เมื่อถามมา ก็ตอบไป-๒
เขียนโดย knotsnake Authenticated user เมื่อ 10 ธันวาคม 2557
เมื่อถามมา ก็ตอบไป-๒
โดย มนตรี สุมณฑา
จากประเด็นข่าวที่มีเจ้าหน้าที่กู้ภัยจับงูเห่าออกจากโถส้วม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น จึงมีสิ่งที่หลายคนสงสัยว่า “ทำไมงูจึงโผล่ในห้องน้ำบ่อยนัก?”
ก่อนตอบคำถามนี้ ผมก็อยากบอกไว้ก่อนว่าปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว เพียงแต่ปัจจุบันสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คสามารถเข้าถึงได้ง่ายทั้งผู้ส่ง และผู้รับข้อมูลข่าวสาร แต่..มันคงไม่ใช่คำตอบที่ต้องการใช่ไหมครับ
จากมุมมองขอมนุษย์...งูทำไมถึงเข้าห้องน้ำ หรือเขตที่อยู่ของคน แต่เมื่อมองจากมุมมองของงู งูก็คงอยากจะถามเราว่า ทำไมคนชอบรุกที่อยู่ของมันจังนะ เพราะที่อยู่ที่คนไปตั้งถิ่นฐานล้วนเดิมเป็นที่อยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด รวมทั้งงู โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นที่ราบทั้งหลาย เป็นพื้นที่หลักๆที่มนุษย์เลือกที่จะเข้าถึงเป็นอันดับต้นๆ เพราะนอกจากมีความสะดวกสบายในการสร้างที่อยู่แล้ว ก็ยังเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพด้านการเกษตรที่ถนัดของมนุษย์ยุคบุกเบิก เดิมทีก็ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันได้ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ท้องถิ่น เพราะมีการเอื้อกันทางการเกษตร และเป็นอาหารให้มนุษย์ได้อีกด้วย กาลเวลาผ่านไป..อาชีพทางการเกษตรเมเปลี่ยนมาเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว ดังนั้นจึงมีการทำลายสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่มนุษย์มโนว่าเป็นอุปสรรคต่อการสร้างผลผลิตมหาศาล โดยคิดว่าทุกอย่างเสมือนสมการเส้นตรง คือ ถ้าเพิ่มปัจจัยเสริม ตัดปัจจัยที่คิดว่าไม่ก่อประโยชน์ ผลผลิตที่ได้ก็ย่อมเพิ่มขึ้นตามในอัตราเดียวกัน แล้วรายได้ก็เพิ่มขึ้นโดยเอาราคาต่อหน่วยผลผลิตมาคูณปริมาณผลผลิตมาเป็นรายได้ที่คาดว่าจะได้รับในฝัน ต่อมามีการนำพื้นที่เหล่านี้มาสร้างโรงงาน และนิคมอุตสาหกรรม แล้วมีบ้านคนอยู่นอกพื้นที่ทำกิน ดังนั้นถิ่นอาศัยของงูดั้งเดิมจึงถูกทำลายมากขึ้น มากขึ้น และมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้น..งูหลายชนิดสูญหายไป งูบางชนิดก็ลดจำนวนลงเพื่อให้สมดุลกับพื้นที่ที่เหลืออยู่ แต่กลับมีงูบางชนิดที่สามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ให้เป็นโอกาส งูเหล่านั้นเป็นงูที่ปกติชอบอาศัยตามซอกโพรง ได้แก่ งูเหลือม งูหลามและแน่นอน..