จัดประกวด: สุดยอดภาพความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมของไทย
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 13 ธันวาคม 2555
เป็นประจำทุกปีนะครับที่เราจะจัดประกวดภาพถ่ายกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ความสนุกสนาน
2. หาภาพไปใส่ Species Index
3. หาภาพมาทำปฏิทิน
ปีนี้ก็อีกเช่นเคยครับ หัวข้อก็ตามหัวเรื่อง เหมือนเดิมครับ ภาพตัวอะไรก็ได้ จากที่ไหนก็ได้ ขอให้อยู่ในเขตประเทศไทยและเป็นชนิดท้องถิ่นดั้งเดิมของไทย ภาพไหนแสดงให้เห็นถึงความสวยงามและความสำคัญได้ตามหัวข้อประกวดมากที่สุดก็ชนะไป กรรมการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสิน ห้ามงอนนะจ๊ะ (ปีนี้ขอภาพสิ่งมีชีวิตอย่างเดียวเน้นๆนะครับ จะเป็นสัตว์เป็นพืชได้หมด คือพอประกวดปนกันมีวิวด้วยแล้วตัดสินยากจัง)
กติกา
1. ส่งได้คนละ 3 ภาพ ขอเด็ดๆเลยครับ
2. ขอชื่อที่อยู่ผู้ถ่ายภาพ ชนิดที่ถ่าย สถานที่ และ ถ้าเป็นไปได้รบกวนบรรยายอารมณ์ในจังหวะที่ถ่าย หรือบรรยายให้เห็นถึงความสำคัญของภาพด้วยจะได้คะแนนพิเศษ (ของหายากมีคะแนนพิเศษให้ด้วย)
3. ขนาด ความยาว 800 pixel ความสูงก็ตามความเหมาะสม
4. หมดเขตส่งวันที่ 13 มกราคม 2556 (ทริปปีใหม่จัดกันมานะครับ เผื่อให้แล้ว)
ของรางวัล หนังสือ 2 เล่มนี้ทรงคุณค่ามากทั้งสองเล่ม จนผมไม่แน่ใจว่าเล่มไหนควรจะเป็นรางวัลที่หนึ่งหรือสอง ดังนั้น ใครชนะให้สิทธิ์เลือกแล้วกันครับว่าอยากได้เล่มไหน
เล่มแรก หนังสือ 50 ปีอุทยานแห่งชาติ ครับ เล่มนี้จัดพิมพ์จำนวนไม่มาก ด้านในก็เป็นดังในภาพ เล่มนี้มีตังค์ก็ไม่มีขาย
เล่มที่สอง หนังสือ "เสือ" พร้อมลายเซ็นของผู้เขียนทั้ง 3 ท่าน และ มล.ปริญญากร วรวรรณ ผู้ถ่ายภาพ มีตังค์หาซื้อได้ แต่จะหาเล่มที่มีลายเซ็นครบ คงหาไม่ง่ายครับ ด้านในแน่นด้วยภาพสวยๆและข้อมูลของเสือที่น่าสนใจมากมาย
รางวัลที่ 3 เป็นเสื้อคอปก siamensis แล้วกันนะครับ!
1. ความสนุกสนาน
2. หาภาพไปใส่ Species Index
3. หาภาพมาทำปฏิทิน
ปีนี้ก็อีกเช่นเคยครับ หัวข้อก็ตามหัวเรื่อง เหมือนเดิมครับ ภาพตัวอะไรก็ได้ จากที่ไหนก็ได้ ขอให้อยู่ในเขตประเทศไทยและเป็นชนิดท้องถิ่นดั้งเดิมของไทย ภาพไหนแสดงให้เห็นถึงความสวยงามและความสำคัญได้ตามหัวข้อประกวดมากที่สุดก็ชนะไป กรรมการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสิน ห้ามงอนนะจ๊ะ (ปีนี้ขอภาพสิ่งมีชีวิตอย่างเดียวเน้นๆนะครับ จะเป็นสัตว์เป็นพืชได้หมด คือพอประกวดปนกันมีวิวด้วยแล้วตัดสินยากจัง)
กติกา
1. ส่งได้คนละ 3 ภาพ ขอเด็ดๆเลยครับ
2. ขอชื่อที่อยู่ผู้ถ่ายภาพ ชนิดที่ถ่าย สถานที่ และ ถ้าเป็นไปได้รบกวนบรรยายอารมณ์ในจังหวะที่ถ่าย หรือบรรยายให้เห็นถึงความสำคัญของภาพด้วยจะได้คะแนนพิเศษ (ของหายากมีคะแนนพิเศษให้ด้วย)
3. ขนาด ความยาว 800 pixel ความสูงก็ตามความเหมาะสม
4. หมดเขตส่งวันที่ 13 มกราคม 2556 (ทริปปีใหม่จัดกันมานะครับ เผื่อให้แล้ว)
ของรางวัล หนังสือ 2 เล่มนี้ทรงคุณค่ามากทั้งสองเล่ม จนผมไม่แน่ใจว่าเล่มไหนควรจะเป็นรางวัลที่หนึ่งหรือสอง ดังนั้น ใครชนะให้สิทธิ์เลือกแล้วกันครับว่าอยากได้เล่มไหน
เล่มแรก หนังสือ 50 ปีอุทยานแห่งชาติ ครับ เล่มนี้จัดพิมพ์จำนวนไม่มาก ด้านในก็เป็นดังในภาพ เล่มนี้มีตังค์ก็ไม่มีขาย
เล่มที่สอง หนังสือ "เสือ" พร้อมลายเซ็นของผู้เขียนทั้ง 3 ท่าน และ มล.ปริญญากร วรวรรณ ผู้ถ่ายภาพ มีตังค์หาซื้อได้ แต่จะหาเล่มที่มีลายเซ็นครบ คงหาไม่ง่ายครับ ด้านในแน่นด้วยภาพสวยๆและข้อมูลของเสือที่น่าสนใจมากมาย
รางวัลที่ 3 เป็นเสื้อคอปก siamensis แล้วกันนะครับ!
ผู้ต้องการส่งภาพเข้าประกวด ลงไว้ในกระทู้นี้ได้เลยครับ!
