ประกวดภาพถ่ายธรรมชาติประจำปี เพื่อทำปฏิทินปี 2557

เป็นประจำทุกปีนะครับ กติกามีง่ายๆดังนี้

1. ภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางธรรมชาติในประเทศไทย (จึงย้ำว่าเป็นภาพที่ถ่ายในประเทศไทยเท่านั้น)
2. กำหนดวันประกวดตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 20 มค. 2557 ใช้เวลาของ server ของ web เป็นหลัก ประกาศผลภายในวันที่ 30 มค. 2557
3. ส่งประกวดได้ท่านละ 3 ภาพเท่านั้น
4. การตัดสินของกรรมการถือเป็นอันสิ้นสุด 

ของรางวัล
1. หนังสือ "วาฬบรูด้าและอ่าวตัว ก" จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ขอบคุณ คุณพี่สมิทธ์ สุติบุตร บริจาค พร้อมลายเซ็น)
2. หนังสือ "นกและสัตวป่าเมืองไทย สายใยแห่งธรรมชาติ" โดย อ.เกษม สนิทวงศ์ ณ​ อยุธยา (ขอบคุณ​ คุณพี่ชนินทร์ โถรัตน์ บริจาค)
(สองเล่มนี้ขอเปิดโอกาสให้ผู้ชนะเลือกว่าจะเอาเล่มไหนนะครับ ที่สองก็ได้อีกเล่มไป)
3. เสื้อยืด siamensis.org รุ่นใหม่เก๋ไก๋ ลายปาดบิน 

แปะภาพของท่านลงในกระทู้นี้ได้เลยนะครับ กรุณาระบุ
1. ชื่อไทย และ ชื่อวิทยาศาสตร์​ (ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิต และถ้าทราบ)
2. สถานที่ถ่ายทำ
3. ความประทับใจของท่านในรูปดังกล่าว
4. อุปกรณ์และวิธีการถ่ายทำอย่างคร่าวๆ 

ขอบคุณครับ

บรรยากาศการประกวดปีที่แล้วครับ
http://www.siamensis.org/webboard/topic/36707#comment-42933

บรรยากาศกระทู้ประกาศผลปีที่แล้วครับ
http://www.siamensis.org/webboard/topic/36833#comment-43682

Comments

ความเห็นที่ 1

ขอร่วมประกวดด้วยคนครับ สมาชิกใหม่สดๆร้อนๆฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ

ชื่อผู้ถ่าย : ชัยพัทธ์ งามบุษบงโสภิน

ชนิด : ด้วงกว่างดาว (cheirotonus parryi)

สถานที่ : ถ่ายได้จากบ้านพักของอทุยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยบังเอิญ

ตอนนั้นกำลังเที่ยงคืน คุยเฮฮากับเพื่อนฝูง smiley จู่ๆไอ้เจ้าตัวนี้ จู่ๆก็บินผลุบตกเข้ามากลางวง ทั้งผู้หญิงผู้ชายพร้อมกันโดยไม่ตั้งใจแตกฮือกระจาย พร้อมเสียงหวี้ดว้าย(เอ๊ะ ยังไงกัน เพื่อนชายแน่รึ) ผมนี่ตกใจเหมือนกัน แต่ตกใจปนดีใจเพราะได้เจอกว่างดาวตัวเป็นๆครั้งแรกในชีวิต เพื่อนฝูงทั้งหลายไม่กล้าแตะแมลง ผมก็เลยเอามันไปปล่อยที่ระเบียงไม้ ก่อนจากกันเลยหยิบกล้องแคน่อน 550D ธรรมดาๆมาถ่ายเก็บไว้ในความทรงจำด้วยความสามารถในการถ่ายอันมีน้อยนิด

กว่างดาว

ความเห็นที่ 2

อะ มาเป็นคนที่ 2 เลยรึเนี่ย เอาด้วย นานล่ะไม่ได้มาเยี่ยมเลยที่นี่

ชื่อ : นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้า

Common name : Mrs Gould's Sunbird

สถานที่ : สถานีอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

 

........................

 

ชื่อ : งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง

สถานที่ : น้ำตกห้วยทรายเหลือง

นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้า งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง

ความเห็นที่ 3

ตามมาเป็นคนที่ 3 ปีนี้ไม่พร้อมอย่างแรง แต่ก็หน้าด้านร่วมสนุกครับ ฮาๆ

ชื่อ: เพลี้ยกระโดดแบน ในวงศ์ Flatidae
สถานที่: อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

นี่อาจจะเป็นพฤติกรรมที่ไม่ปกตินัก เพราะโดยทั่วไปแล้ว เพลี้ยกระโดดแบนมักจะพบเกาะดูดน้ำเลี้ยงอยู่ตามต้นพืชเสียมากกว่า แต่การมาเกาะอยู่บนหินกลางลำธารเช่นนี้ อาจเป็นเพราะตกลงมาจากต้นไม้ก็เป็นได้ครับ แต่มันก็เกาะนิ่งมากทีเดียว ขนาดคลื่นน้ำซัดมาก็ยังไม่ยอมไหลไปกับน้ำหรือบินหนีไปเลย

เพลี้ยกระโดดแบน

ความเห็นที่ 4

ชื่อ: แมลงปอเข็มนาส้มจุดฟ้า (Ischnura rufostigma)
สถานที่: อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่


 

แมลงปอเข็มนาส้มจุดฟ้า

ความเห็นที่ 5

1. ชื่อไทย สมเสร็จ ชื่อวิทยาศาสตร์ Tapirus indicus

2. สถานที่ถ่ายภาพ  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี จังหวัด ราชบุรี

3. ประทับใจรูปนี้เนื่องจากเป็นความพยายามที่เริ่มจากการอยากได้ภาพสัตว์ป่าจากผืนป่าในบ้านเกิด เริ่มจากอุปกรณ์ที่คิดว่าราคาไม่สูงนักคือกล้องวิดีโอ ที่สามารรถซูมได้ มาเป็นใช้ Telescope แล้วเอากล้องจ่อเอา ต่อมาก็เป็น Light DSLR มาถึงกล้องดักถ่าย ที่รูปนี้ต้องหาบริเวณที่คาดว่าจะมีสัตว์มาหากินและทำเลในการวางกล้องมุมที่ต้องทดลองหาอะไรมาลองเพื่อให้ได้มุมก้มตรงบริเวณที่จินตนาการว่าสัตว์จะเข้ามาบริเวณกลางมุมกล้อง และเป็นเพียงคืนแรกของการวางกล้อง สมเสร็จก็เข้ามาในระยะมุมกล้องพอดี และเป้าหมายต่อไปก็คือร่องรอยที่เคยพบและคิดว่าอาจจะไม่ใช่สมเสร็จ ก็หวังว่าตัวเองอาจจะได้มีโอกาสได้ภาพสัตว์ป่าหายากที่ถึงแม้อุปกรณ์จะไม่ได้มีราคาอย่างช่างภาพมืออาชีพภาพไม่ได้มีคุณภาพสวยงาม แต่ก็สร้างความประทับใจให้กับตัวเองได้

4. อุปกรณ์กล้องดักถ่ายผูกกับต้นไม้และหาไม้ไผ่มาหนุนปรับมุมกล้อง

ressmesrcchcroppict0024.jpg

ความเห็นที่ 6

1. ชื่อไทย เอื้องมณีฉาย ช้างงาเดียวดอกม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunia bensoniae Hook.f.

