ประกาศผล: สุดยอดภาพความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมของไทย 2012
ขอบคุณที่ปีนี้ก็ได้รับความสนใจจากพี่น้องส่งภาพสวยๆงามๆกันเข้ามามากมายนะครับ ปีนี้ภาพงามจริงๆ กรรมการเราตัดสินแล้ว โดยใช้หลักเกณฑ์ ทั้ง ความสวยงามของภาพ ความลุ่มลึกของภาพ ความน่าสนใจ และสื่อความหมาย ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมของไทย ได้อย่างดีที่สุด โดยภาพที่ได้รับรางวัล มีดังนี้ครับ
(สำหรับรางวัลหนังสือเรื่องเสือ และ อุทยานแห่งชาตินั้น ขอสงวนสิทธิ์ให้ที่ 1 เลือกก่อนว่าจะเอาเล่มไหนแล้วอีกเล่มให้ที่ 2 นะครับ) ที่สามเป็นเสื้อคอปก และ ที่ 4-5 รับเป็นหนังสือ "ทำไมต้องต้านเขื่อนแม่วงก์" จากมูลนิธิสืบฯนะครับ
กระทู้จัดประกวด
http://www.siamensis.org/webboard/topic/36707#comment-42933
สำหรับภาพที่ได้ที่หนึ่ง คือ!
ผู้ถ่ายภาพ: คมสัน หงภัทรคีรี
ชนิด: แมงมุมปูคล้ายมดแดง Amyciaea forticeps
สถานที่: จ.จันทบุรี
ข้อมูล: ภาพนี้หากมองผิวเผินอาจดูเหมือนมดแดงกำลังกินกันเอง แต่หากลองสังเกตให้ดีจะพบว่าผู้ล่ากลับเป็นแมงมุมปูที่มีสีสันและลักษณะ คล้ายมดแดงมากทีเดียว นักล่าจอมปลอมตัวนี้มีสีส้ม ขายาว และมีจุดสีดำบริเวณส่วนท้องคล้ายตาของมดแดง จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่มันสามารถแฝงกายเดินปะปนอยู่ในกลุ่มมดแดงซึ่งเป็น เหยื่อชนิดหลักของมันได้ ในขณะที่แมงมุมที่มีลักษณะคล้ายมดส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากการป้องกันภัย เมื่ออาศัยอยู่ใกล้ฝูงมด แต่เจ้าแมงมุมปูคล้ายมดแดงกลับใช้ผู้คุ้มกันภัยอย่างมดแดงเป็นเหยื่ออีกต่อ หนึ่ง ในซีกโลกใต้ซึ่งมดแดงมีสีเขียว แมงมุมปูกลุ่มนี้ก็มีสีเขียวด้วยเช่นกัน นับเป็นวิวัฒนาการร่วมที่แสนอัศจรรย์ในโลกใบเล็กรอบๆตัวของเรา
Comments
ความเห็นที่ 1
ผู้ถ่ายภาพ: วิชญนันท์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ
ชนิด: หมาไน Cuon alpinus (Pallas, 1811) และ เหี้ย Varanus salvator (Laurenti, 1768
สถานที่: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี
ข้อมูล: เมื่อ มีฝูงหมาไนมาล้มกวางตัวเมียไม่ไกลจากที่พัก ก็เป็นโอกาสดีที่ผมจะได้สังเกตพฤติกรรมและถ่ายภาพเก็บไว้ โดยผมปีนขึ้นไปบนต้นไม้เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เมื่อหมาไนทั้งหมดสิบกว่าตัวยังคงทยอยเข้ามากินซากกวาง แต่ก็ยังแสดงพฤติกรรมหวาดระแวง คอยหันมามองผมเป็นระยะๆ ผมก็ตัดสินใจว่าจะไม่รบกวนมันนานเกินไป เมื่อเก็บภาพที่ได้เป็นที่พึงพอใจแล้วจะรีบกลับลงมาทันที ไม่นานก็มีเหี้ยเข้ามาร่วมด้วย น่าแปลกใจที่สัตว์นักล่าที่น่าสะพรึงกลัวอย่างหมาไนจะกินซากสัตว์ที่ล่ามา กับเหี้ยอย่างสันติ
