:: ถามเรื่องระบบนิเวศใต้น้ำหน่อยครับ

ยังคงสนใจทำตู้ไม้น้ำสวยๆอยู่ และทดลองไปเรื่อย

จากการสังเกต ระบบใต้น้ำของบ่อต่างๆรอบบ้าน ทำให้เกิดคำถาม

บ่อหมายเลข 1 น้ำลึก หนึ่งเมตรกว่าๆ พื้นน้ำเริ่มจากดินในกระถาง ปัจจุบันเป็นซากทับถมไปเรือ่ย ตามธรรมชาติ มีบัว สาหร่ายพุงชะโด ปลา กุ้ง หอย น้ำใสสะอาดดี แสงส่องไม่ถึงก้น เพราะปากบ่อแคบ และถูกบังจากอะไรๆด้านบน

พื้นน้ำปัจจุบันเต็มไปด้วย "รา" (คิดว่างั้นนะ)



บ่อหมายเลข 2 น้ำตื้น คืบเดียว เป็นบ่อดิน พืชน้ำมีสาหร่ายฉัตร อเมซอนแคะ อเมซอนบ้านๆ อเมซอนด่าง น้ำตาเทียน มอส บ่อนี้ เดี๋ยวงามเดี๋ยวล่ม แสงรำไร ช่วงนี้ร่มไปหน่อย แดดมันเปลี่ยนทิศ สัตว์อื่นๆคล้ายบ่อหมายเลข 1

พื้นน้ำปัจจุบัน ตะไคร่และๆและรา


เชื่อว่าหลายคนในบอร์ดน่าจะมีตู้ไม้น้ำกันหลายคน เลยอยากชวนมาตั้งข้อสงสัยกัน หรือเผื่อมีใครทราบชัดเจน ผมก็จะได้ถึงบางอ้อซะที

คำถาม
ปัจจัยอะไร ที่ทำให้เกิด รา หรือ ตะไคร่และๆเหล่านี้ครับ ไม่ชอบครับ T T เมื่อก่อนมันจะเป็นตะไคร่เขียวๆฟู ผมชอบมาก 
ที่สำคัญ ตะไคร่นี่ทำให้ไม้น้ำผลโทรมด้วย มันคลุมไปหมด ส่วนรานี่ ไม่รู้ส่งผลอะไรบ้าง

Comments

ความเห็นที่ 1

สภาพเหมือนคูข้างร้านก๋วยเตี๋ยว ที่รองรับพวกเศษอาหาร น้ำเสียจากครัวเรือนเลยครับ พวกจุลินทรีดีๆ คงมีน้อยจนบำบัดไม่ทันระบบเลยล่มสลายไป

เข้ามารอฟังอธิบายเป็นวิทยศาสตร์ครับ

ปล. แอบแหวะ indecision

ความเห็นที่ 2

สังเกตุไหมพี่ บ่อน้ำ แอ่งน้ำเล็กๆ ที่เราไปเจอตามป่า ใบไม้ทับถมกันหนาปึ๊ก

แต่ไม่มีราขึ้น !!?? ทำไม ????

แล้วทำไมบ่อผม มีราขึ้น ????

ความเห็นที่ 2.1

รา มะลิรา ขอเขียนผิดให้คนอ่านเล่นขำๆ ก่อน จริง ๆแล้วมันเป็นหลักพื้นฐานง่ายๆ เลยครับในวิชา จุลชีววิทยา เกี่ยวกับคำถามที่คุณถามมา

