล่งที่มีกระดูกช้างดึกดำบรรพ์มากที่สุดในโลกอยู่ที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีมากถึง 8 สกุลจาก 43 สกุลทั่วโลก และยังเป็นจังหวัดเดียวของประเทศไทยที่มีซากดึกดำบรรพ์ครบทั้ง 3 ยุค ตั้งแต่ยุคสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ยุคไดโนเสาร์ครองโลก และยุคสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด เช่น ช้าง แรด เสือ ฮิปโป กล่าวได้ว่า โคราชคือมหัศจรรย์ดินแดนฟอสซิลแห่งสยาม

Comments

ความเห็นที่ 1

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ กล่าวอีกว่า การประชุมวิชาการครั้งนี้จะมีการเผยแพร่ผลงานค้นพบฟอสซิลใหม่ๆ เช่น ไดโนเสาร์อิกัวโนดอนสายพันธุ์ใหม่ 2 ชนิดคือ ราชสีมาซอรัส สุรนารี และสยามโมดอน นิ่มงามอิ ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินพืช พบในหมวดหินโคกกรวด จังหวัดนครราชสีมา อายุประมาณ 100 ล้านปี และยังพบไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ กลุ่มคาร์ซาโรดอนโตซอเรียน
Fukuiraptor จาก Fukui Dinosaur Museum Japan Fukuisaurus web_2848.jpg ไข่ Tarbosaurus ห้องแสดงยุค Miocene ชม Animation ช้างโบราณ นิทรรศการวิวัฒนาการแพนด้าจากอีสาน web_2817.jpg หมียักษ์ Agriotherium สนุกสุดเหวี่ยง ชนหลุมขุดค้นไดโนโคราช สาวๆ จาก มมส. กำลังขุดค้นไดโนยักษ์ภูน้อย

ความเห็นที่ 2

วันปิดงาน
Farewell Party

ความเห็นที่ 3

เจ้าซากดึกดำบรรพ์ ของ Cyclobatis นี่ทำให้นึกถึง กระเบนสัญชาติอเมริกาใต้ในปัจจุบัน ในสกุล Paratrygon และ Heliotrygon เป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่จริงๆ

ความเห็นที่ 4

ฟอซฟิลปลางดงามมากครับ

ความเห็นที่ 5

ชอบจังเลยครับไดโนเสาร์ล้านปี

ความเห็นที่ 6

น่าไปมากๆ