งูเขียวกินตับตุ๊กแก?
เขียนโดย Gatsby Authenticated user เมื่อ 13 มกราคม 2556
อ่านข่าวใน “มติชนออนไลน์” พบข่าวงูเขียวพระอินทร์กินตุ๊กแก (เนื้อข่าวตามลิ้งค์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1357974706&grpid=01&cat...)
เมื่อตอนเป็นเด็กอยู่ต่างจังหวัด เคยได้ยินผู้ใหญ่บอกเล่าเรื่องงูเขียวกินตับตุ๊กแกว่า ตุ๊กแกเมื่อตัวโตมากขึ้น ตับจะแก่ ต้องร้องว่า “ตับแก่ ตับแก่” เรียกงูเขียวให้มากินตับ เมื่องูเขียวเลื้อยมาถึง ตุ๊กแกก็จะอ้าปากให้งูเขียวมุดเข้าไปกินตับในท้อง
และผู้ใหญ่ยังบอกอีกว่า ถ้าเอาก้านมะละกอสีเขียว(ตัดใบออก)ยื่นเข้าไปหาตุ๊กแก ตุ๊กแกก็จะอ้าปาก เพราะคิดว่าเป็นงูเขียวจะมากินตับจึงอ้าปากให้ เรื่องนี้เคยทดลองด้วยตนเองที่บ้านต่างจังหวัดเมื่อตอนเป็นเด็ก ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ผู้ใหญ่ยังบอกต่ออีกว่า ถ้าอยากจับตุ๊กแก ให้เอายาเส้นฉุนๆชุบน้ำปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าปลายนิ้ว ยัดไว้ที่ปลายก้านมะละกอ แล้วยื่นไปหาตุ๊กแก เมื่อตุ๊กแกอ้าปาก ก็แหย่ปลายก้านมะละกอที่มียาเส้นนั้นเข้าไปในปากตุ๊กแก ตุ๊กแกก็จะงับและอมไว้ สักพักตุ๊กแกจะเมายาเส้น หล่นลงมาให้จับ(เรื่องนี้ไม่เคยทดลองทำด้วยตนเอง)
เรื่องงูเขียวกินตับตุ๊กแกนี้ เมื่อมาทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ เคยคุยกับลูกน้องที่มาจากต่างจังหวัด ลูกน้องก็เชื่อตามที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ว่าเมื่อตุ๊กแกตับโต ก็จะร้องเรียกงูเขียวให้มากินตับ เมื่องูเขียวกินตับไปแล้ว ต่อมาตุ๊กแกตับโตขึ้นมาอีก ก็จะร้องเรียกงูเขียวให้มากินตับอีก ลูกน้องบอกว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะเคยเห็นมากับตาตนเอง เห็นงูเขียวเลื้อยไปหาตุ๊กแก ตุ๊กแกก็อ้าปากให้ งูเขียวก็ฉกเข้าไปในท้องตุ๊กแกอย่างรวดเร็ว แล้วก็เลื้อยจากไป และตุ๊กแกก็ยังเป็นปกติอยู่ ผมยังโต้แย้งลูกน้องไปเลยว่า ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ตุ๊กแกเมื่อโดนกินตับไปแล้วทำไมยังไม่ตาย ซึ่งตอนเด็กก็ยังไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ แต่เมื่อได้ยินลูกน้องยืนยันหนักแน่นว่าเคยเห็นมากับตาตนเองจริงๆ ก็เลยเป็นปัญหาสงสัยคาใจมาจนปัจจุบันนี้
เมื่ออ่านพบข่าวดังกล่าว ก็ถึงบางอ้อ หายสงสัย แท้จริงแล้วงูเขียวต้องการกินตุ๊กแก ไม่ใช่กินตับตุ๊กแก แต่ตุ๊กแกเมื่อเห็นงูเขียวเลื้อยเข้ามาใกล้ ก็จะอ้าปากเพื่อขู่หรือเตรียมต่อสู้ป้องกันตัวตามสัญชาติญาณ เมื่องูเขียวฉกเข้าไปเพื่อจะกินตุ๊กแก ตุ๊กแกก็งับอมหัวงูเขียวเอาไว้ งูเขียวเมื่อถูกอมหัวเอาไว้ หายใจไม่ออก ก็ดึงหัวถอยออกมา แล้วเลื้อยหนีจากไป เพราะคิดว่าตุ๊กแกก็เป็นอันตรายเหมือนกัน แต่ตุ๊กแกในภาพโชคร้ายพลาดท่า ถูกงูเขียวกัดรัดไว้ได้ ต้องตกเป็นเหยื่อของงูเขียวไป ดูในภาพ งูเขียวพระอินทร์ตัวนี้ก็ขนาดใหญ่ไม่เบาเหมือนกัน
คำถามเล็กๆหนึ่งข้อ งูเขียวพระอินทร์ กับ งูเขียวดอกหมาก เป็นงูเขียวตัวเดียวกัน แต่เรียกคนละชื่อใช่หริอไม่?
