ปลาสองตัวนี้ ชื่ออะไรคะ

สวัสดีคะ 
เข้ารบกวนถามอีกแล้วคะ คราวที่แล้วยังไม่ได้คำตอบของปลาสองตัวนี้คะ ส่วนที่ได้คำตอบแล้ว ก็ขอขอบพระคุณอีกครั้งมา ณ ที่นี่คะข้อมูลภาษาไทยมีน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีก็ว่าได้ หาเจอแต่ของคนต่างชาติ ส่วนใหญ่จะเป็นรูปถ่ายคะ 

เมื่อได้ข้อมูลแล้ว ดิฉันจะนำไปใส่ในรูปภาพที่ถ่ายมา และเขียนบอกที่มาของข้อมูลด้วยคะ 

ปลาทั้งหมดถ่ายมาจากแอ่งน้ำขังหลังจากน้ำทะเลลดลงต่ำสุดคะ สถานที่คือเกาะไหง ทะเลอันดามันใต้คะ
ภาพถ่ายไม่ชัดเจนเลยคะ เพราะไม่มีกล้องถ่ายภาพใต้น้ำคะ 

Comments

ความเห็นที่ 1

ผมว่าภาพสุดท้ายน่าจะเป็นมูลทรายของพวกหนอนทะเลที่อยู่ในรูใต้ผืนทรายมากกว่าครับ

ความเห็นที่ 1.1

ขอบพระคุณคะคุณนกกินเปี้ยว
 พอบอกว่าหนอนทะเล ไม่ค่อยจะกล้าหาข้อมูลเลยคะ เพราะว่าขยะแขยงสัตว์ประเภทนั้น เห็นแล้วหัวใจเหมือนจะหยุดเต้นคะ 

ความเห็นที่ 2

ลองค่อยๆทำความรู้จักมันดูสิครับ ลองดูข้อมูลของมันก่อนก็ได้ อย่าเพิ่งใส่ใจในภาพลักษณ์ของมัน แล้วอาจจะหลงรักมันก็ได้

