แก้จิตตก (ต่อ) ที่พังงา เมืองป่า เขาหินปูน

ไปเที่ยวท่องแก้จิตตก ให้ธรรมชาติบำบัดรอบนี้ที่พังงาอยู่ 2 พื้นที่ คือที่อ.กะปง และอ.เมืองพังงา

เริ่มจากที่กะปงก่อนครับ

ที่นี้มีแหล่งตาน้ำร้อนเช่นเดียวกับระนอง แต่การจัดการและการโปรโมทเรื่องการท่องเที่ยวของพังงาไม่ค่อยดีเท่าไหร่ อย่างว่าพังงาร่ำรวบพวกสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติมาก จนจัดการกันไม่ถูกทีเดียว ไปเน้นหาตัวเงินจากแหล่งท่องเที่ยวตามชายทะเลเสียมากกว่า ซึ่งจริงๆแล้ว น่าจะดึงนักท่องเที่ยวที่ชอบป่าเขาจากภูเก็ตให้แวะเวียนมาเที่ยวได้มากกว่านี้

Comments

ความเห็นที่ 1

น้องปอ

แมลงปอเข็มน้ำตกที่ลำธารที่มีน้ำร้อนผุดแห่งนี้ ส่วนตัวนี้ถ่ายจากหลังบ้านที่ไปพัก มาฝาก

ความเห็นที่ 2

ภาคกลางคืนที่กะปง สำรวจอยู่ 2 ที่ 2 คืน แต่เดนไม่นานไม่ไกลเท่าไหร่
เจอกบตามนี้



น่าจะกบเขาหลังตอง แผ่นทิมพานาใหญ่พอๆกับตา ปาดป่าจุดขาว น่าจะกบท่าสาร

ความเห็นที่ 2.1

กบดอเรีย Limnonectes doriae ครับ 
อยากทราบข้อมูลของปาดปป่าจุดขาวครับ ว่าพบในที่แบบไหน รบกวนทางเมสเสสในนี้ได้ไหมครับ :)

ความเห็นที่ 2.2

จุดขาวสวยจัง

ความเห็นที่ 3

ลำธารเล็กๆที่เจอกบนี้ เจอปลาตัวนี้อยู่ ตอนแรกคิดว่าเป็นปลารากกล้วย แต่ดูไปดูมาออกแนวปลาอีดมากกว่า

ป ปลา

ความเห็นที่ 3.1

Lepidocephalichthys berdmorei

ความเห็นที่ 3.1.1

ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 3.1.1.1

ฝากเติมใน SI ด้วยนะครับ

ความเห็นที่ 3.1.1.1.1

โอเค เพิ่มไปแล้วครับ

ความเห็นที่ 4

ข้างลำธารเจอบึ้งโพรง
บึ้ง

ความเห็นที่ 5

ป ปูนั้น ไม่ได้ถ่ายในพื้นที่เลย เนื่องจากมันว่องไว เดี๋ยวหนีหายเสียก่อน เลยเอามาถ่ายทีหลัง ตอนกลายสภาพเป็นตัวอย่างไปแล้ว

ปูหินระนอง Demanietta renongensis ปู Phricotelphusa sp. สีส้ม ไม่แน่ใจว่าเหมือนกับตัวที่เมืองพังงา หรือ P. ranongi ของระนอง ต้องเช็คจากตัวอย่างกับเอกสารอีกที ปู Phricotelphusa sp. สีแดง กลุ่มนี้คล้ายกับปูมดแดง P. limula ของภูเก็ตและบางส่วนของพังงา ทั้ง 2 ลักษณะนี้เจอปะปนในลำธารเดียวกัน

ความเห็นที่ 6

คืนที่ 2 ที่ออกสำรวจ เป็นคืนจันทรุปราคาพอดี แต่ไม่ว่างถ่ายรูปมากนัก จนเมื่อโดนกลืนเงียบมืดไป ก็ไม่เห็นดวงจันทร์อีกเลย พอดีมีเมฆอยู่บ้างด้วย ถ้าดวงจันทร์สว่างน้อยเลยอาจจะสู้การบังของเมฆไม่ได้ นานเข้าก็กลับไปนอนพักผ่อน