2. สถานที่ถ่ายภาพ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัด ราชบุรี

3. ประทับใจรูปนี้เนื่องจากเป็นความพยายามที่อยากเห็นและถ่ายภาพกล้วยไม้ที่สวยงามจากผืนป่าในบ้านเกิด เริ่มจากอุปกรณ์ที่คิดว่าราคาไม่สูงนักคือกล้องวิดีโอ ที่สามารถซูมได้ มาเป็นใช้ Telescope แล้วเอากล้องจ่อเอา ต่อมาก็เป็น Light DSLRรูปนี้ถ่ายในสภาพอากาศและแสงไม่อำนวยนักคือมีเมฆหมอก ลม ละอองน้ำ พัดผ่าน ตลอดเวลาที่เดินหามุมถ่ายภาพอยู่ ทำให้ต้องทดลองปรับกล้องและถ่ายหลายๆรูป ทำให้ถึงแม้จะได้ภาพที่ไม่คมชัดนักแต่ก็ทำให้ได้ภาพที่สะท้อนสภาพธรรมชาติแวดล้อม สภาพอากาศของถิ่นที่อยู่อาศัยของกล้วยไม้ป่าที่สวยงามและหายากชนิดนี้ และเป็นกล้วยไม้ป่าที่คิดว่าดอกใหญ่และสวยงามในอันดับต้นๆของกล้วยไม้ป่าในบ้านเราที่เคยเห็นมาครับ

4. อุปกรณ์กล้อง Fuji Finepix HS20EXR

resizeforsiamensisdscf0959.jpg

ความเห็นที่ 6.1

สวยงามสะพรั่งจริงๆ เคยเห็นที่สวนผึ้งตอนหน้าแล้งเหลือแต่ต้นโด่เด่ครับ

ความเห็นที่ 6.2

โห้ สวยมากครับ พึ่งเคยเห็นของจริง เคยดูแต่ตัวอย่างแห้ง
ขอบคุณทึ่แบ่งปันความรู้ครับ

ความเห็นที่ 7

1. ชื่อไทย คาดว่าเป็นกล้วยไม้ตระกูลหวายสีชมพูทีและจากที่สอบถามดูยังไม่ทราบชื่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ เดาว่าเป็น Dendrobium sp.

2. สถานที่ถ่ายภาพ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัด ราชบุรี

3. ประทับใจรูปนี้เนื่องจากเป็นความพยายามที่อยากเห็นและถ่ายภาพกล้วยไม้ที่สวยงามจากผืนป่าในบ้านเกิด เริ่มจากอุปกรณ์ที่คิดว่าราคาไม่สูงนักคือกล้องวิดีโอ ที่สามารถซูมได้ มาเป็นใช้ Telescope แล้วเอากล้องจ่อเอา รูปนี้ถ่ายในสภาพอากาศและแสงไม่อำนวยนักคือมีลมพัดผ่าน ตลอดเวลาและต้องใช้กล้องจ่อเอากับTelescope ราคาถูกต้องรอจังหวะลมที่เบาที่สุด ทำให้ถึงแม้จะได้ภาพที่ไม่คมชัดนักแต่ก็ทำให้ได้ภาพที่สะท้อนสภาพธรรมชาติแวดล้อม สภาพอากาศของถิ่นที่อยู่อาศัยของกล้วยไม้ป่าที่ผมยังไม่ทราบชื่อและจากที่สอบถามจากหลายๆที่ยังไม่มีใครทราบชื่อที่ชัดเจนบอกได้แต่ว่าเป็นตระกูลหวาย เลยทำให้ประทับใจว่าอย่างน้อยด้วยอุปกร์เท่าที่มีอยู่ก็พอให้ได้ภาพมาสอบถามเป็นความรู้และค้นหาชื่อต่อไป

4. อุปกรณ์กล้อง Telescope Nikula และ Nikon coolpix 7600 

resizhwaaychmphuudscn5747.jpg

ความเห็นที่ 8

ชื่อ นกเขนน้อยไซบีเรีย Siberian Blue Robin  Luscinia cyane
สถานที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
ขณะที่นั่งหลับอยู่ในบังไพร ก็ได้ยินเสียงเจ้านกเขนน้อยบินมาใกล้ๆ  กระโดดไปมา แล้วก็โดดลงไปอาบน้ำไม่อายผู้คนเลย
อุปกรณ์ กล้อง canon 5D II เลนส์ 400mm 5.6 ถ่ายในบังไพร

ผู้ถ่าย ปิติ ตันทวีวงศ์

Siberian

ความเห็นที่ 9

ชื่อ แมงมุมใยทอง (Golden Orb Web Spider)
สถานที่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
เดินไปเดินมา รู้สึกว่ามีอะไรอยู่ตรงหน้า เอ๊ะใยแมงมุมนี่น่า ทำไมบ้านแมงมุมช่างใหญ่อะไรอย่างนี้ เราก็เลยนั่งรอดูเจ้าของบ้าน รอเท่าไหร่ก็ไม่ออกมาสักที ขณะนั้นเองก็มีแมลงบินมาติดใย เจ้าแมงมุมก็โผล่หน้าออกมาทันใด ฉึก เขี้ยวฝังลงในตัวเหยื่อ ใช้ใยพันเก็บไว้กิน ดูแล้วก็นึกถึงสัจธรรมชาติ
อุปกรณ์ กล้อง canon 5D II เลนส์ 400mm 5.6

ผู้ถ่าย ปิติ ตันทวีวงศ์

spider

ความเห็นที่ 10

ชื่อ  เถาฟ้าระงับ    Argyreia  breviscapa  (Kerr) Ooststr.

เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย  (endemic)  พบที่เขตต่อหนองคาย/สกลนคร

Pana  FZ 200  โหมด M    F 2.8   1/640 sec  ISO 100    3 MP    ซูม 46.9 X

 

 

ethaafaarangab1.jpg

ความเห็นที่ 11

แมงมุมกระโดดไม่รู้ชื่อครับ/ตั๊กแตนกิ่งไม้

พบที่สุรินทร์ชายป่าชุมชนในเขตอำเภอเมือง

Pana  FZ 200  F2.8  1/400sec  ISO 100

หะแรกที่พบแยกไม่ออก  ตัวอะไรกินกิ่งไม้    เดินรอบป่าเป็นสิบๆปีไม่เคยเห็นเลยครับ

mumkingaim.1jpg.jpg

ความเห็นที่ 12

แมลงปอเสือ......ทราบเท่านี้ครับ

พบที่เขตต่อหนองคาย / สกลนคร

ประทับใจตรงที่วิ่งตามถ่ายภาพจนเหนื่อย  พอจับภาพได้ก็บิน  เป็นภาพที่กว่าจะได้เหนื่อยจริงๆ  ที่นิ่งๆก็เกาะซ่ะสูงเชียว