รามีอยู่ทุกที่ แล้วราก็มีความหลากหลายมากมาย เพราะฉะนั้นเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าบ่อน้ำในป่าไม่มีรา มันอาจเป็นราที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าอยู่ก็ได้ แล้วกลุ่มพวกเห็ดรานี่ส่วนมากจะดำรงชีพแบบผู้ย่อยสลายทั้งนั้น ถามว่าแล้วทำไมมันเยอะ มันก็เหมือนต้นไม้ ถ้าไปเจอที่ที่เหมาะสม (เช่น แสงน้อย, มีออกซิเจนต่ำมากหรืออาจไม่มีเลยด้วยซ้ำ)  มีมีอาหารมากๆ (ในที่นี้ก็คือเศษซากของพรรณไม้น้ำที่ทับถมอยู่) มันก็เพิ่มอยู่ดีมีสุขเพิ่มพูนประชากรจนเห็นขาวโพลนไปหมด ทำให้คุณเจ้าของบ่อตกใจว่าบ่อฉันเป็นไปอย่างนี้ได้อย่างไรกัน จริงแล้วผมไม่ใช่นักเห็ดราวิทยา เลยให้คำตอบเกี่ยวกับถึงปัจจับแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับราชนิดนี้ไม่ได้  คุณลองเอาตัวอย่างไปให้ผู้ชำนาญการด้านราน้ำตรวจดูว่ามันคืออะไรชนิดไหน ชอบอยู่อย่างไร คุณก็จะได้คำตอบเองว่าอะไรที่ทำให้มันเพิ่มได้มาก

ส่วนเจ้าสาหร่ายเขียวๆ ฟู ที่มันขึ้นมาแย่งที่ต้นไม้น้ำ อย่างที่คุณนณณ์บอก มันเป็นกึ่งพืชกี่งแบคทีเรีย ผู้ชำนาญการสาหร่ายน้ำและนักบักเตรีวิทยาต่างแก่งแย่งกันครอบครองเป็นเจ้าของเจ้าสิ่งมีชีวิตที่ว่านี้ พวกมันจะต่างจากราครับ ไม่ต้องมีเศษซากใบไม้ฉันก็อยู่ได้ขอให้ในน้ำนั้นต้องมีธาตุไนโตรเจนสูงๆ แล้วก็มีแสงแดดส่องถึง มันก็แตกหน่อแพร่พันธุ์กันเกษมสำราญ ทีนี้มันมีส่วนหนึ่งที่เป็นพืช พอมันเติบโดเยอะๆ มันก็จะไปแย่งทรัพยากรที่พืชต้องใช้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสารไนโตรเจน แสงแดด กาซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง ออกซิเจนเพื่อการหายใจ มันแย่งทรัพยากรได้เก่งกว่า เพราะร่างมันเล็กดูดซิมสิ่งเหล่านี้ได้จากน้ำโดยตรง ในขณะที่ต้นไม้น้ำต้องอาศัยการลำเลียงไปปรุงที่ใบ มันเลยรบชนะต้นไม้น้ำ ถ้าเลี้ยงตู้ไม้น้ำ พวกนี้จะเป็นพวกเีีดียวกับที่เขาเรียกว่าสาหร่ายขนแมว ขึ้นตู้ไหน ก็ล้างได้เลย ต้นไม้โทรมหมด

คิดว่าคำตอบของผมเป็นแค่แนวทางนะครับ ผมไม่สามารถตอบในระดับลึกๆ ได้

สุดท้าย ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมคิดว่าวิธีกำจัดราขาวอย่างง่ายๆ ก็คือเอาอาหารมันออกไปซะ (เศษซากใบไม้สะสมพื้นบ่อ เอาออกไปทำปุ๋ยหมักซะ) ราไม่มีอาหารกินมันก็อยู่ไม่ได้เหมือนกันแหละครับ

ความเห็นที่ 2.1.1

ขอบคุณครับ

เจ้าบ่อหมายเลข 1 นี่คงปล่อยไปตามวิถีของมัน ผมจะดูอย่างเดียว

ส่วนบ่อหมายเลข 2 นี่เป็นบ่อที่ผมเซตขึ้นมา จะพยายามลดซากอินทรีย์ในบ่อครับ ทีแรกผมตั้งใจใส่ใบไม้แห้งลงไปทับถม เพราะทดลองกับตู้ทราย(ไม่มีราขึ้น)แล้วอเมซอนแคระงามมากๆ ใบยาวกว่าที่ผมปลูกที่ทำงานผมด้วยดินแพงๆซะอีก

