อ๊ายอาย

ผมติดตามข่าวการประชุมไซเตส ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ครั้งแรกที่ได้ยินข่าวว่ามีการประชุมแอบภูมิใจลึกๆว่าเอาละวะ งานนี้มีลุ้นทั้งเรื่องของสัตว์ป่า ป่าไม้และอีกหลายอย่างน่าจะดีขึ้น ในขณะที่การประชุมดำเนินไปความภูมิใจเริ่มหดเริ่มหายลงทุกที ว่านี่คือการประจานประเทศไทยหรือเปล่า ตอนที่ไม่มีการประชุมข่าวเน่าๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็มีออกมาบ้างแต่ไม่ใช่เยอะขนาดนี้ (หรือมีเยอะแต่ไม่เป็นข่าวก็ไม่รู้) แต่พอมีการประชุมไซเตส ข่าวเน่าๆออกมาไม่เว้นแต่ละวัน เฮ้อ ! เหนื่อยใจ ไม่จัดดีกว่ามั้ง เริ่มจากดาราดังระดับโลกขอให้ไทยหยุดค้างาช้างซึ่งเราก็แก้เกี้ยวว่างาช้างที่เราค้าได้มาอย่างถูกต้อง(ต้องไหนวะ) เพราะเป็นช้างเลี้ยง ปรากฏว่าต่างชาติที่เข้าร่วมประชุมเขามีข้อมูลของการค้างาช้างที่ผิดกฏหมายมายืนยันว่าเรา(ประเทศไทย)เป็นทางผ่านรายใหญ่ของการค้างาช้างจากแอฟริกาและลูกช้างเป็นๆ ยังไม่ทันไรข่าวล้มแม่ช้างที่แก่งกระจานก็ออกมา เรื่องของไม้พยุงที่ขอให้ผ่อนผันทั้งๆที่เราเลิกสัมปทานป่าไม้ไปแล้ว ปรากกว่ามีการลักลอบตัดโดยใช้รถของราชการในการขนส่ง (อายเขาไหมล่ะพี่น้อง)เขายังถามต่อว่าแล้วเรื่องป้องกันการสวมตอจะแก้ไขอย่างไร (อ่ะ ! ฝรั่งรู้เรื่องสวมตอด้วยหรือนี่มันลิขสิทธิ์ของไทยนะไม่มีใครทำได้แล้วรู้ได้ไง) ต่อมาก็ขอให้ปรับจรเข้ที่อยู่ในบัญชี 1 ไไปอยู่ในบัญชี 2 เราเพาะเลี้ยงได้ปีละเจ็ดแสนตัว โดยมีผู้ต่อต้านคืออเมริกา ตรงนี้พอฟังได้ว่าไม่ต้องการให้เกิดคู่แข่งทางการค้าเพราะอเมริกาส่งออกผลิตภัณฑ์จากจรเข้เป็นเจ้าใหญ่ แต่เจอคำถามสวนกลับมาว่าแล้วข่าวที่มีการนำจรเข้ออกจากแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติจะแก้ไขอย่างไร และจะเพิ่มจำนวนจรเข้ในธรรมชาติอย่างไร เจ้าหน้าที่ก็แจ้งที่ประชุมว่ากำลังจะทำการเพิ่มจำนวนจรเข้ในธรรมชาติให้มากขึ้น ทั้งที่ แควละบมสียัด แก่งกระจาน ปางสีดา มีสมาชิกถามว่าที่ปางสีดากำลังจะมีการสร้างเขื่อนไม่ใช่หรือ (ใบ้แดกซิครับ) และแล้วก้มีข่าวงามหน้าเจ้าหน้าของรัฐขนนอแรดเถื่อนจากแอฟริกาเข้ามาในไทยเพื่อเป็นทางผ่านไปยังประเทศที่สาม ส่วนหนึ่งก็คิดว่า ที่มีข่าวเพราะเราดูแลอย่างจริงจังถึงมีข่าว แต่พอมาดูให้ละเอียดอีกทีมันเกิดจากหน่วยงานของรัฐนี่หว่า ยังมีข้อดีให้ชื่นใจนิดนึงว่าเราเป็นประเทศที่อนุรักษ์เสือโครงได้ดีในระดับภูมิภาค อ้าว ! ลืมพรุ่งนี้มีการประชุมเรื่องฉลามประเด็นอยู่ที่จีน กับ ญี่ปุ่น แต่ไทยเป็นผู้ส่งวัตถุดิบรายใหญ่ให้กับสองประเทศนี้ โปรดติดตามตอนต่อไป (เฮ้อ ! แค่นี้ก็อ๊ายอายแล้ว อ่ะ ) ขออภัยไม่มีอะไรให้ดูเป็นกระทู้ที่อยากระบายความในใจเฉยๆ ขอโทษนะครับ ไม่รู้จะพูดให้ใครฟัง เลยมาระบายในที่นี้ อย่างที่บอก อ๊ายอาย ขอบคุณครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

sad

ความเห็นที่ 2

การประชุม Cites ก็เหมือนการประชุมที่ทุกประเทศมาปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองเท่านั้นแหละค่ะ  อย่าว่างั้นงี้เลย แค่เรามีผู้นำรัฐบาลที่มีนโยบายห่วยๆ แบบทุกวันนี้ก็ไม่มีเรื่องใหนจะน่าละอายไปมากกว่านี้แล้วค่ะ no

