Skip to main content
เข้าสู่ระบบ
|
สมัครสมาชิก
หมวดหมู่:
- ทั้งหมด -
ดัชนีสิ่งมีชีวิต
พิมพ์คำที่ต้องการค้นหา:
กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
Home
Article
Species Index
Webboard
Documents
Quizzes
หน้าแรก
»
บอร์ดพูดคุย
»
Travel : ท่องเที่ยว
»
หนีร้อน...ไปตากอากาศเย็น
เลือกหมวดหมู่
All Category : ทั้งหมด
Bird : นก
Crustacean : ปูและกุ้ง
Environment : สิ่งแวดล้อม
Fish : ปลา
Fungi : เห็ดรา
Herp : เลื้อยคลานและครึ่งบกครึ่งน้ำ
Insect : แมลง
Mammal : เลี้ยงลูกด้วยนม
Mollusk : หอย
Other Arthropods : สัตว์ขาข้ออื่นๆ
Plant : พืช
Travel : ท่องเที่ยว
Others : อื่นๆ
หนีร้อน...ไปตากอากาศเย็น
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
ช่วงนี้อากาศแสนจะร้อน เลยหนีไปหลบร้อนแถวน้ำตกเสียหน่อยครับ มีของมาฝากสมาชิกนิดหน่อยครับ ^^
ทริปนี้ไปแบบสั้นๆ ไม่ได้ถ่ายวิวอะไรเลย มัวแต่ตามถ่ายน้องปออย่างเดียวเลยครับ
‹ ปู่ระอา..ที่ป่าละอู
::> น่านนะสิ ›
Travel : ท่องเที่ยว
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
อ่าน 17374 ครั้ง
Comments
ความเห็นที่ 1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
ดอกไม้ตามป่ายังไม่ค่อยมีอะไรให้ถ่าย เลยได้กล้วยไม้มา 1 ชนิด ฝาก id ด้วยนะครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1.1
เขียนโดย ภาวัน
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
Eria lasiopetala
เอื้องคำหิน, เอื้องบายศรี
อุตส่าห์มีกล้วยไม้มาฝากด้วย...
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1.1.1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
อ้ากก พี่นก ขอบคุณมากครับ
คิดถึงพี่นกคร้าบ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 2
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
ช่วงนี้ แมลงน่าจะมีออกมาให้เห็นเยอะ โดยเฉพาะยุง เพียบจริง แต่โชคดีที่ทริปนี้ได้เจอแมลงที่สนใจนั่นคือ แมลงแมงป่อง (scorpionfly) แมลงที่มีปากแหลมยาว และมีหาง(ท้อง)ม้วนขึ้นคล้ายกับหางแมงปอ่อง แต่ไม่มีเหล็กในนะครับ และเพลี้ยกบ (spittlebug, froghopper) ในวงศ์ Cercopidae ครับ เป็นแมลงที่ดูดกินน้ำเลี้ยงพืช ตัวอ่อนจะสร้างฟองอากาศคลุมตัว เรามักจะเห็นกลุ่มฟองอากาศสีขาวๆ ตามกิ่งไม้ นั่นแหละคือที่หลบภัยของตัวอ่อนแมลงกลุ่มนี้ครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 3
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
ทริปนี้ เจอหนูตัวนึง ถ่ายได้รูปเดียวก่อนที่มันจะรู้สึกตัวว่าต้องหนีหายไปครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 3.1
เขียนโดย นณณ์
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
ย๊าก!!!
