รบกวนสอบถามชนิดพันธุ์ ของตะขาบครับ !
เขียนโดย Dandelion Authenticated user เมื่อ 30 มีนาคม 2555
คือว่า เคยมีผู้รู้ บอกผมผ่านทางเวปสัตว์เลื้อยคลานเวปหนึ่งมาแล้ว
ผมก็เกรงใจเหมือนกันที่มาถามซ้ำอีกรอบ
แต่ผมต้องการความมั่นใจและความรู้มากขึ้น ขอความกรุณาด้วยนะครับ
1.รบกวนขอทราบชนิดพันธุ์ของทั้ง 3 ตัวได้มั้ยครับ
2.เหตุใด ตะขาบชนิด Scolopendra subspinipes dehaani ในวัยเด็ก ถึงมีหลายวาไรตี้ครับ ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดครับ
ตัวแรกครับ เจอใต้เปลือกไม้ ที่บ้าน จ.พะเยา
ตัวที่ 2 ครับเจอใต้บ่อปลา บริเวณไม่ห่างกันกับตัวแรก คาดว่า น่าจะครอกเดียวกัน
ตัวที่ 3 พึ่งเจอวันนี้ครับ วิ่งเข้ามาเกือบถึงเท้าผม ดีทีเห็นก่อน พบในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครับ
ยังไงก็ขอขอบคุณล่วงหน้านะครับ
ผมก็เกรงใจเหมือนกันที่มาถามซ้ำอีกรอบ
แต่ผมต้องการความมั่นใจและความรู้มากขึ้น ขอความกรุณาด้วยนะครับ
1.รบกวนขอทราบชนิดพันธุ์ของทั้ง 3 ตัวได้มั้ยครับ
2.เหตุใด ตะขาบชนิด Scolopendra subspinipes dehaani ในวัยเด็ก ถึงมีหลายวาไรตี้ครับ ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดครับ
ตัวแรกครับ เจอใต้เปลือกไม้ ที่บ้าน จ.พะเยา
ตัวที่ 2 ครับเจอใต้บ่อปลา บริเวณไม่ห่างกันกับตัวแรก คาดว่า น่าจะครอกเดียวกัน
ตัวที่ 3 พึ่งเจอวันนี้ครับ วิ่งเข้ามาเกือบถึงเท้าผม ดีทีเห็นก่อน พบในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครับ
ยังไงก็ขอขอบคุณล่วงหน้านะครับ
Comments
ความเห็นที่ 1
อายุ 19 ปี เมื่อก่อนกลัวตะขาบมาก แต่ตอนนี้อยากลองศึกษาสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ดู
ยังไงก็ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ
กระทู้นี้เป็น กระทู้แรก ผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยนะครับ :)
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 2.1
ความเห็นที่ 3
ส่วนตัวที่ 3 นี่ ดูคล้ายตะขาบจากจีนชนิด Scolopendra subspinipes mutilans ครับ เจอทางเหนือของไทย จีน ออสเตรเลีย คนจีนเรียกว่า Chinese Red Head Centipede ครับ แต่ต้องลองเลี้ยงดูอีกซักระยะ รอดูคราบต่อไปว่ามีการเปลี่ยนสีมั้ย เพราะที่เคยเจอใน S.s.dehaani ก็มีลักษณธคล้ายแบบนี้แต่หัวและขาแดง แต่เจ้าตัวนี้เหลืองอมส้ม
เลี้ยงตะขาบขนาดนี้ต้องดูแลเยอะเลยครับ ระวังหลายเรื่อง อากาศ อาหาร น้ำ ร้อนไป แห้งไป ชื้นเกินไปก็ทำให้ตายได้ง่ายๆ เลยครับ อุณหภูมิที่พอเหมาะน่าจะอยู่ระหว่าง 26-30 องศาเซลเซียส ควรมีดินไว้ให้มันมุดหลบซ่อนตัวด้วยครับ ดินช่วยเก็บความชื้นได้ ในเวลาที่มันร้อนมากมันจะมุดลงไปอยู่ในดินครับ
ความเห็นที่ 4
Scolopendra subspinipes dehaani (China)
Scolopendra subspinipes dehaani (Vietnam)