คติธรรมฯ (แก็ต)
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 1.1
คติธรรมฯ (แก็ต)
ความเห็นที่ 1.2
เขียวดอกหมาก = C. ornata พบในสวน บ้าน ทั่วประเทศ
ความเห็นที่ 1.2.1
ชื่อสกุล (Genus) ไทย (ท.) งูสกุลดอกหมาก, สามัญ (ส.) Flying Snake, วิทยาศาสตร์ (ว.) Chrysopelea
1) Species ที่ 1: ท. งูเขียวพระอินทร์, ส. Ornated Tree Snake, ว. C. Ornata
ถิ่น: ทั่วประเทศ
มี 1 Sub-species: ท. งูเขียวพระอินทร์, งูทางมะพร้าว(ใต้), ส. Golden Tree Snake, ว. C. ornata ornatissima, ถิ่น: พบทุกภาคของประเทศไทย มักพบในบ้านคนใน กทม.
2) Species ที่ 2: ท. งูเขียวร่อน, งูเขียวดอกหมาก, ส. Paradise Tree Snake, ว. C. paradisi
ถิ่น: ภาคใต้ของประเทศไทย
มี 1 Sub-species: ท. งูเขียวร่อน, งูเขียวดอกหมาก, งูเขียวดอกจิก, ส. Paradise Tree Snake, ว. C. paradisi paradisi, ถิ่น: ถาคใต้ของประเทศไทย
3) Species ที่ 3: ท. งูดอกหมากแดง, ส. Red Tree Snake, Twin Bared Tree Snake, ว. C. pelias
ถิ่น: ภาคใต้ตอนล่าง บนเขาสูง, ป่าแก่งกระจาน
จากข้อมูลข้างต้น งูเขียวพระอินทร์ ที่มักพบใน กทม. ก็จัดอยู่ในสกุล Flying Snake (งูบิน) ด้วยเหมือนกัน แต่ไม่ทราบว่างูเขียวพระอินทร์ที่มักพบใน กทม. ดังกล่าว บิน(พุ่ง) ได้หรือเปล่า
คติธรรมฯ (แก็ต)
ความเห็นที่ 1.2.1.1
ความเห็นที่ 1.2.1.1.1
คติธรรมฯ (แก็ต)
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 2.1
คติธรรม (แก็ต)
ความเห็นที่ 2.2
คติธรรมฯ (แก็ต)
ความเห็นที่ 2.2.1
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 8
เมื่อช่วงปี 2549-2550 ช่วงที่ผมไปประจำอยู่ที่ Site Office แถวหนองแขม กทม. อาคาร Site Office ดังกล่าวเป็นอาคารที่ปล่อยทิ้งร้างมาก่อน แล้วมาปรับปรุงทำเป็น Site Office ชั่วคราวในภายหลัง ฝ้าเพดานในห้องน้ำชายชั้นล่างที่มุมห้องน้ำมีรอยแตก มีตุ๊กแกตัวเมียและลูกตุ๊กแกอีกตัวหรือสองตัวอาศัยอยู่ด้วยกัน ตอนนั้นลูกตุ๊กแกตัวโตขนาดนิ้วก้อยได้ อยู่ต่อมาอีกไม่นานมากนัก ก็มีลูกตุ๊กแกตามมาอีกรุ่น และตามมาอีกหลายๆรุ่นในเวลาห่างกันไม่กี่เดือน จนตุ๊กแกฝูงนี้มีจำนวนรวมกันประมาณ 10 ถึง 11 ตัว แต่ลูกตุ๊กแกที่เห็นตั้งแต่รุ่นแรก โตจนเกือบเท่าตัวแม่ โตประมาณนิ้วหัวแม่ตีน ก็ยังอยู่รวมกัน ไม่ได้แยกไปหากินอยู่ที่อื่น ที่ผมสังเกตเห็นเช่นนี้ได้ เพราะทุกเย็นเวลาประมาณ 5-6 โมงเย็น เมื่อพนักงานทุกคนกลับหมดแล้ว ฟ้าเริ่มมืดและเงียบเสียงแล้ว ตุ๊กแกฝูงนี้ก็จะเริ่มออกมาจากรอยแตกที่ฝ้า แล้วคลานตามผนังห้องน้ำไปออกทางช่องบานเกล็ดระบายอากาศข้างห้องน้ำ เพื่อออกไปหากินข้างนอกรอบๆผนังอาคารและบนหลังคาอาคาร เมื่อได้เวลาที่ตุ๊กแกจะออกไปหากิน ผมก็จะเข้าไปนั่งซุ่มรอดักถ่ายรูปเป็นประจำโดยปิดไฟและนั่งรออยู่เงียบๆ เพราะหากเปิดไฟสว่างหรือมีเสียงดัง ตุ๊กแกก็จะไม่กล้าออกมา บางครั้งทดลองเปิดไฟสว่างและนั่งรออยู่นาน ตุ๊กแกก็ยังไม่กล้าออกมา ยกเว้นบางครั้ง ที่ลูกตุ๊กแกตัวเล็กอาจจะทนหิวไม่ไหว ทำใจกล้าวิ่งผ่านหน้าอย่างรวดเร็วไปออกทางช่องระบายอากาศ อาจจะเป็นเพราะว่าความหิวมากกว่าความกลัว แต่ตุ๊กแกตัวใหญ่ โดยเฉพาะตัวแม่ จะไม่ยอมออกมาจนกว่าจะมืดและเงียบจริงๆ ก็นึกสงสารที่ทำให้พวกเขาต้องทนหิวเพราะความกลัว ก็ต้องหลบออกไปจากห้องน้ำให้พวกเขาได้ออกไปหากิน ที่มีโอกาสได้ถ่ายรูป ก็ตอนที่ผมเข้าไปในห้องน้ำในช่วงที่ตุ๊กแกเพิ่งจะออกมาจากรอยแตกของฝ้าและยังเกาะอยู่บนผนังห้องน้ำในระหว่างที่จะไปออกทางช่องระบายอากาส พวกลูกตุ๊กแกเมื่อเห็นผมเข้ามาในห้องน้ำ จะหยุดนิ่งและจ้องมองมาที่ผม ทำให้ผมมีโอกาสถ่ายรูป แต่ตัวแม่ หากอยู่ใกล้ช่องระบายอากาศ ก็จะวิ่งออกไปทางช่องระบายอากาศไปเลย หรือหากอยู่ใกล้รอยแตกของฝ้า ก็จะวิ่งกลับเข้าไปในรอยแตกของฝ้าเหมือนเดิม พฤติกรรมที่สังเกตเห็นอีกอย่างคือ ตุ๊กแกจะถ่ายอุจจาระที่ผนังห้องน้ำก่อนจะออกไปหากิน แสดงว่าตุ๊กแกจะไม่ถ่ายอุจจาระในบริเวณที่หลบนอน เพราะฉะนั้นที่พื้นห้องน้ำข้างประตูห้องน้ำ จะมีขี้ตุ๊กแกอยู่ทุกเช้า บางครั้งก็เป็นกองโตมาก แสดงว่าเป็นของแม่ตุ๊กแก ประเด็นคำถามคือ
1) ที่ตุ๊กแกอยู่รวมกันเป็นฝูง เพราะว่าตุ๊กแกอาจจะเป็นสัตว์สังคมก็ได้ หรือเป็นเพราะสภาพแวดล้อมบังคับ เพราะอาคารดังกล่าวเป็นอาคารเดียวโดดๆ จึงทำให้ตุ๊กแกยังอยู่รวมกันเป็นฝูง ไม่กระจัดกระจายไปหากินที่อื่น
2) ตุ๊กแกวางไข่ครั้งละ 2 ใบ เหมือนพวกตุ๊กกาย หรือจิ้งจกดินหรือไม่ ที่สังเกตดู ลูกตุ๊กแกแต่ละรุ่นก็มีประมาณ 2 ตัว
3) ตุ๊กแกวางไข่แต่ละครั้ง ห่างกันนานแค่ไหน เพราะที่เห็น เวลาห่างกันไม่นานนัก ก็มีลูกตุ๊กแกตามกันมาหลายรุ่น
คติธรรมฯ (แก็ต)
ความเห็นที่ 9
ตุ๊กแกวางไข่ครั้งละสองฟอง ในรอบปีไม่น่าเกินสองชุดต่อแม่ (ยังเช็คไม่ได้ เพราะที่บ้านผมเป็นแหล่งอาหาร ไม่ใช่แหล่งวางไข่) โดยเทียบเคียงกับกลุ่มจิ้งจกบ้านสกุล Hemidactylus กับตุ๊กแกหินทราย (Gekko petricolus) ที่วางไข่ปีละสองชุดต่อแม่
ตุ๊กแกบ้าน ผมยังไม่ทราบเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นจิ้งจกสกุล Hemidactylus วางไข่ห่างกันประมาณหนึ่งเดือน แล้วก็รอยาวไปจนถึงรอบหน้าเลยครับ
ความเห็นที่ 9.1
คติธรรมฯ (แก็ต)