แว่บตอนไปทำงาน: หมายใหม่
เขียนโดย knotsnake Authenticated user เมื่อ 28 มกราคม 2555
เดือนนี้นับเป็นเดือนแรกที่เก็บข้อมูลงานวิจัยใหม่อย่างเป็นทางการ งานนี้เลยต้องจำยอมปฏิเสธโอกาสที่ผู้บริหารระดับสูงยื่นให้ เพราะหากแผนที่วางไว้มีปัญหาจะได้แก้ไขได้ทัน ซึ่งก็เป้นไปตามที่เกรง เพราะมีปัญหาจริงๆ ต้องมีการปรับแผนกันสนุกสนาน
ระหว่างออกทำงนก็ต้องพักในพื้นที่หนึ่งคืน เพื่อประหยัดเวลาในการเดินทางในวันรุ่งขึ้นได้เยอะ การพักผ่อนก็เต็มที่ด้วย โดยเฉพาะพลขับของเรา หรือที่สมาชิกในนี้รู้จักกันในนาม "The Juk" แน่นอน..ไหนๆมาด้วยกันแล้ว ก็ต้องมียืดแข้งยืดขากันบ้าง ตอนแรกว่าจะไปหมาย "Happiness" แต่ด้วยระยะทางกว่า ๓๐ กม. ก็จะใช้เวลามากเกินไปในการเดินทาง โดยเฉพาะขากลับที่อ่อนล้า เลยเล็งน้ำตกแห่งหนึ่งที่อยู่ไม่ไกลที่พักนัก แม้จะเป็นพื้นที่ป่าชุมชน แต่สภาพโดยรวมถือว่าน่าสนใจยิ่ง หากชาวบ้านกันพื้นที่ buffer zone จากลำธารได้ข้างละอย่างน้อย ๕๐ เมตร ก็น่าจะดีกว่านี้ (ใจจริงอยากได้ขั้นต่ำ ๑๐๐ เมตร) แต่..ไม่เป็นไร เพราะสัตว์เป้าหมายของผมไม่ใช่เป้าหมายของชาวบ้าน...
อย่างไรก็ตาม..ทริปนี้อาจเป็นทริปอำลากล้อง CANNON A495 ก็เป็นได้ ตอนนี้อยู่ระหว่างรอดูอาการ
ระหว่างออกทำงนก็ต้องพักในพื้นที่หนึ่งคืน เพื่อประหยัดเวลาในการเดินทางในวันรุ่งขึ้นได้เยอะ การพักผ่อนก็เต็มที่ด้วย โดยเฉพาะพลขับของเรา หรือที่สมาชิกในนี้รู้จักกันในนาม "The Juk" แน่นอน..ไหนๆมาด้วยกันแล้ว ก็ต้องมียืดแข้งยืดขากันบ้าง ตอนแรกว่าจะไปหมาย "Happiness" แต่ด้วยระยะทางกว่า ๓๐ กม. ก็จะใช้เวลามากเกินไปในการเดินทาง โดยเฉพาะขากลับที่อ่อนล้า เลยเล็งน้ำตกแห่งหนึ่งที่อยู่ไม่ไกลที่พักนัก แม้จะเป็นพื้นที่ป่าชุมชน แต่สภาพโดยรวมถือว่าน่าสนใจยิ่ง หากชาวบ้านกันพื้นที่ buffer zone จากลำธารได้ข้างละอย่างน้อย ๕๐ เมตร ก็น่าจะดีกว่านี้ (ใจจริงอยากได้ขั้นต่ำ ๑๐๐ เมตร) แต่..ไม่เป็นไร เพราะสัตว์เป้าหมายของผมไม่ใช่เป้าหมายของชาวบ้าน...
อย่างไรก็ตาม..ทริปนี้อาจเป็นทริปอำลากล้อง CANNON A495 ก็เป็นได้ ตอนนี้อยู่ระหว่างรอดูอาการ
Comments
ความเห็นที่ 1
Hoya
มะลิต้น (Diospyros brandisiana) ชื่อโดยคุณ sd
ความเห็นที่ 1.1
ความเห็นที่ 1.2
ความเห็นที่ 1.3
ความเห็นที่ 2
Diospyros brandisiana
ความเห็นที่ 2.1
ความเห็นที่ 3
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็พบอีเห็นอะไรสักอย่าง หนูฟาน และหนูเหม็น (สาทู)
ส่วนสัตว์สะเทิน..ก็พบพอประมาณ แต่นแต๊นนนนนนนน
จงโคร่ง (Phrynoidis aspera) พบตัวไม่ใหญ่มาก ขนาดราว ๑๐ ตัว/กก.
คางคกห้วยระนอง (มั้ง) (Ansonia cf. kraensis) ลืมจับหงายท้องถ่ายรูป ไว้กลับไปถ่ายใหม่นะขอรับ
ความเห็นที่ 3.1
ความเห็นที่ 4
กบป่าไผ่ (Limnonectes hascheanus) พบตัวเดียวริมลำธาร
กบทูด (Limnonectes blythii) พบเป็นหย่อมๆ เหนือน้ำตกขึ้นไป
ความเห็นที่ 5
กบชะง่อนผาตะนาวศรี (Odorrana livida) พบหนาแน่นบริเวณโตรกธารด้านบน ซึ่งบริเวณนั้นพบงูปล้องฉนวนกินงูอยู่ในซอกหินแถวๆนั้นด้วย
กบลายหินตะนาวศรี/ปัญหา (Amolops panhai) พบประปรายตามต้นไม้ริมธาร
ความเห็นที่ 6
ปาดป่าจุดขาว (Nyctixalus pictus) ที่กระโดดมาขวางทางเดินของผม อยู่บนต้นปุดที่ถูกฟันลงมากองกับพื้น ปกติผมมักเจอระยะ froglet ในช่วงเดือนนี้ แต่ครั้งนี้พบตัวเต็มวัย
ความเห็นที่ 6.1
ความเห็นที่ 6.2
ความเห็นที่ 6.3
ความเห็นที่ 6.4
ความเห็นที่ 6.5
ความเห็นที่ 6.5.1
ความเห็นที่ 6.6
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 7.1
ความเห็นที่ 7.2
ความเห็นที่ 7.3
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 8.1
ความเห็นที่ 9
งูจงอาง (Ophiophagus hannah) บนถนนหมายเลข ๔
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 10.1
ความเห็นที่ 10.1.1
ความเห็นที่ 10.1.1.1
ความเห็นที่ 10.1.1.1.1
นี่แหละ..ผมถึงโยนมะเขือถามทางอยู่ว่าเป็นชนิดไหน ด้วยความหวังลึกๆแอบแฝง
ความเห็นที่ 10.1.1.1.1.1
http://www.uniprot.org/taxonomy/267265
http://www.plantnames.unimelb.edu.au/new/Sorting/CATALOGUE/Pt4-Nightshades.html
ความเห็นที่ 11
จบข่าว...
ความเห็นที่ 12
ความเห็นที่ 12.1
ความเห็นที่ 13
ความเห็นที่ 14
ความเห็นที่ 15
ความเห็นที่ 16
ความเห็นที่ 16.1