สวัสดีครับ
มีเรื่องขอรบกวนยืนยันชื่อชนิดปลาครับผม
ทั้งหมดจากลุ่มน้ำโขงครับ
ขอบคุณทุกท่านล่วงหน้าคร้าบ
siamensis.org เป็นสังคมเครื่อข่ายความร่วมมือเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย
Independence Non-Profit Organization Since 1999
ร่วมพัฒนาเว็บไซต์โดย โอเพ่นดรีม
Comments
ความเห็นที่ 1
ตัวแรกครับ
ปลากดเหลือง
Hemibagrus filamentus
ความเห็นที่ 2
ปลาขยุย
Pseudobagarius leucorhynchus
ความเห็นที่ 3
ค้อ
Schistura geisleri
ความเห็นที่ 4
ค้อ
Schistura poculi
ความเห็นที่ 5
ปลาค้อ
Schistura nicholsi
ความเห็นที่ 5.1
สภาพพื้นลำธารแบบนี้น่าจะมีอะไรเด็ดๆ เพียบ
ความเห็นที่ 5.1.1
สงสัยจะเพียบแต่หาไม่เจอครับผ้ม
ดำคนเดียวแสนปล่าวเปลี่ยวใจจริงๆ
ความเห็นที่ 6
จาด
Poropuntius angustus
ความเห็นที่ 7
จาด
Poropuntius bantamensis
ความเห็นที่ 7.1
ตัวนี้จากลักษณะปากที่ค่อนข้างโค้งมน ริมฝีปากงุ้มลงด้านล่าง น่าจะเป็น Scaphiodonichthys acanthopterus (Fowler, 1934) ครับ ทางเชียงราย เคยถามชาวบ้าน บอกว่าเรียก "ปลาแก้ม" ทางท้องที่เรียกปลามอน หรือ ปลาม่ำ ก็มี พวกนี้ฉกกินตะไคร่ตามลำธารบริเวณที่น้ำไหลค่อนข้างแรง ปกติตัวใหญ่เข้าใกล้ยาก ดักนานอ่ะดิภาพนี้?
ความเห็นที่ 7.1.1
ขอบคุณคร้าบ
ถ่ายมาซักสามสิบรูปได้ ชัดอยู่สองรูป อยากได้กล้องใหม่อีกแล้ว
ความเห็นที่ 8
ปลาซิวควายแถบดำ
Rasbora paviei
ความเห็นที่ 9
ปลาซิวใบไผ่เล็กแถบขาว, ม้ามุก
Danio albolineatus
ความเห็นที่ 10
ปลาซิวใบไผ่แม่ลาว
Devario laoensis
ความเห็นที่ 11
ปลาม้ามุก,ซิวใบไผ่สีกุหลาบ
Danio roseus
ความเห็นที่ 12
ปลาตะเพียนทราย
Puntius brevis
ความเห็นที่ 13
ปลาบู่น้ำตกแม่โขง
Rhinogobius mekongianus
ความเห็นที่ 14
ปลามะไฟ
Systomus stoliczkanus
ความเห็นที่ 15
ปลารากกล้วย, ปลาซอนทราย
Acanthopsoides gracilentus
ความเห็นที่ 16
ปลาเลียหิน
Garra cambodgiensis
ความเห็นที่ 16.1
คุณหมักดอง.... จะขออนุญาตเอารูป Garra cambodgiensis ไปใช้ในงานนิทรรศการวันวิทยาศาสตร์ที่ราชภัฏสุราษฎร์หน่อยค่ะ...อนุญาตไม๊เอ่ย
ความเห็นที่ 16.1.1
ขอผ่านหน้าบอร์ดก็ดี และผมเกรงว่าหมักดองอาจจะไม่เห็น ถ้าให้ดีกดตรงปุ่มซองจดหมาย(ที่อยู่ในกรอบความคิดเห็นของหมักดอง)ส่งข้อความไปขออีกทีก็ได้ครับ เค้าจะเห็นง่ายกว่า
ความเห็นที่ 17
ปลาหนามหลัง
Mystacoleucus marginatus
ความเห็นที่ 18
และสุดท้าย
ปลาอีด
Lepidocephalichthys hasselti
ความเห็นที่ 19
ขอบคุณสำหรับคำตอบคร้าบบ
โหย...