Pana  FZ 200  F 3.2   1/80 sec  ซูมสุดกล้อง  46.9 X   3MP

 

pesuueaihy.jpg

ความเห็นที่ 12.1

แมลงปอใหญ่ตาเขียวปีกใส (Epophthalmia frontalis frontalis)ครับ

ความเห็นที่ 12.1.1

ขอบคุณพี่Due_n  มากครับ

ความเห็นที่ 13

ชื่อภาพ : นกจาบปีกอ่อนอกเหลือง

สถานที่ : บึงกะโล่ จังหวัดอุตรดิตถ์

คำบรรยาย : เมื่อลมหนาวมาถึง เหล่านกอพยพน้อยใหญ่ต่างมาอาศัยพังพิงหลบภัยหนาว ฝากชีวิตกับประเทศไทยนับหมื่นนับแสน หนึ่งในนั้นคือนกจาบปีกอ่อนอกเหลือง นกน้อยน่ารักที่แต่ก่อนเคยพบได้ทั่วไปตามทุ่งนาในฤดูหนาว แต่ปัจจุบันนกชนิดนี้ได้หายไปจากบ้านเราอย่างมาก การได้พบเจอพวกเขาอีกครั้งถือเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง

นกจาบปีกอ่อนอกเหลือง

ความเห็นที่ 14

ลืมใส่สามัญกับวิทยาศาสตร์ครับ ขออภัย Yellow-breasted Bunting / Emberiza aureola

ความเห็นที่ 15

ชื่อภาพ : มรกตแห่งท้องทุ่ง

ชื่อ : นกจาบคาหัวเขียว/ Blue-tailed bee-eater/Merops philippinus

ผู้ถ่ายภาพ : นายธนโรจน์ เงินวิลัย

สถานที่ : บึงกะโล่ จังหวัดอุตรดิตถ์

บรรยาย : นกจาบคาตัวนี้กำลังรอคอยฝูงแตนที่อยู่ตามทุ่ง โฉบกินอย่างสบายใจแล้วก็บินกลับมาเกาะพักจุดเดิม พวกเค้าอยู่กันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ 5-6 ตัว  ส่งเสียงร้องเรียกกันเป็นระยะ ๆ ก่อนจะพากันบินจากไป

จาบคาหัวเขียว

ความเห็นที่ 16

ชื่อภาพ : ดาหลาพาเพลิน

ชื่อ : นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน/ Purple-naped Sunbird  /Hypogramma hypogrammicum

ผู้ถ่ายภาพ : นายธนโรจน์ เงินวิลัย

สถานที่ : อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก

บรรยาย : ดอกดาหล้าหน้าห้องน้ำ ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงนั้น เป็นที่นิยมของเหล่านกกินน้ำหวานที่คอยวนเวียนมาใช้บริการตลอดทั้งวัน รวมถึงเจ้านกกินปลีท้ายทอยน้ำเงินตัวนี้ ซึ่งเป็นนกที่ไม่ค่อยพบทางภาคเหนือ

kinpliithaaythynamengin_13_of_20_copy.jpg

ความเห็นที่ 17

ชื่อภาพ : เด็กดำเหลือง

ชื่อ : ตุ๊กกายหมอบุญส่ง

ผู้ถ่ายภาพ : นายศิริวัฒน์ แดงศรี

สถานที่ : สวนผลไม้ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

บรรยาย : ตอนเด็ก ๆ สีสวยกว่าตอนโตเยอะเลย

img_02001.jpg

ความเห็นที่ 18

ชื่อภาพ: ช้างแม่แจ่ม(บ้านแม่สะมอจา)

ชื่อ: ช้าง The Elephant  

สถานที่ถ่ายทำ: อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ 
 

ความประทับใจของท่านในรูปดังกล่าว:ช้างถือว่าเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองไทยของเรามาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลซึ่งช้างนี้ส่วนสำคัญต่อการสร้างชาติบ้านเมืองของเราแต่ ช้างไทยในปัจจุบันนี้ต้องเผชิญชะตากรรมเลวร้ายซ้ำๆ มีทั้งฆ่าเอางาเอาลูก มี่ทั้งบาดเจ็บล้มตาย จนทำให้ช้างไทยลดจำนวนลงเรื่อยๆ

 

อุปกรณ์และวิธีการถ่ายทำอย่างคร่าวๆ: canon 50D lens EF/50 mm. 1:1.8  Iso 400 

img_9861.jpg

ความเห็นที่ 19

ชื่อไทย: แมงป่องเทียม

วงศ์: Chernetidae

ผู้ถ่าย: คมสัน หงภัทรคีรี

สถานที่: อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์

ความประทับใจ: แมงป่องเทียมตัวนี้กำลังงับเห็บตัวกลมๆไว้ในปาก การถ่ายภาพกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วนี้ให้ออกมาชัดเจน ต้องใช้ความพยายามค่อนข้างสูง

รายละเอียดการถ่ายภาพ: กล้อง Canon EOS 600D, shutter speed 1/125, F10, เลนส์ Canon EF 100 mm. Macro + Extension tube, แฟลช MT-24EX

img_3631.jpg

ความเห็นที่ 19.1

แหร่ม

ความเห็นที่ 20

ภาพนี้พอส่งประกวดได้มั้ยครับ พอดีถ่ายจากกล้องมือถือธรรมดา แถมเป็นมือใหม่อีกตังหาก ภาพเลยออกมาไม่สวยเท่าไหร่ แต่ตั้งใจถ่ายมากนะครับ

shrimp.jpg

ความเห็นที่ 21

ชื่อไทย ชมพู่ป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium megacarpum (Craib) Rathakr. & N.C. Nair  

สถานที่ อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

ผู้ถ่ายภาพ นายเหรียญทอง เรืองรอง

chmphuukaay.jpg

ความเห็นที่ 22

ชื่อไทย: แมลงปอเข็มปีกกางเขียวอกลายจุด
ชื่อวิทยาศาสตร์Platylestes platystylus (Rambur, 1842) 
ชื่อพ้องLestes platystylus Rambur, 1842

สถานที่: อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครนายก

ผู้ถ่ายภาพ: นายเหรียญทอง  เรืองรอง

kpp_noid_ky040556.jpg

ความเห็นที่ 23

ชื่อไทย: แมลงปอบ้านไร่ลายเลือน
ชื่อวิทยาศาสตร์Rhyothemi s obsolesce ns Kirby, 1889

สถานที่ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี

ผู้ถ่ายภาพ: นายเหรียญทอง  เรืองรอง

brll_nykt_jtbr56.jpg

ความเห็นที่ 24

ชื่อไทย: แมงมุมเลียนแบบมดแห่งปราณบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์: Pranburia mahannopi

ผู้ถ่าย: คมสัน หงภัทรคีรี

สถานที่: อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์

ความประทับใจ: แมงมุมที่มีรูปร่างคล้ายมดนั้นหาดูได้ไม่ยาก แต่แมงมุมที่แสดงพฤติกรรมให้ดูคล้ายกับมดนั้นหาดูยากกว่า อย่างเจ้าแมงมุมชนิดนี้ ซึ่งมีลักษณะเด่นตรงพู่ขนบนขาคู่แรก ซึ่งเมื่อแมงมุมชนิดนี้ตกใจหรือโดนรบกวน พวกเค้าจะหยุดนิ่งพร้อมชูขาคู่แรกซึ่งมีพู่ขนขึ้นประกบกัน ส่วนปลายขาที่เหลือชูแกว่งไปมาในอากาศ มองดูคล้ายหัวของมดขนาดใหญ่ที่แกว่งหนวดด้วยความเกรี้ยวกราด พร้อมจะกัดได้ทุกเมื่อ จุดสีดำบนแผงขนตอนหน้ายิ่งทำให้ดูเหมือนตาของมด เท่านี้พวกเค้าก็ปลอดภัยจากศัตรูที่ไม่อยากตอแยกับมดขนาดใหญ่แล้ว แมงมุมชนิดนี้ยังเป็นแมงมุมเพียงไม่กี่ชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์มาจากภาษาไทย โดยพบครั้งแรกที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเป็นที่มาของชื่อสกุล Pranburia และในขณะนั้นผู้ตั้งชื่อแมงมุมชนิดนี้ได้รับความช่วยเหลือในการศึกษาแมงมุมในประเทศไทยจากคุณณรงค์ มหรรณพ ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ในขณะนั้นจึงได้รับการตั้งชื่อเป็นเกียรติ