แต่สภาพคงดันไปเหมาะกับราพวกนี้พอดี

ความเห็นที่ 3

น่าจะเป็นเพราะแดดน้อยไปนะ พวกพืชต้นใหญ่ Macrophyte ต้องการแสงแดดมากพอสมควร พอแดดน้อยไปพวกนี้โตไม่ได้แต่ แต่ในน้ำยังมีแร่ธาตุอยู่ พวกพืชชั้นต่ำกว่าพวกตะไคร่ซึ่งมีหลายชนิดปรับตัวอยู่ในที่ร่มได้จะเกิดขึ้นมาใช้แร่ธาตุตรงนี้ แล้วทีนี้จะยิ่งกดให้พวกพืชต้นขึ้นไม่ได้ ผมว่าแก้ด้วยการให้ออกแดดเพิ่มขึ้นให้พวกสาหร่ายโตน่าจะแก้ได้ หรืออาจจะต้องหาพืชบางกลุ่มที่พอสู้กับพวกนี้ในที่ร่มได้ อย่างพวกเฟิร์นรากดำ หรือพวกมอสมาใส่ลงไปสู้ดูครับ 

ส่วนเรื่องเดี๋ยวบานเดี๋ยวล่ม น่าจะอยู่ที่แร่ธาตุในดิน ในพื้นที่ปิดแบบนี้แร่ธาตุถูกพืชใช้หมดเร็วมาก เหมือนอ่างบัวที่บ้าน ถ้าไม่ใส่ปุ๋ยบัวยุบเร็วมาก แม้นว่าเลี้ยงปลาใส่อาหารแล้วก็ไม่พอ มัน recycling ธาตุให้ตัวเองไม่ทัน ต้องคอยเติมปุ๋ยอ่ะ ไม่งั้นมันก็ล่มเป็นจังหวะอย่างนั้นครับ

ประมาณนี้ครับ

ความเห็นที่ 4

เจ้าใยๆนี่อาจจะเป็น blue-green algae นะครับ เป็นกึ่งพืชกึ่งสัตว์ เอียงมาทางแบคทีเรีย ฆ่าได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

ความเห็นที่ 5

ปัญหาหลักเข้าใจว่ามาจากแสงไม่เพียงพอครับ ส่งผลให้การสังเคราะห์แสงน้อยลง มีการดึงธาตุอาหารน้อยลง มีการปรับตัวให้อยู่อย่างพอเพียงโดยการผลัดชิ้นส่วนของตัวเองลงไป สาร/ธาตุอาหารตกค้างมาก สิ่งมีชีวิตอื่นที่ใช้แสงน้อย หรือไม่จำเป็นต้องใช้แสงในการใช้อาหารเหล่านั้นก็เติบโตดีจนพืชที่ต้องใช้แสงมากหมดสภาวะที่จะแข่งขันได้ (โดนเคลือบ)

อย่างที่นณณ์บอกไว้ครับ คือเปิดช่องแสงให้เพียงพอ แล้วรื้อพวกที่ไม่ต้องการออก รวมทั้งพืชที่โดนครอบงำไปแล้วด้วย ให้เหลือพอเป็นเชื้อไว้ไม่ต้องมาก เมื่อแสงมากพอ มันจะโตเร็วมากจากระบบหลังการรื้อนี้ เพราะที่บ้านผมโดยรวมก็น่าจะคล้ายๆกัน เพียงแต่มันได้รับแสงเพียงพอ(แต่ช่วงนี้คงแค่พอประมาณเพราะฝนตกไม่พักเลย) เลยยังไม่เจอพวกไม่ชอบแสง หรือไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายที่ระดับชั้นผิวตะกอน (แต่ถ้าคุ้ยเมื่อไหร่ ลูกอ๊อดปาดน่าจะน็อค)

