งูเขียวหางไหม้ชนิดใดครับ

..สวัสดีครับ เป็นกระทู้ที่สองของผมหลังจากกระทู้แรกได้เอาภาพงูที่ถ่ายได้จากที่ทำงานลงสอบถามชื่อและชนิดของงูไปแล้ว มาครั้งนี้ก็ขอเอาภาพงูเขียวหางไหม้ที่ถ่ายได้จากที่ทำงานเหมือนกันมาสอบถามเหมือนเดิมครับ บริเวณที่ทำงานผมจะเจอบ่อยมากโดยเฉพาะช่วงเย็นๆหลังฝนตก จะเจอเลื้อยออกมาบนถนนอยู่เป็นประจำ แต่ภาพนี้ถ่ายเก็บมาได้หลายปีแล้วครับเพราะว่าเพิ่งเคยเห็นครั้งแรกก็เลยถ่ายเก็บไว้และก็รู้เพียงว่าเป็นงูเขียวหางไหม้แต่ไม่ทราบชนิดครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

ส่วนตัวนี้เป็นปาดชนิดใดครับ จากที่ทำงานเช่นกันครับ
pa25495.jpg

ความเห็นที่ 2

งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง เพศผู้ครับ

ความเห็นที่ 2.1

..ขอบคุณครับ..

ความเห็นที่ 3

งูจากที่ไหนหรือครับ แต่ไม่ได้มาจากภาคกลางแน่ๆ หน้าตาแบบนี้

ความเห็นที่ 3.1

..ได้มาจากป่าทางทิศตะวันออกของประเทศลาวครับ พอดีว่าผมไปทำงานที่นั่นครับ โดยปกติแล้วจะออกหากินตอนกลางคืนเหรอครับ เพราะว่าช่วงกลางก็ไม่ค่อยพบเจอ..

ความเห็นที่ 4

พากลับไทยเลย cheeky

ความเห็นที่ 4.1

เอาอย่างนั้นเลยหรือครับ ผมกลัวจะโดนจับคาด่านตรวจคนเข้าเมืองเพราะงูตัวเดียวนี่แหละ..crying

ความเห็นที่ 5

ปกติหากินกลางคืนครับ ถ้าอยากเจอตอนกลางวันก็ต้องไปเหล่ๆตามต้นไม้พุ่มโปร่งๆขนาดกลางๆน่ะครับ นอนสูงจากพื้นประมาณสองถึงสามเมตร

ความเห็นที่ 5.1

แล้วชนิดนี้มีพิษรุนแรงถึงเสียชีวิตหรือไม่ครับ แต่ที่ผ่านๆมาก็ไมได้ยินว่าชาวบ้านแถบนี้ถูกงูกัดเสียชีวิตเลยนะครับ หรือว่างูอาจจะโดนชาวบ้านตีตายเสียก่อนก็ไม่รู้ครับ

ความเห็นที่ 6

ปกติไม่ถึงตาย แต่ปวดบวมมากครับ

ความเห็นที่ 6.1

ถ้าอย่างนั้นเราก็จะแยกประเภทของงูเขียว(ลำตัวสีเขียว)เป็น 2 ประเภทคือมีพิษ ได้แก่งูเขียวหางไหม้ชนิดต่างๆ กับไม่มีพิษ เช่น งูเขียวปากจิ้งจก งูเขียวพระอินทร์ ฯลฯ ใช่หรือไม่ครับ และในประเภทมีพิษก็แยกออกเป็นพิษรุนแรงถึงตายกับพิษอ่อน หรือไม่อย่างไรครับ และในประเทศไทยมีงูเขียวหางไหม้ชนิดใดบ้างที่อยู่ในประเภทนั่นๆ เพราะที่ผ่านมาผมก็เข้าใจว่าถ้าเป็นงูเขียวหางไหม้จะกัดคนตายเหมือนกับงูเห่าหรืองูจงอาง

ความเห็นที่ 6.1.1

ขออัญเชิญเทพน็อต มาแก้ไขโดยด่วน crying

ความเห็นที่ 7

ว่าแต่..ความเข้าใจดังกล่าวมาจากฐานข้อมูลอันใดหนอ ส่วนตัวผมเองไม่แนะนำให่จำแนกกลุ่มตามสีเลยครับ เพราะไม่มีประโยชน์ แล้วยังอาจทำให้เข้าใจผิดมากขึ้นจนอาจเป็นอันตราย

