เป็นไปได้มั้ยครับ ที่ปลาต่างถิ่นที่เคยต้องผสมเทียมเท่านั้นจะ...

เป็นไปได้มั้ยครับ ที่ปลาต่างถิ่น ที่เคยต้องผสมเทียมเท่านั้นจึงจะเพาะพันธุ์ได้ เช่น ปลาจีนต่างๆ ปลาเปคู ฯลฯ
อาจจะมีตัวที่เกิด Variation แล้วสามารถสืบพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ...ในมุมมองส่วนตัว ผมว่าเป็นไปได้นะครับ?
เพราะลูกปลาฟักออกมาทีก็นับพันตัว ปริมาณต่อครอกมากกว่าสัตว์บกหลายเท่า มันจะไม่มีความแปรผันตรงนี้บ้างเลยหรือ?
จากนั้นกลไกการคัดเลือกตามธรรมชาติก็อาจเป็นตัวดำเนินการต่อ

Comments

ความเห็นที่ 1

ผมก็คิดอย่างนั้นนะครับ แต่ก็ไม่ได้มีหลักการอะไรยืนยันเพราะไม่รุ้ว่า การที่ทำให้มันแพร่พันธุ์เองไม่ได้เกิดการกลไกอะไร

ความเห็นที่ 2

ยังไม่เคยเจอรายงานเหมือนกัน ปลาเปคูก็ยังไม่เคยเจอตัววัยอ่อนในธรรมชาติเลย 

แต่ถ้าตามหลักการแล้ว ถ้าระบบนิเวศเดิมที่มันเคยมากับระบบนิเวศใหม่ไม่ต่างกันมาก คงไม่ต้องรอความผันแปรหรอกครับ คงผสมได้แน่ๆ

ความเห็นที่ 3

นึกถึงเรื่อง Jurassic park, Life will finds its way!  

ความเห็นที่ 4

ตัวอย่างเช่น นกเลิฟเบิร์ด นกฟินช์ 7 สี
รุ่นแรกๆที่นำเข้ามา เขาว่ากันว่ามีปัญหาแพ้ยุง แพ้แมลงบ่อยมาก
แต่ในปัจจุบัน ลูกนกที่เพาะได้รุ่นหลังๆ ไม่ค่อยกลัวยุงเท่าไหร่แล้วครับ อาจเป็นเพราะบางคนที่เลี้ยงก็ไม่ได้เลี้ยงแบบ'ริ้นไม่ไต่ไรไม่ตอม'เสมอไป ตัวไหนทนไม่ได้ก็ป่วยตายไป ตัวไหนทนได้ก็ได้สืบพันธุ์ต่อ รุ่นหลังๆพวกที่ทนยุงจึงแพร่หลายมากขึ้น

*อ่านในหนังสือ Nation Geoฯ เล่มล่าสุด...เขากล่าวว่าปลาจีนสามารถแพร่พันธุ์ในแม่น้ำของสหรัฐอเมริกาได้มากมาย>>อาจเป็นเพราะมันมีภูมิอากาศใกล้เคียงกับถิ่นกำเนิดดั้งเดิมมากกว่าประเทศไทยก็ได้นะ?