รายละเอียดการถ่ายภาพ: กล้อง Canon EOS 600D, shutter speed 1/125, F11, เลนส์ Canon EF 100 mm. Macro + Extension tube, แฟลช MT-24EX

Pranburia mahannopi

ความเห็นที่ 25

ชื่อ วัวแดง
ชื่อสามัญ Banteng
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bos javanicus
สถานที่ถ่ายเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ความประทับใจ
อุปกรณ์ กล้องไนคอน D80 กับ เลนส์เทเลโฟโต้ ขนาด 300 mm f4 AF (ISO800 speed 1/90 f 8)
ความประทับใจ :
ถ่ายภาพเคลื่อนไหว แพนตามวัตถุ ลองมั่วๆ ดู ครับเคยเห็นภาพคล้ายๆ นี้แต่เป็นเก้งธรรมดา
ตัวสีส้มตัดกับทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นอีกแรงขับดันให้อยากถ่ายได้อย่างเขาบ้าง
สปีดกับการแพนทำให้ดูวัตถุเคลื่อนไหวดูมีชีวิตไม่หยุดนิ่ง
อีกทั้งการทำงานจากหลายๆฝ่ายช่วยกันทำงานอนุรักษ์ห้วยขาแข้ง
ทำให้เราพบว่าในทุกๆปี มี ลูกวัวแดง เพิ่มขึ้น เห็นแล้วชื่นใจ คนทำงานก็หายเหนื่อยพอได้ผ่อนคลายสำราญอารมณ์
กับการนั่งดูพฤติกรรมซนๆ ของลูกวัวแดง ที่วิ่งไปมาเหมือนเด็กๆ เล่นซน
คนถ่าย : นายสันต์ภพ แซ่ม่า
dsc_3973.jpg

ความเห็นที่ 26

ขอโทษที ครับ มือใหม่ครับ
โพส ที ขึ้นสอง อันเลยครับ
รบกวน แอดมิน รบออกให้อันนึงนะครับ

ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 26.1

สามารถแก้ไขความเ็ห็นได้นะครับ เพียงแค่กด "เครื่องหมายรูปดินสอ" ด้านล่างความเห็น ก็สามารถเปลี่ยนรูป แก้ข้อความ ฯลฯ ได้แล้วล่ะครับcheeky

ความเห็นที่ 27

 ชื่อ / ชันโรง  (Stingless-bee) เป็นตระกูลผึ้งไร้เหล็กไน
 สถานที่ /  โรงจอดรถหน้าบ้าน เจ้าพวกนี้มาทำรังตามหัวเสา
 ความประทับใจ /  แมลงบินกับงานมาโครถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายถ้าสามารถถ่ายได้ในจังหวะที่พอดีและชัดเจน
 อุปกรณ์  กล้อง EOS60D + เลนส์ MP-E65 + แฟลช MT-24EX
 วิธีการ ดักถ่ายหน้ารังขณะกำลังจะลงจอด

 

 

stingless-bee2.jpg

ความเห็นที่ 28

- ชื่อ  แมลงวันหัวบุบ Robber flies
- ชื่อวิทยาศาสตร์​  Ommatius sp.
- สถานที่ถ่ายทำ  สวนพทธมลฑล สาย 4
- ความประทับใจ  เป็นการออกทริปครั้งแรก รู้สึกประทับใจ กับพี่ๆที่คอยสอนและแนำนำ รวมถึงชี้เป้า ให้ถ่ายเจ้าตัวนี้
- อุปกรณ์และวิธีการถ่าย  Nikon D90, Lens 18-55+Revert Ring ,Shutter Speed 125 ,ISO 200 ,Flash Mike,Soft box DIY
rbf.jpg

ความเห็นที่ 28.1

อยากถ่ายมาโครได้แบบนี้จังครับ

ความเห็นที่ 28.2

รายละเอียดแสงเงาแปลกตาดีจัง

ความเห็นที่ 29

- ชื่อ  ด้วงงวงเจาะผล และเมล็ดมะม่วงในสกุล Sternochetus
- สถานที่ถ่ายทำ  ป่ารกร้างหลังหมู่บ้าน
- ความประทับใจ  แปลกใจมากไม่เคยเจอ ตั้งใจหามุม และจัดองค์ประกอบ เพื่อให้ได้ภาพตามที่เราต้องการ
- อุปกรณ์และวิธีการถ่าย  Nikon D90, Lens 18-55+Revert Ring ,Shutter Speed 125 ,ISO 200 ,Flash Mike,Soft box DIY
doung.jpg

ความเห็นที่ 30

- ชื่อ แมงมุมกระโดด
- สถานที่ถ่ายทำ  สวนพทธมณฑล สาย 4
- ความประทับใจ  ชื่อเรียกในกลุ่มมาโครเรียกว่าซานต้า ผมหาข้อมูลเจ้าตัวนี้ไม่เจอ
   เจ้าตัวนี้ซนมาก  20 นาที ยังไม่ได้กดซัตเตอร์  กว่าจะหยุดให้ถ่าย
- อุปกรณ์และวิธีการถ่าย  Nikon D90, Lens 18-55+Revert Ring ,Shutter Speed 125 ,ISO 200 ,Flash Mike,Soft box DIY
santa.jpg

ความเห็นที่ 31

- ชื่อ เลียงผา
- สถานที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จันทบุรี
- ความประทับใจ ชอบรูปนี่เพราะไปเดินป่าที่เขาสอยดาวกับเพื่อนสองคน และช่วงเย็นไปนั่งที่หินสักพัก ได้ยินเสียงกิ่งไม้หักเหมือนมีอะไรตกลงมาแล้วมันก็ปรากฎตัวมันคือเลียงผา ตัวแรกเดินออกมาก่อนยืนมองหันไปมาเหมือนดูต้นทาง ผ่านไปสักพักอีกตัวก็ปรากฎออกมาแล้วมันสองตัวหันมามองผมสองคนที่มองมันบนหิน ตัวด้านขวาที่ออกมาก่อน มองตาตัวที่ออกที่หลังแล้วเหมือนส่งสัญญาให้ไปก่อน โดยมันจ้องหน้าผม สายตามันที่ผมสัมผัสได้คือความรักที่มันมีให้อีกตัวหนึ่ง มันให้ตัวด้านซ้ายไปก่อนแล้วมันจึงวิ่งตามกันไป ถ้าเป็นคนมันคงเป็นเหมือนการดูแลกัน สำหรับผมทุกชีวิตมีหนึ่งชีวิตเท่ากัน คนรักชีวิตสัตว์ก็รักชีวิต
- อุปกรณ์ กล้อง canon 600D เลนส์ 18-200mm
ผู้ถ่าย วุฒิชัย หลำเนียม

img_9189.jpg

ความเห็นที่ 32

ชื่อ ดอกจิก
ชื่อวิทยาศาสตร์  Barringtonia acutangula (L.) Garetn.
สถานที่ สวนสาธารณะเกาะลำพู
ความประทับใจ ต้นไม้ต้นนี้ตอนที่ไม่ออกดอกมันก็อยู่เหมือนต้นไม้ธรรมดาทั่วๆไป
แต่พอมันออกดอกมันได้กลายเป็นต้นไม้ที่สวยที่สุดในสวนสาธารณะ 
อุปกรณ์ Nikon J1 10-30 mm
ผู้ถ่าย เกศรินทร์ แก้วสร้อย
dsc_1530.jpg