Comments
ความเห็นที่ 1
ว่าแต่จะหารูปอะไรเด็ดๆ อะไรมาประกวดกับเค้าได้เปล่าไม่รู้
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 4.1
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ปูแมงมุมน้ำจืด ว่ากันว่าพบมากตามรากผักตบชวา แต่ผมหามาหลายกอไม่เจอซะที อยากลองดูวิถีชีวิตของมันเหลือเกิน ตัวนี้จึงซื้อมาจากร้านขายปลา
ในสถานที่เลี้ยง บางคนว่ามันเลี้ยงยาก และต้องบดอาหารแล้วพ่นให้มันกิน บางคนว่าในธรรมชาติมันกินตะกอน สำหรับตัวที่ผมเลี้ยง ผมเลี้ยงไว้ในตู้จำลองระบบนิเวศ แบบพื้นดิน (ดินจริงๆ)
สิ่งที่เห็นคือ วันแรกเห็นมันเกาะไม้ที่มีตะไคร่เยอะๆ แถมบังเอิญมีพลานาเลียผ่านหน้ามัน มันจับกินกินด้วย หลังจากนั้น กลางวันจะไม่เห็นมันเลย แต่กลางคืนมักเห็นอยู่ตามโคนไม้น้ำ หลบอยู่ตามซอกดิน ซอกหิน ตะไคร่ เก็บเศษซากกินไปเรื่อย ไม่มีโอกาสได้ถ่ายรูปอีกเลย
ปล. ไม่มีภาพเด็ดๆจากที่ไปเที่่ยวเก็บไว้เลยครับปีนี้
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
ส่งมั่ง
ความเห็นที่ 9.1
ความเห็นที่ 9.1.1
เป็นร่องน้ำเล็กๆเป็นหาดทราย แต่ลึกเข้าไปน่าจะเป็นป่าชายเลนครับ มันมืดเลยไม่ได้เดินเข้าไปดูครับ
ความเห็นที่ 9.2
ความเห็นที่ 10
ชนิด แมลงปอเข็มน้ำตกดอยปีกใส (Bayadera hyalina Selys, 1891)
สถานที่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่
ข้อมูล แมลงปอเข็มน้ำตกดอยปีกใส ถือเป็นแมลงปอที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable (Vu D2)) มีรายงานการพบ(อย่างเ็ป็นทางการ)เพียงในประเทศอินเดียและประเทศไทย ในประเทศไทยเองก็พบได้เพียง 2 จังหวัดเท่านั้น แม้จะพบอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ แต่พื้นที่อาศัยที่มีขนาดเล็กและการพัฒนาภายในพื้นที่อนุรักษ์รวมถึงการตัดไม้ทำลายอาจส่งผลให้แมลงปอชนิดนี้สูญพันธุ์ในอนาคตได้ [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.iucnredlist.org/details/163617/0]
ความเห็นที่ 10.1
ปล. รอประเมินสถานการณ์สักระยะ อิอิ
ความเห็นที่ 10.2
ความเห็นที่ 10.2.1
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 12
ชนิด: อึ่งกรายห้วยใหญ่ Xenophrys major
สถานที่: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.นครสวรรค์
ข้อมูล: อึ่งกรายตัวนี้ เป็นอึ่งกรายตัวแรกที่ผมพึ่งเคยเจอ จึงรู้สึกตื่นเต้นมาก และเป็นสกุลที่ผมชอบมากๆด้วยครับ ด้วยบรรยากาศรอบๆ ไม่ว่าจะดูรูปกี่ครั้ง ก็ยังคิดถึงช่วงเวลาที่ได้ถ่ายรูปใบนี้
ความเห็นที่ 12.1
ความเห็นที่ 12.1.1
ความเห็นที่ 12.2
ความเห็นที่ 12.3
ความเห็นที่ 12.3.1
ความเห็นที่ 13
ชนิด เต่ากระ ( Hawksbill Seaturtel ) ชื่อวิทย์ Eretmochelys imbricata
สถานที่ เกาะห้า อุทยานแห่งชาติ เกาะสิมิลัน
ข้อมูล เต่ากระตัวกำลังน่ารัก ว่ายน้ำเล่นป๋อมแป๋มอยู่ใต้ท้องทะเลที่ระดับความลึกประมาณ 8 เมตร การว่ายน้ำไปข้าง ๆ เขา โดยการทิ้งระยะที่เหมาะสม ทำให้เรากับเขา เป็นเหมือนเพื่อนใต้ท้องทะล ผมว่ายและดำ ( สนอคเกิลน่ะครับ ) ตามคุณเต่าไปเรื่อย ๆ ช้า ๆ กว่าครึ่งชั่วโมง ดำผุดดำว่ายลงไปถ่ายรูปก็หลายครั้ง ภาพนี้ น่ารักกว่าเพื่อน เหมือนเต่ากระกำลัง บิ้นนนนนนนนนนนนน
......สถานะภาพเต่าทะเลในไทยน่าเป็นห่วงทั้งหมด นับว่าจะหาได้อยาก พบได้บ้างตามเขตอนุรํกษ์ทางทะเล เต่ากระเป็นเต่าที่ชอบดำน้ำ กินสารหร่ายและปะการังอ่อนใต้ทะเลมากกว่าที่จะขึ้นมาโชว์ตัวเหนือผิวน้ำอย่างเต่าตนุ
ความเห็นที่ 13.1
http://www.siamensis.org/species_index#7637--Species:%20Eretmochelys%20i...
ความเห็นที่ 13.2
ความเห็นที่ 14
Trumpetfish (Aulostomus maculatus) ปลาปากแตร
หินม้วนเดียว Anita's Reef, Similan National Park
เป็นปลาที่ชอบพรางตัวตามพุ่มกัลปังหาครับ ซึ่งเวลามองใต้น้ำมันค่อนข้างจะดูกลมกลืนอย่างมาก กินปลาเล็กเช่นพวก wrasse เป็นอาหาร ผมไปเจอเจ้าตัวนี้ซ่อนตัวอยู่ในพุ่ม gorgonian seafan ที่ความลึกราว 12 เมตร ตอนแรกกะจะไม่ถ่ายแล้วเพราะว่าอยู่ลึกในพุ่มกัลปังหากลัวจะทำหัก แต่เปลี่ยนใจมาเฝ้ารอจนมันออกมาเอง เสียดายอากาศเหลือเกิน
ความเห็นที่ 14.1
ความเห็นที่ 14.1.1
ความเห็นที่ 14.1.1.1
ความเห็นที่ 14.2
ความเห็นที่ 15
ชื่อสามัญ: Brown Wood Olw
ชื่อวิทยาศาสตร์: Strix leptogrammica
สถานที่: อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ข้อมูล: ภาพนี้เป็นภาพที่ผมใช้เวลาในการถ่ายสั้นมากๆ ในตอนแรกก็ได้ยินเสียงที่ฟังดูน่ากลัวจากป่าข้างทาง พี่ของผมตัดสินใจเดินตามเสียงเข้าไปเพื่อหาต้นตอของเสียง และก็พบกับเจ้านี่เกาะอยู่ พวกผมก็เลยเดินตามเข้าไปในป่าที่ไม่รู้ว่าจะมีอะไรอยู่ที่พื้นบ้างเพราะต้องอยู่ในสภาพที่มืดมิด แสงเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้นกตกใจและบินหนีไปได้ ผมจึงรอจังหวะจากพี่ของผม เมื่อจังหวะลงตัวผมก็รีบกดชัตเตอร์ลงไปให้ไวที่สุด โฟกัสได้หรือไม่ได้ก็ยังไม่รู้ขอแค่กดไปก่อน ซึ่งก็ได้เป็นภาพนี้ออกมา มันเป็นประสบการณ์ดีๆที่น่าจดจำมากสำหรับผม.
