Somewhere Only We Know (Extreme southern)


ทริปนี้เป็นการเดินทางลงใต้ ณ สถานที่แห่งหนึ่งใกล้ๆกับชายแดนมาเลเซียครับ

มีจุดประสงค์เพื่อไปดูสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำประเภทนึง ที่สมาชิกบางคนของกลุ่มเราชื่นชอบเป็นพิเศษ

ซึ่งฤดูฝนแบบนี้ ก็เป็นเวลาที่เหมาะแล้วในการจะไปดู และเมื่องบประมาณพร้อมเราจึงออกเดินทาง 

Comments

ความเห็นที่ 1

พวกเราออกจาก กทม. ตอนเย็นๆ พอถึงที่หมายที่ต้องลงก็สว่างแล้ว

ด้วยความที่ช่วงนี้เป็นเดือนรอมฎอน จึงทำให้อาหารการกินหายากพอสมควร

ยังดีที่พอหาไก่ทอดมาประทังชีวิต ให้ผ่านมื้อเช้าไปได้

และระหว่างที่รอเจ้าถิ่นมารับเข้าพื้นที่ สิ่งมีชีวิตตัวแรกก็เข้ามาทักทาย

แมวเหมียวเข้ามาขอไก่ทอดกิน - ไม่ให้ - หิว

ความเห็นที่ 2

เมื่อเจ้าถิ่นมารับเข้าพื้นที่เรียบร้อยแล้ว กว่าจะถึงก็ปาเข้าไปเกือบเที่ยงวัน เราก็เดินเล่นรอบๆที่พักซักหน่อยรอเวลาอาหาร

เจอกล้วยไม้หนึ่งชนิด ว่านน้ำทอง (Ludisisia discolor)

Black jewel orchid

ความเห็นที่ 3

กับจิ้งเหลนอีกตัว

skink

ความเห็นที่ 4

พอดีเห็นว่าไม่กระเตื้องแล้วเลยขอเสียมารยาทปาดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดละกันครับ
แปะทิ้งไว้ก่อนรอท่าน #Mandarin อัพจนเสร็จแล้วจะปล่อยด้วยเช่นกันครับ
ช่วงที่ไปฝนลงไม่เยอะและตกบ้างไม่ตกบ้าง
แต่ป่าดิบชื้นบนเขาก็ยังเขียวชะอุ่มอยู่และเขียวกว่าครั้งแรกที่ขึ้นไป
ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่ได้ขึ้นเขาลูกนี้(รอบแรกไปเดือนมีนาคม แล้งมากถึงมากที่สุด)

บีโกเนีย Begonia sp.
ใบสีเขียวของพืชชนิดนี้ดูแล้วสบายตาสบายใจดีครับ
Begonia sp.

ความเห็นที่ 5

มาต่อกันที่ภาคกลางคืนเลยละกัน ระหว่างเดินทางไปจุดที่เคยเจอตัวเป้าหมาย ก็เจอสัตว์อื่นบ้างเป็นระยะๆ

เต่าใบไม้ใต้ Cyclemys dentata (Gray, 1931)

กับสิ่งที่มองแล้วคิดว่าเป็น คางคกแคระมลายู Ingerophrynus divergens (Peters, 1871)

และอึ่งลายเลอะ Microhyla butleri (Boulenger, 1900)
Asian Leaf Turtle Ingerophrynus divergens painted chorus frog

ความเห็นที่ 6

สิ่งแรกที่เห็นเมื่อไปถึงที่หมาย คือฟองไข่ใหม่ๆของปาดร่อน สกุล Rhacophorus ซักชนิด
foam nest

ความเห็นที่ 7

มีงูตัวนึงอยู่บนต้นไม้ใกล้ๆกับโฟมไข่

เป็น งูลายสอลายสามเหลี่ยม Xenochrophis trianguligerus (Boie, 1827)

Triangle keelback

ความเห็นที่ 8


พอเห็นไข่ ก็คิดได้ว่าต้องมีพวกมันอยู่ใกล้ๆนี่แหละ

แล้วเราก็ได้พบกับเจ้าตัวที่เป็นเป้าหมายของเราในทริปนี้

ปาดเขียวตีนดำ Rhacophorus nigropalmatus (Boulenger, 1895)

ความเห็นที่ 9


รูปไม่ขึ้น เอาใหม่

ปาดร่อนเป็นพวกที่อาศัยอยู่บนเรือนยอดไม้ ไม่ค่อยลงใกล้พื้นเท่าไหร่ ทำให้เจอได้ไม่บ่อย
Wallace's flying frog 1 Wallace's flying frog 2

ความเห็นที่ 10


นอกจากปาดเขียวตีนดำแล้ว ก็เจอ ปาดเขียวตีนลายมลายู Rhacophorus norhayatii (Onn and Grismer, 2010) ในบริเวณใกล้ๆกันด้วย

เรียกว่าฟินกันไปเลยสำหรับคนที่อยากเจอ ทำให้การมาทริปในครั้งนี้ได้รับผลตามที่ต้องการแล้ว พวกมันยังอยู่ดีในพื้นที่อาศัย ไม่มีอะไรมารบกวน

