ระดมสมอง เรื่องสัตว์ป่าในป่าแม่วงก์

ต้องไปพูดในงานสัมมนาของมูลนิธิสืบ วันพฤหัสบดีนี้ ที่ KU Home ใครมีไอเดียว่าควรจะไปพูดอย่างไร ขอด่วนครับ คือมีในใจบ้างแล้วแต่อยากได้จากหลายๆฝ่ายครับ หรือใครอยากฝากให้พูดอะไร ว่ากันมาเลยครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

ขอออกความเห็นในส่วนของนกนะครับ ไม่แน่ใจว่ามีการลงพื้นที่สำรวจชนิดนกมากขนาดไหน แต่ป่าเต็งรังใน อช.แม่วงก์ มีรายงานของนกหัวขวานด่างหน้าผากเหลือง Dendrocopos (Leiopicus) mahrattensis ที่หายากมากๆในเมืองไทย (Red Data Thailand 2005 ของ ONEP จัดให้อยู่ในสถานภาพ CR) และเป็นไปได้ว่าอาจจะยังมีอยู่ในป่าบริเวณที่จะสร้างเขื่อน

นอกจากนกยูงไทย Pavo muticus ที่มีสถานภาพ EN ทั้งในไทยเราและระดับโลก (IUCN) นกใกล้สูญพันธุ์ชนิดอื่นๆที่คิดว่าจะได้รับผลกระทบแน่ๆก็มีดังนี้ (ขอใส่ conservation status ห้อยไว้ด้วยละกัน)
  • นกเปล้าขาเหลือง Treron phoenicoptera: VU (ONEP)
  • นกเงือกกรามช้างปากเรียบ Rhyticeros subruficollis: EN (ONEP), VU (IUCN)
  • นกกะเต็นน้อยแถบอกดำ Alcedo euryzona: VU (ONEP, IUCN)
  • นกกะเต็นขาวดำใหญ่ Megaceryle lugubris: EN (ONEP)
  • นกหัวขวานด่างท้องน้ำตาลแดง Dendrocopos hyperythrus: VU (ONEP)
  • นกหัวขวานใหญ่สีเทา Mulleripicus pulverulentus: VU (IUCN), NT (ONEP)
  • นกหัวขวานเขียวท้องลาย Picus xanthopygaeus: EN (ONEP)
  • เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว Polihierax insignis: VU (ONEP), NT (IUCN)
  • นกอีแพรดคิ้วขาว Rhipidura aureola: VU (ONEP)
  • นกจับแมลงอกสีน้ำตาลอ่อน Cyornis (Rhinomyias) brunneatus: VU (ONEP, IUCN)
รายชื่อนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ อิงจากสภาพพื้นที่และรายงานในป่าเต็งรัง/ป่าเบญจพรรณในละแวกเดียวกัน อาจจะมีตกหล่นบางตัวไปบ้าง บางตัวในนี้เมื่อสำรวจแล้วอาจจะไม่เจอ หรือไม่มีจริงๆก็ได้ 

ความเห็นที่ 2

เคยมีโครงการสำรวจเสือโคร่งของ อช.แม่วงก์ ร่วมกับหน่วยงานอื่นครับ เพิ่งเสร็จไปไม่นาน
ข้อมูลเป็นเช่นไรยังไม่ทราบครับ
แต่พื้นที่ป่าที่ราบแบบนั้น เป็นแหล่งอาศัยของเสือแน่นอนอยู่แล้ว
เรื่องเสือก็น่าจะพอเป็นประเด็นหลักให้ยุติการสร้างได้รึเปล่าครับ ^^

ความเห็นที่ 3

จุดสร้างเขื่อนเป็นขอบการกระจายตัวของ เสือ ช้าง ฯลฯ (marginal range )อาจมีนำหนักไม่พอ น่าจะเอาประเด็น ecosystem service ของ พท. ที่จะเสียไป และระบบนิเวศ ป่าราบต่ำ + ลูกไม้และไม้ใหญ่ที่มีคุณค่าเป็นหลัก

ประเด็นอ่างฯ เป็นช่องทางในการบุกรุก
ผลกระทบขณะสร้างต่อสัตว์
และความเสี่ยงต่อการได้น้ำที่ไม่คุ้มทุน (นิเวศ + เงิน) น่าจะมีน้ำหนักกว่าตัวจำนวนสัตว์ในที่นี้
ทางเลือกอื่นที่อาจจะแพงกว่า (น้ำ/ต้นทุน) แต่รักษาป่า (ที่จะกลายเป็นป่าสมบูรณ์ ในอีก 30-50ปีหน้า: เท่าๆกับอายุอ่างเก็บน้ำ, ถ้าสร้าง)

