ลมหายใจของห้วยส่วนตัว..
เขียนโดย knotsnake Authenticated user เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2553
ห้วยส่วนตัว เป็นชื่อเรียกเล่นๆของลำธารเล็กๆที่ไหลมาจากต้นน้ำโดยตรงซึ่งมีชื่อจริงว่า ห้วยตาดผางาม ลำธารเล็กๆนี้ไหลลงสู่คลองหาดส้มแป้น ณ จุดที่เรียกว่า น้ำตกตาดผางาม
ห้วยส่วนตัวแห่งนี้ถูกซุกอยู่ในป่าดิบชื้น แม้เป็นเพียงลำธารเล็กๆ แต่น้ำไม่เคยขาดเลยตลอดทั้งปี แม้กระทั่งช่วงที่เคยแล้งที่สุดตั้งแต่สร้างเมืองระนองก็ตาม ห้วยแห่งนี้มีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิต ที่ชั้นเหนือขึ้นไปอาจพบริมตลิ่งเป็นทรายบ้าง นานๆถึงจะมีคนมาเที่ยวห้วยแห่งนี้ ดังนั้นมันจึงคงความเป็นส่วนตัวให้ผมยามค่ำคืน
การใช้ประโยชน์เบื้องต้นจากห้วยแห่งนี้ก็มีการสร้างทำนบหินเพื่อผันน้ำในการอุปโภค บริโภค และการเกษตรในพื้นที่ใกล้เคียง
ห้วยส่วนตัวแห่งนี้ถูกซุกอยู่ในป่าดิบชื้น แม้เป็นเพียงลำธารเล็กๆ แต่น้ำไม่เคยขาดเลยตลอดทั้งปี แม้กระทั่งช่วงที่เคยแล้งที่สุดตั้งแต่สร้างเมืองระนองก็ตาม ห้วยแห่งนี้มีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิต ที่ชั้นเหนือขึ้นไปอาจพบริมตลิ่งเป็นทรายบ้าง นานๆถึงจะมีคนมาเที่ยวห้วยแห่งนี้ ดังนั้นมันจึงคงความเป็นส่วนตัวให้ผมยามค่ำคืน
การใช้ประโยชน์เบื้องต้นจากห้วยแห่งนี้ก็มีการสร้างทำนบหินเพื่อผันน้ำในการอุปโภค บริโภค และการเกษตรในพื้นที่ใกล้เคียง
Comments
ความเห็นที่ 1
เวลาผ่านไปประมาณ ๑ ปี ก็เกิดฝายถาวรขึ้น ๑ แห่ง ณ จุดที่เคยใช้ฝายหินเพื่อผันน้ำไปใช้ พร้อมๆกับการตัดต้นไม้ริมธารออกบางส่วนเพื่อให้ดูโล่ง สวยงาม?
ความเห็นที่ 2
ไม่รู้ว่า ป่าชุ่มชื้นเพราะมีฝายนี้หรือ?
ความเห็นที่ 3
แต่หากย้อนกลับไปดู คห.๑ ภาพที่ ๓ จะเห็นว่าทำไมน้ำไหลผ่านฝายทางท่อน้อยจัง
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
๑. หากเพื่อผันน้ำไว้ใช้..ฝายหินทิ้งไม่มีแกนอย่างครั้งแรกที่ทำ ก็สามารถสนองวัตถุประสงค์ได้ หรือหากเกรงว่าช่วงแล้งน้ำจะไม่พอก็อาจเสริมแกนในระดับต่ำๆได้ แต่ระดับน้ำท่วมปากท่อก็พอแล้ว แต่ฝายนี้ในปัจจุบัน ระดับปากท่อที่อุตส่าห์ยกสูงเพื่อรับแต่น้ำใสๆก็อยู่ในระดับต่ำกว่าผิวทรายแล้ว ดังนั้นที่ลงทุนมาก็ไม่เกิดประโยชน์เพิ่มเลยแม้แต่น้อย
๒. หากเพื่อเก็บกักน้ำ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อ ๑) จะเห็นว่าน้ำเหนือฝายก็ไม่ได้มีปริมาณสะสมมากขึ้นเลย เพราะตะกอนทรายทับถมแทนที่น้ำที่จะกักหมดแล้ว
