ทับสมิงคลากับปล้องฉนวน

ดูจากรูปเปรียบเทียบที่เสาวภา ผมเคยนึกว่าจำแนกง่าย แต่จริงๆไม่ง่ายเลยครับ
http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G11345558/G11345558.html

Comments

ความเห็นที่ 1

ดูจากรูปเหมือนกับว่าง่าย?แค่ปล้องฉนวนหัวขาว ทับสมิงคลาหัวดำ?แต่...พอค้นดูจาก google ไปเจอรูปงูปล้องฉนวนบางตัวมีหัวสีเทา ซึ่งเจ้าตัวที่เจอ มันก็มีหัวสีออกเทา ไม่ดำสนิทเท่าไหร่ แถมยังเป็นงูขนาดเล็ก ตัวกว้างเท่าปากกา
http://www.barascientific.com/bscnews/variety/mail-forward/Article-09-06.php


wnake.jpg

ความเห็นที่ 2

ครั้น จะบอกว่า ปล้องฉนวนมีแถบสีดำกว้าง แถบสีขาวแคบ ส่วนทับสมิงคลาขนาดของแถบเท่ากัน? > มันก็ยังไม่ชัวร์อีกนั่นแหละ เพราะทับสมิงคลาบางตัวก็มีแถบสีดำกว้างกว่าปกติเช่นกัน แถมทับสมิงคลาวัยเด็กก็มีหัวหลิมคล้ายปล้องฉนวน
http://www.siamreptile.com/webboard/webboard_show.php?id=60241
(งูตัวอย่างที่ผมเจอ มีแถบสีดำกว้างกว่าแถบขาวอย่างชัดเจน)




bluekrait.jpg

ความเห็นที่ 3

สุดท้ายผมลองเสี่ยงแหวกปากมันดู(กลัวเขี้ยวมันตำนิ้วเอาเหมือนกัน) เจอเขี้ยวที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่สองเขี้ยวด้านหน้า เลยฟันธงว่าเป็นทับสมิงคลา แล้วก็เป็นจริงตามนั้น พอผ่านไปครึ่งชั่วโมง คนโดนกัดเริ่มหายใจแผ่วจนต้องใส่ Tube(แต่ถึงรู้เร็วกว่านี้ก็ไม่มีเซรุ่ม ใน รพ.อยู่ดี) ตอนนี้ refer ไปสระบุรี

ความเห็นที่ 3.1

งูกลุ่มนี้กัด ทำให้เป็น somby ได้อย่างกรณิ Slowinski ที่ไปเสียในพม่า

ความเห็นที่ 4

ไปอ้างที่อื่นมาหมดเลย ไม่อ้างของเรานิ! ที่นี่มีคำตอบครับ

http://www.siamensis.org/species_index#2830--Species:%20Bungarus%20candidus

ความเห็นที่ 5

ขอบคุณครับ...

ความเห็นที่ 6

เคยอ่านในบอร์ดนี้ว่า ทับสมิงคลาหลังจะเป็นสันชัดเจนเหมือนงูสามเหลี่ยม อันนี้จะใช้ ID ได้หรือเปล่าครับ

ความเห็นที่ 6.1

ผมก็ใช้ข้อนี้สังเกตุเหมือนกัน...

ความเห็นที่ 6.2

ใช้ข้อสังเกตในส่วนเกล็ดกลางหลังใหญ่เป็นสัน และมีสีดำแซมบางๆในส่วนแถบลายขาวได้ครับ
(แต่ลูกงูจะกลมๆไม่เห็นเป็นสันชัดเจนนะครับ) แต่ก็มีข้อยกเว้นในส่วนงูที่คล้ายกันมาก 
(มากกว่าปล้องฉนวนชนิดอื่น) คืองูปล้องฉนวนกินงู ที่เกล็ดกลางหลังเป็นสัน และมีลายดำแซม
ตรงส่วนพาดขาวชัดเจนเหมือนกัน ที่เห็นชัดๆคือทรงหัวที่เป็นปล้องฉนวน 
(แต่ชนิดนี้คงไม่เจอกันบ่อยๆกระมัง) คนแยกได้คงต้องผ่านตากันมาประมาณนึง

