ฝูงนกแก้วหัวแพรที่ริมเจ้าพระยาตอนกลาง
เขียนโดย taen Authenticated user เมื่อ 21 มีนาคม 2556
ครั้งแรกที่ผมได้อยู่อาศัยถาวรริมแม่น้ำเจ้าพระยาราวๆ ปี 2537 แม่น้ำแห่งนี้มีระบบนิเวศที่ดีมาก
พบ นกแก้วหัวแพร (Psittacula roseata) ทำรังวางไข่อยู่ที่ต้นมะขามริมน้ำหน้าบ้านเป็นประจำทุกปี
นอกจากนกชนิดนี้แล้วยังมีนกที่เป็น Rare ทั้งที่เป็น Resident และ Migrant อีกหลากหลายชนิด (ยังไม่ได้กล่าวถึงสัตว์กลุ่มอื่น...ซึ่งน่าจะเป็นหนังเรื่องยาว...ฮา)
แต่เวลาผ่านสังคมคนเปลี่ยน สังคมพืชริมน้ำเปลี่ยน ระบบนิเวศก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามกาล
นกแก้วหัวแพรที่ว่านี่ก็ค่อยๆ หายหน้าหายตาไปจากริมน้ำหน้าท่าที่บ้าน นานมากๆ ถึงจะเจอสักตัว
แต่มาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมพบว่านกแก้วหัวแพรกลับมาหากิน เกาะนอนในวัดประจำหมู่บ้านเป็นฝูง นับได้ไม่ต่ำกว่า 13 ตัว
และที่ริมตลิ่งยังพบโพรงนกกระเต็นปักหลักวางไข่อยู่ถึง 3 โพรง (รอให้ฟักแล้วจะไปทำบังไพรถ่ายรูปมาให้ดูกัน)
สวนทางกับสภาพพื้นที่ในปัจจุบันที่ทางราชการกำลังขุดสร้างริมฝั่งแม่น้ำเป็นขั้นบันได...เรียบและโล่ง ดูสะอาดตาสำหรับคนแต่ดูรันทดสำหรับสัตว์ประจำถิ่น
แม้ลูกสาวตัวเล็กผมยังบ่นเวลาตามผมไปถ่ายรูปว่า "เขาจะทำลายตลิ่งอย่างนี้เคยถามชาวบ้านบ้างไหม" (สมกับเป็นลูกแม่เขาจริงๆ ... ฮา)
อีกทั้งชาวบ้านริมน้ำยังนิยมเขาขยะไปทิ้งริมฝั่ง ซึ่งนับวันจะทวีปริมาณมากขึ้นตามจำนวนประชากร
คนพยายามจะทำลายระบบนิเวศกันทุกเมื่อเชื่อวัน แล้วก็พากันบ่นว่าสิ่งแวดล้อมเลวร้าย
แต่สัตว์ยังพยายามปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดให้ได้โดยไม่มีปากมีเสียง (แน่ล่ะ...ก็มันพูดไม่ได้...ฮา)
แล้วเราจะมองกลับมา...หันกลับมาช่วนกันรักษาเจ้าพระยา...บ้านของเรากันได้บ้างหรือยัง
พบ นกแก้วหัวแพร (Psittacula roseata) ทำรังวางไข่อยู่ที่ต้นมะขามริมน้ำหน้าบ้านเป็นประจำทุกปี
นอกจากนกชนิดนี้แล้วยังมีนกที่เป็น Rare ทั้งที่เป็น Resident และ Migrant อีกหลากหลายชนิด (ยังไม่ได้กล่าวถึงสัตว์กลุ่มอื่น...ซึ่งน่าจะเป็นหนังเรื่องยาว...ฮา)
แต่เวลาผ่านสังคมคนเปลี่ยน สังคมพืชริมน้ำเปลี่ยน ระบบนิเวศก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามกาล
นกแก้วหัวแพรที่ว่านี่ก็ค่อยๆ หายหน้าหายตาไปจากริมน้ำหน้าท่าที่บ้าน นานมากๆ ถึงจะเจอสักตัว
แต่มาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมพบว่านกแก้วหัวแพรกลับมาหากิน เกาะนอนในวัดประจำหมู่บ้านเป็นฝูง นับได้ไม่ต่ำกว่า 13 ตัว
และที่ริมตลิ่งยังพบโพรงนกกระเต็นปักหลักวางไข่อยู่ถึง 3 โพรง (รอให้ฟักแล้วจะไปทำบังไพรถ่ายรูปมาให้ดูกัน)
สวนทางกับสภาพพื้นที่ในปัจจุบันที่ทางราชการกำลังขุดสร้างริมฝั่งแม่น้ำเป็นขั้นบันได...เรียบและโล่ง ดูสะอาดตาสำหรับคนแต่ดูรันทดสำหรับสัตว์ประจำถิ่น
แม้ลูกสาวตัวเล็กผมยังบ่นเวลาตามผมไปถ่ายรูปว่า "เขาจะทำลายตลิ่งอย่างนี้เคยถามชาวบ้านบ้างไหม" (สมกับเป็นลูกแม่เขาจริงๆ ... ฮา)
อีกทั้งชาวบ้านริมน้ำยังนิยมเขาขยะไปทิ้งริมฝั่ง ซึ่งนับวันจะทวีปริมาณมากขึ้นตามจำนวนประชากร
คนพยายามจะทำลายระบบนิเวศกันทุกเมื่อเชื่อวัน แล้วก็พากันบ่นว่าสิ่งแวดล้อมเลวร้าย
แต่สัตว์ยังพยายามปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดให้ได้โดยไม่มีปากมีเสียง (แน่ล่ะ...ก็มันพูดไม่ได้...ฮา)
แล้วเราจะมองกลับมา...หันกลับมาช่วนกันรักษาเจ้าพระยา...บ้านของเรากันได้บ้างหรือยัง
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ต.บางกระบือ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี ครับ
หากต้องการพิกัดที่แน่นอนเข้าใจว่าต้องหลังไมค์แล้วครับ
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 4.1
ความเห็นที่ 4.2
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 6.1
ผมไปดูมาสามครั้ง ห่างกันครั้งละ 7 วัน จากที่พบครั้งแรกก็เกือบๆ เดือนแล้ว ยังพบอยู่ครับ
จากการสอบถาม ทราบว่า นกฝูงนี้มาอาศัยที่นี่นานหลายเดือนแล้ว กลางวันออกหากินกลางทุ่ง บ่ายๆ เย็นก็พากันกลับมาที่วัด มีคำบอกเล่าที่ยังไม่ยืนยันว่า มีการจับคู่แล้ะเข้าโพรงด้วย
แต่ผมยังไม่ได้ไปเฝ้าดูยาวๆ ถึงตดนกลางคืนซะที
ผมได้เข้าไปคุยถึงความสำคัญของมันกับเจ้าอาวาสแล้ว
ท่านรับปากอย่างยินดีที่จะช่วยดูแลไม่ให้มีการรบกวนมัน (ในวัด)
แต่มีคนเคยพบว่ามีแหล่งเกาะนอนที่กลางทุ่งด้วย...น่าเป็นห่วง
ความเห็นที่ 7
งดงามมากครับ น่าอิจฉาจัง
..อึดอัดเช่นกันครับที่ได้อยู่ในประเทศที่บริหารด้วยการหาเรื่อง สร้าง สร้าง สร้าง
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 8.1
