ไปร่อนแก้จิตตกที่ร่อนพิบูลย์กับหนึ่ง

เนื่องจากตามธรรมเนียม (ของใครไม่รู้) ที่ต้องเปิดตัวด้วยภาพวิว เลยเอาภาพวันที่ 2 มาให้ดูก่อน เพราะวันแรกเดินกลางคืนก่อนเลย เลยไม่มีภาพวิวครับ

ก็ได้เิบิ่งมอไซค์ฉายเดี่ยวไปที่น้ำตกวังศิลารักษ์ บริเวณด้านล่างๆของเขารามโรม ในอ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีฯ เนื่องจากท่านหนึ่งทำงานตอนกกลางวัน ว่างไปร่อนกันเฉพาะตอนกลางคืน
ตัวน้ำตกในภาพนี้ไม่มี เนื่องจากหาทางลงไม่เจอ แล้วน้ำก็แรงเนื่องจากน้ำป่าลงตามฤดูกาล เลยเดินๆแถวตลิ่งลำธารตอนเหนือของน้ำตกอยู่สักพักก็กลับไปตั้งหลักหาที่ใหม่
ระหว่างเดินอยู่บนตลิ่งก็มีเรื่องให้ตื่นเต้นหน่อย กำลังจะเดินขึ้นไปที่สวนที่อยู่บนตลิ่งของลำธาร มีหญ้ายาว แต่เอนราบพื้นให้ต้องเหยี่บย่ำไป เดิยเฉียงๆขึ้นอยู่ดีๆ ก็เห็นตาคู่หนึ่งจองม้องมาจากพื้น ตัวมันยาวดำเมื่อม ขดวนเป็นวงกลมวงใหญ่เลย ตอนนั้นตกใจกันทั้งคนทั้งงูตัวนั้น โชคดีที่มันเลือกเลื้อยลงไปข้างล่างโดยไว ตาก็มองตามหญ้าที่แหวกเป็นทางตามที่มันเลื้อย เกือบไปแล้ว ถ้าทะเล่อทะล่าเดินไวไปอีกก้าว สงสัยได้นอนเฝ้าสวนไปอีกหลายวัน กว่าจะมีคนกะสากลิ่นมาเจอร่าง
มานึกดูทีหลังคิดว่าเป็นงูเห่า ขนาดเต็มวัย มากกว่าจะเป็นจงอาง เพราะถ้าตัวไม่เต็มวัยที่ยังสีดำ น่าจะมีลายแถบเหลืองคาดอยู่ ถ้าเต็มวัยสีก็อ่อนและตัวโตกว่านั้นแน่ น่าจะเจอมันก่อนในระยะเหมาะ จะถ่ายรูปตอนนอนกลมไว้ส่งประกวดเลย


 

Comments

ความเห็นที่ 1

ตรงนี้ที่ได้ถ่ายสัตว์มาบ้างก็เป็นเจ้าตัวนี้ก่อนเลย
มองจากด้านบนเห็นทรงมันยาวๆ แอบสงสัยว่าจะเป็นคางคกห้วยได้บ้างหรือเปล่า
ที่ว่าทรงยาวๆ จับมาหงายท้องดู พอภาพนี้ ชักสงสัยว่าจะเป็นลูกจงโคร่งแหง

ความเห็นที่ 1.1

ลูกจงโคร่งหมันหล่ะครับ

ความเห็นที่ 2

พวกขาข้อริมตลิ่งได้ถ่ายมาแค่ 2 ภาพครับ
ตั๊กแตนธรรมดา เห็นสีสวย ก็เลยถ่ายๆมาฝาก กิ้งกือเหล็ก Platyrachus sp. ช่วงฤดู หรือปีนี้นี่ เจอเยอะจริงๆ

ความเห็นที่ 3

ย้อนกลับมาที่การเริ่มต้นที่คึืนแรกกันแล้วครับ

อย่างที่บอกว่าไปตอนกลางคืน เลยไม่มีภาพวิว

ต้นไม้ที่ตั้งใจถ่ายบางต้นก็ไม่ได้ถ่าย ฝนตกเลยพยายามเอากล้องออกมาเท่าที่จำเป็น 

เฟิร์นต้นนี้เป็นต้นแรกที่ได้เอากล้องออกมาถ่าย ดูคล้ายๆต้นข้าหลวงหลังลาย แต่ที่โคนมันคอดค่อนข้างไกล และใบก็ดูหนาๆมันๆกว่า