ความเห็นที่ 1.1
ความเห็นที่ 2
ผู้ถ่ายภาพ:นายธนโรจน์ เงินวิลัย
ชนิด:งูเขียวพระอินทร์
Golden tree snake
Chrysopelea ornata
สถานที่ :อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
คำ อธิบาย:ยามเช้าหลังฝนตกในค่ำคืนที่ผ่านมา งูเขียวพระอินทร์ตัวนี้ออกมาผึ่งแดดบนหินก้อนใหญ่ โดยไม่ได้กลัวคนที่ผ่านไปผ่านมาเลย ผมโคสอัพเข้าไปใกล้มาก เจ้างูน้อยคงตกใจพยายามทำตัวเองให้ใหญ่โตโดยการชูคอดั่งงูเห่าแผ่แม่เบี้ย แต่หารู้ไม่ว่า ยิ่งทำยิ่งดูน่ารักมากกว่า
ความเห็นที่ 3
ชื่อไทย: กิ้งก่าดงใหญ่
ชื่อสามัญ: Great Anglehead Lizard
ชื่อวิทยาศาสตร์: Gonocephalus grandis
สถานที่: อุทยานแห่งชาติบางลาง จ.ยะลา
ข้อมูล: เป็นกิ้งก่าที่พบได้ตามริมลำธารของป่าดิบชื้นในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย มีสีสันสวยงาม และมีขนาดใหญ่ แต่เมื่อมีสิ่งใดที่เป็นภัยหรืออันตรายเข้ามาใกล้ตัว มันจะกระโดดลงน้ำและหนีโดยทันที ซึ่งทำให้ผมนึกถึงกิ้งก่าบาซิลิสก์วิ่งสองขาบนผิวน้ำแบบที่เคยเห็นในสารคดี เลยทีเดียว ทำให้กิ้งก่าในกลุ่มนี้เป็นกิ้งก่าที่ผมชอบมากๆ
ความเห็นที่ 4
ชื่อผู้ถ่าย เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง
ชนิด หมูหริ่ง Hog Badger (Arctonyx collaris)
สถานที่ ห้วยขาแข้ง จ. อุทัยธานี
ข้อมูล ไม่ถึงห้านาทีที่ผมขึ้นไปนั่งบนบังไพร หมุหริ่งตัวนี้ก็ตื่นนอนจากหลังก้อนหิน ลุกจากปลักที่มันนอนแช่อยู่ เดินงุดๆผ่านหน้าผมไปในระยะค่อนข้างใกล้ เป็นสัตว์ตัวเดียวตลอดบ่ายวันนั้นที่เดินมาเข้าโป่ง หรือพูดให้ถูก เดินออกจากโป่งไป
ความเห็นที่ 4.1
ความเห็นที่ 4.2
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
ปลายปีพบกันใหม่ อย่าลืมเก็บภาพสวยๆ มาร่วมสนุกนะครับ
ความเห็นที่ 8
สองภาพแรกสื่อได้ถึงความหลากหลาย
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 9.1
(ทีมงาน art work รายงานตัว standby พร้อมค่ะ) (^-^)\
ความเห็นที่ 10
อยากเห็นปฏิทินจัง
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 12
ความเห็นที่ 13
ความเห็นที่ 14
ความเห็นที่ 15
ความเห็นที่ 16
ความเห็นที่ 16.1
ความเห็นที่ 17
เตรียมตัวรับของรางวัล หุหุ
ยินดีกับท่านอื่นๆด้วยนะครับ
ความเห็นที่ 18
ความเห็นที่ 19
ความเห็นที่ 20
อันดับหนึ่งไว้ผมไปส่งให้ที่มหาลัย สี่ไว้เจอค่อยให้ อันดับ 2 และ 3 และ 5 รบกวนส่งที่อยู่ให้ผมทาง PM ด้วยนะครับ
ความเห็นที่ 21
ความเห็นที่ 22
ความเห็นที่ 23