เป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจในคืนแรกไป
Norhayati's flying frog ท่าสวย

ความเห็นที่ 11


เช้าวันต่อมาเราเปลี่ยนหมาย ไกลจากจุดแรกพอสมควรเพื่อ ไปดูสิ่งมีชีวิตตามลำธารบ้าง

Selaginella ชนิดไหนไม่รู้ สวยดี

ความเห็นที่ 12


แวะพักครึ่งทาง กินข้าวและล้างตัวในน้ำตกที่ไร้ชื่อ

น้ำเย็น แช่แล้วสบาย ทำให้สดชื่นมากๆ
no name falls ดอกอะไรไม่รู้ เจอบนหินน้ำตกระหว่างทาง

ความเห็นที่ 12.1

น่าจะต้นนี้นะ ประดับหินใบเข็ม คิดถึง ไม่ได้เจอไม้สกุลนี้นานและ 

http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail....

 

ความเห็นที่ 12.1.1


ขอบคุณครับพี่ เจอได้เรื่อยๆตลอดทางเลยครับตัวนี้

ความเห็นที่ 13



เจอคางคกขายาว Leptophryne borbonica (Fitzinger, 1843) อยู่กลางทางหนึ่งตัว  

ซึ่งถ้ามันไม่กระโดดออกมาก็คงไม่เห็น
Slender-legged toad

ความเห็นที่ 14


กว่าจะเดินถึงที่วางแคมป์ก็ราวๆห้าโมงเย็น หลังจากจัดการมื้อเย็นและผูกเปลแล้วก็มานั่งพักก่อนจะออกเดิน

เจอ กบชะง่อนผาใต้ Odorrana hosii (Boulenger,1891) อยู่ในลำธารข้างๆแคมป์
Hose's frog ตัวนี้ปีนขึ้นมาอยู่บนหมวกที่ตากไว้เลย

ความเห็นที่ 15


พักจนมั่นใจว่าเวลาเดินจะไม่จุกแล้ว ก็เริ่มออกเดินกัน แต่สิ่งที่เจอเป็นอย่างแรกเนี่ย เห็นแล้วรู้สึกเสียดายมาก

ซาก กิ้งก่าดงใหญ่ Gonocephalus grandis (Gray, 1845) ตัวผู้ กำลังสวยเลย

ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ตามตัวก็ไม่มีแผลอะไรเลย

 
 
Great angle head lizard corpse กิ้งก่าดงใหญ่วัยเด็กอีกตัวเกาะนอนอยู่ในบริเวณเดียวกัน ถูกยุงเกาะเต็มตัว

ความเห็นที่ 16


ขาประจำตามลำธารในป่า กบทูด Limnonectes blythii (Boulenger, 1920)
 
Giant asian river frog

ความเห็นที่ 17


รอบนี้โชคดีเจอเต่าด้วย ตั้ง 2 ตัว เป็นเต่าที่ท่านพี่คนนำทางอยากเจอมานาน 

เต่าทับทิม Notochelys platynota (Gray,1834) เล็กหนึ่งใหญ่หนึ่ง เจอตัวใหญ่ตัวแรกได้ไม่ถึงห้านาที ก็เจอเจ้าตัวเล็กต่อเลย
 
Malayan flat-shelled turtle ตัวที่สองอยู่ห่างจากจุดที่เจอตัวแรกนิดเดียว

ความเห็นที่ 18


แวะขึ้นมาชายน้ำกันบ้าง เจอของดีกันเลย แทบกรี๊ดกับกิ้งก่าสีเขียวสดใสตัวนี้

กิ้งก่าเขียวหูดำ Bronchocela cristatella (Kuhl, 1820) 
 
หูดำจริงๆนะ กิ้งก่าดงใหญ่นี่ก็เจอเยอะจนเบื่อ พอเจอเขียวหูดำ ก็หายตื่นเต้นกับเจ้าตัวนี้ไปเลย 555

ความเห็นที่ 19


งูตัวแรกที่เจอ และเป็นงูใหม่ที่ผมได้เจอในธรรมชาติด้วย

งูปล้องฉนวนสีน้ำตาล Lycodon effraensis (Cantor,1847) ดุเอาเรื่อง ฉกอย่างเดียว
 
Brown wolf snake

ความเห็นที่ 20


มีคนแอบอยู่ข้างๆลำธารด้วยแน่ะ สีเนียนไปกับฉากหลังจนเกือบมองไม่เห็นละ

อึ่งกรายหัวมน Xenophrys aceras (Boulenger,1903)
 
นั่งเนียนอยู่บนใบหวายแห้งๆ สีกลืนกันไปเลย

ความเห็นที่ 21


เจองูอีกสองชนิดที่เจอได้ง่ายในพื้นที่ชายแดนมาเลเซียแบบนี้อีกสองตัว

ทำให้คืนนี้เราเจอครบ ทั้งงู เต่า กบและกิ้งก่าในระดับที่น่าพอใจ และพูดได้ว่าป่าตรงนี้ยังสมบูรณ์อยู่จริงๆ