อีกต้นเอาต้นไม้ใบด่างๆมาฝาก
เฟิร์น ใบด่างๆ

ความเห็นที่ 4

หอยเจอตัวเป็นน้อยมาก ชนิดเดียวแค่นี้แหละครับ ที่เหลือก็เป็นเปลือก ไว้เป็นหลักฐานการมีตัวตน
หอยทากตัวน้อย ไม่ทราบชนิด สกุล

ความเห็นที่ 5

พวกสะเทินน้ำสะเทินบก ที่เจอในคืนแรก
 กลุ่มกบชะง่อนผา ตัวนี้ดูคล้ายๆ แต่ตัวโตกว่ามาก ขนาดแผ่นหูเทียบกับตาก็ไม่เท่ากัน ท่านหนึ่งบอกคล้ายๆกบอัสสัม คล้ายๆกบทูด แต่แต่ละตัวที่เจอไซส์นี้ทั้งนั้น มุมมองหัวจากด้านบน บางตัวมีแถบสีพาดตามยาวจากหัวถึงก้น จงโคร่ง หรือ กง

ความเห็นที่ 5.1

นายพรุบอกว่ากบตัวที่ 2 เป็นชะง่อนผาตะนาวศรี O. livida 
ส่วนสามตัวต่อมาเป็นกบทูด ที่ยังวัยรุ่น

ความเห็นที่ 5.1.1

นั้นไง  ผมก็ยังงง ๆ อยู่  ก็เอกสารมันบอกว่า อัสสัม มันแยกออกมาจาก livida จุดที่แยกออกมาคือ มีจุดที่หลัง และขามีแถบอ่ะ
 

ความเห็นที่ 6

ตุ๊กกาย เจออยู่ชนิดเีดียว  4 ตัวในคืนนั้น
ตุ๊กกาย

ความเห็นที่ 6.1

หุ่นดี *w*

ความเห็นที่ 7

ท่านหนึ่งบอกนกเขนน้ำ (ถ้าจำไม่ผิด) ต้องซูมถ่ายไกลจากตอนกลางคืน แฟลชแรงน้อย เลยต้องอาศัย iso ช่วยอีกแรง
p1630725.jpg

ความเห็นที่ 7.1

เขนน้ำหลังแดง

ความเห็นที่ 8

ในวันที่ 2 หลังจากกลับมาจากตั้งหลักจากน้ำตกวังศิลารักษ์แล้ว ก็ได้รับคำแนะนำกันมาหลายคนว่าให้ลองไปเที่ยวน้ำตกแม่เศรษฐีดู เห็นว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอยู่แล้ว น่าจะพามอไซค์เข้าไปไม่ยาก เลยบิดเดี่วเข้าไปอีกสักที่
p1630749.jpg p1630756.jpg p1630786.jpg

ความเห็นที่ 8.1

ตกภาพที่ตั้งใจจะโพสต์ไปภาพนึง
เป็นเฟิร์นก้านดำที่มีใบกว้าง เพิ่งเคยเห็น ใครพอจะรู้จักบ้างครับ
ก้านดำ

ความเห็นที่ 8.1.1

มีชื่อมีภาพในเว็บสยามเอ็นซิสอยู่แล้วแฮ่ะ โดยครูเล็ก

เฟินใบหัวใจ, เฟินปักเป้า, เฟินใบบัว

Hemionitis arifolia


http://www.siamensis.org/species_index#2559--Species:%20Hemionitis%20ari...

ความเห็นที่ 9

หอยทากตัวที่ต้องไปตาม ก็มาได้เจอะเจอที่นี่ในจำนวนที่เยอะกว่าทริปอื่นที่เจอมา พระแม่เศรษฐีช่างใจดีจริงๆ
หอยเวียนซ้าย น่าจะเป็นตัวถลาง Dyakia cf. salangana เปลือก Cyclotus sp.