ความเห็นที่ 15.1
ความเห็นที่ 15.1.1
ความเห็นที่ 15.1.2
ความเห็นที่ 15.1.3
ความเห็นที่ 15.1.3.1
ความเห็นที่ 15.1.3.1.1
ความเห็นที่ 15.1.3.1.1.1
ความเห็นที่ 15.1.3.1.2
ความเห็นที่ 15.1.3.2
ความเห็นที่ 16
Hooded pitta Peninsular Thailand
ความเห็นที่ 17
ชนิด:งูเขียวพระอินทร์
Golden tree snake
Chrysopelea ornata
สถานที่ :อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
คำอธิบาย:ยามเช้าหลังฝนตกในค่ำคืนที่ผ่านมา งูเขียวพระอินทร์ตัวนี้ออกมาผึ่งแดดบนหินก้อนใหญ่ โดยไม่ได้กลัวคนที่ผ่านไปผ่านมาเลย ผมโคสอัพเข้าไปใกล้มาก เจ้างูน้อยคงตกใจพยายามทำตัวเองให้ใหญ่โตโดยการชูคอดั่งงูเห่าแผ่แม่เบี้ย แต่หารู้ไม่ว่า ยิ่งทำยิ่งดูน่ารักมากกว่า
ความเห็นที่ 18
ชื่อชนิด:ค้างคาวกินผลไม้ไม่ทราบชนิด
สถานที่:อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
คำอธิบาย:ขณะที่เดินดูนกตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติดงมะไฟ ในอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ผมเห็นสิ่งหนึ่งบินผ่านหน้าผมไปอย่างช้า ๆ ผมหยุดดูและรอให้มันบินไปเกาะต้นไม้ข้าง ๆ และนั่นคือค้างคาวกินผลไม้ขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ผมไม่รอช้ารีบเก็บภาพไว้ทันทีเพราะไม่ง่าย ที่จะพบค้างคาวในป่าในตอนกลางวัน
ความเห็นที่ 19
ชนิด:กิ้งก่าเขาสูงเกล็ดใหญ่
สถานที่:ดอยลาง
คำอธิบาย:ขณะเดินดูนกดอยลางนั้นผมสังเกตุเห็นกิ้งก่าตัวหนึ่งนอนแน่นิ่งอยู่กลางถนนที่ตัดผ่านไปตามสันเขาสูงในป่า ผมเดินเข้าไปใกล้มาก น่าแปลกที่มันไม่ขยับเลย ตอนแรกคิดว่าตายเสียแล้วแต่จริง ๆ ไม่ครับ มันยังหายใจทุกอย่างสมบูรณ์ 100% มันเป็นกิ่งก่าที่สวยงามมากชนิดหนึ่งที่ผมเคยพบมาในประเทศไทย
ความเห็นที่ 20
ความเห็นที่ 20.1
ความเห็นที่ 20.1.1
ความเห็นที่ 21
ถ้าถ่ายสัตว์ไทยจากลาว ได้มั้ย???
ความเห็นที่ 22
ชนิด แมงมุมตาหกเหลี่ยม Oxyopes lineatipes กับผึ้งไม่ทราบชนิดและแมลงหวี่แมลงวันไม่ทราบชนิด
สถานที่ จ.ลพบุรี
ข้อมูล ในขณะที่ผมมองหาแมลง ผมได้พบแมงมุมตัวหนึ่งที่ล่าเหยื่อได้ อยู่บนดอกโหระพา ผมเห็นว่าสวยดีจึงได้ถ่ายภาพเอาไว้ เมื่อกลับมาดูภาพที่ถ่ายได้ พบว่ามีแมลงอื่นๆติดอยู่ในภาพอยู่ด้วยมากถึง 4 ตัว เป็นอะไรที่แปลกจริงๆ
ความเห็นที่ 23
ชนิด: แมงมุมปูคล้ายมดแดง Amyciaea forticeps
สถานที่: จ.จันทบุรี
ข้อมูล: ภาพนี้หากมองผิวเผินอาจดูเหมือนมดแดงกำลังกินกันเอง แต่หากลองสังเกตให้ดีจะพบว่าผู้ล่ากลับเป็นแมงมุมปูที่มีสีสันและลักษณะคล้ายมดแดงมากทีเดียว นักล่าจอมปลอมตัวนี้มีสีส้ม ขายาว และมีจุดสีดำบริเวณส่วนท้องคล้ายตาของมดแดง จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่มันสามารถแฝงกายเดินปะปนอยู่ในกลุ่มมดแดงซึ่งเป็นเหยื่อชนิดหลักของมันได้ ในขณะที่แมงมุมที่มีลักษณะคล้ายมดส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากการป้องกันภัยเมื่ออาศัยอยู่ใกล้ฝูงมด แต่เจ้าแมงมุมปูคล้ายมดแดงกลับใช้ผู้คุ้มกันภัยอย่างมดแดงเป็นเหยื่ออีกต่อหนึ่ง ในซีกโลกใต้ซึ่งมดแดงมีสีเขียว แมงมุมปูกลุ่มนี้ก็มีสีเขียวด้วยเช่นกัน นับเป็นวิวัฒนาการร่วมที่แสนอัศจรรย์ในโลกใบเล็กรอบๆตัวของเรา
ความเห็นที่ 23.1
ความเห็นที่ 23.1.1
ความเห็นที่ 23.2
ความเห็นที่ 24
ชนิด: จิ้งจกนิ้วยาว Cnemaspis sp.
สถานที่: แก่งกระจาน เพชรบุรี
ข้อมูล: พบขณะที่กำลังเดินสำรวจกล้วยไม้ บริเวณโคนต้นไม้ที่มีใบไม้ร่วง เมื่อแรกพบก็คิดว่าคงเป็นพวกจิ้งจกธรรมดา แต่พอพิจารณาดูก็ เอ๊ะ!! ด้านบนลำตัวมีสองสี พลิกดูด้านท้องก็มีสองสี เลยจัดการถ่ายภาพแล้วส่งมายังบอร์ดฯ เลยรู้ว่าเจ้าตัวนี้ไม่ธรรมดา..
ความเห็นที่ 24.1
ความเห็นที่ 24.1.1
ความเห็นที่ 25
ชนิด: สิงโตพะเนินทุ่ง Bulbophyllum sillenianum Rchb.f
สถานที่: แก่งกระจาน เพชรบุรี
ข้อมูล: ขณะเดินเก็บตัวอย่างพรรณไม้ เหลือบไปเห็นกล้วยไม้ดอกสีเหลืองอ่อนๆ อยู่บนต้นไม้ในระยะที่ไม่สูงนัก จึงเก็บลงมาตรวจดู เมื่อแรกเห็นตรงบริเวณกลีบปากที่มีสีม่วงแดง ความรู้สึกลึกๆ บอกกับตัวเองเลยว่า กล้วยไม้ชนิดนี้ ใหม่แน่นอน!! แต่ในระดับไหนยังไม่รู้ เมื่อส่งตัวอย่างไปตรวจสอบที่หอพรรณไม้ พบว่าเป็นกล้วยไม้ชนิดใหม่ของไทย จึงให้ชื่อว่า สิงโตพะเนินทุ่ง พบเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554
ความเห็นที่ 25.1
ความเห็นที่ 25.2
ความเห็นที่ 26
ชนิด: Brown-headed Gull
สถานที่: Bangpoo Recreation Center, Samutprakarn
ข้อมูล: เป็นถิ่นของเขาอยู่แล้วครับ... ไม่ได้แปลกใหม่ แต่ชอบรูปนี้เฉยๆ
ความเห็นที่ 26.1
ชนิด: Hog deer (Axis porcinus)
สถานที่: -
ข้อมูล: -
ความเห็นที่ 27
ชนิด: Peacock (Pavo sp.)