ความเห็นที่ 2.1

yes

ความเห็นที่ 2.2

yesyesyes

ความเห็นที่ 2.3

หลายท่านคงได้ชมในโทรทัศน์ที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์เกี่ยวกับการดูแลรักษาป่าไม้ของประเทศไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาว่าไม่ได้ผล แต่ไม่ทราบว่ารัฐบาลและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมป่าไม้ ไม่รู้สึกรู้สาหรืออย่างไร ถึงยังได้มีการเสนอให้มีการค้าไม้พะยูงได้ หรือว่าหน้าหนาชาด้านเป็นไม้กระดานกันไปแล้ว หรือว่ามีผลประโยชน์มหาศาลมาเป็นม่านบังตากันอยู่

ความเห็นที่ 2.3.1

มีการสำรวจไม้พยุงมีเหลืออยู่ในประเทศไทยประมาณหนึงแสนต้น ผมว่าถ้าให้เหลือแค่ประมาณสองสามต้น เมื่อนั้นคงมีการอนุรักษ์กันแบบจร้งจังก็ได้นะ แต่......

ความเห็นที่ 3

ลองรวมตัวไปขึ้นบัญชีชนิดที่มะกันขายสิขอรับ จะได้รู้วิธีแก้ตัว

ตอนนี้ทุกคนกำลังเข้าใจไปว่า CITES เป็นอนุสัญญาที่เป็นการอนุรักษ์ ที่จริงมันว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศโดยอาศัยบริบทของการอนุรักษ์เป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้าหรือควบคุม แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังสะท้อนถึงการที่จะให้สิ่งนั้นๆคงอยู่จริงๆ (แต่น้อย) แล้วยิ่งไม่มีการส่งผ่านข้ามประเทศ อนุสัญญานี้ก็ไม่ได้มีผลอะไรเลย สิ่งที่มีผลจริงๆคือการใช้กฎหมายภายใน และบังคับใช้อย่างเหมาะสมต่างหาก เพราะมันสามารถครอบคลุมได้ทั้งการใช้ประโยชน์ภายในประเทศและส่งผลถึงการส่งผ่านประเทศได้อีกทอดด้วย

ลองมาดูพี่ใหญ่อย่างมะกันที่คอยขึ้นบัญชีเรื่อยๆ เพราะอะไร..งูเหลือม งูหลาม ซึ่งเป็นสัตว์พื้นเมืองของ SEA แต่ประเทศในภูมิภาคนี้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศได้อย่างถูกกฎหมาย(ระหว่างประเทศ) แต่มะกันขายได้อย่างเสรี...เริ่มเห็นอะไรบ้างหรือยัง นี่แหละคือเจตนารมณ์ที่แท้จริงของ CITES โดยประเทศที่ริเริ่ม หรือมาในกรณีจระเข้ แต่อันนี้มีรายใหญ่ในไทยที่ไม่อยากให้ปรับขึ้นเช่นกัน เพราะเขาไม่ต้องการคู่แข่งที่เกิดในประเทศ หรือในภูมิภาค การส่งออกต้องมาผ่านเขาทั้งหมด ทั้งๆที่ติดบัญชี 1 แล้วยังส่งออกได้ เพราะอะไร CITES ก็มีคำตอบ บอกแล้วว่ามันเป้นเรื่องของการค้า อย่างจระเข้นั้นยังมีประเด็นที่ยังไม่สมควรปลดก็ตรงเรื่องประชากรในธรรมชาตินั่นแหละ ซึ่่งหากมะกันเอาจระเข้เหล่านั้นไปเพาะพันธุ์ได้มากมายในบ้านเขา แล้วเขาเกินอยากขาย เขาได้เปรียบเราตรงที่เขาไม่ต้องมาถูกถามเรื่องประชากรในธรรมชาติ

ตัวอย่างในมุมกลับ อย่างกระเบนโมโตโร ซึ่งเป็นปลาสวยงาม ก็มีประเทศมหาอำนาจอยากเอาขึ้นบัญชี 2  หากขึ้นได้สำเร็จ เจ้าของทรัพยากรก็จับขายได้ไม่สะดวกอีกแล้ว ต้องมาเพาะหรือมีโควต้าจับจากธรรมชาติซึ่งดูเหมือนดี จะได้รบกวนในธรรมชาติน้อยลง แต่มันยังมีระบบฟาร์มมาตรฐาน CITES ซึ่งส่งผลให้ตาสีตาสาคงเพาะขายลำบาก มันมีเงื่อนไขมากมายที่กระทบต่อต้นทุน เช่น จ้างสัตวแพทย์ประจำฟาร์ม จ้าง จนท. CITES มาประเมิน ฯลฯ ส่วนประเทศที่ร้องขอเขาก็ทำรอขาดผูกขาดไว้อยู่แล้ว ไทยเองก็เพาะขายได้มากมาย แต่ไม่ได้จัดการตามระบบของ CITES เท่านั้น (เพาะแบบชาวบ้านๆ) ไม่ใช่ระบบของ CITES มันไม่ดี บางเรื่องก็เห้นด้วยที่ควรจะทำไม่ว่าเป็นสัตว์ตามบัญชีใดๆของ CITES หรือไม่ เช่น ไล่เครือญาติของสัตว์แต่ละตัว เพื่อวางแผนในการจัดการไม่ให้เกิดปัญหาเลือดชิดได้ ส่วนประเทศมหาอำนาจเขาทำกันจริงๆแค่ไหน เราไม่มีโอกาสไปตรวจสอบเขาเลย (หากได้ไปก็คือที่เขาเตรียมเอาไว้แล้ว บ้านเราก็เป็น อิ อิ)

