Skin Identification-1

ในการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลาย หรือนิเวศวิทยานั้น ข้อมูลชนิดสัตว์ที่พบในพื้นที่ทำการศึกษานับเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญยิ่ง แต่ในสัตว์บางจำพวก เช่น งู สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด นั้น มักเป็นสัตว์ที่ตกสำรวจอยู่เสมอเนื่องจากเป้นสัตว์ที่มีการซ่อนตัว หลายๆชนิดมีเวลาในการกิจกรรมต่างๆของมันที่แตกต่างกันไป ซึ่งการเข้าไปสำรวจปกติจะเป็นการเข้าในพื้นที่เป็นระยะเวลาสั้นๆ ทำให้มีโอกาสคลาดกันแม้ในขณะที่อยู่ในจุดสำรวจนั้นๆ งูอาจอยู่ระหว่างเดินทางไป หรือเพิ่งเดินทางออกมา 

การศึกษาจากร่องรอยของสัตว์ที่ทิ้งไว้จึงเป็นแนวทางการได้มาของข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น รอยตีน การทำเครื่องหมาย อุจจาระ เศษอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่สามารถระบุระดับกลุ่ม หรือชนิดได้ แต่งูเป็นสัตว์ที่แม้เห็นรอยการเลื้อย แต่ก็ยากจะระบุชนิดหรือกลุ่ม แล้วงูหลายชนิดไม่มีการทิ้งร่องรอยการเลื้อย แต่ร่องรอยที่สำคัญที่พบได้เสมอในการสำรวจ คือ คราบ ซึ่งนอกเหนือจากการสำรวจแล้ว การทิ้งคราบไว้ตามเขตชุมชนแล้วมีการสอบถามชนิดเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ (มักเป็นเหตุผลความปลอดภัย) นับเป็นร่องรอยที่ใช้ช่วยในการจำแนกชนิดที่มีความแม่นยำสูง ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักวิชาการ และบุคคลทั่วไปในการจำแนกชนิดงูจากคราบจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาข้อมูลทางวิชาการ และนำไปใช้ประโยชน์ในแง่มุมต่างๆ ผมจึงตั้งกระทู้นี้ (และต่อๆไป) เพื่อให้เราได้เรียนรู้เรื่องคราบและงูร่วมกัน แล้วจะรู้ว่าคนที่จำแนกคราบงูได้ไม่จำเป็นต้องเป็นเซียนเป็นเทพเสมอไป 

วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน ผมจะไม่บอกชนิดงูเจ้าของคราบที่แปะเอาไว้ แล้วให้พวกเราร่วมทายกัน พร้อมให้เหตุผลการพิจารณาแบบไม่จำกัด ไม่ต้องรีบตอบ ลองไปหาข้อมูลมาพิจารณาร่วมกับคราบ เพื่อจะได้อธิบายได้ 

ข้อควรระวัง..
การเจอคราบในสภาพจริง เราอาจพบเพียงชิ้นส่วนเล็กๆ (ผมเลยตัดท่อนมาให้ดู) ซึ่งต้องทำการบ้านหนักมากขึ้นก็อย่าได้ท้อ 
งูบางชนิดมีเกล็ดส่วนต่างๆของร่างกายที่แตกต่างกัน 
งูบางชนิดทิ้งลายไว้บนคราบ แล้วบางชนิดก็ไม่ทิ้งลายบนคราบได้เช่นกัน
ใช้จินตนาการเยอะๆในการมอง
หาทางอธิบายความรู้สึกมาเป็นคำพูด(พิมพ์)ออกมาให้ได้มากที่สุด
ถ้าใครอยากอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมของงูเจ้าของคราบ พร้องแสดงเหตุผลประกอบ แต่อาจจำแนกชนิดไม่ได้ก็ยินดีครับ
ขอให้สนุกในการเรียนรู้ด้วยกันครั้งนี้..^^

คราบแรก..

Comments

ความเห็นที่ 1

คราบนี้มีองค์ประกอบเพียงพอที่จะจำแนกระดับชนิด โดยเฉพาะผู้ที่คุ้นเคยกับงู ส่วนคนที่ไม่คุ้นเคยก็มีส่วนร่วมอย่างน้อยก็อธิบายสิ่งที่เห็นจากคราบ เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถเอามาประกอบกันจนนำไปสู่การอธิบายการจำแนกได้ดียิ่งครับ

ความเห็นที่ 2

สามเหลี่ยมครับ

1. เห็นลายบั้งๆค่อนข้างชัดเจน
2. เกล็ดแถวกลางขนาดใหญ่ ทำให้ตัดกลุ่มงูปล้องฉนวนที่เป็นลายบั้งๆเหมือนกันออกไปได้ เหลือแค่สามเหลี่ยมกับทับสมิงครา
3. ดูว่าขนาดมันค่อนข้างใหญ่ ก็เลยเดาว่า สามเหลี่ยม

ความเห็นที่ 3

ครับ ลักษณะเกล็ดแถวกลางเป็น6เหลี่ยมกับลายบั้ง แต่ก็ดูไม่ออกอ่าครับว่าเป็นงูอะไร แต่อย่างน้อยก็แยกงูปล้องฉนวนออกไปได้ อิอิ