ช่วงก่อนเกิดจันทรุปราคา เริ่มกินไปได้เกือบครึ่ง ตอนที่กำลังออกจากลำธารกันแล้ว

ความเห็นที่ 7

วันที่ 2 ที่อยู่พังงา ก็เข้ามาสำรวจเขาหินปูนในอ.เมืองพังงากัน

เมืองนี้เขาหินปูนล้อมรอบ รกเรื้อดี

ความเห็นที่ 8

หอยทากจิ๋ว ที่ตั้งแต่พยายามมองหาเวลาขึ้นเขาหินปูนที่พังงาแล้วไม่เคยพบเลย ก็มาพบจนได้คราวนี้

ถ่ายมาก็แต่พวกตัวเป็นที่ได้เจอเอง ถ้ารวมพวกเปลือกแล้ว หอยทากนี่ เจออยู่หลายชนิดเหมือนกัน
หอยทากจิ๋วจุกแดง Georssisa sp. น่าจะเป็นพวกลูกหอยคอคอด ปากแตร ตัวไหนสักตัวนึง

ความเห็นที่ 9

พวกขาข้อที่ถ่ายภาพมา

หนอนแมลงพรางตัวเป็นขี้นก ดูคล้ายๆพวกจักจั่น กิ้งกือแบนๆ ตัวเล็กๆ ที่เคยโพสต์จากเมืองพังงา และภูเก็ตมาแล้ว คราวนี้เจอทีเดียวหลายตัวเลย กิ้งกือตัวแบบนี้ พักหลังเจอบ่อยตอนสำรวจเขาหินปูน แต่ตัวนี้แปลกกว่าตัวอื่น ที่ขามีสีเหลืองสว่าง รังของพวกบึ้งฝา ตัวมันหนีออกมาอย่างรวดเร็ว

ความเห็นที่ 9.1

หนอนขี้นกสวดยวดดด

ความเห็นที่ 10

พรรณไม้

ดอกเล็กๆ ตามซอกหิน ดอกสีขาวๆนี้ ไม่เห็นต้น ไม่เห็นใบ คือต้นอะไรครับ

ความเห็นที่ 10.1

ดอกสีม่วงๆ ด้านบนน่าจะอยู่ในวงศ์ชาฤๅษีค่ะ สกุล Chirita sp. ค่ะ

ความเห็นที่ 10.2

รูปที่ 2-3 น่าจะเป็น Burmannia sp. ครับ

ความเห็นที่ 10.3

ขอบคุณทั้ง 2 ท่านครับ

ความเห็นที่ 11

จากบนเขา เราเข้าถ้ำ

ถ้ำที่นี้มีแหล่งน้ำอยู่ข้างใน พี่ชายบอกว่าด้านหลังเขาลูกนี้มีทางน้ำออกมาด้วย เลยไม่แน่ใจว่าระบบถ้ำที่นี่จะมีสัตว์ทีปรับตัวอยู่กับถ้ำแท้ๆอยู่บ้างหรือเปล่า
ถ้ำ

ความเห็นที่ 12

ในโพรงถ้ำขนาดใหญ่นี้ เป็นแหล่งฟอสซิลไม่ทราบยุคสมัยอยู่ มีฟอสซิลอะไรอยู่บ้างก็ลองทบทวน จินตนาการดูครับ ขอเรียงตามไฟล์ที่ถ่ายมาเลย

เหมือนเส้นใบไม้ หอยตะเกียง หรือบราคิโอพอด ยื่นโผล่ออกมาจากผนังถ้ำ หอยตะเกียง หรือบราคิโอพอด ภาคตัดผ่าเปลือกสัตว์กลุ่มหอย อันนี้สุดปัญญาจะเดา ลองช่วยกันดูครับ

ความเห็นที่ 12.1

ภาพแรกที่ลายเส้นคล้ายใบไม้ น่าจะเป็น Conulariid ซึ่งอยู่ใน Phylum Cnidaria; Class Scyphozoa พบตั้งแต่ Upper Cambrian จนถึง Lower Triassic แล้วก็สูญพันธุ์ไป



