เก็บข้อมูลงานวิจัยพี่นณณ์ 13 สิงหา

และแล้วก็ถึงคราวตาเขียวไปช่วยเก็บข้อมูลกับเขาบ้าง

เห็นภาพป่าหน้าฝนจากหลายกระทู้เลยอยากเห็นเองบ้าง ประจวบเหมาะกับพึ่งสัมมนาเสร็จพอดี เลยหาที่ระบายไมเกรนออกจากหัวซะหน่อย

Comments

ความเห็นที่ 1


 

ดอกม่วง ไม่ทราบนาม ประดับหิน ไม่ทราบนาม อีกแบบ ดอกเป็นห้าแฉก เทียน เทียน ผึ้ง ด้านบนอกมีขนขาวๆ หากินกับดอกเทียบบริเวณนั้น มีอีกสองชนิดแต่ถ่ายไม่ได้

ความเห็นที่ 2

สองข้างทางเขียวแน่นไปหมด ชอบๆ

ชายเสื้อเีขียว เดินไปชะโงกไป หาตุ๊กกายน้อย ต้นเข้าพรรษา (และอื่นๆ) ในสภาพธรรมชาติ ดอกเข้าพรรษา หอยทากขัดเปลือก มีอยู่มากมาย

ความเห็นที่ 3

ผมก็ถ่ายไปเรื่อยๆ ตั้งใจว่าจะใช้เลนส์คิท หัดถ่ายอะไรนอกจากมาโครบ้าง

อาจสงสัยว่าบางภาพทำไมไม่จ่อมาเน้นๆแบบปกติ นั่นเพราะขี้เกียจเปลี่ยนเลนส์ครับ เลนส์คิทได้แค่ไหนเอาแค่นั้น


 

ทางชันพอควรครับ แผ่นหินแผ่นปูน ก็มีความเขียวได้เช่นกัน หอยงวงท่อตัวเป็นๆ พึ่งเคยเห็นครับ แจ่มมาก (เจอแต่เปลือกมานาน) หนอนปลอก ปลอกทรงแบบนี้ชอบครับ เจอบ่อยๆจะถ่ายเก็บเป็นคอลเลคชั่น

ความเห็นที่ 4

มาดูอะไรตามผาหินแบบใกล้ๆมั่ง

และถ่ายกว้างๆมาได้พอควรแล้วก็ได้เวลามาโครบ้าง อิอิ

ต้นอะไรน๊า ชอบไปหมด (บีโกเนีย?) ใบเขียวๆ ก้านแดงๆ เกาะตามผาหิน น่าจะพวก อันดับ Opiliones หอยคอคอดสมหวัง แล้วนี่มันตัวอะไร กินอะไร? มอส ปุยสีเขียวๆฟ้าๆคืออะไรหว่า? รา? ไลเคน?

ความเห็นที่ 4.1

ภาพสวยมากครับท่าน มีหลายสิ่งน่าสนใจ แมงโหย่งตัวสีส้มในอันดับ Opiliones อันดับย่อย Laniatores บ้านเราในอันดับย่อยนี้มีแค่ 4 วงศ์ แต่มีจำนวนสกุลและชนิดมากมาย

ความเห็นที่ 4.2

ผมคิดว่าตัวสีแดงงงศ์ Neanuridae. ทั่วโลกมีมากกว่า 1400 ชนิด
 

ความเห็นที่ 4.2.1

sorry, วงศ์ ไม่ไข่งงศ์

ความเห็นที่ 4.2.1.1

ผมถามผู้เชี่ยวชาญเีก่ยวกับ Collembola แล้ว   Frans Janssens ตอบว่าเป็น Digitanura quadrilobata Deharveng 1987 (Neanuridae, subfamily Neanurinae, tribus Lobellini)

ความเห็นที่ 4.3

เอาภาพเบื้องหลังภาพงามๆเหล่านี้มาให้ดูว่าพี่แกพยายามขนาดไหน

earth.jpg

ความเห็นที่ 5

หาหนอนมาฝากได้อีกหน่อย

หนอน 1 หนอน 2

ความเห็นที่ 5.1

หนอนตัวแรกสกุล Tinoleus วงศ์ Noctuidae

หนอนตัวที่สองสกุล Eudocima วงศ์ Noctuidae

ความเห็นที่ 5.1.1

ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 6

ครึ่งบกครึ่งน้ำ โดดตัดหน้าหนึ่งตัว
 

029.jpg

ความเห็นที่ 6.1

 อึ่งแม่หนาว (Microhyla berdmorei)
 

ความเห็นที่ 7

มุดถ้ำๆ

ตุ๊กกายตัวแรก ในการสำรวจ วัดtemp วัดขนาด ถ่ายหัว แต้มสีที่ขา แล้วปล่อยคืน ปู แมงมุมแส้ พวกยุงรึเปล่า?