ความเห็นที่ 2.1

ตามที่บอกเลยคะ พยามยามแล้วคะ เพียงแค่เห็นรูปที่ค้นหาข้อมูล หัวใจแทบวายคะ 

ความเห็นที่ 2.1.1

อะ จึ๋ยยยยย

ความเห็นที่ 2.1.2

ความรู้สึกกลัว เกลียด ขยะแขยงฝังใจแบบนี้ ยากที่จะลบออกจากจิตใจได้ เพราะเป็นความรู้สึกที่รุนแรงประทับฝังลึกในจิตใต้สำนึก เมื่อได้พบเจอภาพหรือสิ่งกระตุ้น ความรู้สึกกลัว เกลียด ขยะแขยงนี้ก็จะพลุ่งประทุขึ้นมา โดยยากที่จะควบคุมโดยจิตสำนึกปกติได้ แต่ถ้าหากว่าอยากจะกำจัดความรู้สึกเหล่านั้นออกไปจากจิตใจจริงๆ ก็ต้องมีความตั้งใจแน่วแน่และลงมือกระทำอย่างจริงจัง โดยการหันหน้าเข้าเผชิญกับสิ่งเหล่านั้นแทนการหลีกหนี แต่ต้องมีการเตรียมจิตใจให้พร้อม ให้หนักแน่น ก่อนที่จะเผชิญกับสิ่งเหล่านั้น โดยคิดเสียว่าสิ่งที่เราพบเห็นนั้น เป็นเพียงภาพที่เราเห็น สิ่งนั้นไม่สามารถมาทำร้ายเราได้จริงๆ การมองดูภาพที่กระตุ้นความกลัว ความขยะแขยงนี้ ต้องทำทีละเล็กทีละน้อย แต่ต้องทำบ่อยๆ อย่าเว้นช่วงห่างนานเกินไป ช่วงแรกๆถ้ายังรู้สึกกลัว ยังขยะแขยงมากอยู่ ก็อย่าฝืน ให้หยุดเว้นระยะสักช่วงหนึ่งก่อน แล้วค่อยเริ่มลองดูใหม่ จนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น แล้วค่อยเพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้น จนรู้สึกหายกลัว หรือหายขยะแขยง วิธีนี้คล้ายกับการที่หมอใช้รักษาอาการภูมิแพ้ โดยให้คนไข้ได้รับสารกระตุ้นอาการแพ้ทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งร่างกายสามารถปรับสภาพจนไม่มีอาการภูมิแพ้อีก เพียงแต่ว่าวิธีนี้ใช้กับความรู้สึกทางจิตใจ ดูเหมือนกับเป็นการกระทำแบบย้ำคิดย้ำทำ แต่เป็นการนำมาใช้ในทางบวก สำหรับประสบการณ์ของตัวผมเองนั้น เมื่อก่อนนี้ ตอนสมัยเป็นเด็กเป็นวัยรุ่น เมื่อได้เห็นเหตุการณ์ หรือดูภาพอุบัติเหตุ ที่มีคนบาดเจ็บ เสียชีวิต มีเลือดแดงฉานไหลตามพื้นถนน ผมจะรู้สึกใจสั่น ใจหวิว มือเท้าอ่อน ผะอืดผะอม จะเป็นลม แต่ตอนเป็นเด็ก เพราะความอยากรู้อยากเห็นมันรุนแรงมากกว่าความรู้สึกข้างต้น เมื่อรู้ว่ามีอุบัตืเหตุ ก็ชอบไปดู เมื่อมาอยู่กทม. เมื่อหลายสิบปีก่อน มีนิตยสารรายปักษ์รายเดือนเกี่ยวกับข่าวอาชญากรรมพิมพ์ออกขาย มีภาพข่าวอุบัติเหตุ การฆาตกรรม มีภาพผู้เคราะห์ร้าย มีเลือดแดงฉาน มันสมองไหล หรือขึ้นอืดเน่าเฟะ หนอนไต่ยั้วเยี้ย ตอนนั้นเมื่อดูใหม่ๆ ความรู้สึกเหล่านั้นก็ยังมีอยู่ แต่เมื่อดูบ่อยๆเข้า ความรู้สึกเหล่านั้นก็ลดลง ปัจจุบันนี้เมื่อผมเห็นภาพเหล่านี้ ก็รู้สึกเฉยๆแล้ว

มีอีกประเด็นหนึ่งที่อยากเล่าสู่กันฟัง เผื่อบางท่านอาจจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองบ้างก็ได้ คือคนเราทุกคนย่อมมีความทรงจำเกี่ยวกับความรู้สึกที่ไม่ดี เช่น ความเศร้า เสียใจ หดหู่ ผิดหวัง โกรธ เกลียด เคียดแค้น ชิงชัง อาฆาต พยาบาท อิจฉา ริษยา อยู่ในใจกันทุกคน ยากที่จะลบเลือนออกไปจากจิตใจเราได้เช่นกัน เพียงแต่ว่าเราหลีกเลี่ยงไม่ไปคิด ไม่ไปนึกถึงมันเท่านั้น เพราะว่ามันสร้างความรู้สึกที่ไม่ดีให้กับจิตใจเรา แต่ว่ามันไม่ได้หายไปไหน มันยังคงอยู่เป็นสารพิษ เป็นขยะทางอารมณ์อยู่ในความทรงจำของเราอยู่อย่างนั้น โดยเฉพาะคนที่มีความทรงจำดี ในกรณีของผม เมื่อไม่สามารถลบความทรงจำที่ไม่ดีเหล่านั้นออกไปได้ ผมก็จะใชัวิธีเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนความรู้สึก เปลี่ยนทัศนคติต่อเรื่องนั้นเสียใหม่ เช่นมองว่าเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อยอย่าไปถือสา หรือให้อภัยต่อผู้ที่ทำไม่ดีต่อเราเสีย อโหสิ ละความอาฆาตพยาบาท หรืออย่าไปนึกเสียดาย อย่าไปยึดถือ ยึดติด ยึดมั่น ปล่อยวางต่อเรื่องต่างๆเสียบ้าง ก็จะทำให้จิตใจเราดีขึ้น เป็นการขจัดสารพิษ กำจัดขยะทางอารมณ์ออกไปจากจิตใจของเรา โดยเมื่อมีเวลาว่าง จิตใจสงบ ผมก็จะนั่งย้อนระลึกถึงเรื่องราวในอดีต สำรวจความทรงจำที่สร้างความรู้สึกที่ไม่ดีต่อจิตใจ ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง ครั้งละเรื่อง แล้วจับมาพิจารณาว่าสาเหตุที่เรื่องนั้นสร้างความรู้สึกที่ไม่ดีต่อจิตใจเราคืออะไร แล้วก็จะใช้วิธีเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนทัษนคติ เปลี่ยนความรู้สึกต่อเรื่องนี้นเสียใหม่ตามรายละเอียดข้างต้น ผมเรียกวิธีนี้ว่า "การเคี้ยวเอื้องทางอารมณ์" เป็นการขุดคุ้ยความทรงจำที่ไม่ดีออกมาย่อยเสียใหม่ เหมือนกับสัตว์เคี้ยวเอื้องที่ขยอกอาหารออกมาเคี้ยวบดให้ละเอียดอีกครั้ง เพื่อย่อยเป็นอาหารต่อไป