งูแก้วหางแดง Trimeresurus hageni (Lidht de Jeude, 1886) ตัวเมีย

กับ งูกระ Boiga jaspidea (Dumeril, Bibron and Dumeril, 1854) ลายชวนปวดหัว
งูแก้วหางแดง Hagen's pitviper งูกระ Jasper cat snake

ความเห็นที่ 22

มาแปะเสริมเช่นกันครับ
สารพัดสัตว์ที่พบส่วนใหญ่ท่าน #Mandarin ก็ลงไปเกือบหมดแล้ว
ผมก็ขอเอามาเสริมนิดๆหน่อยๆละกัน
.
.
.
ปาดเขียวตีนลายมลายู Rhacophorus norhayatii
ได้ยินเสียงระงมไปทั่ว
เหมือนมีคนมาเคาะไม้ดังก๊อกๆๆ แกร๊กๆๆๆๆ

ส่วนแมงมุมลายๆนั้นไม่รู้ว่าชนิดใด
ต้องขอรบกวนผู้รู้ด้วยครับ
 
Rhacophorus norhayatii Wolf Spider

ความเห็นที่ 23


ระหว่างทางเดินกลับไปที่นอนเจอแมงมุมตัวใหญ่กำลังดักรอแมลงอีกตัว ใครก็ได้ช่วย ID ทีครับ
 
ใหญ่เอาเรื่อง สีสด แสบตาเลย

ความเห็นที่ 23.1

น่าจะ Lichen huntsman; Pandercetes sp.

ความเห็นที่ 24

คราวนี้ถึงตาชาวแมลงกันบ้าง
เจอแมลงปอหลายตัวแต่ที่ถ่ายได้มีแค่ตัวเดียวซึ่งก็น่าจะเคยเห็นกันในกระทู้คราวนู้นไปแล้ว(คิดว่าตัวเดิมด้วย)
.
.
.
แมลงปอยักษ์บั้งเขียวปักษ์ใต้ Indaeschna grubaueri

จั๊กจั่นงวงเจอทั้งหมด3ชนิด
ตัวเป้าหมายที่อยากเจอก็ได้เจอด้วยเช่นกัน
มีพวก Dictyopharidae ด้วยตัวนึงซึ่งก็ต้องขอรบกวนผู้รู้อีกเช่นเคยครับ
Indaeschna grubaueri Pyrops pyrorrhynchus Penthicodes variegata Pyrops spinolae Dictyopharidae

ความเห็นที่ 24.1

อิจฉาวุ้ย คนอยากเจอไม่ได้เจอสักที

ความเห็นที่ 25

ตบท้ายด้วยของฝากชาว Herp
ทริปเจอของดีๆสำหรับตัวเองหลายชนิดเลยครับ
แต่ตัวเป้าหมายที่อยากเจอจริงๆยังไม่เจอซักที
.
.
.
เต่าทับทิม Notochelys platynota

งูแก้วหางแดง Parias hageni

ปาดเขียวตีนดำ Rhacophorus nigropalmatus

อึ่งกรายหัวมน Xenophrys aceras
Notochelys platynota Parias hageni Rhacophorus nigropalmatus Xenophrys aceras

ความเห็นที่ 25.1


เอ็งนี่ก็ช่างขยันปาดจัง =_=

ยังลงไม่เสร็จเลยวุ้ย

ความเห็นที่ 25.1.1

อ้าว ขอโทษครับอันนี้ไม่เห็นจริงๆ
ต้องขออภัย แหะๆ.

ความเห็นที่ 25.1.2

มีการปาดกันเกิดขึ้น 555

ความเห็นที่ 26

ปิดท้ายด้วย เจ้าทอง แมวเจ้าถิ่นของโรงครัวที่เราแวะเติมพลังกันกันก่อนจะขึ้นรถกลับกทม.

เจอหน้ากันมาหลายปีแล้ว มันก็ยังคงน่ารักเหมือนเหมือนเดิม ทำตัวเป็นเพื่อนแก้เหงาได้ดี

ขอบคุณที่ติดตามนะครับ
 
ทอง แมวหอบ

ความเห็นที่ 27

ตกลงแก้วหางแดงจะใช้สกุลอะไรกันเนี่ย กระทู้เดียวกันใส่ซะสองสกุลเลย

ความเห็นที่ 27.1


ของผมใช้ Trimeresurus แค่สกุลเดียวนะครับพี่

ของเจ้าโอ๊คที่มาแจมใช้ Parias อ่ะครับ -_-!

ความเห็นที่ 27.2

ลืมไปครับว่ากลับไปใช้สกุลเดิมแล้ว ต้องขออภัยอีกครั้ง.

ความเห็นที่ 28

แง่งๆๆๆอิจฉา ไว้พาพี่ไปเที่ยวบ้างนะ 

ปลามีปลาให้ดูไหม? 

ความเห็นที่ 28.1

cheeky ไปด้วยครับ