ความเห็นที่ 33

ชื่อ ทะเล
สถานที่ เกาะแรด
ความประทับใจ เป็นเกาะที่สงบไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพประมง
ทะเลและชายหาด สงบ ร่มรื่น สวยงาม แล้วก็สะอาดมาก
อุปกรณ์ Nikon J1 10-30 mm
ผู้ถ่าย เกศรินทร์  แก้วสร้อย
dsc_2006.jpg

ความเห็นที่ 34

นกแต้วแล้วท้องดำ (Pitta gurneyi)
 
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม จังหวัดกระบี่
 
แม้ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย แต่ประชากรกลับอยู่ในภาวะวิกฤติจนนกแต้วแล้วท้องดำเพศเมียตัวนี้ต้องจับคู่กับนกแต้วแล้วลาย มันเป็นตัวแทนของความล้มเหลวในวงการอนุรักษ์ไทย ตัวแทนของความเฉยชาและความไม่โปร่งใสของราชการ และความอ่อนแอของพลังอนุรักษ์ในท้องถิ่น อาจจะอีกไม่นานก่อนที่พวกมันจะจากผืนป่านอจู้จี้ไปตลอดกาล
 
อุปกรณ์  D90 + 300 TC 1.4 เนื่องจากถ่ายในสถานที่มืดครึ้มแสงน้อยมากจึงต้องใช้ระบบตั้งเวลาถ่ายแทนการใช้นิ้วกดชัตเตอร์
kb_346.jpg

ความเห็นที่ 35

เหยี่ยวเพเรกริน (Falco peregrinus)
 
จุดนับเหยี่ยวเขาดินสอ จังหวัดชุมพร
 
เหยี่ยวตัวนี้อาศัยประจำอยู่ ณ จุดนับเหยี่ยว ไม่น่าเชื่อว่าในขณะที่เราจำแนกชนิดเหยี่ยวอพยพได้เป็นพันๆตัว  ตลอดสามวันที่นั่งสังเกตการณ์ ไม่มีใครตัดสินใจได้เลยว่าเพเรกรินตัวนี้เป็นสายพันธุ์ย่อย peregrinator หรือ ernesti กันแน่ เป็นบทเรียนสอนเราได้อย่างดี ว่าแม้จะศึกษามามากแค่ไหนแล้วก็ตาม ธรรมชาติยังมีปริศนาให้ไขอีกไม่น้อย
rt_472.jpg

ความเห็นที่ 35.1

ลืมรายละเอียดอุปกรณ์ไปครับ 

อุปกรณ์ D7100 + 300 TC 1.4

ความเห็นที่ 36

นากใหญ่ขนเรียบ (Lutrogale perspicillata)
 
โคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร
 
นากฝูงนี้วิ่งข้ามถนนไป โชคยังดีที่ทั้งสามตัวไม่ได้รีบร้อนมาก ผมจึงมีโอกาสจอดรถและถ่ายรูปมาผมถ่ายรูปนกอยู่แถวโคกขามมาไม่ต่ำกว่าสี่ปีแล้ว แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นตัวนากที่นี่ และเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นใกล้และนานขนาดนี้ นับเป็นความประทับใจที่ยากจะลืม
 
อุปกรณ์ D7100 + 300 TC 1.4
dsc_2304.jpg

ความเห็นที่ 37

รู้สึกว่าระบบมีปัญหา มีคนบ่นว่าจะลงแล้วลงไม่ได้ เปิดต่อให้อีก 2 วันครับ จบวันที่ 22 นะ

ความเห็นที่ 38

1. ชื่อ ปูแสมก้ามม่วง Episesarma versicolor

2. สถานที่ถ่ายทำ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต

3. ความประทับใจ เป็นปูแสมชนิดที่นำมาทำปูเค็มใส่ส้มตำนี่เอง ปูชนิดนี้พบทั้งสองฝั่งทะเลของประเทศไทย แต่ที่นำไปขายส่วนใหญ่จะจับมาจากทางฝั่งอันดามัน การจะได้ภาพตัวเป็นๆนั้นยาก เนื่องจากเป็นปูที่มีความคล่องแคล่วว่องไว ยิ่งในสภาพธรรมชาติในป่าชายเลนจะเต็มไปด้วยรากไม้ทำให้ปูหนีหลบซ่อนได้อย่างรวดเร็ว ภาพขณะมีชีวิตในมุมมองที่เห็นแบบเต็มตัวที่ต้องอาศัยการจัดฉากถ่ายนอกสถานที่จึงมีความจำเป็นในสัตว์บางกลุ่ม แม้จะมีความรู้สึกว่าเป็นปูที่พบได้ไม่ยากตามตลาด แต่สีม่วงสดใสของปูชนิดนี้ก็พบได้น้อยในสัตว์กลุ่มอืนๆ

4.  อุปกรณ์และวิธีการถ่ายทำ
กล้อง Digital Compact: Panazonic FZ30 
Shutter speed: 1/40 s
F-Number: 3.2
ISO: 80
Focal length: 18.9 mm 
28/04/2556

ความเห็นที่ 39

1. ชื่อ นกกินเปี้ยว Todiramphus chloris

2. สถานที่ถ่ายทำ เกาะบูโหลนเล จ.สตูล

3. ความประทับใจ นกกินเปี้ยว เป็นนกกระเต็นชนิดหนึ่ง ที่พบได้ง่ายบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศ เป็นนักล่าในป่าชายเลนที่มีสีสันสวยงามด้วยสีน้ำเงินสดที่ตัดกับสีขาวสะอาด เสียงร้อง "แก๊กเก็กๆๆ" ของมันเป็นเอกลักษณ์ แม้อยู่ในป่าชายเลนได้ยินแต่เสียงก็รู้ได้ว่าเป็นเสียงของมัน 

4.  อุปกรณ์และวิธีการถ่ายทำ
กล้อง Digital Compact: Panazonic FZ30 
Shutter speed: 1/250 s
F-Number: 4.5
ISO: 80
Focal length: 88.8 mm
 
21/02/2556

ความเห็นที่ 40

1. ชื่อ จิ้งเหลนเรียวท้องเหลือง Lygosoma bowringii

2. สถานที่ถ่ายทำ เกาะบูโหลนเล จ.สตูล

3. ความประทับใจ เป็นจิ้งเหลนที่มีสีสันบริเวณด้านข้างส่วนท้องสวยงาม พบได้ไม่บ่อยนัก

