เปิดไว้สักกระทู้ ไว้คุยกันเรื่อง น้ำมันรั่วที่ระยอง

ในฐานะ กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม เราก็ควรได้รับรู้ได้คุยเรื่องนี้กันบ้าง
พร้อมทั้งจะได้แชร์ความเห็นกันในหมู่นักนิยมธรรมชาติและนักวิชาการทั้งหลายครับ 

ปลาเป็นยังไง ปูเป็นยังไง นกเป็นยังไง ทะเล แพลงก์ตอน ระบบนิเวศ  สถานการณ์  ข่าว  การบำบัด  ฯลฯ

แชร์กันคุยกัน ตามสะดวกครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

จุดเริ่มของเรื่องครับ

เมื่อเวลาประมาณ 06.50 น. วันที่ 27 กรกฎาคม 2556 ขณะที่เรือบรรทุกน้ำมันกำลังขนถ่ายน้ำมันดิบผ่านทุ่นรับน้ำมันดิบมายังโรงกลั่นน้ำมันของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง ได้เกิดอุบัติเหตุท่อรับน้ำมันดิบขนาด 16 นิ้ว รั่วที่บริเวณทุ่นรับน้ำมันดิบ (Single Point Mooring ) STP ที่อยู่ห่างจากฝั่งท่าเรือนิคมอุตาสาหกรรมมาบตาพุดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร ปริมาณราว 50-70 ตัน

ความเห็นที่ 2

ความรุนแรงระดับ 2 หรือ (Tier II)

(ระดับที่ 2 (Tier II) รั่วไหลมากกว่า 20 - 1,000 ตันลิตร อาจเกิดจากเรือโดนกัน การขจัดคราบน้ำมันต้องร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ ตามแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ และต้องแจ้งให้กรมเจ้าท่าทราบก่อน หากเกินขีดความสามารถของทรัพยากรที่มี อาจต้องขอรับการสนับสนุนจากต่างประเทศ)

จุดที่รั่ว อยู่ในเขต 1 หรือ เขตที่มีความเสี่ยงสูงสุดของประเทศอยู่แล้ว
(บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม มีกิจกรรมการขนถ่ายน้ำมันบริเวณท่าเทียบเรือและกลางทะเล)

วิธีแก้ไขเดิมๆที่พอจะรู้ก็คือ ปกติแล้วก็จะล้อมทุ่น ตักน้ำมันที่ลอยอยู่ออก ที่เหลือที่ตักไม่ได้ ก็ใช้สารลดแรงตึงผิวทำให้น้ำมันละลายลงไปในน้ำ แล้วรอให้ธรรมชาติบำบัดตัวเอง 

ความเห็นที่ 3

อนิจจา น้ำมันไปตามน้ำออกมาเป็นทางกว้างเป็นร้อยเมตร ยาวหลายกิโล แต่ทุ่นที่ไว้ล้อมน้ำมัน ยาวแค่  200  เมตร  

ความเห็นที่ 4

สารที่เรียกว่า "สารขจัดคราบน้ำมัน" ดังในข่าว ที่มีรายละเอียดว่า "สารเคมีขจัดคราบน้ำมันจะทำให้น้ำมันแตกตัวเป็นหยดขนาดเล็กกระจายลงไปในน้ำ"

จะเป็นสารในกลุ่มสารลดแรงตึงผิว โดยกลไกของมัน โมเลกุลของสารกลุ่มนี้จะจับตัวเป็นก้อนละลายอยู่ในน้ำ และในก้อนนั้นสามารถจุน้ำมันได้ ทำให้น้ำมันสามารถละลายลงไปในน้ำได้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือbioavailability เพิ่มขึ้น พูดง่ายๆก็คือ เกิดปฏิกิริยาทางชีวภาพได้ง่ายขึ้น

1. ก็คือ แบคทีเรียจะเข้าถึงน้ำมันเหล่านี้ง่ายขึ้น เกิดการย่อยสลายเร็วขึ้น (ตามข่าวว่าจะใช้เวลาราว 2 สัปดาห์)

2. สัตว์น้ำต่างๆก็จะสัมผัสน้ำมันเหล่านั้นได้ง่ายขึ้นเช่นกัน และเกิดอาการเป็นพิษได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

3. "ถ้า"สารลดแรงตึงผิวที่ใช้เป็นพิษ ก็จะทำให้เกิดพิษหนักขึ้น ซึ่งตรงนี้ไม่ทราบว่าสารที่ใช้คือตัวไหน