สถานที่: -
ข้อมูล: -
ความเห็นที่ 28
ชนิด : คาดว่าเป็น Naticidae แต่ผมยัง ID ไม่ได้ครับ
สถานที่ : แพปลาภูเก็ต
ข้อมูล : ผมพบหอยตัวนี้ยังมีชีวิตอยู่ในกองปลาไก่บนเรืออวนลากขนาดเล็กที่วิ่งอยู่ในทะเลไทยฝั่งอันดามันซึ่่งจอดเทียบท่าอยู่ที่แพปลาภูเก็ตตอนที่ไปเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อปลา elasmobranchii ซึ่งตอนแรกผมไม่ได้สังเกตเห็นเพราะเอาแต่มองหาปลากระเบน กับปลาฉลามที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่หัวหน้าทีมตัดสินใจขอชาวประมงลงไปคุ้ยกองปลาไก่นี้ แต่สิ่งที่พบในกองนี่มันช่างน่าตกใจ สิ่งมีชีวิตในนั้นส่วนใหญ่ผมไม่เคยที่จะได้เห็นถึงแม้จะดำน้ำมามากกว่า 1000 dives ยกตัวอย่างเช่น Japanese Sleeper Ray, Spider Crab, หรือแม้กระทั่ง Frogfish ที่เป็นปลาหายากที่นักดำน้ำโปรดปราน ผมถ่ายภาพหอยตัวนี้ที่เดินอยู่บนกองปลาไก่ เพราะเกิดนึกถึงฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง The Killing Field ขึ้นมา และต้องการแสดงภาพว่าความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลจำนวนมากที่ต้องถูกทำลายและแปรสภาพไปเป็นแค่เศษอาหารสัตว์โดยอวนลากแทนที่จะคงอยู่ใต้ทะเลไทยและดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาด้วยระบบนิเวศที่สมบูรณ์
แอบเสียดายที่ไม่ได้ถ่าย frogfish แทนหอยครับ :( เผลอจับใส่โหลดองไปเรียบร้อย
ความเห็นที่ 28.1
ความเห็นที่ 28.1.1
ความเห็นที่ 28.2
ความเห็นที่ 29
ชนิด: หมาไน Cuon alpinus (Pallas, 1811) และ เหี้ย Varanus salvator (Laurenti, 1768
สถานที่: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี
ข้อมูล: เมื่อมีฝูงหมาไนมาล้มกวางตัวเมียไม่ไกลจากที่พัก ก็เป็นโอกาสดีที่ผมจะได้สังเกตพฤติกรรมและถ่ายภาพเก็บไว้ โดยผมปีนขึ้นไปบนต้นไม้เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เมื่อหมาไนทั้งหมดสิบกว่าตัวยังคงทยอยเข้ามากินซากกวาง แต่ก็ยังแสดงพฤติกรรมหวาดระแวง คอยหันมามองผมเป็นระยะๆ ผมก็ตัดสินใจว่าจะไม่รบกวนมันนานเกินไป เมื่อเก็บภาพที่ได้เป็นที่พึงพอใจแล้วจะรีบกลับลงมาทันที ไม่นานก็มีเหี้ยเข้ามาร่วมด้วย น่าแปลกใจที่สัตว์นักล่าที่น่าสะพรึงกลัวอย่างหมาไนจะกินซากสัตว์ที่ล่ามากับเหี้ยอย่างสันติ
ความเห็นที่ 29.1
ความเห็นที่ 29.1.1
ความเห็นที่ 29.1.2
ความเห็นที่ 29.1.2.1
ความเห็นที่ 29.1.2.1.1
ความเห็นที่ 29.1.2.1.1.1
ความเห็นที่ 30
ชนิด: ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว Papilio palinurus (Fabricius, 1787)
สถานที่: อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
ข้อมูล: เรามักไม่ค่อยได้พบเห็นผีเสื้อเพศเมียบ่อยเท่ากับเพศผู้ การได้พบกับผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียวชนิดย่อย palinurus ซึ่งเป็นผีเสื้อที่หาค่อนข้างยาก แถมยังเป็นเพศเมียขณะกินน้ำหวานจากดอกเข็มป่าสีแสด การบันทึกภาพผีเสื้อตัวนี้ให้เห็นแถบสีเขียวครามบนปีกที่ระยิบระยับไปด้วยจุดสีเขียวมรกตตัดกันอย่างงดงามกับสีดอกเข็มโดยที่มันกระพือปีกบินตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง จึงต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ไวมาก แต่ในสภาพแสงจำกัดของป่าดิบแก่งกระจาน ผมจึงตัดสินใจใช้รูรับแสงที่กว้างที่สุดแลกกับการทิ้งรายละเอียดของดอกเข็มป่าเพื่อเน้นความงามของผีเสื้อ
ความเห็นที่ 31
ชนิด: คางคกหัวราบ Ingerophrynus macrotis (Boulenger, 1887)
สถานที่: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี
ข้อมูล: สำหรับผม คางคกหัวราบขณะผสมพันธุ์หมู่เป็นความมหัศจรรย์ประการหนึ่งของสัตว์ป่าที่ทำให้ต้องหยุดบันทึกภาพทุกครั้ง คางคกตัวเมียแต่ละตัวมีตัวผู้ไม่รู้ตั้งกี่ตัวรุมเกาะ เคยเจอบางครั้งที่มีตัวผู้ถึงสิบตัวเกาะตัวเมียตัวเดียว! ในรูปนี้เห็นเพียงขาตัวเมียโผล่ออกมาเท่านั้น
ความเห็นที่ 31.1
ความเห็นที่ 31.1.1
ความเห็นที่ 32
คนถือกล้อง : ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย
ชนิด : Giant Moray (Gymnothorax javanicus) & Blue-Streaked Cleaner Wrasse (Labroides dimidiatus)
สถานที่ : กองหินตาชัย Tachai Pinnacle อันดามันเหนือ
ข้อมูล : ปลาไหลมอเรย์กับปลาพยาบาลที่ช่วยทำความสะอาด คู่นี้คงเป็นตัวอย่าง classic ของ mutualistic symbiosis แล้วล่ะมั้งครับ ปลาไหลมอเรย์นี่ค่อนข้างขี้กลัวครับถึงแม้หน้ามันจะเถื่อนเหมือนโจรห้าร้อย เวลาเข้าไปใกล้จะชอบถอยเข้าไปหลบในรูทำให้ต้องใช้เวลาเฝ้าให้มันออกมาถ่ายได้โอเค ส่วนปลาพยาบาลนี่มันว่ายซิกแซกตามซอกฟันได้เร็วมากครับ ถ่ายอยู่หลายช็อตกว่าจะได้โฟกัสชัดๆ (จริงๆตั้งแต่ถ่ายมานี่เพิ่งเป็นครั้งแรกที่ผมได้ภาพชัดๆของปลาพยาบาล ถึงแม้จะเจอเป็นประจำถึงกระทั่งโดนกัดหัวนมก็ตาม แต่มันว่ายเร็วจนน่ารำคาญเลยล่ะครับ) ส่วนตัวผมชอบภาพนี้เพราะแสดงให้เห็นถึงการถ้อยทีถ้อยอาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันนะครับ มันทำให้รู้สึกดีเหมือนเป็นการพักใจเวลาอยู่ในสังคมทุนนิยม..
ความเห็นที่ 32.1
อันนี้ตอนถ่ายเลือกเป็นgreyscaleเลยป่าว?
