มีพืชมาถามอีกแล้วครับ (Ceropegia + กล้วยไม้)

มีพืชมาถามอีกแล้วครับ
ต้นแรกน่าจะ  Ceropegia arnottiana   หรือเปล่าครับ แต่สีจะต่างจากที่พบแถวภาคกลางหลายจุดน่ะครับ
ดอกอ่อนก็จะคล้าย ๆ กับภาคกลางสีเขียวแต่ตรงปลาย hook  (ไม่รู้เรียกว่าอะไรขอเรียกแบบนี้ละกัน) จะสีอ่อน ๆไม่เข้มเท่าภาคกลาง สีเหมือนตอนเป็นดอกแก่อย่างในรูปนี่ละครับ
ต้นนี้พบทางภาคเหนือครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

ถัดมาน่าจะกล้วยไม้ดิน  555
เพราะเจอโผล่พ้นดินออกมา มีแต่ก้านแล้วก็ดอก ไม่มีใบครับ
ก้านเดียวโด่ ๆ โผล่พ้นดินขึ้นมาเลย ใกล้เคียงสุดก้น่าจะ เอื้องดินลาว (Spathoglottis pubescens) หรือเปล่าครับ
ขอทราบชื่อด้วยครับ

ขอบคุณทุกคำตอบครับ
_mg_6753.jpg _mg_6757.jpg _mg_6756.jpg

ความเห็นที่ 2


ดอกแรก  เทพทาโร

ผมพบที่ภาคอีสานตอนบน
เทพทาโร.jpg

ความเห็นที่ 2.1

ภาคอีสานตอนบน นี่สีสวยจังเลยครับ
ส่วนชื่อ  เทพทาโร   เทพธาโร   นี่มันไปซ้ำกับชื่อไม้ยืนต้นน่ะครับ
ส่วนใหญ่เรียกทับศัพท์  เห็นมีบางทีที่เรียก เทพทาโร น่ะครับ
ชื่อชนิดจริง ๆ เลยไม่รู้ว่าอะไร สงสัยยังไม่มีคนศึกษาจริง ๆ จัง ๆ น่ะครับ
เพราะมันหายาก
ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 2.1.1

ขอบคุณครับ

เท่าที่ค้นได้  ได้ข้อมูลมาจากสำนักงานหอพรรณไม้  สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าและพันธุ์พืช

ชื่อ          เทพทาโร  Ceropegia  amottiana  Wight

ชื่อพ้อง      Ceropegia  sootepensis   Craib  

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ    มะเขือแจ้ดิน  มะมุยดอย   ว่านสามพี่น้อง

นิเวศวิทยา    พบตามที่พื้นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง  ความสูงจากระดับน้ำทะเล

                 ๓๐๐ -  ๙๐๐  เมตร



ความเห็นที่ 2.1.1.1

ขอบคุณครับ

กล้วยไม้เงียบสนิท หุหุ

ความเห็นที่ 2.1.1.2

พืชสกุล Ceropegia มีทั้งหมดประมาณ 200 กว่าชนิดทั่วโลก
ส่วนเมืองไทยยังไม่มีความชัดเจนในข้อมูลด้านอนุกรมวิธาน แต่มีคนทำพืชวงศ์นี้คือ
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ 

ส่วน Ceropegia amottiana Wight กับ Ceropegia sootepensis Craib  เป็นพืชคนละชนิดกันครับ http://www.theplantlist.org/browse/A/Apocynaceae/Ceropegia/

ความเห็นที่ 2.1.1.2.1

"ส่วนเมืองไทยยังไม่มีความชัดเจนในข้อมูลด้านอนุกรมวิธาน"
น่าสนใจมาก  .....  ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