ความเห็นที่ 8

ออกมาอีกด้าน ได้ป่าอีกแบบ ไม่มีทางชันแล้ว ทางเดินจะเลาะผาไปเรื่อยๆ ต้นไม้คลุมมิด

แต่ฝนตกแบบนี้ โคลนถึงตาตุ่ม เดินยากมาก

มีเห็ดถ้วยให้ชมเป็นระยะ

เห็ดถ้วยแชมเปญ เห็ดถ้วยแชมเปญมากมาย สวยๆ เห็ดจิ๋วๆ เห็ดถ้วยหนาม เหมือนต้นไม้กินคนในเกมมาริโอ เห็ดดาวดิน ชนิดหนึ่ง เห็ดที่เกือบจะเน่าแล้ว

ความเห็นที่ 9

กลุ่มหอยทาก กับแมลง

หอยอะไรหว่า หอยคอคอยสมหวัง เหล่าหอยคอคอดสมหวัง เต่าทอง 1 เต่าทอง 2

ความเห็นที่ 10

เสร็จรอบก่อนมืด ก็ไปพักทานอาหาร แล้วไปเวิ่นเว้อแถวนั้น

วิวยามเย็นริมอ่างเก็บน้ำ แมลงปอ 1 แมลงปอ 2 พิการเล็กน้อย แมลงปอบ้านผู้ปีกเปื้อนส้ม

ความเห็นที่ 10.1

ตัวแรก   แมลงปอเข็มบ่อหน้าส้ม Pseudagrion rubriceps ตัวผู้เพิ่งออกจากคราบครับ

ตัวสอง   แมลงปอบ้านปีกเปื้อนส้ม Brachythemis contaminata ตัวผู้ครับ

ความเห็นที่ 11

ประชาชนในพื้นที่ เจอรถไม่ได้ ต้องมารอขออาหาร เป็นฝูง

 

ตอนนี้ผมกับพี่นณณ์ก็นั่งรอมันมืด จะได้เข้าไปสำรวจรอบมืด

ลิง

ความเห็นที่ 12

มืดแล้วก็สำรวจอีกรอบ

เริ่มจากตุ๊กกาย

ตัวนี้โดนแต้มสีแล้ว ซ้ำ ไม่ต้องเอามาบันทึก ตัวนี้อยู่ไกล ตัวนี้แอบอยู่ บางทีก็สู้นะ

ความเห็นที่ 13

กลุ่มครึ่งบกครึ่งน้ำ

 

คางคกสีชมพู (ในถ้ำ) ??? (ในป่า) กบอ่อง?? (ในป่า) อึ่งจิ๋วลายจุด (ในถ้ำ)

ความเห็นที่ 13.1

พรุหลังไมค์มาให้

คางคกบ้าน

กบอ่องใหญ่วัยรุ่น Sylvirana mortenseni

กบอ่องใหญ่ Sylvirana mortenseni

อึ่งจิ๋วลายจุด Micryletta inornata

ความเห็นที่ 14

พวกหลายขา

แมงมุมแส้เยอะจนอิ่ม อิอิ (ชอบ)

หุ่นยนต์ ไร้คนบังคับ แมงมุมแส้ บางทีจะเกาะแบบโก่งตัวสูง ตัวนี้มีอาหาร ดูเหมือนจะเป็นแมงมุม แมงป่องแส้ ตะขาบขายาวพร้อมอาหาร ตะขาบขายาวเจอหลายตัว แต่ทุกตัวกลัวแสงไฟ เลยแห้วหมด ตัวอะไรเนี่ย น่าจะพวกกิ้งกือ

ความเห็นที่ 14.1

แมงมุมแส้เจ้าเดิม Phrynichus orientalis

อาหารในอ้อมกอดแมงมุมแส้ น่าจะเป็นเพศผู้ของบึ้งกลุ่มหนึ่ง มีมุมอื่นมั้ยท่าน

ความเห็นที่ 14.1.1

มีสองสามภาพนะ แต่มุมนี้เห็นแมงมุมชัดที่สุดละ

ทีแรกแอบลุ้นว่าตัวอะไรในปาก นึกว่าตุ๊กกาย ฮาฮา
 

ความเห็นที่ 15

แต่ที่พิเศษหน่อยสำหรับผมคือ กิ้งกือ ตัวเล็กๆพวกนี้

เพราะบังเอิญมันสะท้อนแสง black light ได้ ไม่เหมือนกิ้งกือทั่วไป

หลังจากกรี๊ดกร๊าดกับพี่นณณ์เสร็จ ก็ตั้งใจว่าจะส่งไปให้อาจารย์สมศักดิ์ทำการศึกษา อาจจะเข้าไปสักวันพุธ หรือพฤหัส

กิ้งกือ กิ้งกือภายใต้แสง Black light

ความเห็นที่ 16

หอยทากก็ดูมีชีวิตชีวาตอนกลางคืนเหมือนกันครับ


 

หอยงวงท่อ หอย ???

