ข่าว : “ปลากัดมหาชัย” อยู่ก่อนไทยมา 3-4 ล้านปี แต่จะไม่เหลือแล้ว

จาก Manager ครับ
blank.gifblank.gifblank.gif
blank.gif
555000006839401.JPEG
blank.gif
blank.gifblank.gifblank.gif
ปลากัดป่ามหาชัย (siamensis.org/ดร.อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์)

TabOver.gif
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
555000006839402.JPEG
ภาพปลากัดป่ามหาชัยก่อหวอดในตู้เพาะเลี้ยง (ดร.อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์)

555000006839403.JPEG
ภาพปลากัดป่ามหาชัย (บน) ตัวเมีย และ (ล่าง) ตัวผู้ (ดร.อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์)

555000006839404.JPEG
ภาพแสดงถิ่นอาศัยของปลากัดชนิดหลักๆ 4 ชนิดตามแหล่งน้ำต่างๆ ในไทย (ดร.อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์)

555000006839405.JPEG
ทีมวิจัยลงสำรวจปลากัดป่ามหาชัย (ดร.อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์)

555000006839406.JPEG
การรักษาแหล่งอาศัยของปลากัดทำให้เรามีต้นทุนพัฒนาปลากัดสายพันธุ์ใหม่ๆ เพื่อการพาณิชย์ต่อไป (ดร.อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์)

blank.gif
blank.gif
“ปลากัดมหาชัย” สายพันธุ์เฉพาะที่พบเฉพาะใน 3 สมุทร คือ สมุทรปราการ สมุทรสงคราม และ สมุทรสาคร รวมถึงบางส่วนของกรุงเทพมหานคร กำลังจะหายไปจากสายน้ำ ขณะที่นักวิทยาศาสตร์เพิ่งพบข้อมูลทางพันธุกรรมที่บ่งชี้ว่า ปลาชนิดนี้เป็นสปีชีส์ใหม่สำหรับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และไม่ใช่ปลาที่ กลายพันธุ์จากการปลากัดสายพันธุ์อื่นสู่แหล่งน้ำ
       
       ด้วยความสนใจส่วนตัวที่เคยเพาะเลี้ยงปลากัดในสมัยยังเด็ก ดร.อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงนำความรู้ทางด้านชีววิทยาเข้าไปศึกษาและทำความเข้าใจปลากัด โดยรับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อศึกษาชีวิตปลากัด โดยทำควบคู่ไปกับงานวิจัยหลักในเรื่องการศึกษาปูม้าและปลาทู
       
       ทั้งนี้ ปลากัดมีอยู่หลายชนิดและพบได้ตั้งแต่จีนลงไปถึงอินโดนีเซีย แต่ ดร.อัครพงษ์ เลือกศึกษา “ปลากัดป่ามหาชัย” ซึ่งเป็น 1 ในปลากัดป่า 4 ชนิดที่มีการก่อหวอดเพื่อวางไข่ โดยชนิดที่เหลือ คือ ปลากัดป่าภาคกลาง ซึ่งพบในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปลากัดป่าภาคอีสาน ซึ่งพบในภาคอีสาน และปลากัดป่าภาคใต้ที่พบในภาคใต้ โดยทั้งหมดมีความเสี่ยงสูญพันธุ์ แต่ปลากัดป่ามหาชัยน่าห่วงที่สุดเพราะพบในพื้นที่แคบๆ และพบได้น้อย
       
       การศึกษาปลากัดป่ามหาชัยครอบคลุมเรื่องระบบนิเวศ การกระจายตัวของประชากร การขยายพันธุ์ และพันธุกรรม ซึ่งจากการศึกษาลึกลงไปในระดับดีเอ็นเอ ดร.อัครพงษ์ พบว่า ปลากัดป่ามหาชัยเป็นปลากัดที่แยกสายวิวัฒนาการจากปลากัดป่าภาคกลางมา 3-4 ล้านปีแล้ว และอยู่ก่อนคนไทยมาตั้งนาน ไม่ใช่ปลากัดที่กลายพันธุ์จากป่ากัดภาคกลาง หรือหลุดจากการเพาะเลี้ยงสู่แหล่งน้ำอย่างที่เข้าใจ และยังเป็นปลากัดสายพันธุ์ใหม่สำหรับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างแน่นอน แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการเมื่อไหร่
       
       ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้ออกสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยของปลากัดป่ามหาชัยทั้งในฤดูร้อนและ ฤดูฝน เพื่อดูระบบนิเวศและตรวจคุณภาพน้ำ ซึ่งบริเวณปลากัดชนิดนี้เป็นแหล่งน้ำจืดที่มีน้ำเค็มเข้ามาปนเล็กน้อย และยังพบว่ามีน้ำจากแหล่งอุตสาหกรรมบางส่วนปนเปื้อนเข้ามาด้วย ส่วนเรื่องอาหารนั้นพบว่าเมื่อมีขนาดเล็กจะกินแมลงเป็นอาหาร เมื่อโตขึ้นจะเริ่มกินแมลงผิวน้ำ และโตขึ้นอีกจะอาหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมทั้งยังเศษซากพืชเข้าไปปนด้วย
       
       นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังสามารถเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลากัดมหาชัยในตู้เพาะเลี้ยงได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องท้าทายมาก เพราะลำพังแค่นำมาเลี้ยงในตู้และให้กินอาหารด้วยนั้น ดร.อัครพงษ์กล่าวว่า ก็เป็นเรื่องยากแล้ว แต่ในกรณีนี้ยังพบว่าขยายพันธุ์ในที่เพาะเลี้ยงได้ด้วย อย่างไรก็ดี จำนวนปลากัดที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาตินั้นมีน้อยมาก นอกจากนี้ แหล่งอาศัยที่เป็นแหล่งน้ำจืดและเป็นรอยต่อป่าชายเลนกำลังโดนรุกรานจากแหล่ง อาศัยของมนุษย์
       
       “เรารู้จักปลากัดกันอย่างกว้างขวาง แต่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปลาชนิดนี้น้อย เลือกศึกษาเรื่องนี้เพราะต้องการบอกว่าปลานี้เกิดมาก่อนคนนะ ถ้าคนคิดว่าเป็นปลาชนิดหนึ่งเฉยๆ งานวิจัยนี้ก็ไปต่อไม่ได้ เราอยากเห็นความหลากหลาย เห็นคนที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ตื่นขึ้นมาแล้วเจอสิ่งที่เหมือนกันหมด” ดร.อัครพงษ์ กล่าว
       
       ทั้งนี้ เป็นความเห็นที่สอดคล้องกับสิ่งที่ รศ.นสพ.ดร.วรวิทย์ วัชชวัลคุ จากคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่กล่าวไว้ในการประชุมวิชาการเนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อ 22-23 พ.ค.55 ที่ผ่านมา ว่า ความหลากหลายทางชีวภาพนั้นทำให้สัตว์เราปรับตัวได้จากสิ่งแวดล้อมและโรค ต่างๆ ได้ แต่หสกสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมก็หมายถึงเพิ่มความเสี่ยงในการสูญ พันธุ์
       
       นอกจากนี้ ดร.อัครพงษ์ ยังให้ความเห็นเรื่องแนวทางการอนุรักษ์ปลากัดที่เป็นสัญลักษณ์ของไทยว่า ในมุมของเขานั้นต้องปกป้องไม่ให้สิ่งมีชีวิตนั้นๆ สูญพันธุ์ ขณะเดียวกัน ก็ต้องนำไปใช้ด้วย อย่างกรณีปลากัดของไทยนี้เมื่อไหร่ที่ต้องการปลากัดพันธุ์ใหม่ ก็ต้องนำต้นพันธุ์จากธรรมชาติไปเพาะพันธุ์ ซึ่งหากเห็นเช่นนี้การอนุรักษณ์ปลากัดในธรรมชาติจะเป็นเรื่องง่าย เมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

Comments

ความเห็นที่ 1

ผมอยู่สมุทรปราการ อ.พระสมุทรเจดีย์เมื่อ20กว่าปีก่อนตอนอยู่ประถมผมกับเพื่อนไปช้อนปลากัดมหาชัยกันบริเวณตำบลคลองสวนกันทุกเสาร์ ที่ตรงนั้นเป้นรอยต่อระหว่าน้ำเค็มกับน้ำจืดทีเป็นสวนส้มตอนนั้นจับได้เยอะมาก ตอนนี้ที่บริเวณนี้ไม่เหลือแล้วครับกลายเป็นหมู่บ้านจัดสรรหมดเลย เห็นแล้วน่าเศร้าใจจริงๆครับภาพสวนที่เคยวิ่งเล่นและปลากัดมันหายไปกับกาลเวลาจริงๆครับความเจริญคงไม่หยุดแค่นี้ครับไม่ใช่แค่ปลากัดแม้แต่ปลาหัวตะกั่วก็ไม่เคยเห็นมานานมากแล้ว

ความเห็นที่ 2

ซอยสี่มิตรหลังตลาดกุ้งมหาชัย (ที่อยู่ชุมชนพม่าปัจจุบัน) เมื่อสี่สิบปีก่อน เต็มไปด้วยปลากัดเคยไปจับด้วยมือเปล่า เดี๋ยวนี้สูญสิ้น ไม่รู้ปัจจุบันยังมีอยู่ตรงไหนของมหาชัยบ้าง

ความเห็นที่ 3

แถวเกือบถึงมหาชัยมีสวนปาล์มอยู่ มีแหล่งน้ำขังบ้าง แต่ไม่รู้สภาพน้ำจะเป็นยังไงครับ อยากลงไปดูแต่กลัวรก

