กรมอุทยานฯประกาศขึ้นค่าเข้าอุทยานแห่งชาติต่างๆ
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 20 สิงหาคม 2555
มีผลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 เป็นต้นไป
เป็นผู้ใหญ่ 100 เด็ก 50 และ ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 500 เด็ก 300 มีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้างครับ?
siamensis.org เป็นสังคมเครื่อข่ายความร่วมมือเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย
Independence Non-Profit Organization Since 1999
ร่วมพัฒนาเว็บไซต์โดย โอเพ่นดรีม
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 2.1
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ลงนามในประกาศกรมอุทยานฯ เรื่องการกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับบุคคลเข้าไปในอุทยานฯ จำนวน 33 แห่ง โดยประกาศดังกล่าวระบุว่าด้วยกรมอุทยานฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานฯ หลายแห่ง มีนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวจำนวนมาก จนอาจนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้ยากแก่การฟื้นฟูและบริหารจัดการให้คงสภาพ ประกอบกับได้ดำเนินการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก การให้บริการ และการให้ความรู้ กิจกรรมการท่องเที่ยว การรักษาความปลอดภัย การรักษาความสะอาดและสุขภาพอนามัย อีกทั้งมีอุทยานฯ ประกาศจัดตั้งใหม่ 4 แห่ง คือ อุทยานฯเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน อุทยานฯเขาค้อ อุทยานฯขุนขาน และอุทยานฯดอยภูนาง จึงได้กำหนดอัตราค่าบริการสำหรับบุคคลเข้าไปในอุทยานฯ คือ ชาวไทย ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 500 บาท เด็ก 300 บาท
สำหรับอุทยานฯ จำนวน 33 แห่ง ที่มีการปรับอัตราค่าบริการใหม่ ประกอบด้วย ภาคเหนือ 8 แห่ง ได้แก่ 1. อุทยานฯ แจ้ซ้อน จ.ลำปาง 2.อุทยานฯ ผ้าห่มปก จ.เชียงใหม่ 3.อุทยานฯ สุเทพ-ปุย จ.เชียงใหม่ 4.อุทยานฯ อินทนนท์ จ.เชียงใหม่ 5.อุทยานฯ ทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก เพชรบูรณ์ 6.อุทยานฯ น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ 7.อุทยานฯ ภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก เลย 8.อุทยานฯ ห้วยน้ำดัง จ.เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ 9. อุทยานฯ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา 10.อุทยานฯ ผาแต้ม จ.อุบลราชธานี 11.อุทยานฯ ภูกระดึง จ.เลย 12.อุทยานฯ ภูเรือ จ.เลย
ภาคตะวันออก ได้แก่ 13.อุทยานฯ เขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด 14.อุทยานฯ น้ำตกพลิ้ว จ.จันทบุรี 15.อุทยานฯ หมู่เกาะช้าง จ.ตราด ภาคตะวันตก 16.อุทยานฯ แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี 17.อุทยานฯ เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี 18.อุทยานฯ ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 19.อุทยานฯ เอราวัณ จ.กาญจนบุรี ภาคใต้ ได้แก่ 20.อุทยานฯ เขาสก จ.สุราษฎร์ธานี 21.อุทยานฯ ตะรุเตา จ.สตูล 22.อุทยานฯ ธารโบกขรณี จ.กระบี่ 23.อุทยานฯ หมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ 24.อุทยานฯ หมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา 25.อุทยานฯ หมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา 26.อุทยานฯ หมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี 27.อุทยานฯ หาดเจ้าไหม จ.ตรัง 28. อุทยานฯ หาดนพรัตน์ จ.กระบี่ 29.อุทยานฯ อ่าวพังงา จ.พังงา
