จะดีใจหรือเสียใจดี? บ้านผมก็มีฝาย...?

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาพาเด็กๆ ไปเที่ยวงาน"เทศกาลเที่ยวหอยหิน กินลำไย ไหว้หลวงปู่ขาว" ที่จัดเป็นประจำทุกปี ขากลับก็เลยพาเด็กๆ ไปแวะเที่ยวน้ำตกเฒ่าโต้ ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองไปไม่กี่กิโลเมตร ยังอยู่ในเขตอำเภอเมืองอยู่ ตั้งแต่มาอยู่หนองบัวลำภู ผมก็ยังไม่เคยไปเลยเที่ยวนี้มีโอกาสก็เลยเข้าไปดูซะหน่อย ต้นน้ำมาจากเขื่อนอุบลรัตน์ครับ ไม่มีรูปปากทางเข้า เมื่อไปถึง พอจอดรถก็ได้ยินเสียงน้ำไหล มีเสียงคนเล่นน้ำ เห็นสภาพป่าร่มครึ้มพอสมควร ดูแล้วน่าจะมีอะไรดีๆ เยอะครับ เดินเท้าขึ้นไปตามทางเดินเท้าก็ไปถึงตัวน้ำตกชั้นที่เท่าไหร่ไม่รู้ ก็ไปเจอสิ่งที่ทำให้ผมอึ่ง ทึ่ง และ.... บรรยายไม่ถูกครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

ปฏิมากรรมขนาดใหญ่? หรืออะไรดี

3.jpg

ความเห็นที่ 1.1

ไหนว่าเป็นฝาย นี่มันเขื่อนนี่ครับ

ความเห็นที่ 2

ตัวฝายสูงประมาณ เมตรเศษๆ กั้นตลอดธารน้ำ แล้วน้ำตกไหลลงมาทางไหนล่ะ พอเดินดูก็เห็นทางน้ำไหล

1.jpg

ความเห็นที่ 3

ตัวธารน้ำตกสายหลักกว้างประมาณ 4 เมตร ฝายกั้นตลอดความกว้างของธารน้ำ ช่วงนี้เป็นหน้าฝนน้ำก็เลยเยอะ น้ำไหลผ่านด้านบนไม่ได้เลยไหลอ้อมด้านข้างฝาย

ความเห็นที่ 4

ลำธารสายรองที่ไหลแยกจากสายหลัก ก็ยังอุตส่าห์สร้างฝายกั้นอีกครับ

2.jpg

ความเห็นที่ 5

มองขึ้นไปยังน้ำตกชั้นบน ห่างไปประมาณ 50 เมตรก็มีอีก และมีทุกช่วงชั้นน้ำตก ต่ำลงไปจากจุดนี้ก็มีฝายกั้นทุกชั้นน้ำตกเหมือนกัน แต่ละชั้นห่างกันประมาณ 50 เมตร มีทั้งแบบปฏิมากรรมกระสอบทรายสูง 1 เมตร และแบบฝายที่เป็นก้อนหินเทปูน

4.jpg

ความเห็นที่ 6

สิ่งมีชีวิตที่พบ จะเป็นแมงมุมพวกนี้ แมงมุมจับปลา? ใช่มั้ยครับ เห็นมันดำน้ำได้ กับฝูงลูกปลาอะไรไม่รู้ ถ่ายรูปไม่ทันอยู่ในระหว่างชั้นน้ำตก เจอปูน้ำตกตัวนึงแต่ถ่ายรูปไม่ทัน แต่ไม่เจอปลาอื่นที่น่าจะอยู่ในน้ำตกอีกเลย ให้เด็กๆ ได้เดินท่องน้ำอยู่พักนึงผมก็พากลับ พร้อมด้วยความสลดหดหู่ สงสัย หงุดหงิด โมโห หลายๆ อย่าง ทราบมาว่าในฤดูแล้งที่นี่จะไม่มีน้ำเลยน้ำจะแห้ง ก็ให้สงสัยว่า แล้วเจ้าฝายพวกนี้สร้างมาเพื่ออะไร สร้างมาเพื่อกักให้น้ำเน่าอย่างนั้นหรือ แล้วจะมีสัตว์อะไรอยู่ได้ แล้วใครจะทำให้สัตว์เหล่านั้นมันกลับมาได้ เห็นแล้วอยากร้องไห้ครับ แล้วยังมีคนมาชวนผมไปสร้างฝายที่นี่อีก

5.jpg

ความเห็นที่ 7

กรรม - -*

เห็นแล้วเหนื่อยใจแทน

ความเห็นที่ 8

งบประมาณของหน่วยงานไหนครับ  ปกติก่อนอนุมัติงบประมาณ จะมีการทำประชาพิจารณ์  แต่หลังๆ เห็นถาม จนท.จังหวัดว่า ปีนี้อาจจะไม่มี ลองติดตามดูครับ ตอนนี้ หนองคาย อุดรฯ น่าจะเริ่มทำแผนพัฒนาจังหวัดกันแล้ว ถ้ามีประชาพิจารณ์ น่าจะประมาณเดือนกันยายนครับ ปีที่แล้วมีโอกาสเข้าไปฟังของหนองคาย(มีเรื่องการทำฝายรึเปล่าผมจำไม่ได้) ปีนี้ไม่รู้จะได้ไปฟังรึเปล่า