ความเห็นที่ 6.2.1

เอาเป็นแบบว่าทั้งสองชนิด ไม่ควรเข้าใกล้ในระยะที่พอฉกได้ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด(เพราะแยกยาก)เพราะในช่วงเวลาสั้นๆ คงดูกันไม่ทันแน่เลย โผล่มาให้เห็นแล้วจากไปในช่วงเวลาไม่กี่นาที

ความเห็นที่ 6.2.2

กลุ่มปล้องฉนวนบ้าน (Lycodon subcinctus-group) กลุ่มปล้องฉนวนเขาสูง (L. fasciatus-group) และกลุ่มปล้องฉนวนจีน (L. ruhstrati-group) เกล็ดหลังมีสันครับ จะชัดมากน้อยแค่ไหนค่อยว่ากันอีกที

ส่วนเกล็ดแนวสันหลัง (ไม่ได้แปลว่าเกล็ดหลังเป็นสัน) ของกลุ่มทับสมิงคลา หรือสามเหลี่ยม (สกุล Bungarus) พอพ้นช่วงคอไปแล้ว เกล็ดแนวดังกล่าวมีขนาดและรูปร่างต่างจากเกล็ดแถวอื่นๆของตัวชัดเจนจนไม่ต้องสังเกตอะไรมากเลยครับ ส่วนการยกสันเล็กน้อยอาจไม่ชัดเจนนักในงูทับสมิงคลาวัยเด็ก หรือตัวโตแล้วแต่อ้วนๆ ส่วนเรื่องสีหัวงูมีความผันแปรตามช่วงวัยทั้งทับสมิงคลาและปล้องฉนวนคู่แฝดครับ ดูเกล็ดสันหลังง่ายที่สุดครับ (แต่อย่ามีใครเอางูหน้าตาประมาณนี้จากอัฟริกามาปนนะ เพราะมันตรงข้ามกันเลยในเรื่องเกล็ดกลางหลัง)

ความเห็นที่ 7

การเปรียบเทียบ เราควรหาจุดเปรียบเทียบหลายจุดครับ เพื่อใช้ยืนยัน โดยเฉพาะเมื่อเจอลักษณะที่ผิดปกติ แต่จากประสบการณ์ ผมไม่เคยเจอลักษณะที่ผิดปกติของจุดสังเกตของผมได้ทั้งหมด และเราควรทราบลักษณะพื้นฐานของงูพิษแต่ละกลุ่มว่ามีลักษณะจำแนกที่สำคัญอะไรบ้าง ตามด้วยลักษณะที่สังเกตได้ง่าย ซึ่งการตัดสินใจผมให้น้ำหนักลักษณะพื้นฐานเป็นหลักหากลักษณะสังเกตขัดแย้งกับลักษณะพื้นฐานที่ควรจะเป็น ลองสังเกตดีๆครับ งูคู่นี้จำแนกง่ายกว่าที่คิด หากพิจารณาสักนิด ไม่ใช่เห็นปุ๊บคว้าปั๊บแล้วบอกว่าเป็นงูปล้องฉนวน (แท้จริงเป็นทับสมิงฯ) เหมือนเคสที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกที่เคยทราบ

ความเห็นที่ 8

เพิ่งรู้เรื่องเกล็ดหลังเมื่อวานนี้เองครับ ปกติผมจะถามอาจารย์กู๋ก่อน เพราะหาคำตอบง่ายและเร็วดี แต่ความละเอียดอาจไม่มากพอ

*อันนี้งูตัวอย่างครับ* จาก ต.วังเพลิง อ.โคกสำโรง ลพบุรี

krait.jpg

ความเห็นที่ 9

มีพิษด้วย น่ากลัว