ความเห็นที่ 33
ได้แต่เข้ามานั่งทำตาปริบๆดูแต่ละภาพสวยมากครับ
ความเห็นที่ 34
ยิ่งพอมาดูภาพในนี้อีก ตายไปเลย ทั้งสวย ทั้งศิลป์ แถมมีความหมายอัดแน่นกันทั้งนั้น
ความเห็นที่ 35
ชนิด ชมพูยูนนาน (Begonia modestiflora)
สถานที่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่
ข้อมูล ขณะที่กำลังเดินอยู่ใกล้กับลำธารในช่วงฤดูฝนด้วยความเหนื่อยล้า ผมก็ได้หันไปพบกับดอกไม้ที่กำลังชูช่อดอกสีชมพูสวย และได้ทราบภายหลังว่าเจ้่าพืชชนิดนี้มีชื่อแสนไพเราะนั่นคือ "ชมพูยูนนาน" ความอิ่มเอมกับความหวานบนความเขียวขจีนี้ทำให้ความเหนื่อยล้าของผมจางหายไปเยอะทีเดียว ในประเทศไทยชมพูยูนนานพบได้ในแถบภาคเหนือเท่านั้น
ความเห็นที่ 36
ชนิด กบลายหินเหนือ (Amolops marmoratus)
สถานที่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จ.เชียงใหม่
ข้อมูล ขณะที่กำลังถ่ายกบลายหินเหนือหลายตัวที่เกาะเรียงรายตามหินตรงบริเวณน้ำตก ก็มีกบตัวหนึ่งกระโดดมาเกาะตรงหน้าผมเช่นในภาพ และมันก็มองไปทางด้านข้าง เป็นมุมที่ผมไม่้ค่อยได้เห็นบ่อยนัก ผมถ่ายไปได้ไม่กี่ชอตมันก็กระโดดลงน้ำไปด้วยความเขินกล้อง (ละมั้ง?)
ความเห็นที่ 36.1
ความเห็นที่ 37
ผู้ถ่ายภาพ วิสุตร สหพรเจริญพงศ์
ชนิด นกปรอดสวน Streak-eared Bulbul (Pycnonotus blanfordi)
สถานที่ สวนในบ้านผมเอง พุทธมลฑลสายสอง บางแค กทม
ข้อมูล ผมสังเกตเห็นว่ามีแม่นกเข้ามาทำรังบนกิ่งไม้เล็กๆ ไม่ค่อยสูงมากนักราวๆสองเมตร บนต้นไม้ในบริเวณบ้าน ผมจึงเฝ้าสังเกตห่างๆ แต่ไม่เข้าไปรบกวนมาก เพราะกลัวแม่นกจะทิ้งลูกหนีไป จนเมื่อลูกนกโตพอประมาณ ผมจึงค่อยเข้าไปถ่ายรูป แต่ก็ทิ้งระยะห่าง โดยการใช้เลนส์ซูมถ่าย เพื่อที่ลูกนกจะได้ไม่กลัวมากนัก และตกใจ ถ่ายอยู่หลายรูปพอสมควรครับ แต่เพราะใช้เลนส์ซูมและกิ่งไม้ที่มาก ภาพที่เห็นลูกนกชัดๆจึงมีน้อยครับ และหลังจากรูปนี้ราวๆสี่วัน ลูกนกทั้งสองก็ฝึกบินและก็ทิ้งรังไปครับ
ความเห็นที่ 38
ชนิด ปูภูเขาอาจารย์ไพบูลย์ (Terrapotamon phaibuli)
สถานที่ ภูเขาระหว่างทางไปสระมรกต จังหวัดกระบี่
ข้อมูล ระหว่างทริปท่องเที่ยวของผมกับเพื่อน ขณะกำลังเดินไปสระมรกต ผมก็มองไปทั่วๆ ดูป่าไม้ที่สวยงาม และก็ไปจ๊ะเอ๋กับปูตัวเล็กๆสีเหลืองอมส้มที่กำลังเดินทุลักทุเลอยู่บนทางเดินที่เป็นหินกรวดและเศษซากใบไม้ พอผมเข้าไปใกล้ปูก็เดินหนี พอเข้าไปอีกก็เดินหนีอีก ผมเลยค่อยๆคืบเข้าไป ปูน้อยไม่หนีแล้ว แต่ยกก้ามขึ้นมาจังก้าแทน ผมจึงค่อยๆถ่ายรูปนี้ขึ้นมาครับ
เรื่องชนิดพันธุ์ปูตัวนี้ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจนะครับ เพราะผมเองก็ไม่มีความรู้อะไร อาศัยการค้นข้อมูลจากกูเกิล โดยเอารายชื่อปูน้ำจืดในประเทศไทยมานั่งค้นหารูปในกูเกิล จนกระทั่งเจอกับตัวนี้ที่คิดว่าใกล้เคียงที่สุดครับ
ความเห็นที่ 38.1
ความเห็นที่ 39
ชนิด งูหางแฮ่มใต้ (Trimeresurus venustus)
สถานที่ ถ้ำเพชรพนมวัง จ.สุราษฏร์ธานี
ข้อมูล ในวันที่แห้งแล้ง เมื่อย่างเข้าสู่เวลาพลบค่ำ สิ่งมีชีวิตเล็กๆค่อยๆออกมาจากที่ซ่อนเพื่อซุ่มรอดักอาหารเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิต งูชนิดนี้เลือกที่จะเฝ้ารออาหารที่ผ่านบริเวณหินปูนก้อนนี้อย่างเงียบๆและเปี่ยมด้วยความหวัง หากคืนนี้ไม่มีอาหารของมันผ่านมา มันต้องเก็บความหิวไว้หวังในวันต่อๆไป
งูหางแฮ่มใต้ เป็นงูกลุ่มเขียวหางไหม้ขนาดเล็กที่มีความสวยดุจเทพปกรณัม หรือเทพีแห่งความงาม นามว่า "วีนัส" ปัจจุบันนอกจากประเทศไทยแล้ว ยังมีรายงานพบในประเทศมาเลเซีย แต่..จากการศึกษาระดับชีวโมเลกุล งูหางแฮ่มใต้ อาจกลับมาเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของไทยอีกครั้ง
ความเห็นที่ 40
ส่งกันเข้ามาอีกเยอะๆนะคะ ^^
ความเห็นที่ 41
ชนิด -
สถานที่ เขากระโจม จ.ราชบุรี
