ขอขอบคุณ คุณไอ้ลูกทุ่ง คุณ Plateen มากครับ ที่ช่วยให้ข้อมูล พอดีชาวบ้านเค้าอยากรู้ว่าภาษาทางทางมันคืออะไร และผมก็อยากแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเค้าด้วย อย่างน้อยก็อาจทำให้เค้าเห็นความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น จะได้ใช้ให้มันคุ้มค่ามากขึ้นครับ
ภาษาถิ่นนะครับ ส่วนใหญ่ก็เรียกตามลักษณะที่เห็นคร่าวๆ ไม่ได้แยกลักษณะชัดเจน จึงเรียกชื่อรวมๆซะเป็นส่วนใหญ่ครับตัวที่ 1 เรียกปลาสร้อยตัวที่ 2 เรียกปลาซิวตัวที่ 3 เรียกปลาขาวตัวที่ 4 เรียกปลาสร้อยตัวที่ 5 เรียกตะเพียนหางแดงตัวที่ 6 เรียกแขยงลาย แขยงตัวที่ 7 และ 8 เรียกรวมกันว่าปลาตะเพียนครับขอบคุณทุกท่านมากครับ จริงๆได้ปลาหลายชนิดเลยครับ แต่ที่ไม่ได้ลงเพราะจำแนกไม่ยากนัก มีแต่ปลาวงศ์ปลาตะเพียนนี่หล่ะ มันดูใกล้เคียงจนตัดสินใจยากครับ
Comments
ความเห็นที่ 1
2 ซิวเจ้าฟ้า
3 กระมัง
4 จาด?
5 กระแห
6 แขยงข้างลายแบบซีดๆ
7 หนามหลัง
8 ตะเีพียน?
ความเห็นที่ 2
ปลาซิวเจ้าฟ้า Amblypharyngodon chulabhornae Vidthayanon & Kottelat 1990
ปลากะมัง Puntioplites proctozystron (Bleeker 1865)
ปลาสร้อยขาว Henicorhynchus siamensis (Sauvage 1881)
ปลาแก้มช้ำ Systomus orphoides (Valenciennes 1842)
ปลาแขยงข้างลาย Mystus mysticetus Roberts 1992
ปลาขี้ยอก Mystacoleucus marginatus (Valenciennes 1842)
ปลาตะเพียนขาว Barbonymus gonionotus (Bleeker 1849)
ชื่อพื้นบ้านก็มีความสำคัญนะครับ ลองเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง สำหรับชื่อจากนครสวรรค์คงน่าสนใจไม่น้อย
ความเห็นที่ 3
ชาวบ้านเขาคงไม่มานั่งฟังชื่อสกุลวิทยาศาสตร์หรอ สัตว์พืชหลายๆชนิดผมพยายามจำชื่อพื้นบ้านท้องถิ่นไว้
ความเห็นที่ 4
ขอขอบคุณ คุณไอ้ลูกทุ่ง คุณ Plateen มากครับ ที่ช่วยให้ข้อมูล พอดีชาวบ้านเค้าอยากรู้ว่าภาษาทางทางมันคืออะไร และผมก็อยากแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเค้าด้วย อย่างน้อยก็อาจทำให้เค้าเห็นความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น จะได้ใช้ให้มันคุ้มค่ามากขึ้นครับ
ความเห็นที่ 5
ภาษาถิ่นนะครับ ส่วนใหญ่ก็เรียกตามลักษณะที่เห็นคร่าวๆ ไม่ได้แยกลักษณะชัดเจน จึงเรียกชื่อรวมๆซะเป็นส่วนใหญ่ครับ
ตัวที่ 1 เรียกปลาสร้อย
ตัวที่ 2 เรียกปลาซิว
ตัวที่ 3 เรียกปลาขาว
ตัวที่ 4 เรียกปลาสร้อย
ตัวที่ 5 เรียกตะเพียนหางแดง
ตัวที่ 6 เรียกแขยงลาย แขยง
ตัวที่ 7 และ 8 เรียกรวมกันว่าปลาตะเพียนครับ
ขอบคุณทุกท่านมากครับ จริงๆได้ปลาหลายชนิดเลยครับ แต่ที่ไม่ได้ลงเพราะจำแนกไม่ยากนัก มีแต่ปลาวงศ์ปลาตะเพียนนี่หล่ะ มันดูใกล้เคียงจนตัดสินใจยากครับ
ความเห็นที่ 6
หนามหลัง = ขี้ยอก (ชื่อพื้นบ้าน) ตัวนี้กลมมากเลยครับ