เอาสั้นๆก่อนว่า กลุ่มเขียวหางไหม้ (ซึ่งไม่ได้ตัวเขียวซะทุกชนิด) พิษอ่อน แต่มีความระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป โดยรวมแล้วไม่ถึงตาย ยกเว้น เคสพิเศษอันเนื่องมาจากตัวผู้ป่วยเอง ในกรณีงูกะปะซึ่งเป็นกลุ่มใกล้เคียงเขียวหางไหม้ และตัวไม่เขียว พิษก็ไม่ถึงตายแต่อันตรายมากในแง่ผลต่อเนื่องจากการถูกกัด

งูที่สีเขียวอื่นๆ มีทั้งงูพิษอ่อน และไม่มีพิษ แต่ไม่มีความสำคัญทางการแพทย์ เพราะไม่ได้อันตรายต่อคน

งูที่พิษที่ถึงตาย ก็จำไปเป็นกลุ่ม ดังนี้
-กลุ่มงูจงอาง ได้แก่ งูจงอาง
-กลุ่มงูเห่า ได้แก่ งูเห่าไทย งูเห่าพ่นพิษสีน้ำตาล งูเห่าพ่นพิษสีทอง
-กลุ่มสามเหลี่ยม ได้แก่ งูสามเหลี่ยม งูสามเหลี่ยมหัวแดง งูทับสมิงคลา
-กลุ่มงูปล้องหวาย ได้แก่ งูปล้องหวายหัวดำ งูปล้องหวายมลายู งูปล้องหวายลายขวั้น งูพริกท้องแดง งูพริกสีน้ำตาล (งูกลุ่มนี้เจอได้ยาก ตัวเล็ก ไม่ค่อยกัด โดยกัดก็ไม่ค่อยตาย แต่ถ้าโดนเต็มๆก็ตายได้)
-กลุ่มงูแมงเซา ได้แก่ งูแมวเซา
-กลุ่มงูทะเล ได้แก่ งูทะเลชนิดต่างๆ
-กลุ่มงูเขี้ยวพิษใต้ตา ได้แก่ งูลายสาบคอแดง แล้วขอเพิ่มการเฝ้าระวังเนื่องจากยังไม่มีข้อมูล หรือยังสับสน เช่น งูรังแหหลังศร งูรังแหหัวแดง งุลายสาบเขียวขวั้นดำ งูลายสาบจุดขาว ด้วยพวกนี้ไม่ค่อยกัด ทำให้ไม่มีข้อมูลพิษที่ชัดเจน ส่วนลายสาบคอแดง ยืนยันว่าถ้าโดนเต็มๆก็อันตรายมากจริงๆ และมีคนตายแล้ว

ลป. ลองเอาชื่องูไปสืบค้นข้อมูล แล้วพิจารณาแหล่งข้อมูลต่างๆที่เข้าไปดูด้วย
ลป.2 พิมพ์สั้นไปไหมเนี่ย 

ความเห็นที่ 7.1

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลที่อธิบายมาให้นี้คือเนื่องจากว่าผมไม่ได้ศึกษาและมีความรู้ในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับงูแต่ละกลุ่มแต่ละชนิดตามที่ทางคุณknotsnake อธิบายมาจึงทำให้ผมเข้าใจผิดคิดว่างูที่มีพิษเวลาที่ถูกกัดแล้วจะถึงตายได้ครับ แต่หลังจากได้อ่านข้อมูลนี้แล้วก็ทำให้พอรู้และเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องมากขึ้น และก็จะพยายามหาความรู้เพิ่มเติมต่อไปครับ

ความเห็นที่ 8

เป็นเรื่องปกติครับ อย่าได้กังวลเลย เพราะต่างล้วนถูกปลูกฝังให้กลัวงูมาทั้งนั้น (ผมด้วย) เพียงแต่ผมได้มีโอกาสสัมผัส และหาคำตอบที่ผมสงสัยมาเท่านั้นเอง ที่จริงผมขอแค่ให้คนอื่นๆอยู่ร่วมโลกกับงูได้ก็พอแล้ว ซึ่งต้องมีความเข้าใจนิสัยเบื้องต้นของงูพอสังเขป ก็ไม่ต้องเข้าใจมากมายอะไร แค่เหมือนๆกับที่เราเข้าใจหมา แมว ปลา เสือ ช้าง แพนด้า ก็พอแล้ว (ว่าแต่สัตว์ข้างต้นก็มีความเข้าใจผิดกันไม่น้อยเหมือนกัน แต่ยังรู้สึกอยากอนุรักษ์มันไว้)