ความเห็นที่ 9.1

เดาว่าน่าจะเหมือน Rhiostoma

ความเห็นที่ 10

ขาข้อนี่ ไม่เจอปูเลย มีแต่แมงมุมกับแมลงปอมาฝาก
แมงมุม ดูคล้ายๆกับตัวแรก แต่ไม่เห็นอยู่ในโพรง แมลงปอเข็ม

ความเห็นที่ 10.1

แมลงปอเข็ม เป็น ตัวเมียของแมลงปอเข็มเล็กหางตุ้ม Argiocnemis rubescens rubeola 

ความเห็นที่ 11

พวกสะเทินฯ เจอมากกว่าหนึ่งชนิด แต่ตัวเล็กบ้าง มันเจอเราก่อนบ้าง เลยได้ถ่ายมาแต่จงโคร่ง เจออยู่ที่น้ำตกสัก 4 ตัว แต่ชอบภาพนี้กว่าภาพอื่น
จงโคร่ง

ความเห็นที่ 12

คืนสุดท้ายนี้ ได้มีโอกาสไปเดินลำธารในร่้องสวนยาง สัตว์สะเทินฯเจอแต่อึ่งกรายหัวมน ไม่ได้ถ่ายมา
ปูในลำธารก็เจออยู่สามชนิด แต่ก็ไม่ได้ถ่ายมาเหมือนกัน เนื่องจากควักกล้องออกมาลำบาก ฝนตกอยู่บ้าง

มาได้ถ่ายอีกที ตอนลงมาจากเขาแล้ว มาเจอปูนาเข้า แต่ตอนนี้มันยังเป็นๆอยู่ เอกสารก็ไม่พร้อมเลยยังไม่ได้ลองตรวจถึงระดับชนิดครับ เบื้องต้นบอกได้แค่ว่าเป็นสกุล Sayamia
ปูนา Sayamia sp. ปูนา Sayamia sp.

ความเห็นที่ 13

สัตว์สะเทินฯบนพื้นที่ราบ ชื่อพวกนี้มาจากท่าหนึ่งครับ เนื่องจากไม่มีหนังสือ ผมก็จำได้แค่กลุ่มมันคร่าวๆเท่านั้น
อึ่งแม่หนาว ตอนกำลังโป่งคอเตรียมร้อง พอแฟบแล้วกลายเป็นอย่างงี้ ปาดจิ๋ว ที่คล้ายๆปาดจิ๋วศรีราชา ปาดจิ๋ว ที่คล้ายๆปาดจิ๋วศรีราชา มุมมองลายบนหลัง กับลักษณะหัว ตัวนี้จำชื่อไม่ได้ อึ่งลายขีด หรืออะไรทำนองนี้ ตัวเล็กๆ

ความเห็นที่ 13.1

แอบลุ้นว่าเป็น Chiromantis marginis ไหม สรุปว่าเป็น C. vittatus ไปก่อนนะ

รูปและข้อความจาก


A NEW SPECIES OF Chiromantis PETERS 1854 (ANURA: RHACOPHORIDAE) FROM PERLIS STATE PARK IN EXTREME NORTHERN PENINSULAR MALAYSIA WITH ADDITIONAL HERPETOFAUNAL RECORDS FOR THE PARK

 

Diagnosis. Chiromantis marginis can be distinguished

from all other congeners in having a light, narrow,

diffuse dorsolateral stripe; small, dark spots on the

dorsum, top of head, and dorsal surfaces of limbs; snout

truncate; indistinct tympanum; disc on third finger

smaller than tympanum; distinct glandular fold between

eye and shoulder; and webbing between the third and

fourth finger encompassing one-half of penultimate phalanx

on third finger and reaching base of terminal phalanx

on fourth finger (III 1.5 – 1 IV).