ในส่วนอุทยานฯ 4 แห่งที่จัดตั้งขึ้นใหม่ คือ 30. อุทยานฯ ขุนขาน จ.เชียงใหม่ 31.อุทยานฯ เข้าค้อ จ.เพชรบูรณ์ 32.อุทยานฯ ดอยภูนาง จ.พะเยา และ อุทยานฯ เฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จ.ราชบุรี คิดอัตราค่าบริการสำหรับผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป ทั้งนี้สำหรับอัตราค่าบริการเข้าอุทยานฯ ปัจจุบันนั้น สำหรับชาวไทย ผู้ใหญ่ ราคา 40 บาท เด็ก 20 บาท ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเข้าฟรี ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 400 บาท เด็ก 200 บาท
ขณะที่นายดำรงค์ ให้สัมภาษณ์ ว่า ราคาค่าเข้าอุทยานฯ ที่ปรับขึ้นมานั้น จะดำเนินการเฉพาะในอุทยานฯ ขนาดใหญ่ และอุทยานทางทะเลเท่านั้น เช่น อุทยานฯ เขาใหญ่ อุทยานฯ ห้วยน้ำดัง อุทยานฯ สิมิลัน เป็นต้น จำนวน 33 อุทยานฯ ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตามหากมีเสียงคัดค้านกันมามากเพราะคิดว่าราคาดังกล่าวสูงเกินไปก็ จะต้องมาพิจารณาถึงเหตุผลกันอีกครั้ง อย่างไรก็ตามหลักการจ่ายเงินค่าเข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานฯ คือการเสียสละเงินส่วนหนึ่งเพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ โดยส่วนตัวถือเป็นการทำนุบำรุงทรัพยากรไว้วิธีการหนึ่ง
นายวิทยา หงส์เวียงจันทร์ ผอ. สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานฯ กล่าวว่า การที่ปรับราคาเพราะไม่มีการปรับราคามาหลายสิบปีแล้ว เวลานี้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆก็มีราคาสูงขึ้น เงินที่เก็บได้ในปัจจุบันก็ไม่เพียงพอกับค่าบำรุงรักษา อัตรา 100 บาท คำนวณจาก ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวในแต่ละอุทยานฯ ว่าได้เท่าไร ค่าบำรุงรักษาเท่าไร เมื่อคำนวณออกมา จะอยู่ที่ราคา 100 บาท สำหรับผู้ใหญ่ และราคา 50 บาท สำหรับเด็ก ทั้งนี้ในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นทวีปยุโรป หรือแม้กระทั่งประเทศกัมพูชา ก็มีราคาประมาณนี้และสูงกว่านี้ทั้งนั้น โดยเฉพาะที่กัมพูชา ค่าเข้าในอุทยานฯ คิดหัวละ 30 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 900 บาท ในอเมริกา และยุโรป ก็มีอัตราค่าเข้าสูงกว่าอุทยานในประเทศไทยมาก
เมื่อถามว่าจะทำให้อัตรานักท่องเที่ยวจะลดลงหรือไม่ นายวิทยา กล่าวว่า ไม่น่าจะลดลง แต่ในสถิติที่เก็บมาทั้งปี พบว่า ทุกอุทยานฯ ในประเทศไทยมีปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้จะขึ้นราคาเฉพาะอุทยานฯ ขนาดใหญ่เท่านั้น อุทยานฯ เล็กๆ ยังราคาเท่าเดิม ปกติกรมอุทยานฯ จะมีงบประมาณให้อุทยานฯ แต่ละที่ อุทยานฯ ละประมาณ 10 ล้านบาท แต่เงินจำนวนดังกล่าวต้องแบ่งไปใช้สำหรับดูแลเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนป่า การดูแลทรัพยากรในพื้นที่ ซึ่งเหลือเงินไม่เพียงพอต่อการดูแลอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสีย แต่ละอุทยานฯ ที่มีราคาค่อนข้างสูง ทั้งนี้ราคาค่าเข้าอุทยานฯที่เพิ่มขึ้นจะนำไปบริหารจัดการให้ความสะดวกกับ นักท่องเที่ยวมากขึ้น คาดว่ารายได้เฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นจาก 300 ล้านบาท เป็น 500 ล้านบาท.
