นกยูงไทยหรืออินเดียครับ?

Comments

ความเห็นที่ 1

ไทยครับ
แก่งลานนกยูงใช่ไหมครับ
อยากไปดูบ้างจัง

ความเห็นที่ 1.1

คงต้องรีบเลยเดี๋ยวก็คง..ไม่มีให้ดูแล้ว

ความเห็นที่ 2

ภาพถ่ายจากแก่งลานนกยูง อ.แม่วงก์ ต้นไม้ต้นที่นกตัวผู้เกาะอยู่ในแนวสันเขือนครับ! 

จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ บอกว่าเป็นนกยูงปล่อยส่วนหนึ่ง ต่อมามีนกยูงป่ามาสมทบอาศัยอยู่ในพื้นที่ด้วยครับ

ความเห็นที่ 2.1

yesyesyes

ความเห็นที่ 3

สวยมากค่ะ เหมือนนกในวรรณคดีเลย ^^b

ความเห็นที่ 4

ผมได้แต่รูปตัวผู้หางกุด เหอๆ 

ความเห็นที่ 5

นกยูงทั้งสองตัวเป้นนกยูงไทยพันธุ์แท้ โดยตัวบนที่คอยาวและหางยาวกว่าเป็นเพศผู้ ส่วนตัวเมียที่คอจะสั้นกว่าตามอัตราส่วนนั้นแม้จะสีใกล้เคียงกับตัวผู้แต่จะโครงสร้างเล็กกว่าครับ

นกยูงไทยจะต่างจากพันธุ์อินเดียชัดเจน โดยจุกจะเป็นกรวยสูงในขณะที่จุกของอินเดียจะแผ่ทรงพัด คอของนกยูงไทยจะยืดสูงกว่า ท่ายืนดูสง่ากว่านกยูงอินเดีย แก้มจะเป็นสีเหลืองชัดเจนทั้งผู้และเมีย

ส่วนสีตัวนั้น นกยูงไทยทั้งผู้และเมีย จะเป็นสีเขียวเข้ม ลำแพนหางออกสีเขียวอมคราม ส่วนปีกและหลังของตัวเมียไทยจะไม่เขียวคลุมทั้งหลังแบบตัวผู้(แม้ช่วงตัวผู้ผลัดขนหางก็ยังสังเกตเห็นได้)

ส่วนนกยูงอินเดียนั้นตัวผู้จะสีน้ำเงินสด ส่วนตัวเมียจะสีน้ำตาลไม่สดใสเลย(ซึ่งต่างจากนกยูงตัวเมียไทยชัดเจน) แก้มเป็นสีขาวไม่เหลือง ลักษณะท่ายืนเดินงอโค้งลงไม่ยืนยืดสง่าแบบนกยูงไทย ขนาดตัวย่อมกว่านกยูงไทย

ลักษณะโดยรวมคนเคยเห็นนกยูงไทยจะแยกออกจากนกยูงอินเดียได้ชัดเจนครับ
 

ความเห็นที่ 5.1

yes

ความเห็นที่ 5.2

yes เยี่ยม

ความเห็นที่ 6

ปิดไปหนึ่งคดีครับ

ความเห็นที่ 7

อยู่ใกล้ที่พักผมเลย เดี๋ยวหาเวลาไปบ้างดีกว่า

ความเห็นที่ 7.1

สำหรับคนรักธรรมชาติ ไปที่นี่แล้วจะมีความสุขครับ มันเป็นธรรมชาติที่สวยและเข้าถึงได้ง่ายเหลือเกิน

ความเห็นที่ 7.1.1

yes

ความเห็นที่ 8

นกยูง  หากควบคุมการล่า ประชากรก็จะกลับมาอย่างรวดเร็วครับ

ความเห็นที่ 8.1

จริงครับ เพราะไข่เยอะมาก อัตราฟักก็สูง ถ้าคนไปเก็บไข่มาฟักก้ยิ่งเพิ่มไข่ในฤดูกาลนั้นๆอีกมาก แล้วใช้บริการแม่ไก่บ้านจะแหล่มเลย  อย่างไรก็ตาม จำนวนไข่ก็ยังสู้นกยูงอินเดียไม่ได้เลยครับ

ความเห็นที่ 8.2

นกยูงเหลือน้อยเพราะการล่าหรือครับ? ผมนึกว่าเหลือน้อยเพราะถิ่นอาศัยถูกบุกรุกทำลายเสียอีก?

