แพขยะแห่งแปซิฟิก กับ นกอัลบาทรอส หนึ่งในสิ่งบ่งชี้ผลกระทบต่อธรรมชาติ
เขียนโดย GreenEyes Authenticated user เมื่อ 21 สิงหาคม 2555
บทความนี้แปลจาก
http://photographyforagreenerplanet.wordpress.com/2009/11/30/chris-jorda...
แพขยะแห่งแปซิฟิก กับ นกอัลบาทรอส หนึ่งในสิ่งบ่งชี้ผลกระทบต่อธรรมชาติ
เรื่อง/ภาพโดย Chris Jordan
แปล/เรียบเรียง GreenEyes
http://photographyforagreenerplanet.wordpress.com/2009/11/30/chris-jorda...
แพขยะแห่งแปซิฟิก กับ นกอัลบาทรอส หนึ่งในสิ่งบ่งชี้ผลกระทบต่อธรรมชาติ
เรื่อง/ภาพโดย Chris Jordan
แปล/เรียบเรียง GreenEyes
Comments
ความเห็นที่ 1
ขยะพวกนี้มาจากขยะที่เราทิ้งบนแผ่นดิน แม่น้ำลำคลอง และ ท่อระบายน้ำ ราว 80%และ จากเรือ และการท่องเที่ยวทางทะเลอีก 20% โดยขยะเหล่านี้เกือบทั้งหมดคือ พลาสติก วัสดุสังเคราะห์จากน้ำมือพวกเรา ที่แทบจะไม่ย่อยสลายเลย
แพขยะทะเลตะวันออกก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ ขยะทั้งหลายจะมารวมตัวกันโดยกระแสน้ำในมหาสมุทร แพขยะในย่านมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือจะถูกกำกับโดยกระแสน้ำในวังวนแปซิฟิกเหนือ รูปแบบการไหลของกระแสน้ำจะพัดเอาขยะทั้งหมดที่ลอยน้ำในบริเวณมหาสมุทรมารวมตัวกัน
แม้ว่าพลาสติกจะเป็นวัสดุอะไรที่สารพัดประโยชน์ แต่มันก็คือความผิดพลาดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความชุ่ยที่เราทิ้งขวดพลาสติก หีบห่อบรรจุภัณฑ์ทั้งหลายลงสู่ธรรมชาติ
.
ความเห็นที่ 2
แม้กระทั่งจนตาเปล่ามองไม่เห็นก็ยังส่งผลเสียต่อแพลงตอนที่กินมันเข้าไป และไม่ใช่แค่แพลงตอน แต่ เต่าทะเล ปลา แมงกระพรุน นกน้ำ และสัตว์อื่นๆ ก็มักกินพลาสติกพวกนี้เข้าไปเพราะนึกว่ามันเป็นอาหาร
พลาสติกพวกนี้นอกจากจะไปติดอยู่ในทางเดินอาหารโดยไม่สามารถย่อยได้แล้ว ยังค่อยๆปล่อยสารก่อมะเร็งต่างๆออกมา และนอกจากนี้ พลาสติกยังเป็นวัสดุที่ดูดซับสารเคมีเป็นพิษต่างๆอย่างยาฆ่าแมลง สารเคมีอุตสาหกรรม และฮอร์โมนสังเคราะห์ได้ดีอีกด้วย
.
ความเห็นที่ 3
นอกจากที่พวกมันตายจากการทำประมงแบบเบ็ดราว มันก็มักกินพลาสติกสีสดๆจากแพขยะทะเลเหล่านี้ เข้าไปเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นอาหาร ซึ่งทำให้เกิดการอุดตันอยู่ในท้อง สะสมไปเรื่อยๆ เป็นเดือนๆ จนไม่สามารถกินอะไรเข้าไปได้ และตายในที่สุด
คริส จอร์แดน ช่างภาพธรรมชาติ ได้เดินทางสำรวจรอบบริเวณวงวนแปซิฟิกเหนือ และได้นำภาพเหล่านี้กลับมาเปิดเผย ซึ่งไม่ใช่แค่ตัวเต็มวัยของนกจะได้รับผลกระทบ แม้แต่ศพลูกนกก็ยังเต็มไปด้วยขยะในท้องของมัน ที่แม่มันขย้อนออกมาให้ลูกกิน
สภาพศพที่เน่าเปื่อยผุพัง ทำให้เราเห็นถึงเศษพลาสติกมากมายที่ติดอยู่ในท้องของพวกมัน นกอัลบาทรอส ที่มีขนาดใหญ่และเรามองเห็นได้ แต่นอกจากนี้ที่เรามองไม่เห็น พลาสติกที่ถูกสลายให้เล็กลงและสารพิษที่มันนำมา ก็สะสมถ่ายทอดอยู่ในห่วงโซ่อาหาร เริ่มจากแพลงตอน สู่ปลาเล็ก สู่ปลาใหญ่ และสุดท้ายสู่พวกเราที่นำมันมากิน
ขยะเหล่านี้ยังคงถูกทิ้งลงสู่ธรรมชาติทุกวี่ทุกวัน วนเวียนอยู่ในโลกใบเล็กๆนี้ และกลับสู่พวกเรา
และนี่คือโลกที่เรากำลังจะให้ลูกของเราอาศัยอยู่
ขอบคุณช่างภาพธรรมชาติ Chris Jordan ที่นำภาพเหล่านี้มาฝากกันครับ
.
ความเห็นที่ 4
อีกอันที่น่าสนใจ เคยอ่านเจอว่าเม็ดพลาสติกเล็กๆที่ใส่อยู่ในโฟมล้างหน้า ก็เริ่มก่อให้เกิดปัญหากับพวกแพลงตอนแล้ว พวกนี้กินเข้าไปเหมือนกัน แล้วก็กินกันต่อๆไปเรื่อยๆ
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
เคยเห็นนกเงือกที่เขาใหญ่กินฝาขวดพลาสติกเหมือนกันครับ
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 10
แสดงว่าพวกนี้มีพฤติกรรมงับอะไรได้ก็กลืนหรือเปล่าครับ?(แบบนกตะกรุม)
ความเห็นที่ 11