เชียงใหม่: ถ้าไม่ไป...ก็ไม่รู้(จะไปที่ไหน)

ในช่วงเวลานี้ เชียงใหม่ถือเป็นจังหวัดที่น่าเที่ยว อากาศกำลังดี และสิ่งมีชีวิตหลายชีวิตกำลังรอเราให้พบเจอ

Comments

ความเห็นที่ 1

พืชพันธุ์ก็น่าสนใจ...
ขนุนดินสีสันสวยงาม ขนุนดินที่รอให้ท่านมองหาตามพื้น

ความเห็นที่ 1.1

ดอกกำลังสดสวยเลยนะเนี่ย

ความเห็นที่ 2

ตอนเรียนเจ้าพืชชนิดนี้ ไม่กล้าคิดว่าจะเจอได้ง่ายๆ  แต่พอมาอยุ่ที่นี่...เจอกันเป็นว่าเล่น 
ใบที่มีลักษณะเป็นเรียวเล็ก (scale leaves) รอบข้อปล้อง ทำให้นึกถึงภาพใต้กล้องที่ต้องจำไปสอบได้ดี 555
หญ้าถอดปล้อง

ความเห็นที่ 2.1

ข้างทางเดินไปน้ำตกสิริภูมิ เจอเยอะมากเป็นดงเลยครับ

ความเห็นที่ 2.1.1

ครับ หลายที่เจอเยอะเหมือนกันครับ ^^

ความเห็นที่ 3

งูเงี้ยวเขี้ยวขอก็พอมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ  แต่ส่วนใหญ่ไม่ยอมให้ถ่าย เลื้อยหนีตลอด บางตัวก็ให้ถ่าย ... แต่ด้วยอำนาจเลนส์คิท ... แอบหวั่นๆ เวลาอยากได้ภาพใกล้ๆ กลัวมันฉกใส่จริงๆ

ชื่ออะไรบ้างครับนี่?

ตัวแรก ไม่รู้โดนอะไรมา กลิ่นใช้ได้ทีเดียวตอนพบศพ ตัวนี้ยังไงก็เจอ

ความเห็นที่ 3.1

1.งูลายสาบเขียวขวั้นดำ([i]Rhabdophis nigrocincta[/i])
2,3 งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว([i]Popeia popeiorum[/i]) ตัวผู้,ตัวเมีย

ความเห็นที่ 4

อะไรเอ่ยยยย อยู่ในภาพ!?

ส่องดูกันดีๆ ขอรับ

ความเห็นที่ 4.1

อะไรเอ่ยยยย ตัวยาวๆ โผล่พ้นน้ำมาแต่หัว 

ความเห็นที่ 4.2

ถ่ายทิ้งถ่ายขว้างจริงๆ รู้ไหมนั่นเป็นงูที่หาภาพหลักฐานยืนยันการพบในประเทศไทยแจ่มๆไม่ได้สักที น่าเป็นงูลายสอเมืองจีน (Sinonatrix percarinata) เป็นงูบกที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในน้ำ

ความเห็นที่ 4.2.1

แว้กก...เห็นตัวเมตรกว่าๆ สีน้ำตาลเหลือง ผมก็นึกว่างูสิง 55555  แต่แอบแปลกใจเล็กๆ ว่ามันอยู่ที่สูงขนาดนี้เชียวหรือ...

พยายามเข้าไปถ่ายใกล้ๆ แล้วนะพี่ แต่มันดำน้ำหนีครับ 

ภาพใกล้ๆ มาให้พิจารณาอีกรอบขอรับ 
ซูมๆๆ ซูมเข้าไปอีก

ความเห็นที่ 4.2.1.1

ไม่น่าพลาดครับ ตัวไม่มีลาย หากมีลายก็ไม่ค่อยชัดอยู่แล้ว ใต้กับหลังตาไม่มีขีด ทรงหัวไปทางงูลายสอแต่อวบๆ หัวอมเขียวๆ

งูสิงก็อยู่ที่สูงได้ครับ เคยเจอที่ระดับประมาณ ๑,๓๐๐ เมตร แต่งูสิงจะทำตัวจมน้ำไม่เป็น จะว่ายได้แต่ที่ผิวน้ำ

ความเห็นที่ 4.2.1.1.1

แจ่มพอให้เป็นรายงานหรือยังพี่? 

ความเห็นที่ 4.2.1.1.1.1

ที่จริงมีรายงานอยู่แล้วครับ เพียงแต่หลังจากเราเจอ Sinonatrix yunnanensis ก็เลยเริ่มระแวงว่าที่เคยจำแนกเป็น S. percarinata นั้น ใช่มันจริงๆหรือเปล่า เพราะเจ้า yunnanensis เพิ่งตั้งชื่อมาไม่นานนัก รูปที่เคยเห็นก่อนหน้านี้ (จากเชียงดาว) ก็ไม่แน่ใจเพราะภาพเบลอมาก จนมาเจอภาพนี้ที่แม้ไม่แจ่มแมว แต่เห็นหัวถือว่าชัดเจนระดับพอช่วยจำแนกได้ กับลักษณะตัวเบลอที่มาพร้อมพฤติกรรม ซึ่งมีส่วนสำคัญยิ่งในการช่วยจำแนกครับ คราวนี้ก็มั่นใจได้เต็มที่ว่าบ้านเรามีอย่างน้อยสองชนิดตามที่ระบุใน species index