ส่วนเรื่องอัตราฟักค่อนข้างสูงก็จริงอยู่ แต่ลูกนกยูงเลี้ยงค่อนข้างยากกว่าลูกไก่ครับ เรียนรู้วิธีกินอาหารได้ช้ากว่า ต้องกกไฟนานกว่า และเท่าที่สังเกตมา ลูกนกยูงไทยพบปัญหานิ้วเกค่อนข้างบ่อยครับ ถ้าเลี้ยงบนกรงที่พื้นเป็นตะแกรง(แต่ก็อาจเป็นเพราะคนเลี้ยงผู้นั้นไม่ชำนาญพอก็เป็นได้) ผมเคยขลุกอยู่กับมันประมาณ 3-4 ปี คือไปช่วยเขาดูแลนกยูงในวัดแห่งหนึ่ง(ในช่วงที่เราว่างจากงาน)

ความเห็นที่ 8.2.1

ผมเทียบจากในห้วยขาแข้งน่ะครับ  มันเคยหายาก  จะพบได้เฉพาะตามหน่วยที่อยู่เข้าไปค่อนข้างลึก  แต่ปัจจุบัน หน่วยที่อยู่ชาย ๆ ป่า ก็เจอได้แล้ว

ความเห็นที่ 9

นกยูงอินเดียครับ

ความเห็นที่ 10

Pavo imperator siamensis 




ความเห็นที่ 11

พม่ากับไทย เท่าที่ทราบ จะต่างกันที่ขนาด และขนหงอนที่หัว ครับ

ความเห็นที่ 12

ผมได้ความรู้มาจากพ่อนิดหน่อย(แต่ไม่รู้ว่าใช้ได้หรือเปล่า) คือไทยคอเขียวหลังคราม อินเดียคอครามหลังเขียว ถ้าเจอลูกผสมคงมีอึ้ง

ความเห็นที่ 12.1

ทั้งไทยและอินเดีย"หลังเขียว"ทั้งคู่ครับ ต่างกันที่
1) ตัวผู้ไทยคอเขียวเหลือบ หลังเขียว โคนปีกสีน้ำเงิน ปลายปีกสีดำ ตัวผู้อินเดียคอน้ำเงิน หลังเขียว ขนคลุมปีกสีลายขาวสลับดำ(ยกเว้นอินเดียดำจะมีขนคลุมปีกสีดำสนิท)
2) ตัวเมียไทยสีเหมือนตัวผู้ไทยทุกประการ แค่หางสั้นกว่า ส่วนตัวเมียอินเดียคอสีเขียวตัวสีน้ำตาลอมเทา
*อันนี้อินเดีย ตัวผู้&ตัวเมีย ครับ

ความเห็นที่ 12.2

ลูกผสม 50% เพศผู้ คอสีเทอร์คอยส์(ฟ้าอมเขียว) หงอนรวบเป็นจุกแต่ไม่แหลมอย่างนกยูงไทยแท้

 

ความเห็นที่ 12.3

ลูกผสม 50% เพศเมีย สีคล้ายนกยูงอินเดียเพศเมีย แต่จะฉูดฉาดกว่าเล็กน้อย หลังมีแซมเขียวแต่ไม่มากเท่านกยูงไทยแท้เพศเมีย

 

ความเห็นที่ 12.4

ตัวนี้เชื้อไทย 75% อินเดีย 25% ลักษณะทั่วไปคล้ายนกยูงไทยแท้มาก *แต่ขนคลุมปีกตอนท้ายยังมีลายแบบอินเดียติดมาอยู่ ซึ่งนกยูงไทยแท้ขนปีกจะดำสนิทตลอดทั้งปีก
ลักษณะนิสัยและเสียงร้อง คล้ายนกยูงไทยมากเช่นกัน เรียกว่าเอามาย้อมแมวได้เลย ถ้าคนดูไม่เชี่ยวชาญพอ

 

ความเห็นที่ 12.4.1

yesyesyes

ความเห็นที่ 13


เคยเลี้ยงหลายคู่..นานมาแล้ว

นกยูงไทย  กับ  นกยูงเขมร  เหมือนกันมากแทบจะแยกไม่ออกครับ

ตัวผู้ดุมาก  เตะที่ได้เลือดเลยครับ

ความเห็นที่ 14

ถ้าจะจำแนกระหว่างนกยูงเขียวด้วยกัน...พม่ายังพอแยกได้ แต่ของไทย ของเขมร ของมลายู นั้นจำแนกจากกันได้ค่อนข้างยากครับ no

ความเห็นที่ 15

นกยูงอินเดียแท้(เพศผู้)
indian_peacock.jpg