ความเห็นที่ 4

ส่วนของผมเป็นส่วนของสัตว์ป่าครับ อาจจะเพิ่มสัตว์น้ำไปด้วย พูดยากมากมาย 

ความเห็นที่ 5

นกที่จะกระทบโดยตรง น่าจะเป็นนกยูง เพระมันจะเสีย critical habitats หรือ Area of Occupancy or Suitable habitat ไปเห็นๆ ขณะที่นกนี้มีประชากรที่สมบูรณ์ (thrive or Viable population) ในไทย เพียง 3 แห่ง (ห้วยขาแข้ง, แม่ยม-ภูนาง???, และก็ที่ แม่วงก์!!!)  และที่เหลือในภูมิภาค ก็ กัมพูชา (ร่อนมาแถบดงรัก ภูจองฯ เป็นครั้งคราว) กับลาวใต้ (น้อยมาก) ส่วนนกอื่นๆ และสัตว์ป่าที่ระบุมา ได้รับทางอ้อมในภายหลังมากกว่า (Consequency Impact) จากการที่ป่ามีทางให้เข้าไปล่ามากขึ้น ฯลฯ อ้อ! แล้วก็เจ้านาก otters อีก 1-2 ?? ชนิด และปลาลำธาร ที่ได้รับผลโดยตรง แต่อาจมี % ของประชากรที่รับผลน้อยกว่านกยูง เพรายังมีอีกในหลายลำน้ำใกล้เคียง

ความเห็นที่ 6

สิ่งที่น่าจะเสนอแนะให้ทำ (โดยใครก็ได้) คีอการสำรวจความหลากหลายฯ อย่าง intensive ในบริเวณที่จะต้องถูกท่วม+ใกล้เคียง ทั้งด้าน พืชพรรณ สัตว์ใหญ่น้อย ปลา แมลง กบ เลื้อยคลาน แล้วประเมินคุณค่าทางนิเวศ (ecosystem services) รวม ออกมา

ความเห็นที่ 7

อายุใช้งานของนิเวศ = infinity (จนโลกแตก)
อายุใช้งานของเขือน = 50-200?? ปี
คำณวนที่ 30 ปีก็น่าจะเห็นผลทางเศรษฐกิจชัดแล้ว

ความเห็นที่ 8

นกเงือกคอแดง นกหายากใกล้สูญพันธุ์ ที่แม่วงก์หาดูได้ง่ายที่สุดในเมืองไทย
นกแว่นสีเทา นกสุดหายากก็หาพบได้ที่แม่วงก์ครับ แต่บริเวณที่จะสร้างเขื่อนอาจจะกระทบนกเหล่านี้ไม่มากนัก

ความเห็นที่ 8.1

ใช่แล้ว เพราะอยู่คนละชั้นความสูงกัน ถ้าเอามาอ้างถูกไอ้พวกบ้านั่น ตีตกม้าแน่ๆ

ความเห็นที่ 9

เข้ามาแสดงความคิดเห็นช้าไปนิด แต่คงไม่ช้าไป
    เกี่ยวกับการสร้างเขื่อนแม่วงศ์ แน่นอนว่าไม่มีความคุ้มค่าแน่ๆ กับสิ่งที่จะสูญเสียไป พื้นที่ป่าลุ่ม
เป็นการทำลายแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ป่า ที่จะส่งผลเป็นลูกโซ่ไปถึงสังคมทางชีวภาพของป่า
เริ่มด้วยการสูญเสียเนื้อที่ป่ากว่า 13000 ไร่ ส่งผลกระทบต่อที่ยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด และเสียความสมดุลทางด้านอาหาร สัตว์กินพืชจะเริ่มขาดแคลนอาหาร และต้องอพยพไปหาแหล่งอาหารในพื้นที่อื่น
ซึ่งอาจต้องไปแก่งแย่งกับเจ้าของพื้นที่เดิม สัตว์กินเนื้ออย่างเช่นเสือก็ต้องโยกย้ายตามไป และอาจเกิด
ปัญหาเรื่องการซ้อนทับพื้นที่การหากินกับเสือเจ้าถิ่น เพราะเสือโคร่งเป็นสัตว์ที่หวงอาณาเขตอยู่แล้ว 
และอาจเกิดปัญหาความขัดแย้งกับผลผลิตทางการเกษตรของมนุษย์ เช่นในบางพื้นที่เกิดปัญหา
สัตว์หลายๆชนิด เข้ามากินผลผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น กระทิง เลียงผา กวาง หรือที่เด่นๆ
"ช้าง" ที่ปัจจุบันก็กลายเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก จนต้องมีนโยบายปลูกพืชอาหารช้างขึ้นมาทดแทน
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ลำบากและต้องใช้งบประมาณอีกมากมาย และเวลาที่ยาวนาน ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว
การดูแลรักษานั้นง่ายกว่าการสร้างเพื่อทดแทน แต่กลับละเลยไม่เห็นคุณค่ากัน
     โดยรวมแล้วสัตว์ป่าก็จะลดจำนวนลงในระดับหนึ่ง ตามการสูญหายไปของพื้นที่อาหาร และเมื่อสภาพภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงไป ก็จะอาจจะมีความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมในสัตว์บางชนิดที่ต้องปรับสภาพตามพื้นที่ สัตว์ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ก็ต้องไปแก่งแย่งพื้นที่ในป่าส่วนอื่น หรือไม่ก็ตายลงไป ในสัตว์บางชนิดอาจจะเข้าไปรบกวนพืชผลทางการเกษตรของมนุษย์ จนเกิดเป็นปัญหาใหม่ๆอุบัติตามมา  
      

ความเห็นที่ 10

สู้ๆำี่พี่

ความเห็นที่ 11

ถามสั้นๆว่ามันป้องกันน้ำท่วมได้จริงหรือถ้าไม่ได้ใครจะรับผิดชอบ (แต่ผมรู้คำตอบแล้วครับว่าจะตอบอย่างไร)