มี งูเห่า อีกด้วย เพราะการสร้างที่อยู่อาศัยยุคปัจจุบันมักสร้างให้ชั้นล่างติดระดับพื้นดิน ถ้าตรงไหนที่ไม่ราบเรียบก็มีการถม ที่ไหนเป็นที่ลุ่มก็ถมให้สูงขึ้นเพื่อหวังว่าจะพ้นต่อการท่วมของน้ำ เมื่อเวลาผ่านไปดินที่ถมนั้นย่อมมีการทรุดตัว เกิดซอกโพรงมากมายใต้สิ่งก่อสร้าง จึงเป็นวิมานของงูที่กล่าวข้างต้น เพราะนอกจากได้ที่อยู่มากมายแล้ว ยังยากต่อการเข้าถึงของผู้ล่าที่จะควบคุมประชากรงูเหล่านั้น รวมทั้งมนุษย์ ใช่ว่าจะมีแต่งูที่ปรับตัวกับซอกโพรงนี้ ยังมีหนู ซึ่งเป็นเมนูสำคัญของบรรดางูๆทั้งหลายด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้งูเหล่านี้ยิ้มรับต่อชะตาชีวิตใหม่ด้วยความยินดี
ระบบสุขาภิบาลของชุมชนปัจจุบันมีการใช้ส้วมที่มีบ่อเกรอะ โดยขุดหลุมลงไปในดิน ฝังท่อ แล้วมีทางนำของเสียจากห้องส้วมมาพักในบ่อเกรอะ มีท่อระบายแก๊สที่เกิดจากกระบวนการหมัก(หมม)ในบ่อเกรอะ และมีฝาปิดเพื่อไม่ให้กลิ่นออก หรือมีใครตกลงไป แต่..เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจมีการชำรุด เกิดช่องทางใหม่ที่ไม่พึงประสงค์ และใหญ่พอที่จะให้หนู กบ คางคก เข้าไปอาศัยในบ่อเกรอะได้ เมื่อนั้นก็เป็นการดึงดูดให้งูที่ต้องการกินสัตว์เหล่านั้นเป็นอาหารตามเข้าไปกิน แต่ด้วยงูส่วนใหญ่ไม่ใช่สัตว์ที่ฉลาดหรือมีความจดจำดีนักก็หาทางที่เข้ามาไม่เจอ จึงเลื้อยหาทางออกไปเรื่อยๆจนถึงท่อที่ต่อเชื่อมกับโถส้วม จึงเลื้อยมุดๆดำน้ำจนในที่สุดก็โผล่มายังห้องน้ำ
อีกช่องทางหนึ่ง คือ ทางระบายน้ำจากพื้นห้องน้ำ หากไม่มีการปิดด้วยแผ่นกรองเศษวัสดุไม่ให้ไหลลงท่อ ก็เป็นช่องทางที่งูจะเข้ามาทางระบบท่อระบายน้ำที่เชื่อมกับระบบภายนอกซึ่งเป็นอาณาจักรของงูท่อได้ด้วยเช่นกัน
นอกจากเส้นทางข้างต้น งูก็ยังอาจเลื้อยเข้าตามตรอก ซอก ประตู หน้าต่าง ฯลฯ เข้ามาในบ้านแล้วรู้สึกกระหายน้ำ หรืออยากนอนเย็นๆ จึงแวะเข้าไปในห้องน้ำ หรืออาจเลื้อยไปยังห้องต่างๆทั้งบ้านก็ได้ เพราะงูไม่รู้จักห้องน้ำหรอก
ยิ่งมนุษย์รุกถิ่นอาศัยของงูมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ย่อมมีโอกาสเจองูเข้ามาในเขตบ้านมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่าไหร่ เราก็จะได้ข่าวงูเข้าบ้านนับทวีคูณ แต่ถ้าเรายอมให้งูมีที่อยู่ในธรรมชาติ งูก็จะเอื้อประโยชน์แก่เรา ถ้าเราเปิดใจรับการอยู่ร่วมกับงูได้มากขึ้น เราก็คงไม่ตื่นเต้นกับข่าวเช่นนี้ แต่..ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีงูเข้าบ้านหรือไม่ หากเราไม่ตั้งอยู่บนความประมาท (แต่ไม่ใช่คอยระแวง) เราก็สามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัย และสบายใจ
คราวนี้ผมตอบยาวไปใช่ไหมเนี่ย...