 
Fig. 2. A,C holotype of Chiromantis marginis; B,D Chiromantis vittatus from Phnom Samkos, Pursat Province, Cambodia (Photo by Jeremy Holden);

ความเห็นที่ 13.1.1

ก็จับแหกนิ้วดูสิ จุดที่แยกขาดกันจริงๆกรณีไม่เคยดูเปรียบเทียบน่าจะเป็นส่วนนี้แหละ ส่วนตัวโดยรวมก็เข้าเค้า ยกเว้นหูน่ะขอรับ ที่ระนอง(ห้วยส่วนตัว)ก็เคยเจอแต่ไม่ได้ตัวอย่างเพราะมัวถ่ายรูปจนมันกระโดดหายไปก่อน

ความเห็นที่ 13.1.1.1

ตอนที่เจอ ยังไม่ได้อ่านเอกสารน่ะครับ เลยยังไม่สนใจ  ไว้มีเวลา จะกลับไปตามหาครับ

ความเห็นที่ 13.1.1.2

ภาพนี้พอจะช่วยเพิ่มเติมอะไรได้บ้างไหมครับ
ปาดจิ๋ว

ความเห็นที่ 13.1.1.2.1

ดูจากมุมนี้แล้ว น่าจะอกหักจากชนิดใหม่ครับ เพราะไม่เห็นวี่แววของหนังระหว่างนิ้วเลย (ดูมือซ้ายของปาด)

ความเห็นที่ 13.1.1.2.1.1

อกหักเหมือนกัน T_T

ความเห็นที่ 13.2

ตัวสุดท้ายอึ่งจิ๋วหลังขีด Micryletta cf.inornata ครับผม.

ความเห็นที่ 13.2.1

Micryletta inornata lineata ?

ความเห็นที่ 13.2.1.1

สถานภาพปัจจุบัน lineata ยังเป็นชนิดย่อย แต่ในอนาคต(ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เจ้าตัวจะรีวิวเสร็จ) ก็จะแยกตัวออกเป็นอิสระครับ

ความเห็นที่ 14

ก่อนกลับในวันสุดท้าย ขอแวะเขาหินปูนก่อน เลยลองหาที่ใกล้ๆอย่างวัดเทพนมเชืิือด

ในโพรงถ้ำที่ทะลุนี้ เป็นที่ตั้งของพระุทธรูปหลายองค์เลย ในจำนวนนั้นมีอยู่องค์หนึ่งมีขนาดโตที่สุด ชาวบ้านเรียกพระราหู นิยมเข้ามาจุดธูปจุดกำยานขอพรกันที่พระองค์นี้
ด้านหน้่าถ้ำ พระราหูคือองค์ใหญ่ องค์กลาง องค์นี้อยู่ด้านในสุด เห็นไม่ได้เป็นปางค์สมาธิ เลยถ่ายมา (แปลกกว่าองค์อื่น)

ความเห็นที่ 15

ในผนังถ้ำบริเวณนี้ พบฟอสซิลเปลือกหอยอยู่พอสมควร แต่ความหลากหลายของฟอสซิลสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้อยกว่าที่เคยโพสต์จากถ้ำที่พังงามาก

กำหนดอายุ เดาว่าคงช่วงเพอร์เมียน คล้ายกับที่พังงา โดยที่พังงาเป็นตอนปลาย
เปลือกหอยฝาเดียว (ถ้าเป็นหวยก็คงเป็นเลขหนึ่งไทย) สงสัยว่าจะเป็นเปลือกพวกนอติลอยด์ นี่ก็อีกอัน คล้ายๆกับเป็นรอยตัดของตัวโครงร่างแข็งของปะการัง อันนี้ไม่รู้ว่าอะไร สงสัยจะเป็นภาคตัดตามยาวของเปลือกนอติลอยด์ แบบเป็นกองๆ

ความเห็นที่ 15.1

อายุสงสัยจะเป็นออร์โดวิเชียนมากกว่า เนื่องจากอยู่ใกล้กับทุ่งสง แล้วหินปูนทุ่งสง อยู่ในยุคออร์โดวิเชียน

ความเห็นที่ 15.1.1

หากผมไม่สับสนระหว่างฟอสซิล กับเหลือกหอยที่โดนหินปูนพอกนะมีอีกจุด เยอะแยะเลยอ่ะท่าน 

