จันทรุปราคา 10 ธ.ค. 54
เขียนโดย GreenEyes Authenticated user เมื่อ 12 ธันวาคม 2554
เชื่อว่าหลายคนได้เฝ้าดูกัน ที่ซอยผม มีการรวมตัวกัน (3 คน) ตรงลานจอดรถท้ายซอย ตั้งกล้องดูดาว (กล้องดูนก) และถ่ายภาพกัน
ทำให้มีทั้งผู้ใหญ่และเด็กๆจากบ้านแถวนั้นแวะเวียนมากันมากมาย
จากการถ่ายภาพครั้งนี้ มีข้อสังเกตุ สามอย่างตามมาคือ
1. ดวงจันทร์ตอนสองทุ่ม กับตอนเที่ยงคืน คนละสี ทั้งที่ปรับกล้องเหมือนกัน
2. แม้ดวงจันทร์หันด้านเดียวเข้าหาโลก แต่มุมมองที่เวลาต่างๆกัน ทำให้เห็นลวดลายที่เคลื่อนจากเดิมไปบ้าง เช่นหลุมอุกาบาตตอนหัวค่ำอยู่ล่างๆ พอดึกมันเลื่อนขึ้นบนหน่อยนึง
ทำให้มีทั้งผู้ใหญ่และเด็กๆจากบ้านแถวนั้นแวะเวียนมากันมากมาย
จากการถ่ายภาพครั้งนี้ มีข้อสังเกตุ สามอย่างตามมาคือ
1. ดวงจันทร์ตอนสองทุ่ม กับตอนเที่ยงคืน คนละสี ทั้งที่ปรับกล้องเหมือนกัน
2. แม้ดวงจันทร์หันด้านเดียวเข้าหาโลก แต่มุมมองที่เวลาต่างๆกัน ทำให้เห็นลวดลายที่เคลื่อนจากเดิมไปบ้าง เช่นหลุมอุกาบาตตอนหัวค่ำอยู่ล่างๆ พอดึกมันเลื่อนขึ้นบนหน่อยนึง
3. เงาโลกมันไม่ได้ทับกันเป๊ะๆ แค่เลื่อนมาบังด้านซ้าย แต่เงามันใหญ่เลยมิดไปถึงด้านขวา
และหนึ่งคำถามคาใจ ทำไมพอเงาบังแล้วได้พระจันทร์สีแดง
และหนึ่งคำถามคาใจ ทำไมพอเงาบังแล้วได้พระจันทร์สีแดง
Comments
ความเห็นที่ 1
จากเหตุการณ์คืนในวันที่ 16 มิ.ย. 2011 ที่ผ่านมา หลายคนสงสัยว่าทำไมจันทรุปราคาครั้งนี้ จึงเป็นสีแดง !ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร.อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า ระหว่างเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงนั้นยังคงมีแสงจากดวงอาทิตย์บางส่วนไปตกยัง ดวงจันทร์โดยแสงอาทิตย์บางส่วนนั้นได้เดินทางผ่านชั้นบรรยากาศโลกและเกิดการ หักเหซึ่งแสงที่มีความยาวคลื่นสั้นอย่างแสงสีฟ้าและน้ำเงินนั้นจะถูกกระเจิง ออกไปเหลือแสงที่มีความยาวคลื่นยาวอย่างแสงสีส้มหรือสีแดงที่ไปตกบนดวง จันทร์ เราจึงเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงเป็นสีส้มหรือสีแดงอิฐนั่นเอง
เหตุการณ์ดังกล่าวมันหลักการเดียวกันกับการเห็นท้องฟ้าที่ต่างสีกันตามแต่ละช่วงเวลานั้นเองครับ
จาก http://www.gifeu.com/nsn/?p=100
ความเห็นที่ 1.1
นั่งตากน้ำค้าง เฝ้าราหูอมจันทร์จนหวัดเกือบเล่นงานซะแล้ว >.<"
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
เอามาแจมคร้าบ
ทำได้เท่านี้ แฮะๆ
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 9.1
"จันทรุปราคาครั้งถัดไปสำหรับประเทศไทยเป็นจันทรุปราคาบางส่วน 2 ครั้ง (ไม่นับจันทรุปราคาเงามัวซึ่งสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ได้ยาก) ได้แก่ คืนวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2555 และเช้ามืดวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2556
เราไม่ควรพลาดจันทรุปราคาเต็มดวงที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ เพราะทั่วโลกจะไม่มีโอกาสเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงอีกเลยจนกระทั่ง พ.ศ. 2557 ปีนั้นและปีถัดไปจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงรวม 4 ครั้งติดต่อกัน เห็นได้ในประเทศไทย 2 ครั้ง ได้แก่ วันพุธที่ 8 ตุลาคม 2557 (ตรงกับวันออกพรรษา) แต่ช่วงบังหมดดวงอาจสังเกตได้ยากเนื่องจากดวงจันทร์ยังอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้า และท้องฟ้ายังไม่มืด อีกครั้งในค่ำวันเสาร์ที่ 4 เมษายน 2558"
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 12