โดย มนตรี สุมณฑา
จากประเด็นข่าวที่มีเจ้าหน้าที่กู้ภัยจับงูเห่าออกจากโถส้วม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น จึงมีสิ่งที่หลายคนสงสัยว่า “ทำไมงูจึงโผล่ในห้องน้ำบ่อยนัก?”
ก่อนตอบคำถามนี้ ผมก็อยากบอกไว้ก่อนว่าปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว เพียงแต่ปัจจุบันสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คสามารถเข้าถึงได้ง่ายทั้งผู้ส่ง และผู้รับข้อมูลข่าวสาร แต่..มันคงไม่ใช่คำตอบที่ต้องการใช่ไหมครับ
จากมุมมองขอมนุษย์...งูทำไมถึงเข้าห้องน้ำ หรือเขตที่อยู่ของคน แต่เมื่อมองจากมุมมองของงู งูก็คงอยากจะถามเราว่า ทำไมคนชอบรุกที่อยู่ของมันจังนะ เพราะที่อยู่ที่คนไปตั้งถิ่นฐานล้วนเดิมเป็นที่อยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด รวมทั้งงู โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นที่ราบทั้งหลาย เป็นพื้นที่หลักๆที่มนุษย์เลือกที่จะเข้าถึงเป็นอันดับต้นๆ เพราะนอกจากมีความสะดวกสบายในการสร้างที่อยู่แล้ว ก็ยังเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพด้านการเกษตรที่ถนัดของมนุษย์ยุคบุกเบิก เดิมทีก็ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันได้ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ท้องถิ่น เพราะมีการเอื้อกันทางการเกษตร และเป็นอาหารให้มนุษย์ได้อีกด้วย กาลเวลาผ่านไป..อาชีพทางการเกษตรเมเปลี่ยนมาเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว ดังนั้นจึงมีการทำลายสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่มนุษย์มโนว่าเป็นอุปสรรคต่อการสร้างผลผลิตมหาศาล โดยคิดว่าทุกอย่างเสมือนสมการเส้นตรง คือ ถ้าเพิ่มปัจจัยเสริม ตัดปัจจัยที่คิดว่าไม่ก่อประโยชน์ ผลผลิตที่ได้ก็ย่อมเพิ่มขึ้นตามในอัตราเดียวกัน แล้วรายได้ก็เพิ่มขึ้นโดยเอาราคาต่อหน่วยผลผลิตมาคูณปริมาณผลผลิตมาเป็นรายได้ที่คาดว่าจะได้รับในฝัน ต่อมามีการนำพื้นที่เหล่านี้มาสร้างโรงงาน และนิคมอุตสาหกรรม แล้วมีบ้านคนอยู่นอกพื้นที่ทำกิน ดังนั้นถิ่นอาศัยของงูดั้งเดิมจึงถูกทำลายมากขึ้น มากขึ้น และมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้น..งูหลายชนิดสูญหายไป งูบางชนิดก็ลดจำนวนลงเพื่อให้สมดุลกับพื้นที่ที่เหลืออยู่ แต่กลับมีงูบางชนิดที่สามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ให้เป็นโอกาส งูเหล่านั้นเป็นงูที่ปกติชอบอาศัยตามซอกโพรง ได้แก่ งูเหลือม งูหลามและแน่นอน..