ไม้ป่าอุทยานฯภูสอยดาว จ.พิษณุโลก - จ.อุตรดิตถ์

 ขอสอบถามชื่อไทยและชื่อวิทยาศาสตร์ของไม้ป่าเหล่านี้ครับ ชนิดแรกน่าจะอยู่ในวงศ์ ACANTHACEAE ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้ามและสลับตั้งฉาก ใบรูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก โคนใบแคบ ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามปลายกิ่ง ดอกเป็นหลอดรูปแตร ปลายผายบานเล็กน้อยเป็น5กลีบ ผิวนอกของดอกสีขาวอมชมพู ผิวในของดอกสีชมพู พบขึ้นอยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ของป่าก่อและป่าดิบเขา 

Comments

ความเห็นที่ 1

 ชนิดที่สอง ก็น่าจะอยู่ในวงศ์ ACANTHACEAE เช่นกัน ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำตัว ใบรูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก โคนใบเรียวแคบ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นหลอดรูปแตร ปลายผายบาน มี5กลีบ ดอกสีม่วงเข้ม พบขึ้นอยู่ตามป่าดิบริมลำน้ำ
ACANTHACEAE ACANTHACEAE

ความเห็นที่ 2

 ชนิดที่3 น่าจะอยู่ในวงศ์ APIACEAE พบขึ้นตามที่โล่งแจ้งของทุ่งหญ้าป่าสนเขา
APIACEAE APIACEAE APIACEAE

ความเห็นที่ 3

 ชนิดที่4 อยู่ในวงศ์ FABACEAE เป็นไม้เลื้อย มีใบประกอบ3ใบ ใบรูปไข่กว้าง ปลายใบค่อนข้างแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบแคบ ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามข้อ พบเลื้อยตามพื้นและพาดต้นไม้อื่นในป่าดิบแล้งแล้งและป่าเบญจพรรณ
FABACEAE FABACEAE

ความเห็นที่ 4

 ชนิดที่5 อยู่ในวงศ์ FABACEAE เป็นไม้เลื้อย ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายใบมน ขอบใบเรียบ โคนใบมน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด  พบเลื้อยตามพื้นและพาดต้นไม้อื่นในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ
FABACEAE FABACEAE

ความเห็นที่ 5

 ชนิดที่6 อยู่ในวงศ์ FABACEAE เป็นไม้เลื้อย ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายใบมน ขอบใบเรียบ โคนใบมน ลำต้น+ท้องใบ+ช่อดอกมีขนปกคลุม ออกดอกเป็นช่อตามข้อและปลายยอด พบขึ้นอยู่เป็นทุ่งแน่นขนัดตามทุ่งหญ้าป่าสนเขา
FABACEAE FABACEAE FABACEAE

ความเห็นที่ 6

 ชนิดที่7 น่าจะอยู่ในวงศ์ LAMIACEAE ใบออกเป็นคู่ตรงกันข้ามและสลับตั้งฉาก ใบรูปใบหอก หรือหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ออกดอกเป็นช่อตั้งที่ปลายยอด พบขึ้นอยู่ตามทุ่งหญ้าป่าสนเขา
LAMIACEAE LAMIACEAE LAMIACEAE

ความเห็นที่ 6.1

มีผู้รู้แจ้งว่า คือ  เพราดำ หรือหอมป้อดอย Pogostemon menthoides Blume วงศ์ LAMIACEAE

ความเห็นที่ 6.1.1

กรี๊ด สกุลนี้ชอบบบบบ 

ความเห็นที่ 7

 ชนิดที่8 น่าจะอยู่ในวงศ์ LAMIACEAE ใบออกเป็นคู่ตรงกันข้ามและสลับตั้งฉาก ใบรูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบเรียวเป็นหางมน ขอบใบเรียบและห่อใบ โคนใบแคบ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด พบขึ้นอยู่ตามสันเขา และทุ่งหญ้าป่าสนเขา
LAMIACEAE LAMIACEAE

ความเห็นที่ 8

 ชนิดที่9 คิดว่าเป็นสกุล Clerodendrum และน่าจะอยู่ในวงศ์ LAMIACEAE ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด พบใต้ร่มเงาไม้ในป่าก่อและป่าดิบเขา
Clerodendrum Clerodendrum

ความเห็นที่ 8.1

 มีผู้รู้แจ้งว่า คือ ราตรีสวรรค์ หรือกะเบื้อขาว หรือจ้าหอม หรือปิ้งน้อย ชื่อวิทยฯ Clerodendrum lloydianum Craib วงศ์ LAMIACEAE

ความเห็นที่ 9

 ชนิดที่10 ใบออกเป็นคู่ตรงกันข้ามและสลับตั้งฉาก ใบรูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบแคบ ก้านใบสั้นมาก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นหลอดรูปแจกัน ปลายผายออกเป็น4กลีบ พบตามที่โล่งแจ้งของทุ่งหญ้าป่าสนเขา นอกจากนี้ยังพบลักษณะคล้ายกันอีกต้นหนึ่ง แต่ต่างกันที่กลีบเลี้ยงและสีของดอก ไม่แน่ใจว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่
ไม้ป่า ไม้ป่า ไม้ป่า

ความเห็นที่ 9.1

ทั้ง2ชนิด ผู้รู้แจ้งว่าเป็นสกุล  Cestrum sp. วงศ์ SOLANACEAE

ความเห็นที่ 9.1.1

ถ้าดูจากรูป(ไม่มีรายละเอียดของ stamen) ผมว่าน่าจะเป็นพวก Rubiaceae ครับ

ความเห็นที่ 9.1.1.1

ครั้งแรกที่พบเห็นก็คิดเช่นนั้นเหมือนกันครับ

ความเห็นที่ 10

 ชนิดที่11 บางช่วงของต้นก็ใบเดียว บางช่วงก็มีใบประกอบแบบใบย่อย3ใบ ใบรูปช้อน หรือรูปไข่กลับ ปลายใบมน ขอบใบเรียบ โคนใบเรียวแคบ ออกดอกตามปลายกิ่งก้านและยอด พบตามสันเขา และทุ่งหญ้าป่าสนเขา
ไม้ป่า ไม้ป่า ไม้ป่า

ความเห็นที่ 10.1

มีผู้รู้แจ้งว่ายังไม่มีชื่อไทย คงมีแต่ชื่อวิทยฯ  Boenninghausenia albiflora (Hook.) Rchb. ex Meisn. วงศ์ RUTACEAE

ความเห็นที่ 11

 ชนิดที่12 เป็นชนิดสุดท้ายครับ ดอกรูประฆังคว่ำ สีเหลือง ส่วนอื่นไม่ทราบครับ พอดีรุ่นน้องพบ
ไม้ป่า

ความเห็นที่ 11.1

ผู้รู้แจ้งว่า คือ  บวบขน ชื่อวิทยฯ Sinobaijiania sp. วงศ์ CUCURBITACEAE

ความเห็นที่ 12

เรื่องต้นไม้ช่วยไม่ได้มาก เข้ามาชมความงามครับ

ความเห็นที่ 13

ขิงข่า ไม่มีหรือค่ะ T^T

ความเห็นที่ 14

ขิงข่าก็มีครับที่พบมีอยู่ 2 ชนิดครับ
zingiberaceae zingiberaceae zingiberaceae zingiberaceae

ความเห็นที่ 14.1

เพิ่งเคยเห็นว่าช่อแดงแป๊ดดดดดดดดดดดดด มาตอนแก่

Zingiber kerrii  น่าจะเป็นตัวนี้เพราะว่าใบประดับมีจุดที่ปลาย (ภาพที่ 1 กับ 2)

ความเห็นที่ 14.1.1

     ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 15

ชนิดที่2 ทั้งนี้ไม่ทราบว่าทั้ง2ชนิดมีชื่อเสียงเรียงนามทางไทย และชื่อวิทยาศาสตร์ว่ากระไรบ้างครับ
zingiberaceae zingiberaceae

ความเห็นที่ 15.1

สกุล Zingiber มั้ง ^^

ความเห็นที่ 15.1.1

ผมมีรูปช่อดอกอ่อนๆของเขาให้ดูกันชัดๆด้วยครับ
zingiberaceae

ความเห็นที่ 15.1.1.1

อันนี้ติดผลแล้วค่ะ  เอาเป็นว่า Zingiber sp. ก่อนดีกว่าค่ะ เดี๋ยวเดาผิด

ความเห็นที่ 16

ชอบต้นไม้เหมือนกันครับ แต่ตะละต้นไม่รู้จักเลยครับ

ความเห็นที่ 17

ผมยังมีพืชตระกูลขิงข่าอีก1ชนิดครับที่พบในอุทยานฯภูสอยดาว แต่พบผลของเขาเท่านั้น พอจะทราบไหมครับว่ามีชื่อเสียงเรียงนามว่ากระไร ทั้งชื่อไทยและชื่อวิทยฯ
zingiberaceae

ความเห็นที่ 17.1

ท่าทางจะใหญ่โตอยู่ใช่ไหมค่ะ มีขนนิ่มๆ ในทุกส่วน น่าจะเป็น Alpinia malaccensis หรือข่าโคมใหญ่ค่ะ  ผลทานได้นะคะ

ความเห็นที่ 17.1.1

ขอบคุณครับ