ยอมรับว่า บางทีประสบการณ์ของตัวเองก็อธิบายเป็นคำพูด(ให้คนอื่นฟัง)ได้ยากเหมือนกันครับจริงๆแล้ว ลักษณะปล้องเหลืองดำนั้นยังมีอีกหลายชนิด เช่น ลูกงูหัวกระโหลก ลูกงูก้นขบ ซึ่งแต่ละชนิดก็มีเอกลักษณ์ที่ต่างกันไปจริงอยู่ถ้าเห็นตัวงูตรงๆ ผมอาจตอบเขาได้ แต่การบรรยายผ่านคำพูดทางโทรศัพท์นี้ไม่ง่ายเลย มีครั้งนึง เจ้าหน้าทีใน รพ.เก่า(ที่ผมเคยอยู่)โทรมาถามเรื่องชนิดงู เขาเห็นตัวงูที่ถูกตีมา(แต่ผมไม่เห็น)แล้วก็บรรยายให้ผมฟัง บอกว่าเป็นงูตัวเท่านิ้วชี้ สีเหลืองสลับดำคล้ายงูสามเหลี่ยม แต่ตัวไม่เป็นสัน หางแหลมเหมือนหางหนู ผมอึ้งรับประทานไปหมด แต่พอเขาส่งรูปมาทางโทรศัพท์ ถึงบางอ้อทันที ลูกงูหัวกระโหลกนี่เอง
Comments
ความเห็นที่ 1
ต่อไป เรามาตัดชนิด/กลุ่มที่ดูแล้วไม่ใช่แน่ๆ (เท่าที่เห็นจากภาพนี้) มาที่งูปล้องทอง (Boiga dendrophila) ก่อน งูปล้องทองนั้นมีลักษณะแบนข้าง (หากอ้วนมากๆ อย่างน้อยก็ดูว่าแนวสันหลังดูยกเป็นสันบ้างสิน่า) แล้วเกล็ดแถวกลางหลังช่วงที่เลยคอมาเยอะๆแล้ว เกล็ดมีขนาดใหญ่กว่าเกล็ดข้างตัวชัดเจน
ต่อมมาก็ตัดงูสามเหลี่ยม (Bungarus fasciatus) ด้วยเหตุผลเดียวกับข้างต้น แถมด้วยว่าลายที่สลับดำ-เหลnอง (หรือตอนเล็กมากๆก็ค่อนข้างไปทางขาวๆนวลๆ) มักมีขนาดความกว้างใกล้เคียงกัน (ไม่จำเป้นต้องเท่าเป๊ะๆ)
ต่อมาก็ตัดทับสมิงคลา (B. candidus) และอาจรวมถึงงูสามเหลี่ยมลายบั้ง (B. multicinctus) ที่ยังไม่มีรายงานในไทย จุดจำแนกสำคัญคือเกล็ดแถวกลางหลังที่มีขนาดใหญ่กว่าเกล็ดข้างตัวนี่แหละ แต่ที่แยกออกมาจากสามเหลี่ยมก็เพราะลายของทับสมิงคลาบางตัวก็ออกมาคล้ายๆลายนี้เหมือนกัน แต่ลายดำๆของทับสมิงคลาไม่ไปลำเส้นที่เกล็ดใต้ท้องเลย (ภาพนี้..แถบดำๆไปเกะกะระรานเกล็ดท้องเล็กน้อย แต่ถ้าได้จับหงายท้องดูก็จะเห้นว่ามีแถบคาดท้องกันเลย)
ต่อไปมาว่ากันที่กลุ่มปล้องฉนวน (ขอเน้นชนิดที่มีรายงานในไทยก่อน) โดยเฉพาะที่ยังเป็นลูกงูมักมีลายดำ-ขาว ส่วนในตัวเต็มวัยจะเหลือไม่กี่ชนิดที่จะให้เราสับสน
เริ่มตัดงูปล้องฉนวนสร้อยเหลือง (Lycodon capucinus) ก่อน เนื่องจากสีและลายต่างจากภาพนี้ตลอดช่วงวัย
ต่อไป งูปล้องฉนวนสีน้ำตาล (L. effraenis) ด้วยเหตุผลเดียวกับตัวตะกี๊
งูปล้องฉนวนเมืองเหนือ (L. fasciatus) ด้วยลายขวางเลอะๆของมัน
ขอโยกไปสกุลอื่นคั่นเวลาก่อน
งูปล้องฉนวนในสกุล Dryocalamus พวกนี้เอวบางร่างน้อย ผอมเพรียวจนรู้สัมผัสความต่างได้ไม่ยากนัก (มั่นใจว่าไม่มีใครเห็นรูปนี้แล้วนึกถึงมันเลย)
งูปล้องฉนวนบอร์เนียว (Leptulophis albofucus) ชนิดนี้ถ้าตัวเต็มวัยมันดำปี๋เลย แต่ตอนเด็กๆมีลายบั้งชัดเจน แต่เกล็ดเป็นสันชัดเจนมากกกกก
งูปล้องฉนวนลาว (Lycodon laoensis) ตอนโตไม่มีปัญหา ตอนเล็กก็เป็นลายดำ-ขาว แต่แถบดำกว้างมากกกกก แล้วลายขาวแคบๆ และลายดำไม่ไปยุ่งกัเกล็ดท้องเลย แถมดูแวววาวกว่านี้เยอะ