ความเห็นที่ 6
อนิจจาความรู้(ข้ามวัน)อยู่แต่ใน FB ก็เข้าใจว่ามันสะดวกดี
ความเห็นที่ 6.1
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
เก็บชาวต่างชาติยังพอทน(เค้าก็มีปัญญาจ่าย) แต่ที่เก็บคนไทยด้วยกันนี่สิ
เด็กนักเรียนนักศึกษาต่อไปก็ไปเที่ยวห้าง เที่ยวบาร์ดีกว่า เบื่อก็สังคมขีดรีด แล้วเราจะสร้างสังคมอุดมปัญญา และจะสร้างจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติของคนได้อย่างไร (ผมพูดแทนคนส่วนใหญ่ที่รายได้ต่ำเหมือนผมครับ)
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 10.1
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 12
ส่วนเรื่องเก็ยฝรั่งแพงกว่าก็เห็นด้วยเพราะฝรั่งไม่ได้เสียภาษีบำรุงเหมือนคนไทยแต่ก็ไม่อยากให้แพงจนห่างกับราคาคนไทยจนน่าเกลียด ในข่าวคือ 500ก็รู้สึกแพงไป แต่ฝรั่งจะมองว่าแพงมั้ยเรื่องนี้ก็ไม่ทราบแต่ถ้าฝรั่งว่าไม่แพงก็ไม่แพงก็เก็บไปตามนั้น
ความเห็นที่ 13
ส่วนตัวผมก็ไม่ขัดข้องหากจะเก็บคนต่างชาติแพงกว่า เพราะเวลาเราไปบ้านเขา ก็โดนแบบนี้เหมือนกัน จ่ายยุบจ่ายยิบ (ซึ่งก็รู้สึกว่า..อารายฟระ เหมือนกัน) แต่การเก็บในอัตราต่างๆ เอาอะไรมาเป็นพื้นฐานการกำหนด แล้วเงินส่วนนี้ อุทยานฯมีส่วนนำมาบริหาร อช.เองเท่าไหร่ เข้าคลังเท่าไหร่ หากกำหนดตามใจฉันโดยไม่มีพื้นฐานตรงนี้ ประชาชนสามารถฟ้องศาลปกครองได้สบายๆครับ (แต่ถ้าเจ้าตัวรู้สึกพอใจจ่ายก็แล้วไป)
ประเด็นชาวต่างชาติ..คงต้องมีการนิยามดีๆ และมีการจัดกลุ่มประเทศให้เหมาะสมด้วย อย่างที่ อ.หมีว่าไว้ครับ แล้วชาวต่างชาติที่ทำงานในไทยมาหลายสิบปี มีรกรากในไทย ไม่หนีกลับประเทศแล้ว (อธิบายยังไงดีฟระ) ก็ต้องเสียในอัตราต่างชาติเต็มตัวหรือไม่
ที่จริงคนท้องถิ่นน่าเข้าฟรีด้วยซ้ำ เพราะ อช. มาจากไหนไม่รู้แล้วใช้การกันเขตแล้วเก็บตังค์ชาวบ้านที่อยู่เดิมนั้นไม่สมควรยิ่ง (อช. บางแห่ง เขาก็อะลุ้มอะล่วยให้คนท้องถิ่นเข้าฟรี แต่บางแห่งเก็บแบบไม่สนใจใครเลยครับ)
รายได้ที่ อช.พึงได้เพิ่ม ผมว่าควรไปอยู่ที่ค่าบริการ หรือสินค้าทางเลือกครับ (ไม่ใช่ขายอาหารแพงๆทั้งหมด เพราะไม่ถือว่าเป็นทางเลือก) คือ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกหรือไม่เลือกสินค้าหรือบริการนั้นๆได้
ผมประทับใจที่สุสานหอย จ.กระบี่ มาก เนื่องจากวันนั้นผมไปธุระเลยแวะ จนท.ก็ไม่เก็บตังค์ บอกว่าตอนนี้น้ำขึ้น ไม่เห็นสุสานหอย เลยไม่เก็บ ถ้ามาตอนน้ำลงพอที่จะเห็นสุสานฯ ค่อยเก็บตังค์
อีกแห่งที่ผมว่าเข้าท่าดี คือที่ธารโบกขรณี ซึ่งตอนเข้า อช. ไม่ได้เก็บตังค์ หากคุณอยู่แถวๆที่ทำการฯ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร ห้องน้ำ แต่ถ้าจะไปส่วนของธารโบกจริงๆ ก็เก็บตังค์
ความเห็นที่ 14
จากที่บางคนคิดว่าค่าเข้าแพงขึ้น เป็นการคัดกรองและทำให้นักท่องเที่ยวกากๆลดลง ธรรมชาติเสื่อมน้อยลงนั้น ในมุมมองของผมไม่คิดเช่นนั้น เพราะผมได้ยินเสมอว่า "ก็กรูมีตังค์จ่าย" แล้วพวกนี้ก็เข้าไปทำกากๆเหมือนเดิม และอาจถือสิทธิ์การจ่ายแพงในการทำลายมากขึ้นอีกต่างหาก..แต่นี่ไม่ใช่ความเห็นหรือเหตุที่จะคัดค้านการขึ้นราคาของผม
คราวนี้เข้าประเด็นอัตราคนไทย..