ข้อมูล หลังฝนโปรยปรายยามบ่าย ทากดูดเลือดตัวน้อยๆก็ได้ติดตามลุงที่ใจดีมา จึงเอามาฝากหลานสาวแสนซนเพื่อให้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนโลกนี้ และเรียนรู้ถึงการอยู่ร่วมกัน การปลูกฝังจิตสำนึกให้ผ้าขาวนั้นเพียงป้ายแต่งแต้มสีให้เหมาะสม ก็สามารถดำรงค์ไว้ซึ่งความหลายหลายทางชีวภาพ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แม่ลูกคู่นี้ได้ถ่ายทอดการเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกันกับเพื่อนร่วมโลก ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
ความเห็นที่ 42
ความเห็นที่ 43
ชนิด Chilobrachys sp. (Aladdin)
สถานที่ จ.เลย
ข้อมูล เป็นบึ้งชนิดหนึ่งที่พบกระจายในหลายพื้นที่มาก โดยส่วนตัวเข้าใจว่าเป็นบึ้งน้ำตาล หลังจากได้ส่งรูปภาพไปให้เพื่อนๆ ที่อยู่ในกลุ่มที่สนใจแมงมุมทาลันทูร่า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนใหญ่ระบุว่าเป็นชนิดนี้ ซึ่งเป็นชนิดที่ยังไม่ได้รับการรับรองและตีพิมพ์ มีเพียงผู้ที่กำลังศึกษา รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแมงมุมชนิดนี้ บางคนบอกว่าเป็นแมงมุมที่พบได้ในเมืองไทยเท่านั้น แต่ข้อมูลทั้งหมดยังไม่ได้รับการยืนยัน
ความเห็นที่ 44
ชนิด Isometrus petrzelkai
สถานที่ จ.เลย
ข้อมูล เป็นแมงป่องขนาดเล็กที่พบยากมาก อาศัยอยู่ใต้ก้อนหิน เจ้าตัวนี้พบโดยบังเอิญในขณะที่ไปหาหน่อไม้กับที่บ้าน ระหว่างที่นั่งรอกัน เจ้าลูกชายไปงัดก้อนหินเล่นเลยเจอเจ้าแมงป่องตัวน้อยเกาะอยู่ใต้ก้อนหิน ครั้งแรกที่เห็นคิดว่าเป็นแมงป่องบ้านในกลุ่ม Lychas แต่เพราะสีที่แปลกจากที่เคยเจอมา เลยทำให้พบว่าเป็นแมงป่องอีกชนิดหนึ่งที่หายาก เป็นแมงป่องในกลุ่ม Isometrus 1 ใน 3 ชนิดที่พบในไทย
ความเห็นที่ 45
ชนิด Unknown
สถานที่ จ.อุดรธานี
ข้อมูล เป็นแมงป่องขนาดเล็กที่พบโดยบังเอิญเช่นกัน พบอาศัยอยู่ใต้ก้อนหิน ในป่าที่ร่มชื้นตลอดทั้งปี ครั้งแรกที่เห็นคิดว่าเป็นวัยเด็กของแมงป่องชนิด Scorpiops farkaci แต่เมื่อถ่ายรูปส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศดู ทำให้รู้ว่าเป็นแมงป่องในกลุ่ม Euscorpiops แต่ไม่สามารถระบุชนิดได้ ล่าสุดมีผู้เชี่ยวช่าญในต่างประเทศอีกท่านนึงบอกว่ามันน่าจะเป็น Uroctonus mordax ซึ่งจะเป็นชนิดไหนนั้นอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล
ความเห็นที่ 46
ชนิด: ผีเสื้อหางมังกรขาว Lamproptera curius
สถานที่: จ.สระบุรี
ข้อมูล: ผีเสื้อหางมังกรขาวเป็นผีเสื้อที่พบได้ไม่ยากบริเวณริมลำธารหรือน้ำตก แต่เป็นผีเสื้อที่เข้าใกล้ได้ไม่ง่ายนัก มักบินหนีเสมอเมื่อเข้าใกล้ ภาพนี้ต้องลงทุนนั่งคุกเข่าแช่น้ำและเฝ้ารอในจุดที่ผีเสื้อบินลงเกาะบ่อยๆ
ความเห็นที่ 47
ชนิด: ปูแสมภูเขา Geosesarma krathing
สถานที่: จ. จันทบุรี
ข้อมูล: ปูแสมภูเขาจัดเป็นปูเฉพาะถิ่นที่มีสีสันสวยงามสะดุดตา ปัจจุบันพบได้เฉพาะแถบจังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันถิ่นอาศัยของพวกเค้าหลายแห่งถูกบุกรุกทำลายโดยน้ำมือมนุษย์ หากยังไม่ช่วยกันอนุรักษ์รักษาไว้ปูชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ได้ในอนาคตอันใกล้
ความเห็นที่ 48
ชื่อสามัญ: Great Anglehead Lizard
ชื่อวิทยาศาสตร์: Gonocephalus grandis
สถานที่: อุทยานแห่งชาติบางลาง จ.ยะลา
ข้อมูล: เป็นกิ้งก่าที่พบได้ตามริมลำธารของป่าดิบชื้นในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย มีสีสันสวยงาม และมีขนาดใหญ่ แต่เมื่อมีสิ่งใดที่เป็นภัยหรืออันตรายเข้ามาใกล้ตัว มันจะกระโดดลงน้ำและหนีโดยทันที ซึ่งทำให้ผมนึกถึงกิ้งก่าบาซิลิสก์วิ่งสองขาบนผิวน้ำแบบที่เคยเห็นในสารคดีเลยทีเดียว ทำให้กิ้งก่าในกลุ่มนี้เป็นกิ้งก่าที่ผมชอบมากๆ.
ความเห็นที่ 49
ชื่อสามัญ: Bell's Anglehead Lizard
ชื่อวิทยาศาสตร์: Gonocephalus bellii
สถานที่: อุทยานแห่งชาติบางลาง จ.ยะลา
ข้อมูล: กิ้งก่าในสกุลกิ้งก่าดงที่สวยงามไม่แพ้กิ้งก่าดงชนิดอื่นๆ เพศผู้มีคอสีฟ้าหรือน้ำเงิน มีขนาดใหญ่กว่ากิ้งก่าคอฟ้าที่พบทั่วไปตามบ้านตามสวนเสียอีก กิ้งก่าดงคอสีฟ้ามีนิสัยดุไม่แพ้กิ้งก่าดงใหญ่เลย ความดุของมันนี่แหละที่ทำให้มันดูน่าเกรงขาม รูปร่าง สีสัน และนิสัยของมันทำให้ผมประทับใจที่ได้พบกับมัน และเป็นความทรงจำที่ไม่มีวันลืม.