งูปล้องฉนวนบ้าน (L. subcinctus) ลายดำกว้างมาก ระยะประมาณแถบดำของภาพนี้สองแถบแถมลบลายขาวๆอันที่อยู่ระหว่างแถบดำไปอีกแถบนึงนั่นแหละ สลับกับสีขาวๆกว้างประมาณเดียวกับภาพนี้ แล้วถ้าสายตาดีๆ จะเห็นสันเกล็ดแนใกล้ๆหลังของงูปล้องฉนวนชนิดนี้ด้วย งูปล้องฉนวนบ้าน พอโตแล้วลายขาวๆจะเลือนไปเรื่อยๆ ตัวที่แก่มากๆ อาจเหลือสีขาวๆแค่ส่วนท้ายของหัวเท่านั้น
คราวนี้เหลือสองตัวที่คล้ายมากจริงๆเกือบตลอดช่วงวัยด้วยได้แก่ งูปล้องฉนวกินงู (Lycodon ophiophagus) และงูปล้องฉนวนเขาสูง (Dinodon septentrionalis)
ลักษณะแบบถั่วๆที่ช่วยสังเกตได้คือลักษณะมันวาวของเกล็ดงูปล้องฉนวนนั้นโดดเด่นกว่างูจงอาง ส่วนที่ขาวก็จะขาวเลย ไม่มาอมเหลืองๆแบบจงอางนี้ แต่.งสิ่งที่อยากให้สังเกตเพิ่มเติม คือลักษณะเกล็ด ย้อนกลับไปดูรูปข้างบน เลือกเกล็ดข้างตัวมาสักเกล็ด (เอาแนวกลางๆของข้างตัว จะได้ดูชัด) ดูแนวที่เกล็ดที่เล็งไว้โดนเกล็ดอื่นซ้อนทับในแถวเหนือขึ้นไป กับที่ใต้ลงมา จุดที่ถูกซ้อนทับจุดบน กับล่างไม่ตรงกัน (บนล้ำหน้าล่าง) ส่วนปล้องฉนวน จุดซ้อนทับบนและล่างอยู่แนวเดียวกัน
ขอเตือนว่าอย่ายึดติดนะขอรับ เพราะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิชามาร ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถใช้คีย์ได้ มีข้อจำกัดที่ไม่เห็นลักษณะอื่น(ที่ใช้จำแนกได้ชัดเจนกว่า) และไม่มีสเกลเพื่อทราบขนาดโดนประมาณ ที่จริงรูปนี้ หากคนที่คุ้นเคยจริงๆก็สามารถระบุได้เลยว่าเป็นจงอาง แต่ไม่ง่ายสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคย อาจมีคนตั้งข้อสังเกตวาทำไมครั้งนี้ผมไม่เอาจำนวนแถวเกล็ดช่วงประมาณกลางๆตัวมาใช้ เหตุผลเพราะ จำนวนแถวเกล็ดของงูปล้องฉนวนส่วนใหญ่ เท่ากับเกล็ดแถวเกล็ดงูจงอาง แต่ถ้าสมมติว่าเราเห็นตัวจริงๆ จะจำแนกได้ง่ายกว่านี้ เพราะเราจะเห็นบริบทอื่นๆ เช่น ขนาด (ขนาด กับลายของงูปล้องฉนวน กับจงอางมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงวัย ซึ่งช่วยตัดสินใจได้ง่ายกว่าเยอะ) ก็เอาไว้เป็นลักษณะช่วยสังเกตจำแนกนะครับ พึงระลึกเสมอว่า กฎแห่งข้อยกเว้นมักประกฎอยู่เสมอ
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ดิวอาจเผลอใจไปหามันก่อนก็ได้นะ กว่าจะอึ้ง งูก็อยู่ในมือแล้ว
ความเห็นที่ 7
ยอมรับว่า บางทีประสบการณ์ของตัวเองก็อธิบายเป็นคำพูด(ให้คนอื่นฟัง)ได้ยากเหมือนกันครับ
จริงๆแล้ว ลักษณะปล้องเหลืองดำนั้นยังมีอีกหลายชนิด เช่น ลูกงูหัวกระโหลก ลูกงูก้นขบ ซึ่งแต่ละชนิดก็มีเอกลักษณ์ที่ต่างกันไป
จริงอยู่ถ้าเห็นตัวงูตรงๆ ผมอาจตอบเขาได้ แต่การบรรยายผ่านคำพูดทางโทรศัพท์นี้ไม่ง่ายเลย มีครั้งนึง เจ้าหน้าทีใน รพ.เก่า(ที่ผมเคยอยู่)โทรมาถามเรื่องชนิดงู เขาเห็นตัวงูที่ถูกตีมา(แต่ผมไม่เห็น)แล้วก็บรรยายให้ผมฟัง บอกว่าเป็นงูตัวเท่านิ้วชี้ สีเหลืองสลับดำคล้ายงูสามเหลี่ยม แต่ตัวไม่เป็นสัน หางแหลมเหมือนหางหนู ผมอึ้งรับประทานไปหมด แต่พอเขาส่งรูปมาทางโทรศัพท์ ถึงบางอ้อทันที ลูกงูหัวกระโหลกนี่เอง
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 9.1
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 12