กรณีฉลาม กระเบนราหู โชคดีที่กระเบนราหูไม่ใช่เป้าหมายในการประมงบ้านเรา และถือว่าโชคร้ายถ้าจับติดขึ้นมาด้วย (แต่หลังๆก็เห้นขายโรงงานปลาเค็มบ้าง แต่เป็นสกุลที่ไม่เข้าข่ายนี้) มาฉลาม..  ฉลามที่ถูกจับแล้วสามารถปล่อยได้ก็เห็นเบ็ดนี่แหละที่โอกาสรอดสูงหากคนตกไม่ต้องการฉลาม (เคยเจอฉลามที่มีเบ็ดติดปากอยู่แล้วจากการตัดสายเพื่อปล่อยฉลาม แล้วมาติดเบ็ดราวทูน่า คราวนี้ไม่รอด) ส่วนเครื่องมือพาณิชย์ขนาดใหญ่ๆ มันไม่ค่อยรอด ตายตั้งแต่อยู่ในน้ำแล้ว เลยเป็นประเด็นที่ผมก็ยังหาทางออกให้ฉลามไม่ได้ ข้อจำกัดมันเยอะมากตั้งแต่ด้านชีววิทยาของมันเอง ยันเรื่องการทำประมง ซึ่งผมกล้าเอ่ยได้เลยว่า มันไม่สามารถช่วยฉลามได้จริงๆ แล้วไอ่ที่จับฉลามตัดครีบ ทิ้งตัวนั้น ไม่ใช่ชาวประมงไทยแน่ๆ เพราะในบ้านเราใช้ประโยชน์ทุกส่วนหากได้มันมาแล้ว แม้แต่เรือไม่กี่ลำที่เหมือนว่าจะมุ่งเน้นล่าฉลามก้ยังเอามาทั้งตัว แต่ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้อยากให้มันถูกล่าไปเรื่อยๆนะครับ แต่ตอนนี้เรากำลัง(จะ)ดีใจเพราะคิดว่าฉลามได้รับการช่วยเหลือแล้ว(แค่ในกระดาษ) เพราะตอนนี้แก้ไม่ตรงจุดจริงๆ (แต่จุดจริงๆผมก็ยังมึน) ประเทศไทยเองก็ไม่ใช่แหล่งอาศัยหลักของฉลามที่ขอขึ้นบัญชีเลย แต่มีติดจากการประมงจากที่อื่นเข้ามา ที่จะมากหน่อยก็ฉลามหัวค้อน Sphyrna lewini ขนาดเล็กกว่าวัยเจริญพันธุ์ หกประเทศเจ้าของแหล่งทรัพยากรใช้กฎหมายภายในดีๆหน่อย ก็เพียงพอแล้ว ส่วนฉลามชนิดดังกล่าวเมื่อโตเต็มวัยมันก็กระจายตัวในทะเลที่ลึกมากขึ้น โอกาสถูกจับก็น้อยลงไปเยอะแล้ว (ยกเว้นไปเจอเรือล่าฉลามของประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศที่ยังมีพฤติกรรมจับตัดครีบทิ้งตัว) ซึ่งหูฉลามเหล่านั้นไม่ได้ผ่านระบบการค้าของไทยเลยครับ (ที่อาจหลงหูหลงตาก็ไม่น่าเยอะ)

บัญชีที่เรียกได้ว่าเจ้าของทรัพยากรต้องการดูแลเองจริงๆ ก็อยู่ในบัญชี 3 ซึ่งเกิดจากการร้องขอของเจ้าของทรัพยากร เฉพาะประชากรที่อยู่ในอำนาจรัฐของเขาเท่านั้น

ขอให้พวกเรามีใจรักษ์อย่างมีสติครับ อย่างหลงไปกับกระแส

ความเห็นที่ 4

ขอบคุณครับอาจารย์น๊อต ได้เข้าใจอะไรมากขึ้นเลยครับ

ความเห็นที่ 5

อีกปัญหาคือ ถ้าเอาหูฉลามหัวค้อนจำนวนนึง ปนกับของฉลามชนิดอื่นๆ ใครจะจำแนกออกบ้าง ก่อนทำการคุม นับจำนวน quota????!!! ยิ่งทำเป็นฟอกขาวแบบพร้อมตุ๋นแล้ว ใครจะจำแนกออกมั่ง????