ความเห็นที่ 50
ชนิด ตั็กแตนกิ่งไม้(ไม่ทราบชื่อ)
สถานที่ บ้านเขวา อ.เมือง สุรินทร์
ข้อมูล พบในป่าชุมชนหมู่บ้าน บินตัดหน้ามาเกาะจึงพบครับ
ความเห็นที่ 51
ชนิด แมงมุม (ไม่ทราบชื่อ)
สถานที่ ป่าชุมชนบ้านเขวา อ.เมือง สุรินทร์
ข้อมูล ขึ้นอยู่ในป่าเป็นหย่อมๆ
ความเห็นที่ 52
ชนิด ตะเข็ม (ไม่ทราบชื่อ)
สถานที่ ป่าชุมชนบ้านเขวา อ.เมือง สุรินทร์
ข้อมูล เดินถ่ายภาพต้น จอกบ่วาย หญ้าน้ำค้าง เห็นรวมตัวอยู่เต็มพื้นไปหมด
ความเห็นที่ 52.1
ตะเข็บ ครับ แต่ไม่รู้ชื่อสายพันธุ์ครับ
ขออภัยครับ
ความเห็นที่ 53
ชื่อไทย กบลายหินตะนาวศรี, กบลายหินปัญหา, กบลายหินอาจารย์สมศักดิ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Amolops panhai Matsui and Nabhitabhata, 2006
สถานที่ น้ำตกป่าละอู อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
ข้อมูล กบตัวเล็กๆ ลวดลายกลมกลืนกับก้อนหินมาก พบตามน้ำตก แก่งหินที่ไหลแรง เจ้าตัวนี้ยังไม่โตนัก แอบหลบอยู่บนเห็ดชนิดหนึ่งของสกุล Microporus
ความเห็นที่ 54
ชื่อไทย: แมลงปอเข็มน้ำตกใหญ่ปีกดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Matrona nigripectus Selys, 1879
สถานที่ น้ำตกมณฑาธาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ข้อมูล แมลงปอเข็มน้ำตกชนิดนี้ตัวผู้ปีกสีดำขนาดใหญ่ ส่วนตัวเมียก็คล้ายกัน เป็นครั้งแรกที่เข้าไปเยือนน้ำตกแห่งนี้ทั้งๆ ที่เคยไปดอยสุเทพหลายครั้ง แต่ครั้งนี้ตั้งใจเข้าไปหาแมลงปอทางเหนือโดยเฉพาะ ขณะลุยน้ำอยู่มองไปข้างหน้าเห็นแววสะท้อนแสงสีฟ้าอยู่วับๆ เข้าไปดูจึงรู้ว่าเป็นตัวเมียกำลังวางไข่บนรากไม้ กางปีกสลับกับหุบปีกท่ามกลางแสงแดดที่ลอดทะลุผ่านดงไม้ลงมาอย่งพอดิบพอดี
ความเห็นที่ 54.1
ความเห็นที่ 55
ชื่อไทย กูดเฟือย, กูดหางม้า
ชื่อวิทยาศาสตร์: Drynaria rigidula (ชื่อพ้อง: Polypodium rigidula)
สถานที่ ดอยปุย จ.เชียงใหม่
ข้อมูล ในการเดินทางไปภาคเหนือเมื่อตุลาคมปีนี้ ตั้งใจไปเพื่อสำรวจแมลงปอทางภาคเหนือ แต่การเดินทางของเราประกอบด้วยทีมสาวๆ และไม่สาวหลายคน เมื่อขึ้นดอยสุเทพ คุณเธอก็จะต้องมีการละลายทรัพย์กันเล็กน้อย ก็เลยต้องพาไปหมู่บ้านม้งดอยปุย เราก็เลยเดินเข้าไปทางสวนดอกไม้ที่หมู่บ้านม้งดอยปุยปลูกไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว เหลือบไปเห็นเฟินกองามต้นนี้บนคบไม้ กำลังแตกใบกาบ (base frond)ใหม่ๆ ได้แสงแดดส่องเข้าด้านข้างดูสวยงามดี เฟินชนิดนี้จะมีใบสองแบบ คือใบกาบซึ่งจะไม่ใช้สร้างอับสปอร์ และใบจริง (fertile frond) เป็นใบประกอบแบบขนนกใช้สร้างอับสปอร์
ความเห็นที่ 56
ความเห็นที่ 56.1
ความเห็นที่ 56.1.1
ความเห็นที่ 56.1.1.1
ความเห็นที่ 57
ชื่อไทย จระเข้น้ำจืด (พันธุ์ไทย)
ชื่อวิทย์ c. siamensis
สถานที่ วัดบึงราชาวาส ศรีราชา
ข้อมูล ไปที่วัดนี้ แล้วเดินไปเจอ เป็น สยามเอนสิส ตัวแรกที่ผมรู้จัก ทำให้ความที่เคยกลัวเขา ลดลงหายไปเยอะ (ปล.ภาพนี้หลายปีตั้งแต่บอร์ดเก่า แค่เอามาให้ชมกัน)
ความเห็นที่ 58
ข้อมูล กระสุนพระราม เป็นกิ้งกือกระสุนกลุ่มหนึ่ง อยู่ใน Order Glomerida ซึ่งกลุ่มนี้ขณะทีม้วนตัวจะสังเกตเห็นลักษณะส่วนวงปล้องที่ 2 ที่มีขนาดใหญ่ได้ชัดเจน เมื่อนับต่อจากปล้องที่ 2 นี้ต่อไป (เวลาขดตัวจะไม่เห็นปล้องแรก) จะนับวงปล้องได้ 12 ปล้อง ขณะที่ตัวสีน้ำตาลที่เรามักจะพบเจอได้บ่อยกว่าจะเป็นพวกกระสุนพระอินทร์ อยู่ใน Order Sphaerotheriida เวลาขดตัวจะเห็นปล้องสุดท้ายมีขนาดใหญ่ที่สุด และนับจากปล้องที่สองไปจะได้จำนวน 13 ปล้อง (ถ่ายเมื่อ 29 มี.ค. 2555; จำแนกโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกิ้งกือกระสุนจากแล็บซิสเต็มมาติค จุฬาฯ)
ผู้ถ่ายภาพ นายเรืองฤทธิ์ พรหมดำ
ความเห็นที่ 58.1
ความเห็นที่ 59
ชนิด ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้อินเดีย Creobroter gemmatus
สถานที่ จ.ลพบุรี
ข้อมูล ดอกไม้ที่สวยงามและส่งกลิ่นหอมไปทั่ว ล่อให้แมลงต่างๆเข้ามาใกล้ แต่เหล่าแมลงหารู้ไม่ว่าท่ามกลางดอกไม้เหล่านั้น มีผู้ล่าหลบซ่อนพรางตัวอยู่ด้วย หากเผลอตัวมัวแต่หลงไหลไปกับกลิ่นหอมของดอกไม้ จะเป็นเยี่ยงดังภาพนี้แล
ความเห็นที่ 60
ชนิด Cosmophasis sp.
