Bryde's Whale

เอามายั่วน้ำลายก่อนครับ รูปสงสัยต้องรอของยาว 250 มม. ไม่สวยเท่าใดนัก 

Comments

ความเห็นที่ 1

รายแว้ ผิดทางอีกแล้วกู 55555

ความเห็นที่ 2

อะไรกัน เห็นแค่ดุ้นด้านบนไม่กี่วินาที    cool

ความเห็นที่ 3

นั่นดิ เงิบเลย

ความเห็นที่ 3.1

จะให้มันโดดรอดหวงหรือไงหล่ะท่าน

ความเห็นที่ 4

เห็นไม่กี่วิ แต่เห็นทั้งวันจนอิ่ม  

ความเห็นที่ 5

สิ่งที่รอกันมาทั้งวัน 
feeding

ความเห็นที่ 6

250มม ยังไ้ด้แค่นี้ ผมมีแค่ 70มม คงได้เป็นแคุ่ฝุ่น ฮาๆๆ

ความเห็นที่ 7

ว้าววว มาแล้ว 1รูป

ความเห็นที่ 8

อยากไปมั้ง ผมก็มี .... แต่เป็น 55-250 (EF) นะ ถ่ายได้มั้ย

ความเห็นที่ 9

คืนนี้เอาไปรูปหนึ่งก่อนครับ ยังทำไม่เสร็จเลย

ไปทำ SI เล่นมาเรียบร้อย
http://www.siamensis.org/species_index#36420--Species:%20Balaenoptera%20...
w_boat.jpg

ความเห็นที่ 10

เราน่าจะเรียกว่า(ปลา)วาฬแกลบ ชื่อไทยดั้งเดิมที่มีมานะ บรูด้า B. brydei ที่จริงเป็นชนิดที่เจอในทะเลเปิดของ Indian Oc.

ความเห็นที่ 10.1

ผมว่าแล้วว่ามันต้องมีชื่อไทย ขอบคุณมากรับดร. 

ความเห็นที่ 10.1.1

ข้อมูลตัวนี้ผมเคยทำโปสเตอร์อยู่ ใส่ไว้ในเฟสบุ็คให้ดูนานแแล้ว ในอัลบั้มโปสเตอร์




ความเห็นที่ 10.1.1.1

ทำเป็นบทความเล๊ย

ความเห็นที่ 10.1.1.1.1

ผมเคยเอาเนื้อหาส่วนหนึ่งในนี้ไปใส่ในบทความลงในแม็กกาซีนของ BRT แล้วอ่ะครับ แถมไม่ได้เขียนอ้างอิงไว้อีก ตอนนี้ก็จำไม่ได้แล้วว่าเอามาจากไหนบ้าง 

อันนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งจากในบทความข่าวนะครับ 

ปลาวาฬบรูด้า มีชื่อสามัญว่า Bryde’s whale จัดอยู่ในวงศ์ Balaenopteridae คือเป็นปลาวาฬที่ไม่มีฟัน แต่จะมีซี่กรอง หรือ บาลีนแทน มีชื่อภาษาไทยอยู่หลายชื่อ ได้แก่ ปลาวาฬซิทตัง, ปลาวาฬศรีตรัง, ปลาวาฬสะโตง, ปลาวาฬแกลบ และปลาวาฬกบ ค้นพบทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกโดย Dr. Michael Anderson ในปีค.ศ.1878 ที่บริเวณปากแม่น้ำสะโตง (Sittang River) ประเทศพม่า และได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Balaenoptera edeni ต่อมาในปีค.ศ.1912  Dr. Ö. Olsen ได้พบปลาวาฬชนิดหนึ่งในแอฟริกาใต้ และได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Balaenoptera brydei แต่ผ่านมาในภายหลังพบว่าทั้ง B. edeni และ B. brydei เป็น ปลาวาฬชนิดเดียวกัน จึงได้สงวนชื่อวิทยาศาสตร์ที่ตั้งครั้งแรกเอาไว้ คือ B. edeni และใช้ชื่อสามัญว่า Bryde's Whale
 
ปลาวาฬชนิดนี้มีขนาดโตเต็มที่ยาว 10–15.6 เมตร หนัก 12.1–25 ตัน ลักษณะที่เป็นจุดเด่นคือ ตรงที่ส่วนหัวมีแนวสันนูน 3 สัน ครีบเล็กและปลายแหลม มีร่องใต้คาง 40-70 ร่อง ยาวพ้นแนวสะดือ อาหารส่วนใหญ่จะเป็นปลาขนาดเล็กที่อยู่ตามผิวน้ำ สัตว์จำพวกกุ้ง และปลาหมึก มีวัยเจริญพันธุ์ที่อายุ 9-13 ปี ให้ลูกครั้งละ 1 ตัวทุก 2 ปี ตั้งท้องนาน 10-12 เดือน ระยะให้นมน้อยกว่า 12 เดือน อายุยืนได้ถึง 50 ปี พบอาศัยอยู่ในเขตร้อนถึงเขตอบอุ่น ในบ้านเราพบได้บ่อยที่บ่อนอก-หินกรูด จ.ประจวบฯ แต่ทางอันดามันก็มีผู้พบเห็นและบันทึกภาพได้อยู่เช่นกัน สำหรับสายพันธุ์ที่พบที่ จ.ประจวบฯ จะมีขนาดเล็กกว่าที่พบเห็นในทะเลอื่นๆ ส่วนซากมีการพบในจังหวัดชายฝั่งทะเลเกือบทุกจังหวัด ในปัจจุบันทาง IUCN ได้จัดให้ปลาวาฬบรูด้าอยู่ในสภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์/ชนิดที่ใกล้ถูกคุกคาม (LR/nt) เนื่องจากยังคงมีการล่ารวมไปกับปลาวาฬชนิดอื่นๆ ในบางประเทศ

ซากวาฬบรูด้าเกยตื้น. นิตยสารราย 3 เดือนโครงการ BRT, 22: 61. (2550)

ความเห็นที่ 11

น้านณณ์...ผมอยากเห็นปลาตัวเล็กๆ ในปากปลาวาฬชัดๆ ครับ cheeky

ความเห็นที่ 11.1

อยากเห็นด้วยคน  ^^

ความเห็นที่ 12

น่าจะ Stolephorus baganensis นะ

ความเห็นที่ 13

มันมากินปลาอะไรนะครับ 

ความเห็นที่ 14

ผมว่ากระตักนะ

ความเห็นที่ 15

มันกิน clupeoids ทุกชนิดและรวมถึงปลาทูด้วย รูปที่บ่อนอกเห็น Thryssa sp? ติดขี้ฟันมันด้วย