ช่วงนี้วุ่นวายมากมาย คิดถึงชาวเสียมยิ่งนัก
ทุกท่านสบายดีอยู่นะครับ
ความเห็นที่ 20
ซิวใบไผ่เล็กสกุล Danio ทั้งสองชนิดเจอในแหล่งเดียวกันบ้างไหมครับ?
ความเห็นที่ 20.1
เท่าที่นึกออกไม่นะครับ
แต่ไม่ได้ดูละเอียด ครั้งหน้าจะลองตั้งใจดูครับ
ความเห็นที่ 21
โอ้วววววววว.........กระทู้ปลาแบบยาวๆ ดูกันจนอิ่มอกอิ่มใจ
ว่าแต่พี่ใช้กล้องอะไรถ่ายครับผม? ถ่ายช่วงเวลาไหนของปีครับ?? (น้ำใสมาก) ^^
ปล. เห็นแล้วอยากได้กล้องใต้น้ำ
ความเห็นที่ 21.1
ลองงมดูสิครับ เผื่อมีใครทำตกๆว้
ความเห็นที่ 21.2
ใช้พานาฯft1 ตัวเก่า ถ่ายช่วงหน้าแล้งกระจายกัน หลายที่หลายเวลาครับผ้ม
ความเห็นที่ 22
ID ได้เก่งกว่าพี่อีก ข้อมูลเปรียบเทียบหายหมด ชนิดไหนมั่นใจมะเดี่ยวก็รู้หมดแล้ว เหอๆๆ
ปีใหม่อาจจะโดนลากไปเชียงใหม่ อาจจะไปขอให้พาเที่ยวด้วยนะ
ความเห็นที่ 22.1
รับทราบคร้าบ
เหอๆ ปีใหม่ปีนี้สงสัยไม่ได้นอนอยู่บ้านเฉยๆเหมือนที่ตั้งใจแน่เลย
ความเห็นที่ 23
Hemibagrus nemurus (Valenciennes 1840)
Pseudobagarius leucorhynchus (Fowler 1934)
Schistura geisleri Kottelat 1990
Schistura poculi (Smith 1945)
Schistura nicholsi (Smith 1933)
Poropuntius bantamensis (Rendahl 1920)
Scaphiodonichthys acanthopterus (Fowler 1934)
Rasbora paviana Tirant 1885
Danio albolineatus (Blyth 1860)
Danio roseus Fang & Kottelat 2000
Devario laoensis (Pellegrin & Fang 1940)
Rhinogobius mekongianus (Pellegrin & Fang 1940)
Puntius stoliczkanus (Day 1871)
Acanthopsoides gracilentus (Smith 1945)
Garra cambodgiensis (Tirant 1883)
Mystacoleucus marginatus (Valenciennes 1842)
Lepidocephalichthys berdmorei (Blyth 1860)
ความเห็นที่ 23.1
ขอบคุณอ.ปลาตีนมากๆคร้าบ
ความเห็นที่ 24
ว้าว สวยแจ่มเลยครับ คุณ หมักดอง (^^)
ชอบภาพปลาลุ่มน้ำโขงชุดนี้มากครับ :)
เพิ่งกลับจากไปเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปลายเดือนที่แล้ว มีโอกาสแวะไปชมสามพันโบกมาด้วย ตอนนั้นเห็นแต่ปลาตกค้างในโบกที่น้ำค่อนข้างลึกและใสประมาณ ๑๐ กว่าตัว นอกนั้นไม่เห็นเลยครับ น้ำขุ่นมาก ๆ เหอะ เหอะ
ปล.ตอนนั้นหวุดหวิดจะทำกล้องหลุดมือในโบกเหมือนกัน ถ้าไม่ได้คล้องสายกล้องไว้ล่ะก็ จบข่าวแน่ ๆ เหอ เหอ
ความเห็นที่ 25
จุใจจริงๆ