ล่าสุดก็ได้ทราบข่าวจากพี่ Python ว่าเจองูชนิดหนึ่ง ซึ่งผมเดาว่าจะเป็นรายงานใหม่ของไทย แต่ยังระบุชนิดไม่ถูกเพราะมีคล้ายๆกัน ๓-๔ ชนิด ในสกุลเดียวกัน เลยต้องรอดูรูปก่อนเพื่อดูรายละเอียดของลาย และอาจมีข้อมูล scalation เพิ่มเติม

ความเห็นที่ 4.2.1.1.1.2

อ่อ..มีตัวใกล้เคียงอีกตัวคือ Xenochrophis sanctijohanis แต่สกุลนี้ไม่น่าอยู่ในน้ำไหลท่านี้ได้ ปกติจะหากินน้ำตื้นๆ(กว่านี้)

ความเห็นที่ 4.2.1.2

ขอบคุณครับ พี่น็อต

ความเห็นที่ 5

กบก็พอมีบ้าง
อ๊บอ๊บบนโขดหินตอนสายๆ

ความเห็นที่ 5.1

เจ้าตัวนี้ออกมาโชว์ตัวแล้วเหรอเนี่ย ทำไมเราไม่เจอเลยอ่ะช่วงนี้

ความเห็นที่ 5.1.1

ผมเจอที่สิริธาร ห้วยทรายเหลือง และผาสำราญอ่ะ พี่เก่ง

ความเห็นที่ 5.2

ฝากดอกไม้สวย ๆ ไว้ด้วย ช่วงนี้เริ่มแล้วล่ะ แปลกกว่าทุกปี ออกดอกพร้อม ๆ กันเลย

ณ ดอยอินทนนท์
ซากุระ กุหลาบพันปี

ความเห็นที่ 5.2.1

สวยๆ อ่า 

ความเห็นที่ 5.2.2

กุหลายพันปีสวยขลังมากๆครับ

ความเห็นที่ 5.2.3

แจมอีกตัว

ไกลโอดๆ
frame-text.jpg

ความเห็นที่ 5.2.3.1

หมาแม้วๆๆๆๆ

ความเห็นที่ 5.2.3.2

ฮาๆๆๆๆ  ไปดอยอินท์ยังไม่เคยไปยอดดอยเสียที ^^  อยากเห็นเจ้าตัวนี้แบบจะจะจริงๆ เลย

ความเห็นที่ 5.2.3.3

แจมตัวใกล้ ๆ ด้วยแล้วกัน

บอกแล้ว ไม่ไปกับผม อด 555 ไม่ปล่อยออกมาหรอก ของเค้าเลี้ยงไว้
goral16.jpg

ความเห็นที่ 5.2.3.3.1

ผาเดียวกันเลยนิ พี่เก่ง

ความเห็นที่ 6

แม้หน้านี้จะไม่ค่อยพบเจอน้องปอมากชนิด แต่ตัวที่เจอก็ทำให้ใจพองได้เหมือนกัน
แมลงปอเข็มน้ำตกผู้ดำ Euphaea masoni แมลงปอเข็มน้ำตกสั้นลายจุด Heliocypha perforata แมลงปอเข็มขีดเขียวฟ้า Mortonagrion aborense

ความเห็นที่ 6.1

สวยทุกตัว

ความเห็นที่ 7

หลายครั้งที่เราเจอน้องปอกำลังมีความรัก เมื่อตัวผู้พบตัวเมียที่ถูกใจแล้ว มันก็จะเข้าไปเกี้ยวสาว เมื่อสาวตอบรับแล้ว ตัวผู้ก็จะเอารยางค์ปลายท้องไปเกี่ยวคอตัวเมียเพื่อแสดงกรรมสิทธิ์เหนือตัวผู้ตัวอื่น (เราเรียกท่านี้ว่า in tandem) และเมื่อพร้อมกันทั้งสองฝ่ายย ตัวเมียก็จะยกท้องไปแตะโคนท้องตัวผู้เพื่อรับน้ำเชื้อ กลายเป็นกงล้อรูปหัวใจ (wheel position)

แมลงปอเข็มเล็กหางตุ้ม Argiocnemis rubescens rubeola

Argiocnemis rubescens rubeola

ความเห็นที่ 8

บางตัวก็อยู่เปล่าเปลี่ยวเอกา เฝ้ารอสาวผ่านมารับรัก

แมลงปอเข็มปีกกางสีน้ำตาล Lestes elatus

ความเห็นที่ 9

แมลงปอบ้าน (dragonflies) ก็ไม่น้อยหน้า มีเยอะเหมือนกันนะครับ  บางชนิดทำให้แต๋วแตกเลยทีเดียวเช่น แมลงปอบ้านเล็กหน้าขาว Amphithemis curvistyla เนื่องจากมีรายงานไม่มากนัก
แมลงปอบ้านใต้ผู้ม่วง Trithemis festiva แมลงปอบ้านเล็กหน้าขาว แมลงปอบ้านสี่แต้มเหลือง Tetrathemis platyptera

