จริงรึเปล่า ใครเก่งด้านพืชช่วยตอบทีครับ

ไม้ฟอกอากาศ: ลิ้นมังกรแบบปลูกในบ้าน   

กระทู้นี้ตั้งขึ้นสำหรับคนที่สนใจเลี้ยงลิ้นมังกรแต่ไม่มีพื้นที่นอกบ้าน เช่น อยู่หอพัก หรือ มีพื้นที่แต่ไม่ค่อยมีแดด หรือ มีฝนตกเกือบทั้งปีครับ

------------------------------------------------------
ทำไมต้องปลูกลิ้นมังในบ้าน ???

ลิ้น มังกรเป็นไม้ฟอกอากาศ 1 ใน 50 ตัว ที่อาจารย์ Wolverton ได้ทำงานในโครงการไม้ฟอกอากาศของ NASA และสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ตอนกลางคืน (เป็นกลุ่ม CAM Plant ปากใบจะเปิดตอนกลางคืน) จึงเป็นไม้น่าสนใจตัวนึงสำหรับเลี้ยงไว้ในบ้าน

------------------------------------------------------

ข้อมูลไม้ฟอกอากาศสำรับผู้สนใจ:

ตารางรายละเอียดของต้นไม้และสารพิษที่ทดลอง
http://www.vcharkarn.com/varticle/38376

ต้นไม้ในออฟฟิศลดอาการป่วยและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานhttp://202.183.190.2/FTPiWebAdmin/knw_pworld/image_content/63/HR3.pdf

------------------------------------------------------

รูปด้านล่างคือ Dr. B.C. "Bill" Wolverton ครับ

ที่มาของรูป:
http://www.wolvertonenvironmental.com/bcw.htm

จาก http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2011/01/J10120422/J10120...





:::   สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ตอนกลางคืน (เป็นกลุ่ม CAM Plant ปากใบจะเปิดตอนกลางคืน) ????? ปากใบเปิด = ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ???? น่าสนใจๆ

Comments

ความเห็นที่ 1

เคยหาดูอยู่เหมือนกัน แต่ไม่ได้ศึกษาต่อ ดร.ไม่จัดไปหล่ะ!

ความเห็นที่ 2

พี่ Chanin Thorut ตอบไว้ใน FB ครับ

เอาง่ายๆ นะ มันจะมีพืชหลายชนิด จากหลายวงศ์ ที่มีการเปิดปากใบแลกเปลี่ยนก๊าซตอนกลางคืน โดยเฉพาะพวกพืชทนแล้ง และพืชอิงอาศัยหลายชนิด อย่างเช่นพวกกระบองเพชร กุหลาบหิน ลิ้นมังกร สับปะรดสี กล้วยไม้ ฯลฯ ก็เลยนำหลัการดูดก๊าซคาร์บอนในตอนกลางคืน มาใช้เป็นพืชดูด C02 ครับ

http://manage.brr.ac.th/biology/photosynthesis/photosynthesis5.pdf


ดังนั้น อาจไม่จำเป็นว่าจะต้องเลือกปลูกเฉพาะแต่พวกพวกสกุล Sansevieria หรือที่เราเรียก "ลิ้นมังกร" ก็ได้ครับ อาจเลือกปลูกกล้วยไม้ หรือสับปะรดสีแทนก็ได้ แต่บังเอิญว่า "ลิ้นมังกร" เป็นต้นไม้ที่เลี้ยงง่าย ทนได้ทั้งสภาพร่มจัด หรือแดดจัด ปลูกแบบพืชไร้ดิน คือแช่น้ำก็ยังอยู่ได้ ไม่เน่าตาย หรือหากแห้งลืมรดน้ำ ก็ยังทนได้เป็นเดือน ก็เลยเหมาะจะเอามาเลี้ยงเป็นไม้กระถางวางในอาคาร และยังใช้ช่วยดูดก๊าซได้

ทว่าจะได้มากจนเห็นข้อแตกต่างในห้องเปิดหรือไม่ อันนี้คงต้องมีการวัดค่ากันเป็นเรื่องเป็นราวหล่ะครับ

ความเห็นที่ 3

อันนี้นอกเรื่องนิดนึงครับ สมมติฐานเดิมๆที่ว่าการปลูกต้นไม้ทั่วไปในห้องนอน(ที่คาย CO2 ตอนกลางคืน)จะทำให้เสียอากาศบริสุทธิ์จนส่งผลต่อร่างกายนั้น ผมไม่เชื่อเลยครับ เพราะการเอาคน 1 คนไปนอนด้วยนั้นแย่งอากาศมากกว่าต้นไม้ 1 ต้นเสียอีก