โพรงนกกระเต็นปักหลักที่ผมหมายตาเอาไว้ว่าให้ไข่มันฟักแ
ล้วจะไปทำบังไพรถ่ายรูปตอนมันเลี้ยงลูกเพิ่งจะถูกรถแบคโฮลขุดไปเมื่อบ่ายนี่เอง
ออกไข่ทั้งสองโพรงๆ ละสองฟอง ถ้ารู้ว่าจะไม่รอดอย่างนี้
ยอมล้วงไข่มันมาให้นกเขาบนพุ่มตะลิงปลิงที่บ้านช่วยฟักยังจะมีลุ้นกว่า น่าเสียดายมากๆๆๆๆๆ
ความเห็นที่ 8.2
โพรงนกกระเต็นปักหลักที่ผมหมายตาเอาไว้ว่าให้ไข่มันฟักแ
ล้วจะไปทำบังไพรถ่ายรูปตอนมันเลี้ยงลูกเพิ่งจะถูกรถแบคโฮลขุดไปเมื่อบ่ายนี่เอง
ออกไข่ทั้งสองโพรงๆ ละสองฟอง ถ้ารู้ว่าจะไม่รอดอย่างนี้
ยอมล้วงไข่มันมาให้นกเขาบนพุ่มตะลิงปลิงที่บ้านช่วยฟักยังจะมีลุ้นกว่า น่าเสียดายมากๆๆๆๆๆ
ความเห็นที่ 8.3
ผมสังเกตุดู ทั้งๆที่ไม่ได้หากินกับน้ำโดยตรงแต่นกแก้วมักชอบรวมกันอยู่ตามวัดริมน้ำนะครับ แปลกดี ลมโกรกดีมั้งครับ ...ตอนนี้ฝูงนกแก้วโม่งในภาพของผมคงไม่อยู่ที่เดิมแล้ว หลังๆผมไปดูไม่เจอเลย ชาวบ้านก็บอกไม่ได้ยินเสียงมานานแล้ว ไม่รู้จะกลับมาอีกหรือเปล่า ถึงมันจะหนีไปหาที่อยู่ใหม่ได้ แต่ถ้ามันอยู่นอกวัดก็ไม่ปลอดภัยเท่าไหร่ วัดนี้เคยมีป้ายเขตุอนุรักษ์นกแก้ว เคยมีป่าชุมชน แต่ก็ปรับขยายพื้นที่ไปเรื่อยจนป่าเกือบหมด เหลือยางนาแห้งๆสักสิบต้นได้มั้ง จากที่มีนกแก้วห้าชนิด ตอนนี้ไม่เจอสักตัว
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 10
แต่ไม่รู้ว่าเป็นนกแก้วอะไรครับ คล้ายๆกับ จขกท นี่แหล่ะครับ มีจำนวนประมาณ 20-30 ตัว
ส่งเสียงร้องจ๊อกแจ๊กไปหมด ถ้าอยากจะมาดูต้องมาดูช่วงเย็นๆ ที่เค้ากลับมาจากหากินแล้วครับ
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 11.1
ยังเหลืออีกโพรงหนึ่ง แต่อยู่ฝั่งตรงกันข้าม (ฝั่งตะวันออก) ครับ เมื่อเย็นวานยังเห็นแม่ (หรือพ่อก็ไม่รู้) ลงมายืนที่พื้นทรายหน้าโพรงอยู่ แต่ดูด้วยตาเปล่ายังไม่ทราบรายละเอียด
เจ้าพระยาช่วงนี้แคบมากครับ 600 mm ไม่ต้องติด 2X ยังเก็บภาพแม่นกบินไปเกาะและมุดเข้าโพรงได้สบายๆ
ความเห็นที่ 12
ความเห็นที่ 13
วัดตะเคียน บางกรวย นนทบุรี
มี ฝูงนึงครับ เจ้าหน้าที่ อส บอกว่า มาอยู่หลายเดือนแล้ว
มีประมาณ 30 ตัว
เกาะที่ต้นตะเคียน ข้างๆวัด ออกหากินแถววัด
ที่น่าเสียดายคือ ชือวัดตะเคียน แต่ต้นตะเคียนและไม้ใหญ่ เหลือไม่มากแล้วครับ
ความเห็นที่ 13.1
ความเห็นที่ 13.2