ความเห็นที่ 9.1

กด Like ให้เลยครั้บ ท่านพี่

ความเห็นที่ 10

ผีเสื้อสวยๆ ก็เยอะนะครับ

ผีเสื้อหนอนกาฝากใต้ปีกแดง Delias pasithoe siamensis ผีเสื้อภูเขาสะพายขาว Dodona deodata deodata

ความเห็นที่ 10.1

สุดยอด ผีเสื้อสวยๆออกแล้ว

ความเห็นที่ 11

ยังมีสมทบอีกนิดหน่อยครับ เจอเยอะมาก แต่ถ่ายได้นิดเดียว

ผีเสื้อแฉกม่วงดูรา Lethe dura ผีเสื้อปีกเว้าธรรมดา Euripus nyctelius Pidorus glaucopis

ความเห็นที่ 11.1

ผีเสื้อเลอะเทอะแฉกม่วงดูรา เพิ่งเห็นตอนกางปีกก็คราวนี้แหละครับ

ความเห็นที่ 12

แมลงอื่นๆ ก็มีให้เราได้ตื่นเต้นตลอดทางที่เดินสำรวจครับ

แมลงหางหนีบ

ตัวที่ 1 ตัวที่ 2

ความเห็นที่ 13

บางทีก็ได้เห็นพฤติกรรมที่น่าสนใจ เช่น เจ้า cranefly ตัวนี้มันไปเกาะตามโขดหินข้างลำธารตอนสายวันนึงที่ผมไปเดินเล่น มันเกาะนิ่งโดยอยุ่ใกล้กับระดับน้ำมากทีเดียว หรือมันกำลังวางไข่?

วางไข่? อีกมุม

ความเห็นที่ 13.1

ชัดมาก

ความเห็นที่ 13.2

ผมถามคุณ Chen Young แล้ว เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ crane flies. เขาตอบว่าเป็นวงศ์ Limoniidae สกุล Hexatoma Latreille. สกุลนี้มีหลายชนิดในเมืองไทย

Erwin

ความเห็นที่ 13.2.1

คุณ Chen Young ตอบอีกครั้งว่า

"I forgot to mention that this female is fresh emerged from her pupa, that's why the body is still soft and the colors of the wings are not true yet. After harden the wing ought to be solid black with yellow leading edge and yellow/white spots in the middle".

Erwin

ความเห็นที่ 13.2.1.1

อ้อ...ที่แท้เป็นอย่างนี้นี่เอง ขอบคุณมากๆ เลยครับ

ความเห็นที่ 14

ปิดท้ายด้วยด้วงสวยๆ ลายแปลก  ไม่มีในหนังสือ...หรือผมตาถั่วหว่า!?

เห็นแล้ว...ก็อย่าลืมแวะมาเที่ยวเชียงใหม่กันนะคร้าบบบบบ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาชมครับ
ด้วง

ความเห็นที่ 14.1

ด้วงสวยเป็นวงศ์ Cerambycidae วงศ์ย่อย Lamiinae สกุล Glenea Newman, ดูแบบ Glenea t-notata Gahan, แต่ว่า  G.t-notata ยังไม่เคยเจอที่แมืองไทย เจอที่ Nepal และ Northeast India

http://www.cerambycoidea.com/gallery/lamiinae/saperdini/gleneatnotata.jpg

Erwin

ความเห็นที่ 14.1.1

ขอบคุณครับ ผมก็เปิดหาในหนังสือ beetles of Thailand แต่ไม่เจอเช่นกันครับ   น่าสนใจจริงๆ 

ความเห็นที่ 15

เชียงใหม่ : อยากจะไป...ก็ไม่รู้(จะได้ไปเมื่อไหร่)..........


รูปสวยเหมือนเดิมนะครับ

ความเห็นที่ 15.1

เพราะ....?

ความเห็นที่ 15.1.1

หนาวแล้ว....
ไปคนเดียว มันเปล่าเปลี่ยวหัวใจ...

ความเห็นที่ 16

ปีหน้าเจอกัน!!!!

ความเห็นที่ 17


มีชีวิตชีวาจริงๆ

ความเห็นที่ 18

งาม น่าไปชมยิ่งหนัก อิจฉาคนได้เที่ยววู๊ยยยยยยย.......

ความเห็นที่ 19

งามมากครับผม ตอนนี้อากาศบนดอยน่าจะกำลังดีทีเดียว (^^)

ไปบุกกันมากี่ดอยครับนี่ :)

ความเห็นที่ 19.1

ไปๆ มา 3-4 ดอยคร้าบบ

ความเห็นที่ 20

อากาศน่ากำลังดี อากาศเย็นๆ แดดอ่อนๆ ลมหนาวๆ และ......สวยๆ

ความเห็นที่ 21

อยากไป แต่งบน้อยช่วงนี้

ความเห็นที่ 22

หากว่างๆ ต้นปีหน้าอาจ จะได้เเวะไป เชียงไหม่....อยากไป...