EHIA ในความเข้าใจที่ตรงกัน (อาจจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับ)

เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
ทั้ง EIA และ EHIA เป็นมาตราการทางกฎหมายตามหลักการ precautionary principle/approach ซึ่งเป็นหลักการสากล โดยสรุป (1)EIA: Environmental Impact Assessment มุ่งเน้นแต่เพียงการศึกษาและประเมินผลกระทบอันเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีผลเสียต่อประโยชน์ของมนุษย์เป็นหลัก ซึ่งการประเมิน EIA มักจะอ้างอิงอาศัยเหตุผลและหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน และ cost and benefit analysis และหลักการทางวิศวกรรม ซึ่งไม่ได้ตั้งใจในการปกป้องสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง  (2) EHIA: Environmental Healthy  Impact Assessment มองลึกลงไปถึง "ความมั่นคงทางนิเวศ" (ecological healthy/integrity) จึงมุ่งเน้นศึกษาและประเมินผลกระทบต่อนิเวศวิทยาเป็นหลัก (โดยยืนอยู่บนฐานความคิดที่ว่า เมื่อธรรมชาติสมบูรณ์ สังคมมนุษย์ที่แวดล้อมอยู่ย่อมสมบูรณ์ตามไปด้วยเช่นกัน) คำว่า "สุขภาพ" ในบริบทนี้คงไม่ใช่ "สุขภาพอนามัยของมนุษย์โดยตรง" แต่เป็น "สุขภาพอนามัยของระบบนิเวศที่ดี" อันจะนำมาซึ่งสุขภาพที่ดีของมนุษย์นั้นเอง  ซึ่งคำว่า "ecological integrity/healthy" เป็นหลักการสากลระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถสืบค้นได้ตั้งแต่ปี 1978the Great Lakes Water Quality Agreement ระหว่าง US and Canada และยังปรากฎตามข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ มากมาย  เช่น ข้อตกลง Convention on the Conservation of Antarctic Marine Living Resources 1980, the World Charter 1982, the Rio Declaration on Environmental and Development 1992, Agenda 21, the Plan of Implementation of the World Summit on Sustainable Development 2002) ฯลฯ ตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) ซึ่งรัฐบาลไทยเป็นภาคีสมาชิกนั้น ได้กล่าวถึงคำว่า "intrinsic values of biodiversity" นั้นคือ "คุณค่าทางนิเวศของความหลาหลายทางชีวภาพ" ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐภาคีที่ต้องให้ความสำคัญปกป้อง ซึ่งรัฐบาลไทยและหน่วยงานรัฐของไทยต่างๆ ก็เข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว  
ดังนั้น Environmental healthy ในที่นี้คงหมายถึง "ความสมบูรณ์บริสุทธิ์ของระบบนิเวศ" ภายใต้หลักการecological integrityอันจะเกิดผลกระทบต่อความมั่งคงของระบบนิเวศ ตามโครงการต่างๆ ซึ่งการให้เหตุผลในการตัดสินคงต้องอาศัยข้อมูลและการศึกษาอย่างเข้มข้นของนักชีววิทยา นักอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่เข้าใจในระบบนิเวศนั้นๆเป็นหลัก โดยยึดการปกป้องระบบนิเวศของประเทศ อันเป็นสมบัติร่วมกันของทุกคนในชาติ (Common goods)มาเป็น "เป้าหมาย" มากกว่าผลประโยชน์ของคนในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่นนี้ หากการประเมิน EHIA ไม่คำนึงถึงเหตุผลของนักชีววิทยา ซึ่งพิสูจน์ได้ตามหลักการวิทยาศาสตร์อันเป็นที่ยอมรับทั่วไปแล้ว การประเมิน EHIA ตามเหตุผลอื่นๆคงไม่ถูกต้อง   (โปรดหาอ่านเพิ่มเติมในงานของ  Karr R. James (1981) "Assessment of biotic integrity using fish communities", US EPA (2010) "An introduction to the index of biotic integrity: Biological Indicators of Watershed Health", Westra Laura (1988) Ecological Sustainability and Integrity: Concept and Appeoachs,  Bosselman Klaus (2008) the principle of sustainability, ฯลฯ)