๓. ชะลอเพื่อให้น้ำดูดซับคืนสู่ป่า แต่..ลำธารนี้มีโครงสร้างเป็นหินแกรนิต แม้มันต้องมีรอยแตกของหิน แต่การดูดซับน้ำก็คงมีไม่มากนัก ประกอบกับที่นี่ความชื้นอากาศและดินสูงมากอยู่แล้วแม้ในหน้าแล้ง ดินทรายที่พอดูดซับน้ำได้ก็คงอยู่ในระดับที่อิ่มตัวเกือบตลอดเวลาอยู่แล้ว
๔. ชะลอเพื่อลดความแรง และการกัดเซาะตลิ่ง อืม..มันคงใช้เวลานานมากที่จะกัดเซาะหินให้พัง แต่ที่น่าสนใจคือต้นไม้ที่ถูกตัด ราน นี่สิ กับก้อนหินที่ถูกรื้อเพื่อทำฝาย ตลอดจนหินที่ต้องจมอยู่ใต้ทราย เหลือพื้นใต้น้ำเรียบๆ ผมเลยไม่แน่ใจว่าก่อนมีฝายกับสร้างแล้ว อย่างไหนจะชะลอกระแสน้ำได้ดีกว่ากัน ตอนนี้ทรายก็เต็มสันฝายแล้ว ดังนั้นหากน้ำป่าหลากมาปริมาตรเท่าไหร่ ความเร็วเท่าใด ก็จะผ่านฝายนี้ได้โดยไม่สูญเสีญพลังงานเลยทั้งหมด ตกลงว่าฝายทำหน้าที่ของมันหรือเปล่า
๕. เพื่อผลาญงบประมาณ หรือใช้สร้างภาพว่าดูแลสิ่งแวดล้อม...อันนี้คงทำหน้าที่โดยสมบูรณ์แบบแล้ว
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 10
ไม่ทราบว่า รู้ชัดเจนไหมครับว่าหน่วยงานใดเป็นผู้สร้างฝาย ผมว่าทำหนังสือถึงเขาหน่อยก็น่าสนใจดีครับ ดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย
ความเห็นที่ 11
ผมว่าจะไปสำรวจน้องปอที่ห้วยส่วนตัวพี่น็อตนะเนี่ยยย แอบเสียดายครับ
ความเห็นที่ 12
ความเห็นที่ 13
ความเห็นที่ 14
พอเห็นขนาดของฝายแล้วก็อดแปลกใจไม่ได้ว่ามันต่างจากเขื่อนตรงไหน?
ในเมื่อหลักการสร้างฝาย พื้นที่หน้าตัดต้องแคบ...
ความเห็นที่ 15
เราคงต้องหาทางทำการตลาด เพื่อต่อสู้การสร้างฝายที่หลับหูหลับตาสร้างแล้วมั้งครับ (ผมยังเชื่อว่า ฝายดี ต้องอยู่ในพื้นที่ ที่เหมาะสม ในรูปแบบที่เหมาะสม)
ความเห็นที่ 16
ความเห็นที่ 17
ความเห็นที่ 18
ความเห็นที่ 19
เขียนโครงการเขาก็มีหลักการและเหตุผล แต่ไม่รู้ว่าต้นคิดเขาเขียนไว้ยังไง
เราอาจจะชี้แจงแย้งไปที่จุดนี้ได้นะครับ ว่าหลักการและเหตุผลของเขายังไม่มองปัญหารอบด้านและเมื่อดำเนินโครงการไปแล้วกลับส่งผลกระทบด้านลบกลับมามากกว่าด้านบวก
ทำให้เจตนารมย์ของเขาที่มีความปรารถนาดีต่อธรรมชาตินั้นมีความผิดเพี้ยนไปในที่สุด
ส่วนการไปประชาสัมพันธ์ให้เขาหน้าแตกมันคงไม่ค่อยจะทำให้ได้รับความร่วมมือหรือการยอมรับในการแก้ปัญหาสักเท่าไหร่
รังแต่จะทำให้เกิดการต่อต้านด้านชาเพราะธรรมดาคนเรามันย่อมมีทิฐิกันอยู่แล้ว
ผมว่าคุยกันอย่างคนที่มีความห่วงใยในธรรมชาติเหมือนกันน่าจะได้ประสิทธิผลมากกว่าด่ากันไกลๆนะครับ
แถมอาจจะได้มิตรใหม่มีอะไรให้ทำร่วมกันต่อไปในอนาคตก็ได้นะครับ
ความเห็นที่ 20
ความเห็นที่ 21
ความเห็นที่ 22
ไม่มีป้ายหน่วยงานใดๆครับ