4.  อุปกรณ์และวิธีการถ่ายทำ
กล้อง Digital Compact: Panazonic FZ30 
Shutter speed: 1/25 s
F-Number: 5
ISO: 80
Flash: On. Fired
Focal length: 18.3 mm
21/02/2556

ความเห็นที่ 41

1. ชื่อ Bluespotted Ribbontail Ray (Taeniura lymma)

2. สถานที่ถ่ายทำ อ่าวเทียนออก เกาะเต่า 

3. ความประทับใจ เป็นปลาที่ไม่ค่อยได้พบมุมที่ออกมาว่ายให้เห็นชัดๆแบบนี้ มักจะมุดอยู่ใต้โขดปะการังโผล่หางออกมายั่วตายั่วใจเล่น ที่ได้ทั้งตัวออกมาว่ายนี่ก็ถือว่าค่อนข้างโชคดี แล้วปลากระเบนทองนี่ว่ายน้ำค่อนข้างเร็วครับแถมขี้อาย เจอตัวนึงมักได้ภาพอยู่แค่ช็อต 2 ช็อตเท่านั้นที่พอทนเก็บไว้ไม่ลบทิ้ง

4.  อุปกรณ์และวิธีการถ่ายทำ
กล้อง Digital Compact: Canon Powershot G11 + WP-DC34 Housing
ISO100, F/4.5, 1/500 sec
Shin01.jpg

ความเห็นที่ 42

1. ชื่อ Bluespotted Ribbontail Ray (Taeniura lymma)

2. สถานที่ถ่ายทำ อ่าวเทียนออก เกาะเต่า 

3. ความประทับใจ เป็นปลาที่ไม่ค่อยได้พบมุมที่ออกมาว่ายให้เห็นชัดๆแบบนี้ มักจะมุดอยู่ใต้โขดปะการังโผล่หางออกมายั่วตายั่วใจเล่น ที่ได้ทั้งตัวออกมาว่ายนี่ก็ถือว่าค่อนข้างโชคดี แล้วปลากระเบนทองนี่ว่ายน้ำค่อนข้างเร็วครับแถมขี้อาย เจอตัวนึงมักได้ภาพอยู่แค่ช็อต 2 ช็อตเท่านั้นที่พอทนเก็บไว้ไม่ลบทิ้ง

4.  อุปกรณ์และวิธีการถ่ายทำ
กล้อง Digital Compact: Canon Powershot G11 + WP-DC34 Housing
ISO100, F/4.5, 1/500 sec

ความเห็นที่ 42.1

ภาพอยู่หนายยยย

ความเห็นที่ 42.1.1

อ้อ ซ้ำแล้วอันนี้

ความเห็นที่ 43

1. ชื่อ ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ (Gymnothorax javanicus) + กุ้งพยาบาล

2. สถานที่ถ่ายทำ กงทรายแดง เกาะเต่า

3. ความประทับใจ ปลาไหลมอเรย์ยักษ์เป็นปลาที่พบน้อยมากที่เกาะเต่า จากเครือข่ายนักดำน้ำเกาะเต่า ปลาไหลในภาพนี่เป็นตัวเดียวเท่านั้นที่พบในช่วงปี 2013 ที่เพิ่งผ่านมา ก็ดีใจครับที่ได้พบปลาชนิดนี้ในพื้นที่บ้าง เพราะไปลงฝั่งอันดามันนี่เจอเยอะเชียว อีกอย่างที่ชอบคือหน้าตามันดูรำคาญหงุดหงิดได้อารมณ์มากแถมมีกุ้งพยาบาลเกาะอยู่ที่ตาด้วยสิ

4.  อุปกรณ์และวิธีการถ่ายทำ
กล้อง Digital Compact: Canon Powershot G11 + WP-DC34 Housing
ISO125, F/4, 1/500, internal flash
shin02.jpg

ความเห็นที่ 44

1. ชื่อ ปลาหูช้างครีบยาว (Platax teira)

2. สถานที่ถ่ายทำ อ่าวเทียนออก เกาะเต่า

3. ความประทับใจ ปลาชนิดนี้วัยก่อนโตเต็มวัยจะไม่สามารถพบได้บ่อยนักในแนวปะการังเกาะเต่า แต่จะไปพบได้ตามเชือกทุ่น เศษขยะ หรือแนวปะการังเทียมที่ถูกสร้างโดยอาสาสมัครบนเกาะแทน คงเป็นรางวัลเล็กๆสำหรับทีมอาสาสมัครที่ได้เจอปลาชนิดนี้กันบ่อยๆจนแทบทุกวันล่ะครับ

4.  อุปกรณ์และวิธีการถ่ายทำ
กล้อง Digital Compact: Canon Powershot G11 + WP-DC34 Housing 
ISO 100, F/3.2, 1/250 sec
shin03.jpg

ความเห็นที่ 45

ชื่อภาพ: เก้งธรรมดา (Muntiacus muntjak)
สถานที่: อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา
ความประทับใจ: เก้งเป็นสัตว์ที่สามารถพบได้บ่อยที่เขาใหญ่จนทำให้กลายเป็นสิ่งที่คุ้นชินตาของผู้ที่ไปเที่ยวเขาใหญ่แล้ว ผมเองก็มองข้ามมันไปเช่นกัน จนมารู้ตัวว่าตัวเองยังไม่มีรูปเก้งแบบที่ถูกใจเลย จึงต้องกลับไปตามเก็บภาพมันใหม่ ผมพบเก้งวัยรุ่นตัวหนึ่งซึ่งกำลังนอนผ่อนคลายอยู่ตรงสนามหญ้า วินาทีนั้นผมกดชัตเตอร์ไปหลายสิบภาพ และมีภาพนึงที่เก้งกำลังแลบลิ้นอยู่ มันดูน่ารักและทะเล้นจนผมรู้สึกหลงใหลในภาพภาพใบนี้
อุปกรณ์: Nikon D90 + Nikkor 300mm. f/4 AF-ED
Muntjak

ความเห็นที่ 46

ชื่อภาพ: งูหมอก (Psammodynastes pulverulentus)
สถานที่: อุทยานแห่งชาติเขาแหลม จ.กาญจนบุรี
ความประทับใจ: งูหมอกเป็นงูป่าชนิดแรกในชีวิตที่ผมได้พบ ผมพบมันครั้งแรก ณ ที่แห่งนี้ขณะที่มันกำลังเลื้อนอยู่บนโขดหินในลำธารเพื่อข้ามไปอีกฝั่ง ผมจึงชอบงูหมอกเป็นพิเศษ เมื่อผมมีโอกาสได้กลับมาเยือนที่แห่งนี้ ผมก็ได้พบกับงูหมอกอีกครั้งขณะที่มันอยู่บนโขดหินในบริเวณที่ไม่ไกลจากที่ๆผมเคยเจอมากนัก ผมจึงหยิบกล้องออกมาและลั่นชัตเตอร์เป็นการทักทายเจ้าเพื่อนร่วมโลกตัวน้อยตัวนี้อีกครั้ง
อุปกรณ์: Nikon D90 + AF-S Nikkor 18-105mm. f/3.5-5.6 ED VR
Mock Viper