ภาพและข้อมูลจาก wikipedia
http://en.wikipedia.org/wiki/Conulariida

ความเห็นที่ 13

คิดว่าซากพวกนี้จะโดนกวาดจากที่ตื้นลงมาที่ที่ลึกกว่า ที่ไม่ใช่แหล่งอาศัยโดยตรง สภาพซากก่อนทับถมเลยไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าไหร่ บางทีอาจเป็นสึนามิโบราณที่ลากซากจากแหล่งน้ำตื้นลงมา
ภาคตัดขวาง บางทีอาจจะเป็นเปลือกของนอติลอยด์แบบเปลือกตรง a หอยฝาเดียวผ่าตามยาว พวกหอยๆ กับอะไรก็ไม่ทราบครับ อันนี้อาจจะเป็นพับพรึงทะเล (crinoid) หรือไม่ก็พวกปะการังท่อ

ความเห็นที่ 13.1

ดูภาพสุดท้ายแล้ว เข้ากับภาพนี้ได้ดี




เป็นภาพปะการัง Syringopora sp. แห่งยุคเพอร์เมียน
จากเว็บ
http://www.catnapin.com/Fossil/CoralReef/ffCoral.htm

ความเห็นที่ 14

ในภาพปะการัง เห็นมีเส้นใยอยู่ด้านล่างนั่น ทำให้นึกถึงในสารคดี ที่ถ้ำของออสเตรเลียจะมีหนอนที่เรืองแสงได้ทำใยห้องลงโดยมีหยดกาวใสอยู่ที่ปลาย พอตัวหนอนเรืองแสงก็จะส่งต่อไปถึงใยและหยดกาวนั้น ล่อให้แมลงมาติด แล้วก็กินแมลงนั้นเป็นอาหาร บางทีบ้านเราก็อาจจะมีตัวหนอนแบบในสารคดีนั้นอยู่เหมือนกันก็ได้

b c น่าจะเป็นปะการังท่อ ปะการัง ขยายจากภาพบนมา เผื่อใครจะดูออกว่าเป็นปะการังอะไร

ความเห็นที่ 14.1

ในภาพ c จะสังเกตได้ว่ามีเม็ดรีๆสีขาวอยู่ ถ้ามันเป็นคตข้าวสาร (fusulinid) ก็จะกำหนดได้ว่า อาจจะเป็นฟอสซิลในยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน จะไม่ใหม่กว่า เนื่องจากคตข้าวสารสูญพันธุ์ไปเมื่อปลายยุคเพอร์เมียน

ความเห็นที่ 14.2

โห บันทึกแห่งธรรมชาติ

ความเห็นที่ 15

มีตัวไหนพอจะเป็นดัชนีชี้ถึงยุคหินที่พบฟอสซิลตัวนี้กันบ้างไหมครับ
สโตรมาโตไลท์ พบได้ทุกยุคทุกสมัย ปัจจุบันมีชีวิตหลงเหลืออยู่ที่ชาร์คเบย์ ออสเตรเลีย ภาพนี้เห็นเป็นเปลือกหอยชัดเจน ลักษณะเรากำลังมองจากสะดือหอยขึ้นไป เปลือกยังไม่เซ็ตตัว ดูเหมือนเป็นเปลือกเดิมที่ผุๆตามกาลเวลา d ละลานตาไปหมด

ความเห็นที่ 16

หมดลงแค่นี้ครับ สำหรับภาพทริปนี้ ฟอสซิลที่นั่นมีเยอะจนดูเต็มอิ่มดีจริงๆ 

ความเห็นที่ 17

น่าไปมาก สงสงต้องถามหมายหลังไมค์เสียแล้วครับ
ซากฟอสซิลเยอะมากจริงๆ  ตะขาบสวยอ่ะครับพี่

ความเห็นที่ 17.1

ไหนตะขาบอ่ะ

ความเห็นที่ 17.1.1

ผมจะพิมพ์คำว่า กิ้งกือ อ่ะพี่ 55 
คิดเป็นกิ้งกือ แต่ดันพิมพ์ตะขาบ

ความเห็นที่ 18

เพิ่มเติม ข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณืบอกว่าทางพังงามีพบหินปูนในกลุ่มหินราชบุรีอยู่ ซึ่งกำหนดอายุจากซากฟอสซิลได้ว่าอยู่ในยุคเพอร์เมียนตอนกลางครับ

ความเห็นที่ 19

ชอบมากครับ ชอบทุกภาพเลย