ความเห็นที่ 16.1

ตัวบน หอยงวงท่อจูปิง Rhiostoma chupingense ฝาปิดเปลือกทรงยาวเหมือนขดสปริง

ตัวล่าง ดูจากแผ่นพับภาพหอย (ที่ได้จากการตอบคถามในเว็บสยามเอ็นซิสนี่แหละ) ดูคล้าย Plectopylis sp.
 

ความเห็นที่ 16.1.1

เอาตัวอย่างไหมท่านมีเปลือกหล่นๆเยอะอยู่

ความเห็นที่ 16.2

ตัวล่างนี้ถ้าไม่ผิดนะค่ะ เป็นหอยทากสาริกาค่ะ

ความเห็นที่ 17

สุดท้ายเป็นพวกปูครับ

เจอปูแยะทีเดียว

จบการรายงานครับ

ปูในน้ำ ปูบนผนังหิน หน้าปู

ความเห็นที่ 17.1

ปูยังไม่มีความคิดเห็นจากกระทู้ครั้งก่อนๆ รอได้สัมผัสตัวอย่างดูก่อนละกัน

ความเห็นที่ 17.1.1

มีใครเก็บตัวอย่างให้รึยังครับท่านไก
 

ความเห็นที่ 17.1.1.1

มีเก็บฝากทางพี่น็อตแล้ว แต่ยังไม่ได้เจอกับพี่น็อตเลย ตั้งแต่ลาออกจากงานที่ภูเก็ต

ความเห็นที่ 18

โหยยยยยย 

ยิ่งดูรูปก็ยิ่งเสียดาย ไม่ได้ติดตามไปด้วย T^T 

 

(ป.ล. วันพุธ-พฤหัสฯ ยายอ้วนจะเข้าจุฬาฯ พอดี คงจะได้เจอกัน) 

ความเห็นที่ 19

 

กิ้งกือสุดยอดจริงๆครับ

ความเห็นที่ 20

เห็ดสีฟ้าจากดอยสุเทพมาแข่ง

แถมด้วยกล้วยไม้สีเขียวมรกต ฮี่ๆๆ

blue mushroom emerald orchid

ความเห็นที่ 20.1

โห แปลกดีๆ
 

ความเห็นที่ 20.2

แปลกไม่แพ้กันเลย หุุหุ

ความเห็นที่ 21

ภาพสวยมากครับ ขอบคุณที่ไปช่วย ใครสนใจก็ไปอีกทีศุกร์ที่ 27 หรือ เสาร์ที่ 28 นะครับ

ความเห็นที่ 22

ภาพสวยล้ำนำหน้าพี่ๆ ไปไกลโขแล้ว

ตุ๊กกายเค้าใช้ของแพงด้วยนะ Skin Food สาวๆ คงอิจฉา เหอๆๆ

ทีไอ้ตอนเราไปก็มาไล่ยิกๆ ว่าให้ถ่ายเร็วๆ ที่น้องนุ่งคนอื่นไปไม่เค้ยไม่เคยจะเร่ง angry

ความเห็นที่ 23

สงสัย ไปเก็บข้อมูลที่เขาชะเมาหรือปล่าวครับ หวังว่าคงไม่ใช่ที่สระบุรี

ความเห็นที่ 24

โหมี gesner ด้วย ตั้ง 2 ชนิด  สวยๆ ทั้งนั้นเลย  แอบน้อยใจเล็กน้อยที่หอยทากชัด อิอิ ล้อเล่นค่ะ

ความเห็นที่ 25

อะไรคือ gesner อ่ะ?

ความเห็นที่ 26

ขอทราบวิธีการจับตัวอย่างตุ๊กแกได้มั้ยคะ ว่าจับเเล้วมารค เเล้วปล่อย หลังจากนั้นเข้ามาจับครั้งต่อไป ได้จับตัวเดิมมั้ยคะ รึว่าจับตัวใหม่เเล้วมารคไปเรื่อยๆ อ่ะค่ะ พอดีว่าเจอ paper เรื่อง ECOLOGY OF CYRTODACTYLUS SUMONTHAI BAUER, PAUWELS, & CHANHOME, 2002 (REPTILIA: SQUAMATA: GEKKONIDAE): A KARST DWELLING BENT-TOED GECKO FROM SOUTH-EASTERN THAILAND
เลยไม่รู้ว่าผู้เขียน paper กับ บอร์ดนี้ คนเดียวกันรึป่าวน่ะค่ะ (กรุณาตอบกลับด้วยนะคะ พอดีว่าอ่านเปเปอร์เเล้วสงสัยน่ะคะ ขอบคุณค่ะ