อย่างดีที่สุด สมมติว่าน้ำมันเหล่านี้ไม่เป็นพิษนัก สารลดแรงตึงผิวที่ใช้ก็ไม่เป็นพิษ และบังเอิญไม่มีสิ่งมีชีวิตอื่นๆว่ายผ่านเจ้ามวลน้ำมันที่ละลายน้ำผสมกับสารลดแรงตึงผิวในช่วงนั้นเลย (โชคดีสุดๆแล้ว) ก็ยังจะเกิดสภาพที่ต้องการอากาศในการย่อยสลาย สารต่างๆที่รั่วออกมากมหาศาลอยู่ดี เคยได้ยินรายงานในลักษณะเกิดมวลน้ำที่มีสารอินทรีย์ละลายน้ำสูง ออกซิเจนต่ำ จากเคส BP อยู่ ** ดังนั้นคำพูดที่ว่า "ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม" ไม่มีทางเป็นความจริงได้เลย

คำพูดนี้่ไม่ควรพูดออกมาด้วยซ้ำ เพราะพึ่งมีเคสน้ำมันรั่วของ BP อยู่ ยังจำได้กันอยู่เลย

ปล สารที่ว่าภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า  "oil dispersants" แปลว่า "สารกระจายคราบน้ำมัน" (ไม่ใช่กำจัด หรือ ขจัด)

ความเห็นที่ 4.1

มองในแง่ร้าย เขาแค่พยายามทำให้มองเห็นคราบน้ำมันได้ยาก เพราะมันจะละลายลงไปในน้ำ ถึงได้ระดมฉีดสารตัวนี้กันขนาดนั้น แต่ไม่ได้ผลหรอกครับ ไม่นานมันจะแยกตัวออกมาเป็นน้ำมันเหมือนเดิมนั่นแหละ มันเหมาะกับการใช้กำจัดคราบที่เหลือๆจากการล้อมทุ่นดูดไปแล้วต่างหาก

ความเห็นที่ 5

ภาพจาก GISTDA

ภาพก้อนน้ำมัน วันที่ 27 ภาพก้อนน้ำมัน วันที่ 29

ความเห็นที่ 5.1

อัพเดท
oilspill-07-30.jpg oilspill-07-31.jpg

ความเห็นที่ 6

เข้ามาติดตาม

ความเห็นที่ 7

คราบน้ำมันเข้าถึงอ่าวพร้าวคืนวันอาทิตย์

สำหรับการกำจัดน้ำมันที่อ่าว และชายหาด จะใช้วิธีตักคราบหนาๆเหนียวๆบนน้ำออก
ส่วนทรายก็จะตักออกเพื่อนำไปบำบัด

แล้วเราก็จะเห็นแนวทุ่นที่เปนตัวดูดซับวางไว้ด้วย

ความเห็นที่ 8

แนวทางการแก้ไขปัญหา โดยทั่วไป อ่านได้ที่ลิ้งนี้ครับ

http://www.eng.chula.ac.th/node/824

ความเห็นที่ 9

ล่าสุดมีชื่อสารที่ใช้ในข่าวตัวหนึ่งชื่อว่า Oil SILICON NSTYPE2/3
แต่ชื่อนี้ search แล้วไม่มีอยู่ คิดว่านักข่าวคงสะกดผิด

เข้าใจว่าเป็น Slickgone NS Type 2 / Type 3
ถ้าใช่ ตัวนี้ค่อนข้างปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับในระดับโลกพอควร ว่าปลอดภัย และใช้กันในฐานะ Oil dispersant ในทะเลเมื่อเกิดกรณีน้ำมันรั่ว
สารประกอบหลักไปค้นๆมา น่าจะเป็น Kerosene 70% กับ sodium dioctylsulfosuccinate 10% ซึ่งสองตัวนี้ก็จัดว่าค่อนข้างปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม ที่เขาไม่ให้ใช้ในระดับน้ำตื้น (10 หรือ 20 เมตรนี่แหละ) เพราะ อย่างที่บอกไว้ ว่ามันไม่ใช่สารวิเศษใส่ไปแล้วน้ำมันหายไป แต่มันทำให้น้ำมันละลายลงไปในน้ำ ซึ่งทำให้แบคทีเรียกินมันได้ง่ายขึ้น แต่มันก็เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ

ถ้าน้ำตื้น น้ำมันที่ลงไปในน้ำ มันไม่ค่อยมีที่ให้กระจายตัวออกไป ความเข้มข้นมันสูง เลยเป็นพิษมากหน่อย แถม มันจะไปโดนระบบนิเวศน้ำตื้น พวกแนวประการัง แนวสาหร่าย อะไรพวกนี้