ความเห็นที่ 9

แมงมุมกินปลา ในวงศ์ Pisauridae ครับ รู้สึกกำลังหิ้วถุงไข่อยู่ด้วยหรือเปล่าครับ

ความเห็นที่ 9.1

ใช่ครับ มันอุ้มลงน้ำหายไปเลย

ความเห็นที่ 10

วายวอดครับ แบบนี้
 

ความเห็นที่ 10.1

น่าจะวอดไปเยอะแล้วด้วยครับ ถ้ารื้อออกตอนนี้ยังจะทันรึป่าวไม่รู้

ความเห็นที่ 11

ฝายยักษ์! น่ากลัวจริงๆๆ

ความเห็นที่ 12

อู้หู O_O
 

ตายๆๆๆๆ ทุก 50 เมตร จะกักอะไรกัน - -"

ความเห็นที่ 13

พรุ่งนี้เช้าแล้วสินะ ที่สถาบันชื่อดังย่านบางกะปิ กลุ่มหนึ่งจะไปกระทำสิ่งๆนี้ แถวๆเพชรบุรี

เพียงเพราะต้องการหาเงินเข้ากลุ่ม โดยมิได้ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเข้าใจจริงๆ

 

ผมเสียใจที่ผมห้ามการกระทำเหล่านี้ไม่ได้  เพราะผมพึ่งทราบเมื่อวันสองวันนี้เอง

ความเห็นที่ 14

เห็นแล้วเศร้าใจค่ะ 

ส่วนตัวยายอ้วนพยายามค่อยๆ สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องฝายกับที่ทำงานอยู่เรื่อยๆ 

หลายคนเริ่มเห็นด้วย แต่ปัญหาคือ คนจากที่อื่น เช่น นักศึกษา บริษัทใหญ่ๆ 

เข้ามาในพื้นที่เพื่อสร้างฝาย บางครั้งเค้าก็ห้ามไม่ได้ ได้ยินข่าวทีไรก็เศร้าใจค่ะ 

ความเห็นที่ 15

ลุกลามไปทั่วเหมือนขี้กลาก ผมว่าน่าจะทำเอกสารส่งไปตาม อช กันนะ

เอาแบบ เราไปที่ไหน เราก็ปริ้นไปฝากเจ้าหน้าที่ที่เราเจอ เอาทุกระดับเลย ให้ความรู้ความเข้าใจมันมีกันทุกคน

เผลอๆเผื่อไปแจกนักท่องเที่ยวที่เราคิดว่าเป็นนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (ไม่ใช่ฉิ่งฉาบ) ด้วยเลย

ความเห็นที่ 15.1

ฉิ่งฉาบ คืออะไรหรือครับ

ความเห็นที่ 15.1.1

ที่เขาเรียกกันว่าฉิ่งฉาบทัวร์น่ะครับ

ไปกันแบบเฮฮา เดินๆผ่านๆ ดูวิว กินเหล้า กลับบ้าน .... ทำนองนั้น พอนึกออกใช่มะ

ความเห็นที่ 16

ฝายยังดูใหม่อยู่ รบกวนติดตามผลด้วยครับ โดยเฉพาะกระสอบชุดนี้ ผมอยากรู้เหมือนกันว่ามันจะอยู่ได้นานแค่ไหน แล้วทรายที่อยู่ในกระสอบไปไหน มีการบำรุงรักษาหรือเปล่า น้ำขังหลังฝายในหน้าแล้งมีลูกน้ำ(ลูกยุง)หรือเปล่า

ความเห็นที่ 17

เพิ่งไปเจอมาเหมือนกันครับ ไว้เดียวเปิดกระทู้แล้วจะเล่าให้ฟัง

ความเห็นที่ 17.1

บรรยากาศมาคุ ตึ่งตึงตึ๊งตึ่งตึง....

ความเห็นที่ 18

ฝาย...

เดี๋ยวนี้ถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนของการคืนสิ่งดีๆสู่สังคมซะมากมาย

ส่วนผลกระทบที่ตามมาไม่เคยได้คิดถึง

เศร้าเนอะ...