ความเห็นที่ 15.1.1.1

น่าสน แถวไหนอ่ะ ทุ่งสง หรือร่อน

ความเห็นที่ 15.1.1.1.1

ร่อนครับท่าน หมายนี้มีลิงเสนด้วยนะ สนไหม ???  แถว ๆ สามร้อยกล้า

ความเห็นที่ 15.1.1.1.1.1

น่าสนแหละ
ว่าแต่ลิงมันไล่เราเหรอ

ความเห็นที่ 15.1.1.1.1.1.1

หลวงพ่อว่ามันด้น เราทำกลัว มันจะกระโดดใส่เราเลย

ความเห็นที่ 15.1.1.1.1.1.1.1

อ่ะนะ เหอๆ ต้องอยู่ห่างๆกันไว้

ความเห็นที่ 16

พวกขาข้อบริเวณเขาหินปูนนี้

ตัวที่คล้ายๆแมลงหวี่ขนก็เจออีกแล้ว (คราวก่อนจากน้ำตกที่เขาคอหงส์) คราวนี้เปรียบเทียบขนาดไว้ด้วย (เบลอตรงแมลงไปนิด) กิ้งกือตัวแดงๆ เจอแค่ตัวเดียว กิ้งกือตะเข็บสกุล Orthomorpha แมลงสามง่ามที่เจอได้บ่อยตามก้อนหินใหญ่ๆ แมลงปอเข็ม สังเกตเจออยู่ตัวนึง ไม่เจอฟอสซิลไตรโลไบท์ มาเจอพวกไอโซพอดแทน ก็พอคล้ายๆกัน

ความเห็นที่ 16.1

แมงหวี่นี่เจอในถ้ำเป็นประจำ

ความเห็นที่ 16.2

แมลงสามง่ามเป็นพวก แมลงสามง่ามหัวเล็ก (Microcoryphia หรือ Archaeognatha) ครับ

แมลงปอเข็ม เป็นตัวเมียของแมลงปอเข็มท้องยาวขาส้ม Copera vittata ครับ

ความเห็นที่ 17

พวกหอยๆ ส่วนที่ไปตามหาก็เจอแต่เปลือก แต่ความหลากหลายของชนิดที่เป็นเปลือกหอยแล้วนี่ ก็เยอพอสมควรครับ สำหรับที่นี่ (เจอเปลือกเก่าๆทั้งนั้น)
หอยทากจิ๋วจุกแดง Georissa sp. แดงทั้งตัว เผื่อใครจะสงสัยเรื่องขนาด เลยถ่ายแบบเปรียบเทียบขนาดได้มาให้ดูบ้าง จิ๋วปากแตร Gyliotrachela sp. เทียบขนาดกับนิ้วนาง หอยไม่จิ๋วบ้าง Cyclotus sp. เปลือกหอยขัดเปลือกมงกุฏเหลือง Sarika diadema ไม่เจอตัวเป็นเลย หอยงวงท่อ Rhiostoma sp.

ความเห็นที่ 17.1

เหมือน Rhiostoma chupingense Tomlin, 1939

ความเห็นที่ 17.2

เห็นขนาดแล้วเคลียเลยว่า ทำไมเราไม่เคยหาเจอ

ความเห็นที่ 17.3

มีมดกระโดดด้วย ^^

ความเห็นที่ 17.3.1

มดกระโดดมาแย่งซีนนิดนึง

ความเห็นที่ 18

ปิดท้ายด้วยภาพอ๊อดๆ ที่ตอนแรกเห็นสีสวยๆคิดว่าเป็นพวกปลาหางนกยูง (ถ่ายด้วยแฟลชแล้วสีหายๆไปบ้าง ไม่เหมือนตอนมองตาเปล่า สวยกว่านี้) ตอนแรกหลงดีใจว่าเป็นปลาแปลกๆ เหอๆ
อ๊อดๆ

ความเห็นที่ 18.1

เดาว่าลูกอึ่งข้างดำ

ความเห็นที่ 19

เอามาแนบ ๆ กันไป
snake.jpg

ความเห็นที่ 20

หายจิตตกหรือยังหล่ะท่าน? 