มี งูเห่า อีกด้วย เพราะการสร้างที่อยู่อาศัยยุคปัจจุบันมักสร้างให้ชั้นล่างติดระดับพื้นดิน ถ้าตรงไหนที่ไม่ราบเรียบก็มีการถม ที่ไหนเป็นที่ลุ่มก็ถมให้สูงขึ้นเพื่อหวังว่าจะพ้นต่อการท่วมของน้ำ เมื่อเวลาผ่านไปดินที่ถมนั้นย่อมมีการทรุดตัว เกิดซอกโพรงมากมายใต้สิ่งก่อสร้าง จึงเป็นวิมานของงูที่กล่าวข้างต้น เพราะนอกจากได้ที่อยู่มากมายแล้ว ยังยากต่อการเข้าถึงของผู้ล่าที่จะควบคุมประชากรงูเหล่านั้น รวมทั้งมนุษย์ ใช่ว่าจะมีแต่งูที่ปรับตัวกับซอกโพรงนี้ ยังมีหนู ซึ่งเป็นเมนูสำคัญของบรรดางูๆทั้งหลายด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้งูเหล่านี้ยิ้มรับต่อชะตาชีวิตใหม่ด้วยความยินดี
ระบบสุขาภิบาลของชุมชนปัจจุบันมีการใช้ส้วมที่มีบ่อเกรอะ โดยขุดหลุมลงไปในดิน ฝังท่อ แล้วมีทางนำของเสียจากห้องส้วมมาพักในบ่อเกรอะ มีท่อระบายแก๊สที่เกิดจากกระบวนการหมัก(หมม)ในบ่อเกรอะ และมีฝาปิดเพื่อไม่ให้กลิ่นออก หรือมีใครตกลงไป แต่..เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจมีการชำรุด เกิดช่องทางใหม่ที่ไม่พึงประสงค์ และใหญ่พอที่จะให้หนู กบ คางคก เข้าไปอาศัยในบ่อเกรอะได้ เมื่อนั้นก็เป็นการดึงดูดให้งูที่ต้องการกินสัตว์เหล่านั้นเป็นอาหารตามเข้าไปกิน แต่ด้วยงูส่วนใหญ่ไม่ใช่สัตว์ที่ฉลาดหรือมีความจดจำดีนักก็หาทางที่เข้ามาไม่เจอ จึงเลื้อยหาทางออกไปเรื่อยๆจนถึงท่อที่ต่อเชื่อมกับโถส้วม จึงเลื้อยมุดๆดำน้ำจนในที่สุดก็โผล่มายังห้องน้ำ
อีกช่องทางหนึ่ง คือ ทางระบายน้ำจากพื้นห้องน้ำ หากไม่มีการปิดด้วยแผ่นกรองเศษวัสดุไม่ให้ไหลลงท่อ ก็เป็นช่องทางที่งูจะเข้ามาทางระบบท่อระบายน้ำที่เชื่อมกับระบบภายนอกซึ่งเป็นอาณาจักรของงูท่อได้ด้วยเช่นกัน
นอกจากเส้นทางข้างต้น งูก็ยังอาจเลื้อยเข้าตามตรอก ซอก ประตู หน้าต่าง ฯลฯ เข้ามาในบ้านแล้วรู้สึกกระหายน้ำ หรืออยากนอนเย็นๆ จึงแวะเข้าไปในห้องน้ำ หรืออาจเลื้อยไปยังห้องต่างๆทั้งบ้านก็ได้ เพราะงูไม่รู้จักห้องน้ำหรอก
ยิ่งมนุษย์รุกถิ่นอาศัยของงูมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ย่อมมีโอกาสเจองูเข้ามาในเขตบ้านมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่าไหร่ เราก็จะได้ข่าวงูเข้าบ้านนับทวีคูณ แต่ถ้าเรายอมให้งูมีที่อยู่ในธรรมชาติ งูก็จะเอื้อประโยชน์แก่เรา ถ้าเราเปิดใจรับการอยู่ร่วมกับงูได้มากขึ้น เราก็คงไม่ตื่นเต้นกับข่าวเช่นนี้ แต่..ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีงูเข้าบ้านหรือไม่ หากเราไม่ตั้งอยู่บนความประมาท (แต่ไม่ใช่คอยระแวง) เราก็สามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัย และสบายใจ
คราวนี้ผมตอบยาวไปใช่ไหมเนี่ย...