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 4
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
แมลงอีกกลุ่มที่น่าสนใจคือ เหาไม้ (bark lice) เป็นแมลงพวกเดียวกับเหาหนังสือที่เป็นแมลงรบกวนตามหนังสือเก่าๆ หรือตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในพิพิธภัณฑ์ แต่เหาไม้นั้นกลับไม่มีอันตรายใดต่อคนและสิ่งมีชีวิตอื่น เราสามารถพบเหาไม้ได้ตามเปลือกไม้ ส่วนใหญ่โดยเฉพาะตัวอ่อนจะรวมกลุ่มกันแน่นแบบนภาพ เหาำไม้กินเชื้อรา ไลเคน และเศษผงตามเปลือกของต้นไม้ครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 5
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
เพลี้ยกระโดดปีกตั้ง อยู่ในวงศ์ Flatidae มีหลากสีหลายแบบให้คุณได้ชม แต่ผมเจอสีเขียวอมฟ้าสบายตาครับ เกาะกันอยู่ 3 ตัว น่ารักมาก
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 5.1
เขียนโดย ภาวัน
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
สวยนะ...ชอบ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 5.1.1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
สีสวยมากครับ เส้นปีกก็สวยครับพี่
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 5.2
เขียนโดย GreenEyes
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
ชอบมากเลยไอ้ัพวกนี้
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 6
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
ด้วงก็พอมีบ้าง ส่วนใหญ่จะเจอแต่ด้วงดีด (click beetle) เพิ่งบ่นกับญาติที่บ้านว่าเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเจอตัวเลย จำได้ว่าเด็กๆ จับมาหงายท้อง แล้วสักพักมันก็จะดีดตัวกลับขึ้นมา สนุกไปอีกแบบ อีกกลุ่มคือ
ด้วงเสือ แมลงที่อาศัยอยู่บนบกที่เร็วที่สุดในโลก แต่น่าเสียดายที่เจอแต่ชนิดที่พบได้ทั่วไปคือ ด้วงเสือสามจุดธรรมดา (
Calochroa aurulenta juxtata
)
ครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 6.1
เขียนโดย ส่องปลา
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
จำได้ว่าเด็กๆ จับมาหงายท้อง แล้วสักพักมันก็จะดีดตัวกลับขึ้นมา--------> 555 อารมณ์เดียวกัน
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 6.1.1
เขียนโดย นณณ์
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
ผมเพิ่งเคยเห็นมันดีดตอนไปน่านที่น้องiDuang จับให้ดู...เชยฉิบ เด็กกรุงฯน่าสงสาร เหอ เหอ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 6.1.1.1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
เอิ๊กๆ เสียงมันดังดีครับ ตอนที่ดีดตัวขึ้นมา
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 6.1.1.2
เขียนโดย หนึ่ง
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
จริงอ่ะ
ที่บ้านเรียกอีน้อยยักคอ เด็ก ๆ เอามแข่งกัน ของใครดีไว ดีดสูงกว่ากันกว่ากัน
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 6.2
เขียนโดย เก่ง อินทนนท์
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
ด้วงเสือนี่ "วิ่ง" เร็วสุดมิใช่รึ หรือว่าพี่จำผิดหว่า
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 6.2.1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
จำไม่ผิดคร้าบบ ผมแก้ก่อน
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 7
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
มาที่กลุ่มที่ผมสนใจบ้าง ที่นี่ผมพบแมลงปอทั้งหมด 37 ชนิด ในแมลงปอเข็มก็เจอง่ายหน่อยก็มักจะเจอตามข้างทางหรือข้างลำธารตามพุ่มไม้นั่นแหละครับ ตัวเด่นหน่อยก็น่าจะเป็นแมลงปอเข็มรำไรเมดูซ่่า
Protosticta medusa
ตัวผู้ ที่ปลายท้องจะมีพู่ขนสีน้ำตาลโผล่ขึ้นมา (ที่ลูกศรชี้) เลยเป็นที่มาของชื่อ medusa ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของแมลงปอเข็มชนิดนี้เลยครับ เป็นแมลงปอเข็มขนาดกลางที่ชอบเกาะนิ่งอยู่ในที่ครึ้มๆ หน่อย
อีกชนิดหนึ่งที่คนชอบกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะหน้าตามันน่า่รักและสีสันก็สวยงาม นั่นคือ แมลงปอเข็มภูเขาท้องส้ม (
Rhinagrion mima
) แมลงปอเข็มขนาดกลางที่ชอบเกาะตามกิ่งไม้ที่ลำแสงแดดส่องผ่านมาถึง มักพบตัวในช่วงปลายร้อนถึงฤดูฝนครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 7.1
เขียนโดย ส่องปลา
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
ว้าว มุมสวยงามทั้งคู่เลย แนวขนานเดียวกัน 555
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 7.1.1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