ความเห็นที่ 47

ชื่อภาพ: ปาดตีนเหลืองอีสาน (Rhacophorus rhodopus)
สถานที่: อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา
ความประทับใจ: ปาดบินหรือปาดร่อนในสกุล Rhacophorus เป็นกลุ่มของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่ผมชอบมากๆ เป็นครั้งแรกที่ได้พบปาดตีนเหลืองอีสาน และเป็นครั้งแรกที่ผมมีโอกาสได้ลองใช้เลนส์มาโครซึ่งเป็นอีกหนึ่งเลนส์ในฝัน หลายๆคนอาจจะมองว่าสัตว์กลุ่มนี้น่าเกลียดน่ากลัว แต่สำหรับผมพวกมันน่ารักมากๆ
อุปกรณ์: Nikon D90 + Nikkor AF-S VR Micro 105mm. f/2.8 IF-ED
Flying Frog

ความเห็นที่ 48

ชื่อภาพ: งูเถา (dryophiops rubescens)
สถานที่: อุทยานแห่งชาติ เขาปู่-เขาย่า จ.พัทลุง
ความประทับใจ: งูตัวน้อยปลอมเป็นเถาวัลย์ พบได้ทั่วไปสถานะภาพหาไม่ยาก แต่มองเห็นยาก 
อุปกรณ์:  canon 450D + 55-250is 
ผู้ถ่าย : ชยจิต ดีกระจ่าง 
Dryophiops rubescens

ความเห็นที่ 48.1

เด็ดมาก ซุกของดีไว้นี่!

ความเห็นที่ 49

ชื่อภาพ : นกเด้าลมแม่น้ำโขง  Mekong Wagtail (Motacilla samveasnae)

สถานที่ : แก่งพิสมัย อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

ความประทับใจ : เป็นนกประจำถิ่นที่คนไม่ค่อยได้มีโอกาสเจอเท่าไหร่ บ้างก็ว่าลึกลับ แต่สำหรับคนในท้องถิ่นแล้ว เป็นนกที่หาได้ไม่ยากในพื้นที่นี้เท่าไหร่ มีลักษณะและพฤติกรรมเหมือนนกอุ้มบาตร ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้อง และการกระดกหางขึ้นลง แต่ชอบขึ้นเกาะกิ่งไม้ต้นไม้มากกว่านกอุ้มบาตร การเดินเข้าหานกมักจะทิ้งระยะห่างเสมอทำให้เข้าใกล้ไม่ได้มากนัก แต่ถ้าเรานั่งนิ่งๆในพื้นที่ที่นกชอบมาอยู่ก็จะสามารถถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น

อุปกรณ์ : canon 7D + EF 300 F4 LIS+TC 1.4 , F5.6 ,ISO 160,1/250


img_4700.jpg

ความเห็นที่ 50

ชื่อภาพ : ลิงแสม  Macaca fascicularis

สถานที่ : วนอุทยานดอนเจ้าปู่ อ.พนา จ.อำนาจเจริญ

ความประทับใจ : ช่วงต้นปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ภาคอีสานมีอากาศที่หนาวเย็น และยาวนานกว่าปกติ ในวนอุทยานดอนเจ้าปู่ จะมีลิงแสมที่อาศัยอยู่ในป่า แต่ในตอนเช้าๆ จะพากันออกมาเบียดกัน เพื่อเพิ่มความอบอุ่น และรอตากแดด เพื่อต้อสู้กับอากาศที่หนาวเย็น

อุปกรณ์ : Canon 7D + EF 70-200 F4 LIS ,f 8 , ISO 400 , 1/250
img_4601.jpg

ความเห็นที่ 51

  ชื่อภาพ : หมาใน Dhole
  สถานที่ : อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
  ความประทับใจ :  ตลอดระยะเวลาสามสี่ปี่ที่ขึ้นลงเก็บภาพสัตว์ป่าบนเขาใหญ่อย่างต่อเนื่อง ฝูงหมาใน เป็นสัตว์ที่ผมเจอและติดตามเฝ้า  ดูพฤติกรรม   และตามถ่ายภาพพวกมันอยู่สม่ำเสมอ การถ่ายภาพพวกมัน ผมมักจะได้ภาพที่ซากกวางที่พวกมันล่าได้ หลังจากถ่ายภาพพวกมัน กินซาก มาได้พักใหญ่ก็เริ่มสังเกตเห็นว่า พวกมันจะมีเวลาผ่อนคลาย หลังจากกินซากอิ่มแล้วทุกครั้ง ถ้าไม่ถูกรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์ วันนั้นผมใช้เวลานั่งซุ่มในบังไพรตั้งแต่เที่ยง จนเกืบๆ5โมงเย็น ที่ฝูงหมาเริ่มเข้าซาก และเกือบๆ6โมงเย็น    ที่พวกมันกินอิ่ม และเริ่มมีกิจกรรมผ่อนคลายหลังอาหารมื้อนี้ บางตัวลงไปแช่น้ำ หมาเด็กๆในฝูงเล่นหยอกล้อกันอย่างสนุกสนาน จนเกือบทุ่มที่หมดแสงแล้ว ผมก็ค่อยๆคลานออกมาจากหลังซุ้มบังไพร ในขณะที่พวกมันก็ยังคงนพักผ่อนกันอยู่รอบๆซาก 
 อุปกรณ์ กล้อง NIKIN D700 LENS 600F4 AT F4.5 SPEED 640 ISO 2000 -0.3EV MATRIX
wild-dg2.jpg

ความเห็นที่ 52

ชื่อภาพ:ช้างเขาใหญ่
สถานที่ : อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ช่วงหัวค่ำ ที่โป่งชมรมเพื่อน เป็นอีกคืนหึ่ง ที่ผมโชคดีได้เห็นช้่างป่า 10กว่าตัว
ลงมากินโป่ง ในฝูงนั้นมีช้างเด็กตัวน้อยๆอยู่ 3 ตัว ด้วยความที่ผมถ่ายภาพช้างป่า
ลงกินโป่งมาได้บ้างแล้วพอสมควร ผมเลยมุ่งแต่จะถ่ายภาพ ความน่ารักของช้างป่าเด็กๆ3ตัวนั้น
เป็นหลัก
อุปกรณ์ NIKON D700 LENS 300 2.8 + TC 1.4 AT F4 SPEED 13 ISO 3200 บันทึกจากแสงไฟของรถยนตร์นักท่องเที่ยว

856840_178495042352857_1938634697_o.jpg

ความเห็นที่ 53

ชื่อภาพ :  อีกกา กาฮัง
สถานที่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ความประทับใจ: ระหว่างที่กำลังบันทึกภาพ ฝูงหมาในวิ่งเล่นกลางทุ่งหญ้า ผมแหงนมองไปบนฟ้า เห็นอีกาตัวหนึ่ง
กำลังบินไล่จิกนกกาฮังชนิดที่ต้องเรียกว่า กัดไม่ปล่อย ผมเลยต้องเว้นวรรคการถ่ายภาพฝูงหมาในกลางทุ่งหญ้า
ประเดี๋ยวนึง ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่อีกา กับ นกกาฮัง บินผ่าหน้าซุ้มบังไพร
อุปกรณ์ : NIKON D700 LENS 600F4 AT F5 SPEED 8000 ISO 1600
dsc_85812.jpg