ความเห็นที่ 19

ทำฝายกันอย่างกับเป็นแฟชั่น

ความเห็นที่ 20

เค้าเรียกว่าเครื่องมือ "สร้างภาพ" no
 

ความเห็นที่ 21

ขอตอบในมุมมองของผมเกี่ยวกับฝายนี้นะครับ (น่าร้องไห้ครับ) มันไม่ใช่ฝายแต่เป็นน้องๆเขื่อนเลยนะครับ น่าจะลองสอบถามคนที่อยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ว่าเขาต้องการหรือไม่ ในการสร้างฝายแบบนี้เขารู้ถึงผลดีผลเสียของการสร้างฝายแบบนี้หรือไม่ (ไม่ใช่การต่อต้านฝายนะครับ) แต่คนสร้างน่าจะมองถึงผลในอนาคต ได้น้ำ(น้อยๆ)แต่สูญเสียความหลากหลายทางชีววิทยาส่วนใหญ่  ไม่ใช่การชี้แนะ แต่การเปิดพื้นที่เพื่อให้ใครมาทำอะไรก็ได้ในพื้นที่ ผมมองว่ามันทะแม่งๆอยู่ ใครจะมาทำอะไรในพื้นที่ของเขา(คนอยู่ในพื้นที่นั้นๆ) ยกตัวอย่างกรณีหน่วยงานจากต่างท้องถิ่นมาสร้างฝาย ให้ชุมชน นักศึกษาจากสถาบันต่างๆที่ต้องการช่วยเหลือสังคมชนบท ด้วยการสร้างฝาย(ฉิ่งฉับทัวส์ หาผลงาน ไม่รู้จะทำอะไรดี) ผู้นำท้องถิ่นยังโฆาณาว่า ขนาดอบต. หรือมหาลัย ที่นั่นที่นี่ยังมาดูงานที่บ้านฉันเลย ยังให้ความสำคัญกับบ้านฉันเลย (สร้างเสร็จแล้วทิ้งปัญหามากมายไว้ให้เจ้าของพื้นที่) ได้หน้ามาพร้อม กับปัญหาแล้วก็มาคอยแก้ไขปัญหากันทีหลัง เจ้าของพื้นที่ยังนึกไม่ออกเลย ปัญหาเรื่องของจิตสำนึกและทัศนะคติของคนบ้านเรายังล้าหลังเพื่อนบ้านอยู่มาก โอ้ย ! คิดเยอะก็ปวดหัวเยอะ ขอเจริญสุราสมาธิก่อนนะ คิดออกก็จะมาแบ่งปันความคิดใหม่ อย่าว่ากันนะ (เราไม่ร้อง เขาก็ว่าเราชอบเราเห็นด้วยจริงไหมครับ)

ความเห็นที่ 22

ตอนนี้กำลังติดตามอยู่ครับว่าหน่วยงานไหนเป็นผู้ดูแล ผมก็เพิ่งมานึกตามที่คุณนนณ์บอก ลักษณะมันยังดูใหม่อยู่ น่าจะเพิ่งทำ แฟนผมบอกว่าที่เค้าทำแบบนี้น่าจะทำเพื่อให้มีน้ำมากๆ ที่ก่อปูนก็เพื่อให้เป็นน้ำตกเทียม และกักน้ำไว้ในหน้าแล้ง แต่ก่อนนี้ไม่มีน้ำจะไหลริน ในหน้าน้ำ ส่วนหน้าแล้งจะไม่ค่อยมีน้ำเลย และหน้าน้ำเค้าจะจัดงานเปิดให้น้ำไหลจากอ่างประมาณ 7 วันในช่วงงานเทศกาลเที่ยวน้ำตก แล้วน้ำจะเยอะและไหลเร็วทำให้น้ำหมดเร็ว เค้าเลยสร้างฝายแบบนี้เพื่อกักให้น้ำไหลช้าลง จะได้มีน้ำให้คนเล่น แต่ผมกลับคิดว่าถ้าทำเพื่อให้คนเล่นแล้วออกมาบบนี้เท่ากับไปทำลายบ้านของคนอื่น หมายถึงสัตว์อื่นๆ ที่อยู่ที่นี่มาก่อนเลย และที่น่าตกใจก็คือ ผมเคยอ่านในหนังสือประวัติเมืองหนองบัวลำภู ที่นี่มีสัตว์เฉพาะถิ่นอยู่ชนิดหนึ่ง ที่มีรายงานว่าพบที่นี่เป็นกุ้งชนิดหนึ่ง เลยไม่แน่ใจว่ามันอยู่ในแหล่งน้ำนี้ด้วยมั้ย ถ้าอยู่ก็คงหายไปแล้ว

ความเห็นที่ 23

น้ำตกบนสันภูพาน ตำนานรัก "เฒ่าโต้" ที่กระโดดหน้าผาสูงชันลอยละลิ่วลงสู่สายน้ำตกเบื้องล่าง เพื่อพิสูจน์ความรัก ตามคำท้าของสาวเจ้า

สรุปแล้วจบแบบแฮปปี้ เอนดิ้ง

ความเห็นที่ 24

แต่ผมว่าถ้าตอนนี้มีใครกระโดลงมาคงกระแทกสันฝายตายแน่ๆ

ความเห็นที่ 25

ตอนนี้ทราบมาแล้วครับว่าฝายยักษ์ที่สร้างจากกระสอบทรายเป็นผลงานของหน่วยงานใดครับ เป็นผลงานของอำเภอเมืองหนองบัวลำภูนี่เอง ส่วนฝายเล็กๆ ที่สร้างจากหินนั่นมีมานานแล้วเป็นผลงานของ อบต.  ตอนนี้เท่าทีสำรวจมามีหลายหน่วยงานและหลายเสียง รวมถึงชาวบ้านแถวนั้นก็ไม่ได้เห็นด้วยในการสร้างฝายนี้เลยครับ