สถานที่ จ.ลพบุรี
ข้อมูล จะถ่ายยังไงให้ได้ของรางวัลหนอ เหอๆ แมงมุมกระโดดตัวหนึ่งบนใบไม้กำลังมองหาเหยื่อตามลำพัง ตัวของเจ้านี่มีขนาดเล็กมาก แต่กลับมีสีสันที่สวยงามมากอย่างคาดไม่ถึง เจ้าพวกนี้เป็นสัตว์ที่คอยควบคุมปริมาณของแมลงบางชนิดด้วย จึงเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มีสำคัญต่อระบบนิเวศ
ความเห็นที่ 61
เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะถึงกำหนดตัดสินคัดเลือกภาพแล้วนะคะ
ส่งกันเข้ามาเยอะๆนะคะ (^0^) /
ความเห็นที่ 62
เนื่องจากหนังสือเสือล่อตาล่อใจมาก 55
ผู้ถ่ายภาพ: เสฎฐวุฒิ วิเศษบุปผา
ชนิด: งูเขียวปากจิ้งจก Oriental Whip Snake (Ahaetulla prasina)
สถานที่: อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา จ.กระบี่
ข้อมูล: งูพื้นๆที่พบเจอได้ทั่วไป แต่ไม่ยักจะมีภาพตอนกลางวันสวยๆสักที ครั้งนี้มีโอกาส
เลยจัดมาสักหน่อย
ความเห็นที่ 63
ชนิด: กบลายหินตะนาวศรี (Amolops panhai)
สถานที่: อุทยานแห่งชาติเขาสก จ.สุราษฯ
ข้อมูล: นี่ก็เป็นอีกชนิดที่พบได้บ่อยเช่นกัน พบตามธารน้ำไหลแรง โอกาสประจวบเหมาะ
ทำให้ได้ภาพถ่ายที่มองเห็นสภาพแวดล้อมและลักษณะความเป็นอยู่จริงๆของมัน
ความเห็นที่ 64
ชนิด: งูหมอก Common mock viper (Psammodynastes pulverulentus)
สถานที่: อุทยานแห่งชาติเขาแหลม จ.กาญจนบุรี
ข้อมูล: งูที่มีความแปรผันของสีมาก ตัวนี้น้องคนนึงเจอมันตรงโขดหินน้ำตกพอดี
ทำให้ได้ภาพงูสีส้มที่ contrast กับสภาพแวดล้อม
ความเห็นที่ 65
ชนิด: ปลาหิน Reef stonefish (Synancia verrucosa)
สถานที่: Siam ocean World
ข้อมูล: น้อยครั้งจะได้เห็นปลาหินว่ายน้ำ เจ้าตัวนี้ว่ายขึ้นผิวน้ำเหมือนมาขออาหาร แล้วก็ปล่อยตัวจมลงช้าๆ เมื่อผิดหวัง มันเป็นหนึ่งในปลาที่มีพิษแรงที่สุดในโลก และยังทะลึ่งชอบนอนตามที่ตื้นๆ ประมาณที่เรือเทียบให้คนลงลุยน้ำได้พอดี อยู่ข้างๆก้อนหินที่คนมักนึกว่าเป็นก้อนเล็กๆเหยียบได้น่ะ ไม่เป็นไรหรอก แต่ปัจจุบันมันเป็นปลาที่ราคาแพงพอควรในภูเก็ต ที่คนญี่ปุ่นนิยมนำมาทำปลาดิบ คนจีนก็เอามานึ่งซีอิ๊ว
ความเห็นที่ 65.1
ความเห็นที่ 66
ชนิด: ปาดบินตีนเหลือง (Rhacophorus bipunctatus Ahl, 1927)
สถานที่: ดอยอินทนนท์
ข้อมูล: พบเกาะบนต้นไม้ ระหว่างการตรวจสุขภาพดอยอินทฯ ปี 2552 ในตอนดึกเพื่อสำรวจเหล่า herptiles
ความเห็นที่ 67
ชนิด นกสกัวหางช้อน Pomarine Jaeger (Stercoratrius pomarinus)
สถานที่ อ่าวบางตะบูน จ. เพชรบุรี
ข้อมูล นกสกัวส่วนใหญ่อาศัยในทะเลเปิด แต่ในช่วงหน้าหนาวนกหลายตัวเลือกอ่าวไทยตอนในเป็นที่พำนักหากิน โชคดีที่ผมอยู่บนหลังคาเรือในขณะที่นกสกัวตัวนี้กำลังบินเข้ามาใกล้ท้ายเรือทำให้ได้จังหวะที่มันสยายปีกพอดี
ความเห็นที่ 68
ชนิด หมูหริ่ง Hog Badger (Arctonyx collaris)
สถานที่ ห้วยขาแข้ง จ. อุทัยธานี
ข้อมูล ไม่ถึงห้านาทีที่ผมขึ้นไปนั่งบนบังไพร หมุหริ่งตัวนี้ก็ตื่นนอนจากหลังก้อนหิน ลุกจากปลักที่มันนอนแช่อยู่ เดินงุดๆผ่านหน้าผมไปในระยะค่อนข้างใกล้ เป็นสัตว์ตัวเดียวตลอดบ่ายวันนั้นที่เดินมาเข้าโป่ง หรือพูดให้ถูก เดินออกจากโป่งไป
ความเห็นที่ 69
ชนิด นกเปล้าอกม่วงน้ำตาล Orange-breasted Green Pigeon (Treron bicinctus)
สถานที่ ห้วยขาแข้ง จ. อุทัยธานี
ข้อมูล นกเปล้าคู่นี้ลงมากินน้ำในโป่งในยามบ่ายวันหนึ่ง แม้สถานะจะไม่ได้หายากมาก แต่เอาเข้าจริงนกเปล้าชนิดนี้ไม่ค่อยมีผู้รายงานบ่ายนัก
ความเห็นที่ 70
ชนิด ปาดตะปุ่มผิวเรียบ Smooth skin Warted tree frog (Theloderma licin)
สถานที่ อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล
ข้อมูล จากชื่อที่ขัดกันในตัวของ ตะปุ่ม และ ผิวเรียบ ทำให้มันเป็นกบที่มีความน่าสนใจค้นหาอยู่ในตัวอยู่แล้ว บวกกับสีสันสวยงามที่ตัดกันระหว่าง สีขาว กับ สีดำ ด้วยแล้ว ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจของ ปาดหายากขนาดเล็ก ชนิดนี้ไปอีกทวีคูณ ถิ่นอาศัยของมัน ส่วนใหญ่พบในป่าดิบที่ราบต่ำ ทางภาคใต้ตอนล่าง ปาดตัวผู้จะส่งเสียงร้องอยู่ในโพรงน้ำขังบนคบไม้ที่ค่อนข้างสูง ซึ่งในบางครั้ง ปาดชนิดนี้จะใช้โพรงร่วมกันกับ ปาดขนาดเล็กอื่นๆที่มีพฤติกรรมเดียวกัน
ความเห็นที่ 71
ชนิด หมาจิ้งจอก Golden jackel (Canis aureus)
สถานที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี
ข้อมูล แดดที่ร้อนจัดของบ่ายวันหนึ่ง ขณะที่ผมกับคณะวิจัย เดินทางเข้าไปสำรวจสัตว์ป่าและกล้วยไม้ ที่หน่วยซับฟ้าผ่า เขตห้วยขาแข้ง สีสันที่สะดุดตาของจิ้งจอกตัวหนึ่ง ท่ามกลาง ป่าเต็งรัง ที่แห้งกรัง หมาตัวนั้นจ้องมองเราไม่กระดิก ไม่มีท่าทางกลัว หรือ ระแวง หลังจากตั้งสติผมจึงยกกล้องขึ้นเพื่อถ่ายรูป แต่สุดท้าย มันก็วิ่งลงข้างทางไปยืนจังก้า กลางถนน พร้อมหันมาสบตาเป็นพักๆ จนกลายเป็นภาพนี้
ความเห็นที่ 72
ชนิด ตุ๊กกายลายจุด Peguense's bowfingered gecko (Cyrtodactylus peguensis)
สถานที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี
ข้อมูล ตุ๊กกายขนาดเล็ก ส่งเสียงร้อง จิ๊บๆ ทั่วป่า ตัวในภาพพบขณะ สำรวจในบริเวณป่าเบญจพรรณชื้น ที่ห้วยซบกระดิ่ง
ความเห็นที่ 73
ชนิด ตุ๊กกายลายจุด Peguense's bowfingered gecko (Cyrtodactylus peguensis)
สถานที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี
ข้อมูล ตุ๊กกายขนาดเล็ก ส่งเสียงร้อง จิ๊บๆ ทั่วป่า ตัวในภาพพบขณะ สำรวจในบริเวณป่าเบญจพรรณชื้น ที่ห้วยซบกระดิ่ง
ความเห็นที่ 74
ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมสนุกครับ บางภาพ ผมขอไปลง SI ตามเจตนากรมณ์นะครับ
ความเห็นที่ 75
เดี๋ยวปีหน้าร่วมสนุกใหม่ค่ะ