ความเห็นที่ 54

ชื่อภาพ :  กลางคืน
สถานที่ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
ความประทับใจ: เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นกบ/เขียด/ปาด ในเวลากลางคืน รู้สึกว่าในชีวิตเรายังมีอะไรที่เราอยากดูอีกเยอะค่ะ
อุปกรณ์ : NIKON D7000 LENS 300 F4  SPEED 50 ISO 500

ความเห็นที่ 54.1

ลืม รูป
dsc_0563-001.jpg

ความเห็นที่ 55

ชื่อภาพ กลมกลืน
สถานที่ถ่ายภาพ บ้านบางเก่า จ.เพชรบุรี
ความประทับใจ  ที่ชายทะเลบริเวณบ้านบางเก่า เป็นแหล่งทำรังวางไข่ของนกหัวโตมลายู เมื่อเห็นคนเดินเข้าไปใกล้  นกคู่นี้ ก็รีบเดินเข้าไปแอบตรงเปลือกหอย แล้วหมอบ ทำตัวกลมกลืนไปกับเปลือกหอย เป็นสัญชาตญาณการป้องกันตัวเองเพื่อให้ตัวเองอยู่รอดปลอดภัย
อุปกรณ์ : NIKON D7000 LENS 300 F8  SPEED 800 ISO 250
klmkluuen-001.jpg

ความเห็นที่ 56

ชื่อภาพจ๊ะเอ๋!
สถานที่ถ่ายภาพ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี
ความประทับใจ ขณะรถกำลังแล่นไปตามทางดิน เข้าสู่ที่ทำการห้วยขาแข้ง จู่ ๆ ก็เห็นอะไรบางอย่างไหว ๆ อยู่ข้างหลังกองดินข้างทาง ตอนแรกคิดว่าน่าจะเป็นพวกกระรอก ก็จอดรถรอดู ยังไม่ทันตั้งตัว เจ้าหมาจิ้งจอกก็โผล่พ้นกองดินออกมา การหลบออกจากชีวิตในเมือง เข้าไปสู่ป่า มีเรื่องให้น่าตื่นเต้นได้เสมอ
อุปกรณ์ : NIKON D7000 LENS 300 F4  SPEED 250 ISO 400

dsc_0294-001.jpg

ความเห็นที่ 57

ชื่อภาพ ภาพสะท้อน
สถานที่ถ่ายภาพ ดอยลาง จ.เชียงใหม่
ความไวชัตเตอร์ / รูรับแสง1/250 F20
เรื่องราวการถ่ายภาพและความประทับใจ
ผืนน้ำใสราวกระจก ช่วยสะท้อนภาพของปาดอินทนนท์ ที่กำลังจะขึ้นจากน้ำ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นตัวบอกถึงความสมบูรณ์ของป่า และน้ำบริเวณนั้นได้เป็นอย่างดี เราต้องช่วยกันรักษาป่าต้นน้ำเหล่านี้ไว้ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตที่มหัศจรรย์เหล่านี้ ยังคงอยู่คู่กับโลกของเราต่อไป
อุปกรณ์ : NIKON D7000 LENS 105 F20  SPEED 250 ISO 250
dsc_0595-001.jpg

ความเห็นที่ 58

ชื่อภาพ: นกตีทอง (Megalaima haemacephala)

สถานที่ : ชายป่าเขาคอหงส์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

ความประทับใจ : นกตีทองเป็นนกในวงศ์นกโพระดกที่เล็กที่สุด นกชนิดนี้มักอาศัยอยู่ในป่าโปร่ง สวนผลไม้ หรือป่าสวนสาธารณะ แต่บางครั้งก็มองเห็นตัวได้ยาก เนื่องจากขนบริเวณลำตัวมีสีเขียว ดังนั้นจึงสามารถพรางตัวได้เป็นอย่างดีเมื่อเกาะอยู่ในพุ่มไม้ นกชนิดนี้มีเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์คือ  "ต๊ง-ต๊ง" ติดต่อกัน และในขณะที่ส่งเสียงร้องก็จะบิดคอหันหน้า ซ้าย-ขวา สลับกันไปมา ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่น่าชวนมองยิ่งนัก

อุปกรณ์ : กล้อง canon 450d เลนส์ canon 55-250 mm; Focal length 250 mm, ISO 800, Speed 1/200s, F 5.6 
tiithng_5.jpg

ความเห็นที่ 59

ชื่อภาพ พริ้วไหว
สถานที่ถ่ายภาพ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง
ความประทับใจ  หลังจากสูบน้ำออกจากบ่อน้ำสาธารณะของหมู่บ้าน เพื่อเตรียมปรับปรุงบ่อ ฝูงนกยางนับพันตัวก็มารวมกัน เพื่อหาอาหารที่มีอยู่มากมาย ลีลาการบินขึ้น บินลงของฝูงนกยางเพื่อหาอาหาร สร้างความตื่นตาตื่นใจให้ผู้พบเห็นไม่น้อยเลย
อุปกรณ์ : NIKON D90 LENS 300 F4  SPEED 50 ISO 320

 

phriwaihw.jpg

ความเห็นที่ 60

ชื่อภาพ: นกแว่นตาขาวสีเหลืองปักษ์ใต้ (Zosterops everetii)

สถานที่: ชายป่าเขาคอหงส์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

ความประทับใจ: นกแว่นตาขาวสีเหลืองปักษ์ใต้ เป็นนกที่มีขนาดเล็ก ขนาดความยาวลำตัวประมาณ 11-11.5 ซม. บินไปมาว่องไว มีเสียงร้อง "จิ๊ว-จิ๊ว" กินลูกไม้สุกเป็นอาหาร เช่นลูกไทร นกชนิดนี้ถึงมีจงอยปากขนาดเล็ก แต่พฤติกรรมการกินอาหารน่าสนใจมากคือ สามารถใช้จงอยปากปอกเอาเมล็ดผลไม้ออกก่อน แล้วค่อยกินแต่เนื้อผลไม้เข้าไป 

อุปกรณ์: กล้อง canon 450d เลนส์ canon 55-250 mm; Focal length 250, ISO 800, Speed 1/100s, F 5.6
aewntaa_4.jpg

ความเห็นที่ 61

ชื่อภาพ: กระรอกปลายหางดำ (Callosciurus caniceps)
 
สถานที่: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

ความประทับใจ: ในช่วงที่ผลไม้บริเวณป่าแถวมหาลัยกำลังสุก มักจะมีสัตว์ต่างๆเข้ามากินผลไม้สุกเหล่านั้น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ เจ้ากระรอกปลายหาดำตัวนี้

อุปกรณ์: กล้อง canon 450d, เลนส์ canon 55-250; Focal length 163mm, ISO 800, Speed 1/60s, F 5.6
krarkplaayhaadam.jpg

ความเห็นที่ 62

ชื่อภาพ : แลนด์สเคปค่างแว่น
สถานที่ถ่าย : อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
ความประทับใจ : ปีนเขาไปถ่ายวิว พบเจอหน้ากัน โดยบังเอิญ
อุปกรณ์ : EOS 600D + 24-70mm.
IMG_8209-LR.jpg

ความเห็นที่ 63

ฮ่า ลืมปิด ปิดนะครับ จะประกาศผลให้ทราบในเร็ววัน

ความเห็นที่ 64

กระทู้นี้เงียบหายไปเลย ๕๕.