อยู่ในมุมที่ต้องถ่ายขนานแบบนี้แล ฮ่าๆ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 8
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
แมลงปอเข็มอีกกลุ่มหนึ่งที่พบง่ายก็คือ แมลงปอเข็มท้องยาวฟ้าปลายขาว (
Coeliccia albicauda
) ลักษณะเด่นของมันคือ ด้านหน้าอกจะมีแต้มกลมๆ หรือรูปหัวใจอยู่ 2 จุดทางด้านล่าง และเหนือแต้มนั้นจะมีจุดขนาดเล็ก (ซึ่งบางครั้งเล็กมากจนแทบไม่เห็น) อยู่อีก 2 จุด และปลายท้องจะมีสีขาวครับ แต่แมลงปอเข็มอีกชนิดหนึ่งที่หาตัวได้ยากหน่อย และมีขนาดใหญ่ก็คือ แมลงปอเข็มปีกแผ่ใหญ่แปดจุด (
Orolestes octomaculata
) มักพบในที่ที่ครึ้มหน่อย อกสีเขียวคาดด้วยแถบสีเลือดหมูมันวาว ในตัวผู้ แต่ละปีกจะมีแ้ต้มสีเข้มอยู่ 2 จุดครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 8.1
เขียนโดย kroolek
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
แมลงปอเข็มท้องยาวฟ้าปลายขาว (
Coeliccia albicauda
) พบได้ง่ายแต่ข้าพเจ้าก็ยังหามันไม่พบอยู่ดี
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 9
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
ในแมลงปอขนาดใหญ่ก็เจออยุ่หลายชนิด ซึ่งถือว่าโชคดีมากครับ เพราะพวกนี้หาตัวยากเสียเหลือเกิน ตัวแรกที่เจอคือ แมลงปอยักษ์รีเอวกิ่ว (
Gynacantha bayadera
) แมลงปอที่มีอกสีเขียวโดดเด่น หลังจากถ่ายไปได้สองสามรูป มันก็บินหนีไป ผมเดินต่อไปที่เหนือชั้นน้ำตกก็เหลือบมองเห็นแมลงปอขนาดใหญ่บินมาเกาะกิ่งไม้สูงขึ้นไป 2-3 เมตร มันคือแมลงปอยักษ์สูรย์เล็ก (
Heliaeschna uninervata
) ที่ผมตามหาอยู่ ด้วยความอยากได้ภาพ ผมเลยต้องยืนอยู่บนเถาวัลย์ที่ทอดตัวออกมาจากชั้นน้ำตก ถ้ามองลงไปมันจะเป็นพื้นเบื้องล่างที่อยู่ต่ำลงไปอีก 4-5 เมตร มือนึงเลยต้องจับเถาวัลย์กันตกแล้วเดี้ยง และอีกมือจับกล้องถ่าย ในที่สุดก็ได้ภาพมา แม้จะมุมไม่ดีเท่าไหร่ แต่ก็น่าพอใจทีเดียวครับ
ป.ล. เป็นความบ้าส่วนตัว ห้ามลอกเลียนแบบครับ เอิ๊กๆ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 10
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
หลังจากเปลี่ยนทางเดินเป็นที่ที่โล่งและมีแสงสว่างส่องถึง ผมก็พบกับแมลงปอเสือจุดแอ็บบอตต์
Gomphidia abbotti
เกาะอยุ่เลยได้ภาพมานิดหน่อยก่อนมันจะบินหนีไป จากนั้น ผมลองเดินเลาะลำธารไปเรื่อยๆ ก็ได้พบกับแมลงปอป่าชนิดหนึ่ง (
Idionyx
sp.) บินมาเกาะปล้องไผ่ไม่ไกลจากผมเท่าไหร่ เลยย่องไปถ่ายมา โชคดีที่ตัวนี้เป็นตัวเมียที่เพิ่งออกคราบ ยังไม่ค่อยตื่นกลัวคนเ่ท่าไหร่ ถ้าเป็นตัวเต็มวัย...โอกาสเจอเกาะนั้นยากมากทีเดียวครับ ถัดไปอีกหน่อยก็เจอกับแมลงปอบ้านเอเชีย
Lathrecista asiatica asiatica
เกาะให้ถ่ายอยู่ครับ เพลินดีจริงๆ ครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 11
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
อันนี้เป็นฟอร์มแปลกๆ ของแมลงปอบ้านใหม่เฉียง
Neurothemis fluctuans
ปกติแล้ว ในตัวผู้จะมีแถบสีเข้มบนปีกจะสม่ำเสมอกัน และตัวเมียจะมีปีกใส แต่ที่นี่กลับพบว่า แถบสีเข้มบนปีกของตัวผู้กลับค่อยๆ จางลงจนหายไปที่โคนปีก และในตัวเมียที่จุดสีเข้มที่ปลายปีกครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 12
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
ปิดท้ายด้วยผีเสื้อทองเฉียงพร้าไม่ทราบชนิดครับ
Dysphania
sp. ครับ
ขอบคุณพี่สันและครอบครัวรวมถึงพี่ จนท ทุกท่านที่ช่วยเหลือกันมาตลอดทริปครับ
ขอบคุณพี่ๆ น้องๆ ที่ช่วย id และเข้ามาชมกันครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 13
เขียนโดย ส่องปลา
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
โดยรวมสวยงามสะใจแต้ๆขอรับ 555
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 13.1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
ขอบคุณหลายๆ ท่านน้อง
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 14
เขียนโดย scarab
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
เหาไม้สวยมากเลยครับ ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยๆ ขอบคุณครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 14.1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
ใช่ครับ เห็นไม่บ่อยจริงๆ ขอบคุณครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 15
เขียนโดย เก่ง อินทนนท์
Authenticated user
เมื่อ 24 เมษายน 2555
ภาพงามเหมือนเคย
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 15.1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
ขอบคุณครับพี่
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 16
