เอาภาพกระเทียมช้างจากป่าชุมชนข้างบ้านมาฝากครับ

กระเทียม ช้าง หรือ CRINUM AMOENUM ROXB. ชื่ออื่นๆ
ว่านช้างลืมโขลง
อยู่ในวงศ์ AMARYLLIDACEAE เป็นไม้ล้มลุก มีหัวขนาดใหญ่ใต้ดิน โดยจะพักหัวอยู่ใต้ดินในช่วงฤดูแล้ง หัวเป็นรูปทรงกลมขนาดใหญ่ กว้างและยาวประมาณ 7-8 ซม. มีเยื่อสีขาวหุ้ม ใบออกจากหัวที่ฝังอยู่ใต้ดินโดย รอบ ใบเป็นรูปแถบ กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 10-12 ซม. ปลายแหลม โคนกว้างและเรียว ขอบใบสากมือเล็กน้อย โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น เรียงสลับซ้อนกัน เนื้อใบค่อนข้างหนาและฉ่ำน้ำ เป็นสีเขียวสด
ดอก ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมและแบนเล็กน้อย โดยออกจากกลางหัวหรือส่วนข้างก็ได้ ช่อดอกยาวประมาณ 21 ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยไม่น้อยกว่า 8 ดอก มีใบประดับ 2 ใบ หุ้มช่อดอกอยู่ ดอกเป็นรูปกรวย สีขาว โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสีเขียว หลอดดอกยาวและตรง ยาวประมาณ 4.5 ซม. ก้านดอกสั้น วงกลีบรวมมี 6 กลีบแคบ มีเกสรตัวผู้ 6 อัน ก้านชูอับเรณูเป็นสีแดง รังไข่มี 3 ช่อง มีออวุลจำนวนมาก ดอกมีกลิ่นหอม เวลามีดอกตามฤดูกาลแทงช่อขึ้นจากหัวหลายๆช่อ เป็นกลุ่มหลายๆต้น และดอกบานพร้อมกันจะทำให้ดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเมื่อเข้าไปยืนใกล้ๆ เป็นที่ประทับใจมาก “ผล” เป็นฝักลักษณะคล้ายรูปทรงของหัวกระเทียมที่รับประทานเป็นอาหาร ผลมีร่องแบ่งรอบทั้งผล จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะผลว่า “กระเทียมช้าง” แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ นิยมเรียกอีกชื่อว่า “พลับพลึงป่าแคระ” เนื่องจากต้น ใบ และดอกมีกลิ่นหอมเหมือนพลับพลึงแต่มีขนาดเล็กกว่านั่นเอง ซึ่ง “กระเทียมช้าง” จะแตกต้นและมีดอกระหว่างปลายเดือนเมษายนไปจนถึงเดือนธันวาคมทุกปี จากนั้นจะฝังหัวใต้ดินรอจนเข้าสู่ฤดูฝนจึงจะแทงต้นมีดอกอีกครั้งเป็นวัฏจักร
ขยาย พันธุ์ด้วยหัว มีหัวขายที่ตลาดนัด ไม้ดอกไม้ประดับ