สำหรับค่าธรรมเนียม ๓๓ อช. นี้ ซึ่งโดยรวมแล้วก็ไม่ใช่พื้นที่ที่ชาวบ้านท้องถิ่นจะเข้าตามปกติอยู่แล้ว แล้วนักท่องเที่ยวก็ต้องดั้นด้นไปในระดับต่างๆก็ไม่ว่ากระไร กับตามเกาะต่างๆ (แต่ถ้าลดมาได้อีกสักหน่อยก็ยินดี ยกเว้น อช. ทางทะเลที่อยู่แผ่นดินใหญ่ที่อยู่ในข่ายขึ้นราคา ที่เป็นที่พักผ่อนแว๊บๆของชาวบ้านแถวๆนั้น ที่ไม่เห็นด้วย ขอให้มีที่เข้าถึงง่ายๆของคนท้องที่มีที่พักผ่อนแบบครอบครัวไม่เดือดร้อนบ้างเถอะครับ หรือมีการแบ่งโซนหาก อช. ครอบคลุมทั้งแผ่นดินใหญ่ และเกาะ หากอยู่แค่แผ่นดินใหญ่ก็คิดอัตราเดิม(หรือจะไม่เก็บก็แล้วแต่) แล้วถ้าไปบุกถึงเกาะก็คิดอัตราใหม่ ทั้งนี้ขอให้คิดอัตราของกลุ่ม คณะต่างๆ (นักเรียน กลุ่มกิจกรรมที่เหมาะสม ฯลฯ) ที่ทำหนังสือแจ้งและขออย่างเป็นทางการแล้ว ในอัตราที่เอื้อให้เข้ามาเรียนรู้ ทำประโยชน์ได้ เพราะหลายๆโรงเรียนตอนนี้ไม่กล้าพาเด็กเข้า อช. แล้ว เพราะทำหนังสือไปก็ยังโดนในอัตราปกติ ซึ่งต้องใช้งบประมาณมาก (โรงเรียนเล็กๆในต่างจังหวัดงบน้อยมากจริงๆครับ รายได้สนับสนุนโรงเรียนจากภายนอกก็น้อย เพราะลูกคนที่มีอันจะกินไม่เรียนในรงเรียนเหล่านี้) หรือถ้าเป็นไปได้ก็ให้เข้าฟรี หรือเหมาจ่ายเบาๆก็ได้ อย่าทำให้เด็กจำเป็นต้องห่างไกลอช. ด้วยเหตุผลกะโหลกกะลาเยี่ยงนี้เลย เดี๋ยวครูอังคณาจะเดือดร้อน อช.เอารายได้ที่เก็บสูงขึ้นมาชดเชยส่วนนี้ก็นับเป็นการทำเพื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เหมือนกัน จงหล่อหลอมให้คนรุ่นใหม่เห็นคุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและ อช. อย่าให้เด็กๆมองว่า อช. มีไว้เก็บตังค์ให้ใครก็ไม่รู้ เพราะที่ว่าเพื่อบำรุงรักษานั้น ผมไม่ค่อยเห็นเป็นรูปธรรมนัก เห็นแต่การพัฒนาสร้างโน่นนี่นั่น แล้วไปทำลายส่วนที่สำคัญๆของธรรมชาติตรงนั้นซะเยอะ ต่อไปเด็กๆจะติดภาพว่า การอนุรักษ์ธรรมชาติ คือการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกมากๆ คนจะได้จ่ายเงินเยอะๆเพื่อมาเที่ยวมากๆ ซะเปล่าๆครับ