ถ้าน้ำลึก น้ำมันที่ลงไปในน้ำมันจะมีที่กระจายตัวออกไปได้นั่นเอง

ความเห็นที่ 9.1

เจอเข้าไปในอ่าวนี่ ตกตะกอนอยู่ในนั้นไม่ไปไหนแน่เลย

ความเห็นที่ 9.1.1

สารละลายคราบน้ำมัน  ทำให้น้ำมันละลายลงไปในน้ำ เหมือนพวกน้ำยาล้างจานครับ ไม่น่าจะทำให้เกิดตะกอนนน้ำมัน

ตกตะกอนนี่ คิดว่าเป็นอีกกลไกหนึ่งนะครับ อาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติ น้ำมันไปจับกับเม็ดทรายค่อยๆก่อตัวขึ้นมาเป็นก้อน (ไม่แน่ใจนะครับ)

อนึ่ง น้ำมันนี้เป็นนัำมันดิบ มีสารอินทรีย์หลายตัวผสมกันอยู่ (ยังไม่ได้กลั่นแยกออกมาใช้งาน) บางตัวระเหยง่าย บางตัวระเหยยาก บางตัวละลายน้ำได้เยอะ บางตัวเหนียวไม่ละลายน้ำ บางตัวเบากว่าน้ำ บางตัวหนักกว่าน้ำ วันเวลาผ่านไป ส่วนประกอบของมันก็เปลี่ยนไป ระเหยไปบ้าง ละลายไปบ้าง ส่วนที่จะเหลือๆสุดท้ายจะไม่ค่อยระเหย เหนียวๆ หนักกว่าน้ำ คิดว่าเจ้าส่วนที่เหลือท้ายๆนี่แหละครับ ที่จะจับเป็นก้อนจมอยู่ที่นักนิเวศทางทะเลเขากังวลกัน

ความเห็นที่ 10

clean water from oil
เอามาแปะไว้เพื่อใครสนใจดูวิธีการของต่างประเทศ


http://www.youtube.com/watch?v=KzzkYYYPNxI

ความเห็นที่ 11

สงสัยว่าที่บอกว่าจะมีจุลินทรีมากินน้ำมันย่อยสลายไปเอง
1. มันเป็นจุลินทรีประเภทไหน?
2. ปกติมันกินอะไรตอนที่ไม่มีน้ำมันรั่ว?
3. มันกินน้ำมันไปแล้วย่อยออกมาเป็นอะไร?
4. มีมากน้อยและเพิ่มจำนวนได้เร็วแค่ไหนตามธรรมชาติ?

ความเห็นที่ 11.1

ถามคนทำวิจัยทางนี้มาให้ครับ

1.พวก heterotroph

2.พวกนี้ใช้carbonเป็นอาหาร ดังนั้นปกติจะกินพวกสารอินทรีย์

3.ถ้าน้ำมันหรืออาหารของแบคทีเรียมีองค์ประกอบเฉพาะ carbon &. hydrogen ที่สุดแล้วจะย่อยเป็นคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ ปล. ถ้าสารมีโครงสร้างค่อนข้างซับซ้อนก็อาจจะใช้เวลานานมากกว่าจะได้เป็นfinal productเพราะมันต้องค่อยๆตัดcarbon chainออกทีละกิ่ง และต้องค่อยๆย่อยแต่ละกิ่งออกเป็นchainสายสั้นๆ ซึ่งปกติมันจะเลือกกินสิ่งที่กินง่ายคือสายสั้นๆก่อน

4. ในธรรมชาติมีพวก heterotroph ค่อนข้างมาก(เป็นส่วนใหญ่) ถ้ามีแหล่งคาร์บอนเยอะก็จะเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วในเวลาระดับชั่วโมง ยกตัวอย่างเช่น ข้าวบูด ปล. อย่างไรก็ตามในกรณีน้ำมันรั่วนี้สารค่อนข้างเข้มข้นจนทำให้เกิดความเป็นพิษ กับแบคทีเรียส่วนใหญ่

สรุปคือในความเห็นแจง ถ้าน้ำมันยังอยู่เป็นชั้นหนาๆอยู่แบคทีเรียส่วนใหญ่ตายแน่นอน ย่อยไม่ได้ ต้องทำให้มันเจือจางก่อน ค่อยเอา bacterial seed ไปลง (เพราะมันคงตายเรียบไปหมดแล้ว)

-----------

ถ้าไม่ลง seed ก็รอสักพัก แบคทีเรียมันก็ปลิวๆมาตามน้ำตามลมเองก็ได้นะ