คติธรรมฯ (แก็ต)

ความเห็นที่ 3

ไม่ทราบว่าจะหาข้อมูลชื่อของปลาทั้งสองตัวนี้ได้จากที่ไหนบ้างคะ พยายามหาแล้วคะ แต่ยังไม่เจอเลย 

ความเห็นที่ 3.1

ทั้ง 2 ตัวคือ Pomacentrus adelus ค้นได้ใน fishbase.org

ความเห็นที่ 3.1.1

ขอบพระคุณมากคะ อาจาร์ย waterpanda

ความเห็นที่ 3.1.2

 Pomacentrus adelus ค้นหาจากคำนี้เจอรูปเหมือนกันเลยคะ อาจารย์ waterpanda

ดีใจมากคะ เข้าไปจะอ่านรายละเอียดคะ

ความเห็นที่ 3.1.3

อาจาร์ยwaterpanda คะ ข้อมูลมีแต่ภาษาอังกฤษทั้งนั้นเลย
เจอของ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และคุณอนุวัต สายแสง ที่เป็นภาษาไทย 

ดีใจคะที่ได้รู้ว่าเขาอยู่ในครอบครัวของปลาสลิส อาจาร์ยให้ชื่อแต่ละชื่อเป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ ดิฉันไม่ถนัดคะ แหะแหะ

ความเห็นที่ 3.1.4

เจอแล้วคะอาจารย์ waterpanda 
เจอจากเว๊บไซค์ด้านล่างนี้คะ อยู่ในนานน้ำเดียวกัน และเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยน ดีใจมากๆ 

http://www.wildsingapore.com/wildfacts/vertebrates/fish/pomacentridae/tripunctatus.htm

ความเห็นที่ 4

วิธีหาข้อมูลด้วยตัวเอง มีวิธีแบบง่ายๆอยู่อีกวิธี คือลองเดาว่าคล้ายปลาอะไรแล้วหาดู อย่างผมเห็นรูปในเว้ปแล้วก็ลองเดาว่าว่าน่าจะชื่ออะไร แล้วหาดู อย่างในรูปผมว่าเป็นสลิดหินหรือสลิดน้ำเค็มผมก็ลองหาดู ถ้าไม่ใช่ก็เปลี่ยนใหม่ ใช้เวลาหน่อยแต่ได้อรรถรสในการหามากเลยครับ

ความเห็นที่ 4.1

ขอบพระคุณในคำแนะนำคะ คุณตุ้ม 
ดิฉันจะนำวิธีที่คุณแนะนำมาทำคะ แต่บางครั้งก็ต้องเข้ามาขอให้ช่วยเพราะไม่รู้ว่าคล้ายอะไร ไม่รู้จักนั้นเองคะ หิหิ
ใช่คะได้รับความสนุก และได้รับข้อมมูลเพิ่มขึ้นอีกด้วย 

ความเห็นที่ 4.1.1

ไม่ต้องขอบพระคุณหรอกครับ แรกๆผมก็แบบคุณไอรินแหละครับ แต่พอค่อยๆหาไป แล้วรู้สึกดีครับ ผิดถูกไม่ใช่เรื่องใหญ่ อยู่ที่ใจรักในธรรมชาติชาติและเพื่อนร่วมโลกครับ ไม่มีเขาเราก็อยู่ไม่ได้ เหมือนกันครับ ขอบคุณครับที่นำเรื่องราวดีๆมาให้ชมให้หาความรู้กัน ขอบคุณครับผม