เขียนโดย ภาวัน
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
มีแมลงปอสวยๆเยอะจริง ไปภูหินกับช่องเย็นมา ไม่เจอแมลงปอเลย
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 16.1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
จริงหรอครับ พี่นก? น่าเสียดายจังครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 17
เขียนโดย aqueous_andaman
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
เจอแมลงปอ เยอะสมใจอยากเลย เหอๆๆ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 17.1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
ยังไม่เยอะ แต่ตัวที่อยากเจอก็เจอทุกชนิดนะ ท่านน้อง ^^
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 18
เขียนโดย Beetle_Lover
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
ไหนด้วงผมล่ะครับท่านพี่ มี2ตัวเอง ฮ่าๆๆๆ ;D
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 18.1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
มันบินหนีไปก่อนที่กล้องจะถ่ายได้น่ะสิ ฮ่าๆ ด้วงดอกไม้ด้วยนะ (พูดให้อยากแล้วจากไป)
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 19
เขียนโดย พรุ
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
ไหนงูของหนูอ่ะ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 19.1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
ตลอดเวลาที่อยู่ เจอหางงูตัวเดียวเอง กลางคืนไม่ต้องพูดถึง หลับเป็นตายอยู่ในเต้นท์ 55
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 20
เขียนโดย coneman
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
ภาพงามหลายๆ เอามารวมเป็นหนังสือดีๆได้เลยนะเนี่ย
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 20.1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 29 เมษายน 2555
หนังสืออะหยัง ท่าน? ฮี่ๆ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 21
เขียนโดย aimbryo
Authenticated user
เมื่อ 25 เมษายน 2555
อยากไปเที่ยววววว..........
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 21.1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 29 เมษายน 2555
เดี๋ยวก็ได้เที่ยวนิ่ ^^
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 22
เขียนโดย sparrow
Authenticated user
เมื่อ 27 เมษายน 2555
โอ๊ะ งาม หลังละลาย เหาไม้มันเรียงตัวสวยดีแฮะ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 22.1
เขียนโดย Due_n
Authenticated user
เมื่อ 29 เมษายน 2555
ขอบคุณหลายๆ จ้า
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 1.1
เอื้องคำหิน, เอื้องบายศรี
ความเห็นที่ 1.1.1
คิดถึงพี่นกคร้าบ
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 3.1
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 5.1
ความเห็นที่ 5.1.1
ความเห็นที่ 5.2
ความเห็นที่ 6
ด้วงเสือ แมลงที่อาศัยอยู่บนบกที่เร็วที่สุดในโลก แต่น่าเสียดายที่เจอแต่ชนิดที่พบได้ทั่วไปคือ ด้วงเสือสามจุดธรรมดา (Calochroa aurulenta juxtata) ครับ
ความเห็นที่ 6.1
ความเห็นที่ 6.1.1
ความเห็นที่ 6.1.1.1
ความเห็นที่ 6.1.1.2
ที่บ้านเรียกอีน้อยยักคอ เด็ก ๆ เอามแข่งกัน ของใครดีไว ดีดสูงกว่ากันกว่ากัน
ความเห็นที่ 6.2
ความเห็นที่ 6.2.1
ความเห็นที่ 7
อีกชนิดหนึ่งที่คนชอบกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะหน้าตามันน่า่รักและสีสันก็สวยงาม นั่นคือ แมลงปอเข็มภูเขาท้องส้ม (Rhinagrion mima) แมลงปอเข็มขนาดกลางที่ชอบเกาะตามกิ่งไม้ที่ลำแสงแดดส่องผ่านมาถึง มักพบตัวในช่วงปลายร้อนถึงฤดูฝนครับ
ความเห็นที่ 7.1
ความเห็นที่ 7.1.1
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 8.1
ความเห็นที่ 9
ป.ล. เป็นความบ้าส่วนตัว ห้ามลอกเลียนแบบครับ เอิ๊กๆ
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 12
ขอบคุณพี่สันและครอบครัวรวมถึงพี่ จนท ทุกท่านที่ช่วยเหลือกันมาตลอดทริปครับ
ขอบคุณพี่ๆ น้องๆ ที่ช่วย id และเข้ามาชมกันครับ
ความเห็นที่ 13
ความเห็นที่ 13.1
ความเห็นที่ 14
เหาไม้สวยมากเลยครับ ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยๆ ขอบคุณครับ
ความเห็นที่ 14.1
ความเห็นที่ 15
ความเห็นที่ 15.1
ความเห็นที่ 16
ความเห็นที่ 16.1
ความเห็นที่ 17
ความเห็นที่ 17.1
ความเห็นที่ 18
ความเห็นที่ 18.1
ความเห็นที่ 19
ความเห็นที่ 19.1
ความเห็นที่ 20
ความเห็นที่ 20.1
ความเห็นที่ 21
ความเห็นที่ 21.1
ความเห็นที่ 22
ความเห็นที่ 22.1