ความเห็นที่ 4

เคยลองเพาะแล้วแต่เลี้ยงลูกปลาไม่เคยรอดเลย(รวมทั้งปลาป่าอิสานด้วย) จนตอนนี้ท้อ'ถอย'แล้วครับ เดี๋ยวจะเป็นการเอาปลาในธรรมชาติมาหมดอายุในที่เลี้ยงโดยเปล่าประโยชน์ ;[
แต่อาจเป็นเพราะผมไม่มีบ่อที่เหมาะสม(อย่างเซียนมืออาชีพ)ก็ได้ เพราะทุกครั้งเพาะในกะละมังพลาสติก ไม่เคยมีอ่างดินใหญ่ๆ

ความเห็นที่ 5

ตัวนี้มหาชัยหรือเปล่าครับ
ซื้อมาในนามปลากัดป่าจากเว็บ แหล่งจับน่าจะแถวพระราม 2

ได้ลูกยั๊วเยี้ย น่าจะ 30+ ตัว
แต่ทั้งหมดจากไปกับน้ำท่วม 54
dsc00224.jpg

ความเห็นที่ 5.1

splendens ครับ

ความเห็นที่ 5.2

ปลาป่าภาคกลาง(B.splendens) ชัวร์ครับ

ความเห็นที่ 6

ผมว่า ณ ตอนนี้ปลากัดป่าแท้ๆสายพันธุ์ไหนก็น่าห่วงทั้งหมดแหละครับ อย่างเจ้าหัวโม่งของตะวันออกผมก็ไม่ได้เจอในแหล่งนานแล้วนะครับ เจอแต่อยู่ตามขวดตามโหล ไม่รู้ว่าแท้หรือเปล่า

ความเห็นที่ 6.1

หัวโม่ง ยังดีที่พบในเขต อช.
แต่ก็ตกใจ เพราะเห็นในถุงจับมาขายยังกะปลาเหยื่อ

หัวโม่งและอมไข่อื่นๆ ผมเองยังไม่เคยเจอ hybrid 

ความเห็นที่ 6.1.1

เจ้าหัวโม่งเมื่อก่อนตอนเด็กๆผมไปช้อนแถวข้างม.บูรเลยครับ(หนองมาบมะยม)ตอนนั้นชื่อศรีนครินทรวิโรจน์บางแสนครับจะเรียกว่าช้อนดีหรือเปล่าหนอ ก็ไปวิดน้ำหาปลาใหญ่ได้พวกนี้มาเป็นเพียบเลยครับสมัยก่อนไร้ค่า ตอนนี้อยากเห็นก่อนเกือบจะไม่มีให้เห็นแล้วครับ

ความเห็นที่ 6.1.1.1

 ไม่ทราบมาก่อนเลยขอรับว่าเคยมีแถว ม บู ว่าแต่แหล่งที่มันอยู่เป็นสภาพแบบไหนครับ 

หน้าตาแบบนี้เลยไหมครับ http://www.siamensis.org/species_index#6152--Species: Betta prima

ความเห็นที่ 7

เป็นแอ่งน้ำขนาดประมาณสี่ห้าไร่มีทางน้ำเล็กไหลเข้ามาและรอบรอบเป็นนาข้าว สมัยก่อนเดินทะลุจากท้ายตลาดหนองมนนิดเดียวเดี๋ยวนี้ไม่เหลือแล้วเป็นหมู่บ้านไปหมดแล้ว ยังมีที่ที่อาจจะพอเหลือแถวๆวัดบางเป้งครับ ยังพอมีสภาพคล้ายอดีตอยู่บ้างต่อคงต้องเสาะหากันเหนื่อยหน่อย

ความเห็นที่ 8

สมัยเด็กๆ ย่านมหาชัย ที่เป็นป่าจาก ป่าปรง ดงปรือ มีปลากัดหมดครับ แต่จับในป่าจากจะได้ปลาที่ช้ำน้อยกว่า เพราะไม่ต้องช้อนแบบสุ่มๆ หาหวอดตามกอจากแล้วเอามือรองด้านข้างๆ ให้ไม้หรือใบจากเขี่ยๆ ปลาจะกระโดดออกมาเองครับ ถ้าทำหวอดในแอ่งกว้างหน่อยจะช้อนได้ง่ายกว่า ตอนนี้ป่าจากที่ยังพอเป็นที่อาศัยของปลากัดมหาชัย คนท้องถิ่นเรียกว่า "เสือใบ" ครับ อยู่ตรงถนนเอกชัย ก่อนถึงโรงงาน Index อยากจะไปสำรวจดูเหมือนกันครับ ว่ายังมีตัวอยู่หรือไม่ ถ้ามีโอกาสคงได้ไปถ่ายรูปมาให้ชมกันครับ