มาส่วนค่าธรรมเนียมชาวต่างชาติ ก็ยังสอดคล้องตามที่ให้ความเห็นเบื้องต้นครับ
ย้ำอีกที..ในหลายๆ อช. ถ้าเข้าอยู่แค่ลานที่ทำการ โดยจะไปเข้าชม ศึกษาต้องเดินทางต่อและมีเส้นทางเฉพาะ ก็น่าให้เข้ามาถึงตรงนี้ฟรี แล้วถ้าจะเข้าส่วนอื่นๆค่อยเก็บตังค์ ก็เก็นที่ทางเข้าที่เป็นเส้นทางเฉพาะนั่นแหละ จะได้มีคนมานั่งกินส้มตำ เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว จนท. ได้มากขึ้นด้วย เพราะถ้าเสียตั้งแต่เข้าคนละร้อย ส้มตำมื้อนั้นก็แพงขึ้นอีกหลายขุมนัก
ความเห็นที่ 15
ความเห็นที่ 15.1
ความเห็นที่ 16
คนมันจะไป มันก็ไปอยู่แล้ว กาแฟในห้าง+ขนมนิดนึงก็เกิน100 ไปไหนๆแล้ว ยิ่งในบาร์ยิ่งไม่ต้องพูดถึง
100 บาท สำหรับผม คือถ้าไปแล้วค้าง สำรวจ พักผ่อน ก็โอเคไม่ได้แพงอะไร
แต่ถ้า แค่ขับรถแวะไปดูผ่านๆ ไปกินเหล้า คงรู้สึกว่าแพง
ความเห็นที่ 16.1
ตอนนั้นเราเป็นเด็กเราก็อยากไปเที่ยวทุกที่ ทั้งแหล่งธรรมชาติ และแหล่งทันสมัย
แต่ถ้าเกิดแหล่งธรรมชาติที่เดิมทีก็ยากสำหรับคนมีเงินจำกัดเข้าถึงยากอยู่แล้ว เพราะต้องใช้ค่ารถ ค่าเดินทางที่มันแพงมากๆ ไปถึงอุทยานก็ยิ่งเก็บแพงอีก เพราะพวกเราไปกันหลายๆคน (5 คน ก็ 500 บาท) บางทีก็ต้องตัดสินใจอย่าไปดีกว่า ผัดไปอีกสักหน่อย แล้วก็ผัดไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ไม่ได้ไป นานๆเข้าก็ติดการใช้ชีวิตแต่ในเมืองเสียเลย (แต่นี่อาจจะเป็นแค่กรณีเฉพาะผมก็ได้ครับ 555)
ความเห็นที่ 17
แพงไปครับ เพราะเวลาเข้าไป ก็ไม่ค่อยมีเจ้าหน้าที่มาบริการหรือให้ความรู้สักเท่าไหร่ สถานที่ก็ไม่ค่อยปรับปรุง (สำหรับบางอุทยานนะครับ) แล้วมันจะคุ้มกับการเข้าไปชมมั้ย อาจทำให้นักท่องเที่ยวลดลงก็ได้ และอีกอย่างก็ไม่รู้ว่าเอาเกณฑ์อะไรมาวัด ว่าต้องขึ้นเท่านั้นเท่านี้ ดูจากรายได้คนไทยบ้างหรือไม่ สรุปผมว่าแพงไป และการขึ้นราคาไม่ควรก้าวกระโดดแบบนี้ น่าจะปรับไปที่ล่ะนิด และจริงๆไม่น่าจะจัดเก็บเอาเป็นรายได้หลัก ควรจะเก็บเพื่อเป็นค่าบำรุงก็พอ จะได้ส่งเสริมคนไปเที่ยว ได้เรียนรู้ธรรมชาติมากกว่า
ความเห็นที่ 18