พืชดอกที่มีเพศแยกกันคนละต้น

หมายถึงพืชดอกที่ต้นหนึ่งมีได้แค่เกสรตัวผู้เท่านั้น หรือเกสรตัวเมียเท่านั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง
ผมนึกได้อย่างเดียว คือ ต้นตาลโตนด แต่จริงๆแล้วมีต้นอะไรอีกบ้างไหมครับ?
สงสัยเหมือนกันครับว่า ลักษณะแบบนี้ถือกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะมันน่าจะทำให้เสียเปรียบพืชที่มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน เนื่องจากพืชเคลื่อนที่เองอย่างสัตว์ไม่ได้ ต้องพึ่งพวกสัตว์ในการผสมเกสร ถ้าละแวกนั้นมีแต่เพศเดียวกัน เท่ากับว่ามันคงหมดโอกาสเจริญพันธุ์ได้

Comments

ความเห็นที่ 1

ที่จำได้มี ระกำ สละ มะละกอ(มะละกอมีทั้งดอกแยกต้น และไม่แยกต้น) ตำลึง

ความเห็นที่ 2

พืชที่มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่คนละต้น เราเรียกว่า dioecious plant ครับ ถ้าลองเสิร์ชด้วยคำนี้น่าจะได้คำตอบเยอะแยะครับ แต่ที่จำได้นอกจากที่ครูเล็กว่ามาก็มี สนทะเล หน่อไม้ฝรั่ง

ส่วนมะละกอนั้น...ถ้าลงลึกไปอีก (พืชแยกเพศต่างต้นนั้นสามารถแยกออกเป็น 3 ประเภทคือ gynodioecious, androdioecious และ tridioecious หรือ subdioecious) มะละกอจะจัดอยู่ในพืชที่มีดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกสมบูรณ์เพศอยู่คนละต้น (tridioecious/subdioecious) ครับ

ความเห็นที่ 2.1

ต้นมะละกอแบบสมบูรณ์เพศ เนี่ย >> ดอกมันสมบูรณ์เพศด้วยไหมครับ?
แบบว่ามีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียรวมกันในดอกเดียว หรือว่า ดอกหนึ่งมีได้เพศเดียว แต่ต้นนั้นจะออกดอกได้ทั้งสองเพศ ผู้บ้างเมียบ้าง

*ไม่แน่ใจว่า ผมใช้คำถามชวนงงไหมครับเนี่ย? frown

ความเห็นที่ 2.1.1

ต้องขอโทษด้วยครับถ้าเขียนไม่ชัดเจน มะละกอเป็นพืชที่มีทั้งต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ ต้นที่มีแต่ดอกเพศเมีย และต้นที่มีแต่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน (ดอกสมบูรณ์เพศ) ครับ  ลองดูภาพประกอบน่าจะเข้าใจมากขึ้นครับ

ภาพจาก: Charles Ainsworth. 2000. Boys and Girls Come Out to Play: The Molecular Biology of Dioecious Plants. Annals of Botany 86: 211-221.

 

from: Ainsworth (2000)

ความเห็นที่ 2.1.2

ขอบคุณสำหรับข้อมูลและรูปภาพครับ yes

Hermaphrodite(ที่แปลว่ากระเทย) = ดอกสมบูรณ์เพศ

ความเห็นที่ 3

ข้อดีก็มี ป้องกัน self pollination: สกุลมะเกลือส่วนใหญ่
เคยอ่านเปเปอร์บางอัน เห็นว่าถ้ามีความจำเป็นพืชบางชนิดมีการปรับจากแยกเพศแยกต้นมาเป็นสมบูรณ์เพศได้

ความเห็นที่ 4

มีเยอะมากครับ เช่นในพืชวงศ์
- Dioscoreaceae
- Hanguanaceae
- Pandanaceae
- Smilacaceae
- Menispermacaeae
- Nepenthaecae
- Aceraceae
- Datiscaceae
- Salicaceae
- Ebenaceae
- Gnetaceae
- Cycadaceae
- Cephalotaxaceae
- Podocarpaceae
และบางชนิดในวงศ์
- Palmae
- Balanophoraceae
- Cucurbitaceae
- Urticaceae
-ฯลฯ
 

ความเห็นที่ 5

"เพราะมันน่าจะทำให้เสียเปรียบพืชที่มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน เนื่องจากพืชเคลื่อนที่เองอย่างสัตว์ไม่ได้ ต้องพึ่งพวกสัตว์ในการผสมเกสร ถ้าละแวกนั้นมีแต่เพศเดียวกัน เท่ากับว่ามันคงหมดโอกาสเจริญพันธุ์ได้"

ถึงยังไงถ้าเหลืออยู่ต้นเดียว ก็ยากที่อยู่รอดครับ เพราะพืชส่วนใหญ่ไม่มักจะมีกลไกต้านการเกิด
self pollination ครับ แถมยังทำให้พืชนั้นอ่อนแอลง
และในระบบนิเวศในป่าจริงๆย่อมมีพืชแต่ละชนิดมากพอที่จะผสมพันธุ์ได้ หรือไม่ถ้ามีน้อยจริง ก็สูญพันธุ์เลยครับ