Scolopendra subspinipes dehaani (Malysia)
Scolopendra subspinipes dehaani (Thailand)
ส่วนเจ้าตัวนี้คือตัวเต็มวัยของ Scolopendra subspinipes mutilans
Scolopendra subspinipes mutilans (China)
Scolopendra subspinipes mutilans (Myanmar)
ทางเหนือนี่ผมคิดว่าดูจากสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศแล้วน่าจะยังมีตะขาบที่หลงสำรวจอยู่อีกหลายชนิดเลย รวมถึงภาคใต้ของไทยแถวฮาลาบาลา ตะขาบชอบอยู่ที่ชื้นเย็น แต่ไม่แฉะ ตามใต้กองใบไม้แห้ง กองไม้ เจ้าพวกนี้ชอบเลย
ความเห็นที่ 4.1
หนึ่งในจุดที่ทำให้ผมสนใจ เรื่องตะขาบ ส่วนหนึ่งก็มาจาก บทความของคุณนี่แหละครับ
สำหรับเรื่องความชื้นในที่เลี้ยงนี่ผมพยายามควบคุมอยู่ครับ
แต่ในวันอากาศร้อนๆ เขาก็มีขุดไปอยู่ใต้ดิน
สำหรับชนิด ที่คาดว่าจะเป็นชนิด Scolopendra subspinipes mutilans นั้น
นิสัยแตกต่างจาก อีกสองตัวอย่างเห็นได้ชัดครับ เปรียวกว่า และ ตกใจง่ายกว่า
ซึ่งต้องดูกันไปยาวๆครับ ว่าคือ ชนิดใดกันแน่
รบกวนถามอีกหน่อยได้มั้ยครับ การแยกชนิดของตะขาบ ในกรณีโตเต็มวัยแล้วลักษณะภาพนอกคล้ายๆกัน
เช่น ชนิด Scolopendra subspinipes dehaani มักแยกจากส่วนไหนของร่างกายเหรอครับ
อย่างเช่น หัว หรือ หาง อะไรแบบนี้
ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
ปล. ตะขาบเป็นสัตว์ที่ว่องไว และมีความสามารถ ที่น่าทึ่งมากๆเลยครับ
ความเห็นที่ 5
1. นับจำนวนข้อปล้องของลำตัว
2. ดูจากลักษณะของอวัยวะที่อยู่ข้างลำตัวที่ผมเรียกว่าช่องหายใจครับ จะมีอยู่ทุกข้อปล้อง
แต่ละชนิดจะมีลักษณะต่างกัน
3. ลักษณะของเขี้ยว
4. ลักษณะของหัวและข้อแรกที่ต่อจากส่วนหัว
5. หางหรือระยางคู่สุดท้ายของตะขาบ ที่ทำหน้าที่เหมือนเสาอากาศครับ
ลักษณะที่สำคัญมีเท่านี้ครับ ส่วนสีและพื้นที่ที่พบจะเป็นข้อย่อยที่นำมาช่วยในการจำแนกครับ แต่ตะขาบมีผู็ที่ศึกษาในไทยน้อย ต่างประเทศเองก็มีน้อย รายงานการค้นพบก็อัพเดตน้อย เพราะฉะนั้นโดยส่วนตัวของผมเองคิดว่าในประเทศไทยอาจจะมีชนิดอื่นๆ ที่นอกเหนือจากรายงานการค้นพบและแพร่กระจายอยู่อีกครับ
ความเห็นที่ 5.1
ผมมาหลง ตะขาบ ได้ยังไงผมก็ยังไม่ทราบ แต่อยากลองศึกษามากๆครับ
สำหรับเจ้าตัวขาส้ม น่าจะเป็นอีกชนิดที่ต่างจาก Scolopendra subspinipes dehaani
จริงๆครับ แต่ก็ต้องรอดูกันไปยาวๆ
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 6.1
ความเห็นที่ 6.2
ความเห็นที่ 6.2.1
ความเห็นที่ 6.2.1.1
และก็ยากเอาการสำหรับผมเลยที
แต่ก็จะทำไปเรื่อยๆครับ
ผม สนใจ กับ สงสัย ขึ้นมาเอง ก็ต้องรับผิดชอบกับความ สงสัย เหล่านั้นละครับ ^^
ความเห็นที่ 6.2.1.1.1
ความเห็นที่ 6.2.1.1.1.1
อิอิ
ความเห็นที่ 7
ทายาทปลายังไม่มีเป็นตัวเป็นตนเลยครับ
ความเห็นที่ 7.1
ลูกท่านไง
ความเห็นที่ 7.1.1
ความเห็นที่ 7.2
ความเห็นที่ 8