ความเห็นที่ 20.1

สงสัยจะอีกนานอ่ะพี่ มันแก้ได้เฉพาะตอนอยู่กับธรรมชาตินั่นแหละ กลับมาก็เป็นเหมือนเดิม

แต่เรื่องหัวใจเต้นช้าลงเนี่ย มันมาเต้นแรงก็ตอนอีกก้าวจะถึงงูเห่านี่แหละพี่ ยื่นนิ่งดูมันเลื้อยไป ดีว่าทวดรามท่านยังปราณี ไม่งั้นได้นอนเฝ้าสวนไปอีกกี่วันไม่รู้ ถึงจะมีใครกะสากลิ่นมาพบ

ความเห็นที่ 20.1.1

เจอก็บอกท่านว่ากลุ่มเดียวกับพี่คนที่เคยเจอท่านบนยอดเขาเมื่อคืนก่อนนู้นก็แล้วกันครับ อิ อิ

ความเห็นที่ 20.1.2

ขอข้อมูลงูที่ว่าเป็นงูเห่าเพิ่มเติม ดังนี้

ขนาดโดยประมาณ (เทียบกับข้อมือก็ได้) ความยาวกะๆเอาว่าสักเท่าไร (บอกว่าเห็นมันเลื้อยหนีน่าจะชัด)
เวลาที่พบโดยประมาณ
เจอตอนแรกมันขดอยู่ใช่หรือไม่ แล้วแผ่แม่เบี้ยให้เห็นด้วยหรือเปล่า

คำตอบนี้จะช่วยจำแนกชนิดงูได้ครับ

ความเห็นที่ 20.1.2.1

ขนาดผมเทียบกับข้อมือ แล้วเอาไม้บรรทัดวัดอีกที เส้นผ่านศูนย์กลางน่าจะราว 6 ซ.ม.ครับ ความยาวเนื่องจากมันเลื้อยจากที่มันขดวนอยู่ เข้าไปในพงหญ้าที่มองไม่เห็นตัว เห็นแต่หญ้าแหวก เลยกะไม่ถูกอะครับ ได้แต่ที่มันขดวนอยู่ก็น่าจะเส้นผ่านศูนย์กลางวงสัก 50 ซ.ม.มังครับ (หลังจากลองทำมือกะๆเอา แล้วเอาไม้บรรทัดลองวัดดู) ที่แน่ๆ ไม่เห็นลายเส้นแถบเหลืองบนหาง
มันไม่แผ่แม่เบี้ยนะครับ แบบเห็นแว่บเดียว พอทั้งคนทั้งงูตกใจตาผมก็เก็บรายละเอียดไม่ทันแล้ว
ตอนที่พบน่าจะราวเกือบ 11 โมง นอนทับต้นหญ้าที่เอนราบอยู่ เหมือนกับที่ผมเดินเหยียบก่อนจะเจอมัน เป็นตลิ่งที่ลาดเอียงลงลำธารใหญ่โปร่ง จุดที่เจอเลยโปร่งหน่อย ฝั่งข้างบนกว่าเป็นสวนผลไม้

ความเห็นที่ 20.1.2.1.1

พอได้ลุ้นเป็นจงอางเล็กอยู่นะทั่น เพราะงูเห่าปกติเลื้อยหญ้าไม่แหวก ส่วนจงอางจะเลื้อยบนหญ้า งูจงอางภาคใต้หลายๆตัวแทบไม่เห็นลายเลย เคยเจอตัวนึงมีบั้งที่คอตอนแผ่เม่เบี้ยให้ 2 ขีด ส่วนอื่นไม่มีลายเลยครับ

ความเห็นที่ 20.1.2.1.1.1

อิจฉาตาร้อน

ความเห็นที่ 20.1.2.1.1.2

จะเห่าหรือจงอาง ถ้าได้เจอในระยะงามๆ จะดีมากเลยครับ ผมจะซูมกล้องถ่ายซะ (ไม่เอาเลนส์ไปเคาะหัวเด็ดขาด)

ความเห็นที่ 21

เหอๆ เห็นแล้วอิจฉา ผมละจิตตกอยู่กรุงเทพ เซ็งห่าน  TT

ความเห็นที่ 21.1

เห็นใจคนสถานภาพเดียวกัน มีโอกาสก็จัดไป ออกไปอยู่กับธรรมชาติดีกว่า

ความเห็นที่ 22

แนบ ๆ กันไป   ชาวบ้านเรียก "ปลามัด"

401569_299311213444547_100000970113873_810353_1867682161_n.jpg

ความเห็นที่ 22.1