แอ่งเล็กแอ่งน้อยในป่า แม้มีการทับถมของใบไม้ แต่มักเป็นใบไม้แห้งซึ่งมีแทนนินเป็นตัวช่วยไม่ให้แบคทีเรียงี่เง่าทำงานได้ แล้วแอ่งที่เห็นน่าจะได้รับแสงเพียงพอ หรืออาจขังต่อเนื่องไม่นานมากนัก หรือมีการถ่ายเทได้บ้าง เช่น ฝนตกน้ำไหลมาไล่น้ำเก่าไป ฯลฯ

ความเห็นที่ 6

ขอบคุณครับ

ถ้าเป็นเพราะแสง  แก้ยากแฮะ
จะลองใช้แทนนิน โดยการหมักใบไม้แล้วเอาน้ำไปเป่าอากาศ แล้วเทลงบ่อหมายเลข 2 ดูครับ

ความเห็นที่ 7

ลองต้นไม้กึ่งๆที่อยู่ร่มได้ อย่างพวก พลูด่าง ทำเป็นตะกร้าลอยน้ำไว้ ให้มันช่วยดึงแร่ธาตุออกไปจากระบบ น่าจะช่วยได้ แต่มันก็จะไปบังแสงเข้าไปอีก...  

ความเห็นที่ 7.1

จริงๆ ก็มีแหน ปกคลุมพื้นที่บ่อไป 30% ได้แล้วนะเนี่ย
จะลองใส่สาหร่ายพุงชะโดไปลอยเพิ่มอีกคร้งครับ จะพยามเอาแสงกลับมาด้วย (หาวิธีก่อน)

คิดว่าปัญหาคือแดดไม่พอจริงๆ เพราะจะว่าไปผมใส่พุงชะโดไปหลายรอบแล้ว มันค่อยๆตายหมด

ความเห็นที่ 8

แล้วถ้าทำการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ จะช่วยเหลือได้มากน้อยไหมครับ?

ความเห็นที่ 8.1

ไม่น่าเกี่ยวอ่ะ 

ความเห็นที่ 9

ตะไคร่แบบรูปสุดท้าย ตู้ผมก็เพียบนะ ผมเอาหินในลำห้วยที่น้ำไหลมาใส่บ่อ แล้วน้ำก็เอาในห้องน้ำนั่นแหล่ะ ทิ้งไว้สัก 1 เดือน ตะไคร่ขึ้นเพียบอะ แต่ในน้ำไหลที่ลำห้วยไม่เคยเจอเลย

ความเห็นที่ 9.1

ปัจจัยที่แตกต่างอย่างมากระหว่างตู้กับลำห้วยก็คืออุณหภูมิขอรับ น้ำในห้วยเย็นกว่าน้ำในตู้เยอะมากเลยครับ แล้วก็ในห้วยมีปลาและสัตว์น้ำหลายชนิดที่คอยแทะเล็มมันไม่ให้โตมากเกินไป แล้วในตู้คุณมีตัวอะไรมาคอยแทะโลม เอ้ยแทะเล็มสาหร่ายนี้บ้างหรือเปล่าขอรับ

ความเห็นที่ 10

อีกทีต้องลองซื้อปุ๋ยเม็ด แล้วยัดลงใต้ดิน แล้วปลูกสาหร่ายโตเร็วๆลงไป ให้มันโตแข่งกับตะไคร่ดูครับ พอปุ๋ยในดินหมด มันจะได้มาแย่งกันในน้ำได้แข็งแรงขึ้น

ความเห็นที่ 10.1

สาหร่ายโตเร็ว แดดไม่พอ ก็ร่วงครับพี่ เคยลองละ  - -"

ปล เท่าทีลองมา สาหร่ายฉัตร ปลูกในที่แสงน้อยได้ระดับนึงทีเดียว

ความเห็นที่ 11

ตะไคร่ก็ใช้ปุ๋ยที่ยัดลงดินได้ครับ